บทความสุขภาพ

Knowledge

สิวเสี้ยน จุดดำ ๆ เยอะมาก แก้ไขอย่างไรดี

นพ. สมชัย ลีลาศิริวงศ์

คำถาม: เป็นสิวเสี้ยนเยอะมาก โดยเฉพาะบริเวณจมูก ยิ่งเป็นยิ่งมีมากขึ้น และสังเกตว่าเป็นจุดดำๆ เต็มไปหมด จะแก้ไขอย่างไรดีคะ


คำตอบ: โดย นายแพทย์สมชัย ลีลาศิริวงศ์ (แพทย์ผิวหนัง)


สิวเสี้ยนเกิดจาก


สิวเสี้ยนเกิดจากการอุดตันของปากรูขุมขน (comedone) บนใบหน้า พบได้บ่อยบริเวณจมูก หน้าผาก และคาง (T-zone) ถ้าการอุดตันอยู่ลึกจะเป็นตุ่มสีขาว แต่ถ้าการอุดตันอยู่ตื้นจะเห็นเป็นหัวสีดำ ปัจจัยที่ทำให้เกิดการอุดตันของสิวเสี้ยน เช่น มีฮอร์โมนเพศชายมากผิดปกติ รูขุมขนถูกทำลายจากการขัดหน้า นวดหน้าหรือถูหน้าแรง ๆ สิวเสี้ยนจากเชื้อแบคทีเรีย รวมไปถึงการรับประทานอาหารที่มีไขมันและน้ำตาลสูง


การรักษาสิวเสี้ยน


สิวเสี้ยนรักษาได้โดยการทาด้วยกรดวิตามินเอ เช่น เรติโนอิค ขนาด 0.025% ถึง 0.05% ทาวันละครั้งตอนเย็น สิวเสี้ยนจะหลุดไปได้ภายใน 4-8 สัปดาห์ แต่ยากลุ่มนี้อาจก่อให้เกิดการระคายเคืองเป็นผื่นคันและลอกได้ในบางคน วิธีหลีกเลี่ยงอาการระคายเคือง คือ ทายาทิ้งไว้แค่ 10-20 นาที แล้วล้างออก จะช่วยลดการระคายเคืองได้ ถ้าหากทายาแล้วสิวเสี้ยนยังไม่หายควรปรึกษาแพทย์ผิวหนัง ไม่ควร “กด” หรือ “บีบ” สิวเสี้ยนด้วยตนเอง เพราะนอกจากจะไม่ค่อยได้ผลแล้ว อาจทำให้สิวเสี้ยนกลายเป็นสิวอักเสบได้ง่ายขึ้น การใช้แผ่นลอกสิวเสี้ยน ช่วยแก้ปัญหาได้ชั่วคราว แต่ถ้าไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง ก็อาจกลับมาอุดตันใหม่ได้ครับ


การป้องกันการเกิดสิวเสี้ยน


วิธีป้องกันการเกิดสิวเสี้ยนคือการดูแลผิว หลีกเลี่ยงการนวดหน้า ขัดหรือถูหน้าแรง ๆ เพราะเป็นปัจจัยทำให้รูขุมขนกว้างเกิดการสะสมของเชื้อแบคทีเรีย ควรใช้โทนเนอร์เช็ดทำความสะอาดหลังล้างหน้าเพื่อป้องกันสิ่งสกปรกที่ตกค้าง ไม่ควรบีบหรือกดสิวเอง เพราะจะทำให้สิวเสี้ยนยิ่งลุกลาม และผลัดเซลล์ผิวที่ตายแล้วด้วยกรดผลไม้อย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง หรือ 2 สัปดาห์ครั้ง

เกี่ยวกับผู้เขียนบทความ

นพ. สมชัย ลีลาศิริวงศ์

นพ. สมชัย ลีลาศิริวงศ์

ศูนย์ผิวหนังและศัลยกรรมตกแต่ง

บทความที่เกี่ยวข้อง (10)

ดูทั้งหมด

หมอนรองกระดูกเสื่อม ต้นเหตุอาการปวดหลังเรื้อรังที่อายุน้อยก็พบได้

หมอนรองกระดูกเสื่อมคือภาวะที่เกิดจากการเสื่อมของหมอนรองกระดูกจนไม่สามารถทำหน้าที่ลดแรงกระแทกได้ ทำให้กระดูกรอบ ๆ สึกและอักเสบขึ้นจนเกิดอาการปวดเรื้อรัง

อาการปวดสะโพกร้าวลงขา อีกหนึ่งสัญญาณเส้นประสาทถูกกดทับ

อาการปวดสะโพกร้าวลงขา (Sciatica pain) เกิดจากการถูกกดทับที่เส้นประสาท ทำให้รู้สึกปวดจากช่วงเอวหรือสะโพกร้าวลงขาด้านหลัง บางรายอาจร้าวไปถึงน่องและเท้าได้

ปวดข้อเท้าเกิดจากสาเหตุอะไร มีวิธีรักษาอย่างไรไม่ให้เจ็บเรื้อรัง?

ทำความเข้าใจกับอาการปวดข้อเท้าที่ควรรู้ อาการแบบไหนที่ควรเข้าปรึกษาแพทย์? พร้อมเรียนรู้สาเหตุของอาการ วิธีรักษา ตลอดจนการป้องกันไม่ให้เจ็บข้อเท้าเรื้อรัง

คำแนะนำการป้องกันมาลาเรียสำหรับนักเดินทาง

โรคมาลาเรียเป็นโรคที่เกิดจากโปรโตซัว Plasmodium นำโดยยุงก้นปล่อง มีทั้งหมด 5 สายพันธุ์ สายพันธ์ุที่รุนแรงคือ Plasmodium falciparum ซึ่งเป็นสายพันธุ์หลักในทวีปแอฟริกา ทำให้เกิดการติดเชื้อรุนแรง อวัยวะต่างๆล้มเหลว ติดเชื้อขึ้นสมอง โคม่า ชัก และเสียชีวิตได้ หากได้รับการรักษาที่ล่าช้า

ไส้เลื่อน ใครก็เป็นได้ อันตรายที่ต้องรักษาก่อนเกิดภาวะแทรกซ้อน

ไส้เลื่อน คือภาวะที่ลำไส้เลื่อนหรือดันออกมาจากช่องท้อง สามารถสังเกตเห็นก้อนนูนออกมาตามขาหนีบ หน้าท้อง สะดือ หากไม่รักษาอาจเกิดอันตรายจากอาการแทรกซ้อนได้

รู้ทันต้อหิน โรคร้ายทำลายการมองเห็น รีบรักษาก่อนสายเกินแก้

ต้อหิน (Glaucoma) คือโรคตาที่มีสาเหตุจากขั้วประสาทตาเสื่อม ผู้ป่วยจะมีอาการปวดหัวปวดตา กระจกตาขุ่น การมองเห็นแย่ลง และค่อย ๆ สูญเสียการมองเห็นไปในที่สุด

Hypothyroidism คืออะไร? รู้ทันสาเหตุ อาการ และวิธีรักษา

Hypothyroidism คือ ภาวะพร่องฮอร์โมนไทรอยด์ หรือฮอร์โมนไทรอยด์ทำงานต่ำ ทำให้ระดับการเผาผลาญพลังงานลดลง และนำมาสู่การทำงานของระบบต่าง ๆ ผิดปกติ

รู้ทันอาการน้ำในหูไม่เท่ากัน ใครเวียนหัว บ้านหมุนบ่อยต้องระวัง

โรคน้ำในหูไม่เท่ากัน เป็นความผิดปกติของระบบน้ำในหูชั้นใน ซึ่งสามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ ทำให้ผู้ป่วยมีอาการ เวียนหัว บ้านหมุน ทรงตัวไม่อยู่ และการได้ยินผิดปกติ

หายใจไม่อิ่ม หายใจลำบาก สัญญาณอันตรายที่คุณไม่ควรมองข้าม

หายใจไม่อิ่ม เป็นอาการที่หลายคนเผชิญ อาจมีอาการแน่นหน้าอก หายใจไม่เต็มปอด หายใจลำบาก หัวใจเต้นเร็ว เหนื่อยง่าย บทนี้ความจะพาไปดูสาเหตุของอาการเหล่านี้กัน

ภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน อันตรายถึงชีวิตแบบไร้สัญญาณเตือน

หัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน (Sudden Cardiac Arrest) คือ ภาวะที่หัวใจหยุดทำงานกะทันหัน ทำให้หมดสติและเสียชีวิตในไม่กี่นาที จึงเป็นภาวะฉุกเฉินที่ต้องรับการรักษาทันที

Copyright © 2024 All Rights Reserved | Praram 9 Hospital