บทความสุขภาพ

Knowledge

9 คำถามยอดฮิตกับการทำศัลยกรรมเสริมจมูก

นพ. ฐิติ ตันติธรรม

อายุเท่าไหร่ถึงจะสามารถเสริมจมูกได้?


สำหรับผู้ที่มีอายุ 21 ปีขึ้นไป สามารถเข้ามาปรึกษาและทำได้เลย แต่ในสำหรับผู้ที่มีอายุ 18 ปีก็สามารถทำได้แล้ว แต่แนะนำว่าควรมีผู้ปกครองรับรู้และอนุมัติในการเสริมจมูกด้วย


วัสดุที่ใช้ในการเสริมจมูกมีอะไรบ้าง?


วัสดุที่ใช้ในการเสริมจมูกมีด้วยกันหลากหลายแบบ แต่หลักสามารถแบ่งออกได้ทั้งหมด 3 ชนิด คือ


  1. เนื้อเยื่อตัวเอง โดยใช้อวัยวะจากร่างกาย เช่น กระดูก, กระดูกอ่อน, กระดูกซี่โครง, เนื้อเยื่อจากไขมันส่วนก้นกบหรือหน้าท้อง มาใช้ในการเสริมจมูก
  2. เนื้อเยื่อเทียม
  3. สิ่งแปลกปลอม ที่นิยมใช้กันเยอะมากคือซิลิโคน, PTFE เป็นต้น

วัสดุที่ใช้ในการเสริมจมูก จะขึ้นอยู่กับความต้องการของคนไข้ แนะนำว่าให้ควรเข้าปรึกษาพบแพทย์เพิ่มเติมก่อนทำการเสริมจมูก


rhinoplasty-1.jpg

ซิลิโคนที่เสริมจมูกมีหมดอายุหรือไม่ ต้องเปลี่ยนไหม หากต้องเปลี่ยนเปลี่ยนทุกกี่ปี?


การเสริมจมูกด้วยซิลิโคน หากการเสริมจมูกเสร็จเรียบร้อยแล้วไม่มีกปัญหา ทรงจมูกได้รูปสวยงามตามที่ต้องการ ซิลิโคนที่ใช้ในการเสริมสามารถอยู่ได้ตลอดไปโดยไม่ต้องทำการเปลี่ยนหรือแก้ไขเลย


การทำจมูก เราควรเลือกทรงแบบไหนให้เข้ากับใบหน้า


การเสริมจมูกที่เหมาะสมกับใบหน้านั้น ควรได้รับการให้คำปรึกษาจากแพทย์เพื่อวิเคราะห์ว่า จมูกที่เราชอบหรือทรงที่เลือกนั้น จะเหมาะสมกับรูปหน้าหรือใบหน้าหรือไม่ เพราะรูปหน้าและโครงหน้าของแต่ละคนไม่เหมือนกัน แนะนำว่าควรเข้าพบเพื่อปรึกษาแพทย์เพื่อจมูกที่สวยได้รูปและเหมาะสมกับใบหน้าที่ดีที่สุดของแต่ละบุคคล


ควรเสริมจมูกก่อนหรือหลังจัดฟันดี ?


ในกรณีเสริมจมูกก่อนจัดฟัน หากว่าโครงสร้างหรือองค์ประกอบของฟัน กราม หรือเหงือกไม่ได้มีปัญหาหนักถึงขนาดต้องผ่าตัดกราม แนะนำว่าสามารถเสริมจมูกได้เลย แต่หากในกรณีที่โครงหน้ามีปัญหาต้องเข้ารับการแก้ไขผ่าตัดกรามเปลี่ยนรูปหน้า แบบนี้แนะนำว่าควรเสริมจมูกหลังจากจัดฟันเรียบร้อยแล้ว


ควรตัดปีกจมูกไปพร้อมๆกับเสริมจมูกเลยดีมั้ย ?


ขึ้นอยู่กับหน้าตัดของโครงสร้างปีกจมูกแต่ละท่านด้วยว่ามีขนาดเท่าไร หากกรณีที่ใหญ่มาก แนะนำว่าควรตัดและทำพร้อมการเสริมจมูกไปเลย ในบางกรณีหากเสริมจมูกไปแต่ไม่ได้ทำการตัดปีกจมูกก็จะไม่เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงที่ชัดเจนมากนัก แนะนำควรปรึกษาแพทย์ก่อนทำการเสริมจมูกหรือตัดปีกจมูก


ระยะเวลาการพักฟื้นหลังทำการเสิรมจมูกนานแค่ไหน


ขึ้นอยู่กับว่าใช้อะไรในการเสริมจมูก กรณีที่ใช้กระดูกหูหรือซิริโคนก็จะไม่เจ็บตัวหรือใช้เวลาในการพักฟื้นมาก แต่กรณีที่ใช้กระดูกซี่โครงก็จะต้องงดยกของหนัก งดออกกำลังกายเป็นเวลา 2 เดือนก่อนเพื่อพักฟื้นแผลตรงส่วนซี่โครง


แต่สำหรับแผลหลังทำการเสริมจมูกจะใช้เวลาพักฟื้นจะอยู่ในระยะเวลา 1-2 เดือน จมูกจะเริ่มหยุดบวมแล้วเข้าที่ใน 3 เดือน เป็นทรงและหายเป็นปกติตามทรงในช่วงระยะเวลา 6 เดือน


การดูแลรักษาหลังเสริมจมูก


อาทิตย์แรกแผลจากการเสริมจมูกไม่ควรโดนน้ำ ควรทำเพียงใช้คอตตอนบัดและน้ำเกลือในการทำความสะอาด หลังทำการเสริมจมูก 1 อาทิตย์พบแพทย์เพื่อตัดไหม แต่หากมีอาการผิดปกติอื่น ๆ แนะนำว่าควรรีบพบแพทย์ทันที


rhinoplasty-2.jpg

ข้อแนะนำ


  • หากมีอาการผิดปกติควรรีบปรึกษาแพทย์ทันที
  • ติดต่อสอบถาม โทร. 1270

เกี่ยวกับผู้เขียนบทความ

นพ. ฐิติ ตันติธรรม

นพ. ฐิติ ตันติธรรม

ศูนย์ผิวหนังและศัลยกรรมตกแต่ง

บทความที่เกี่ยวข้อง (10)

ดูทั้งหมด

การผ่าตัดเปลี่ยนผิวข้อเข่าเทียมบางส่วน ทางเลือกรักษาข้อเข่าเสื่อม แผลเล็ก ฟื้นตัวเร็ว

การผ่าตัดเปลี่ยนผิวข้อเข่าเทียมบางส่วน หรือ UKA เป็นการผ่าตัดรักษาโรคข้อเข่าเสื่อม โดยเอาผิวข้อเฉพาะส่วนที่สึกหรอออก และเก็บผิวข้อเข่าส่วนที่ยังมีสภาพดีไว้ ทำให้ผู้ป่วยไม่ต้องใช้เวลาปรับตัวนาน ในการกลับไปใช้ข้อเข่าได้เหมือนธรรมชาติ

คุณเป็นโรคภูมิแพ้…จริงหรือ…?

คนทั่วไปเมื่อมีอาการคัดจมูก น้ำมูกไหลเรื้อรัง หรือเป็นๆ หายๆ มักจะบอกว่า เป็นโรคภูมิแพ้ หรือไม่ก็เข้าใจว่าตนเป็นหวัด หวัด เกิดจากการติดเชื้อไวรัส คนทั่วไปมักเป็นได้ปีละ 4 – 5 ครั้งก็มากเกินปกติแล้ว อาการหวัดมักเป็นอยู่ 3 – 4 วัน

โรคไข้อีดำอีแดง โรคที่เกิดจากพิษของเชื้อแบคทีเรีย

ข้อมูลจาก สมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทย โรคไข้อีดำอีแดงหรือ scarlet fever เป็นโรคที่เกิดจากพิษของเชื้อแบคทีเรียชื่อ #สเตร็ปโตคอคคัสชนิดเอ ทำให้มีผื่นแดง ตามตัวร่วมกับคอหอยหรือทอนซิลอักเสบ พบบ่อยในช่วงอายุระหว่าง 5-15 ปี

วัคซีนปอดอักเสบนิวโมคอกคัสชนิดใหม่ 20 สายพันธุ์ (PCV 20)

โรคปอดอักเสบจากเชื้อนิวโมคอกคัสเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียสเตรปโตคอคคัสนิวโมเนียอี (Streptococcus pneumoniae) ส่วนใหญ่เชื้อจะพบอยู่ในโพรงจมูกและลำคอ สามารถแพร่กระจายผ่านการสัมผัสสารคัดหลั่งทางละอองฝอยทางการไอหรือจาม เป็นหนึ่งในเชื้อที่ทำให้เกิดปอดอักเสบที่พบบ่อย ทั้งในเด็ก ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ

โรคแอนแทรกซ์ (Anthrax) โรคติดต่อจากสัตว์สู่คน

โรคแอนแทรกซ์ หรือชาวบ้านเรียกว่าโรคกาลี เป็นโรคที่รู้จักกันมาแต่โบราณกาล แอนแทรกซ์นับว่าเป็นโรคระบาดสำคัญโรคหนึ่งในพระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ. 2499 เป็นโรคติดต่ออันตรายร้ายแรงที่เกิดขึ้นได้ในสัตว์กินหญ้าแทบทุกชนิด ทั้งสัตว์ป่า เช่น ช้าง เก้ง กวาง และสัตว์เลี้ยง เช่น โค กระบือ แพะ แกะ แล้วติดต่อไปยังคนและสัตว์อื่น

บอลลูนหัวใจ: แก้ปัญหาหลอดเลือดหัวใจตีบ โดยไม่ต้องผ่าตัดใหญ่

การทำบอลลูนหัวใจหรือ PCI เป็นการรักษาที่มีประสิทธิภาพในการรักษาภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบ ช่วยให้เลือดไหลเวียนได้สะดวก ลดอาการเจ็บหน้าอก และลดความเสี่ยงของหัวใจวาย เป็นการเปิดหลอดเลือดโดยไม่ต้องผ่าตัดใหญ่ ทำให้ผู้ป่วยฟื้นตัวเร็วขึ้น อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยยังคงต้องดูแลสุขภาพ หมั่นออกกำลังกาย รับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ และลดปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ เพื่อรักษาสุขภาพของหัวใจในระยะยาว

ลิ้นหัวใจเทียมคืออะไร? ทำไมต้องเปลี่ยน? และอะไรบ้างที่คุณควรรู้?

การผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจเทียมเป็นหนึ่งในวิธีการรักษาสำหรับผู้ป่วยที่มีปัญหาลิ้นหัวใจผิดปกติ และการผ่าตัดเปลี่ยนลินหัวใจจะช่วยฟื้นฟูการทำงานของหัวใจให้กลับมาใกล้เคียงปกติ อย่างไรก็ตามผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาจะต้องได้รับการประเมินอย่างละเอียด เพื่อเลือกชนิดของลิ้นหัวใจที่เหมาะสม

หัวใจล้มเหลว อาการเป็นอย่างไร ป้องกันได้อย่างไรบ้าง

หัวใจล้มเหลวคือภาวะที่หัวใจไม่สามารถสูบฉีดเลือดได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้ร่างกายได้รับออกซิเจนและสารอาหารไม่เพียงพอ อาการสำคัญที่ควรสังเกต ได้แก่ เหนื่อยง่าย หายใจลำบาก ขาบวม และน้ำหนักเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่มักเกี่ยวข้องกับโรคหัวใจและหลอดเลือด การวินิจฉัยและรักษาอย่างรวดเร็วจะช่วยลดความเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนรุนแรง

การตัดชิ้นเนื้อส่งตรวจมะเร็ง (Biopsy) หมดความสงสัย วินิจฉัยได้อย่างแม่นยำ

การตัดชิ้นเนื้อส่งตรวจมะเร็ง (Biopsy) คือวิธีที่นิยมในการวินิจฉัยมะเร็ง เนื่องจากความแม่นยำและละเอียดในการบ่งชี้ประเภทของมะเร็ง ทำได้อย่างไร? บทความนี้มีคำตอบ!

การใส่เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจ รักษาใจเต้นผิดจังหวะ ให้กลับสู่ภาวะปกติ

การใส่เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจ (Pacemaker Implantation) จะใช้รักษาผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ เครื่องจะช่วยให้หัวใจกลับมาทำงานได้ใกล้เคียงกับระดับปกติอีกครั้ง

Copyright © 2024 All Rights Reserved | Praram 9 Hospital