บทความสุขภาพ
Knowledge
โรคมะเร็ง (cancer) เป็นโรคที่น่ากลัวและร้ายแรง และเป็นสาเหตุการตายอันดับต้น ๆ ของโลก โดยองค์การอนามัยโลกรายงานว่าในปี 2022 มีผู้เสียชีวิตจากโรคมะเร็งเกือบ 10 ล้านคนทั่วโลก ในประเทศไทย โรคมะเร็งถือว่าเป็นสาเหตุการตายอันดับต้น ๆ จากรายงานขององค์การอนามัยโลกในปี 2022 มีคนไทยเสียชีวิตจากโรคมะเร็งเกือบ 120,000 คนต่อปี
เนื่องจากโรคมะเร็งมักไม่แสดงอาการในระยะแรก ๆ จึงทำให้ผู้ป่วยจำนวนหนึ่งไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีจนเกิดการลุกลามของมะเร็ง และทำให้รักษายาก และเสี่ยงเสียชีวิตมากขึ้น
มะเร็ง (cancer) เกิดจากความผิดปกติของเซลล์ในร่างกาย เซลล์เหล่านี้มีการเจริญเติบโตและแบ่งตัวอย่างรวดเร็วกว่าปกติ ทำให้ร่างกายไม่สามารถกำจัดได้ทัน ส่งผลให้เซลล์มะเร็งรวมตัวกันเป็นก้อนเนื้องอกขนาดใหญ่ ไปกดเบียดเนื้อเยื่ออวัยวะข้างเคียง และหากไม่ได้รับการรักษา เซลล์มะเร็งสามารถแพร่กระจายไปยังส่วนอื่น ๆ ของร่างกายผ่านระบบเลือดและน้ำเหลือง ทำให้เกิดความเสียหายต่ออวัยวะ ส่งผลต่อการทำงานของร่างกาย และอาจนำไปสู่การเสียชีวิตได้
เนื้องอกอาจไม่ใช่มะเร็งเสมอไป เนื้องอกบางชนิดเป็นเพียงเนื้องอกธรรมดา ไม่ได้ลุกลามหรือทำลายเนื้อเยื่อข้างเคียง การวินิจฉัยว่าเนื้องอกนั้นเป็นมะเร็งหรือไม่ ต้องอาศัยการตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติมจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
มะเร็งเป็นโรคที่พบได้บ่อยในทุกเพศทุกวัย แต่พบมากในผู้ใหญ่ที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป จากสถิติจากองค์การอนามัยโลก รายงานจำนวนผู้ป่วยมะเร็งในประเทศไทยปี 2022 แบ่งตามเพศดังนี้
มะเร็งระยะแรกมักไม่มีสัญญาณเตือนที่ชัดเจน หลายครั้งที่พบโดยบังเอิญจากการตรวจสุขภาพทั่วไปอย่างไรก็ตาม มะเร็งบางชนิดอาจแสดงอาการบางอย่างในระยะเริ่มต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดและตำแหน่งของก้อนมะเร็ง โดยอาจมีอาการต่าง ๆ ดังนี้
โรคมะเร็ง เกิดจากปัจจัยหลายประการ ทั้งจากสิ่งแวดล้อมภายนอกร่างกายและภายในร่างกาย
ปัจจัยภายนอกร่างกาย เป็นปัจจัยที่เราสามารถหลีกเลี่ยงหรือลดความเสี่ยงได้ ดังนี้
ปัจจัยภายในร่างกาย เป็นปัจจัยที่ควบคุมไม่ได้ แต่สามารถดูแลสุขภาพเพื่อลดความเสี่ยงได้ ดังนี้
อย่างไรก็ตามหากพบอาการผิดปกติ ควรปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยและรับการรักษาที่ถูกต้อง
การวินิจฉัยโรคมะเร็งมีความสำคัญอย่างยิ่ง เพื่อจะช่วยยืนยันว่าผู้ป่วยเป็นมะเร็งชนิดใด ระยะใด และเพื่อการวางแผนการรักษาที่เหมาะสม แพทย์จะใช้วิธีการวินิจฉัยหลายวิธีประกอบกัน ดังนี้
โดยแพทย์จะเลือกวิธีการตรวจที่เหมาะสม ซึ่งจะขึ้นอยู่กับชนิดของมะเร็ง ระยะของโรค อาการ และประวัติของผู้ป่วย
การตรวจคัดกรองมะเร็งเป็นวิธีการที่สำคัญ ช่วยให้พบมะเร็งได้ตั้งแต่ระยะแรก ๆ ส่งผลต่อแนวทางการรักษาและโอกาสหายจากโรค เพราะการตรวจพบตั้งแต่ระยะแรก ๆ ทำให้มีโอกาสรักษาหายสูง การรักษามีความซับซ้อนน้อยลง รวมทั้งผลข้างเคียงจากการรักษาน้อยลง
ปัจจุบัน โปรแกรมการตรวจคัดกรองมะเร็งมักรวมอยู่ในโปรแกรมตรวจสุขภาพทั่วไปหรืออาจมีโปรแกรมเฉพาะโรคเพื่อการตรวจที่ละเอียดและแม่นยำยิ่งขึ้น ซึ่งการตรวจคัดกรองความเสี่ยงของโรคมะเร็งทำได้โดย
ในการรักษาโรคมะเร็ง แพทย์จะวางแผนการรักษาโดยพิจารณาตามปัจจัยต่าง ๆ เช่น ตำแหน่ง ระยะของโรคและความรุนแรงของโรค ในผู้ป่วยบางรายอาจต้องได้รับการรักษาหลายวิธีประกอบกันเพื่อผลลัพธ์การรักษาที่ดีที่สุด การรักษาได้ตั้งแต่ระยะแรก ๆ จะให้ผลการรักษาที่ดีกว่าการตรวจพบและรักษาที่ระยะรุนแรงแล้ว วิธีการรักษาโรคมะเร็งโดยทั่วไป มีดังนี้
ปัจจุบัน ยังไม่มีวิธีการป้องกันโรคมะเร็งที่จำเพาะเจาะจง แต่บุคคลทั่วไปสามารถลดความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งได้ โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและดูแลสุขภาพ ดังนี้
โรคมะเร็งคือการเกิดเซลล์ผิดปกติที่เติบโตอย่างไม่ปกติและแพร่กระจายไปยังส่วนอื่นของร่างกาย สาเหตุส่วนใหญ่มาจากพันธุกรรมหรือปัจจัยเสี่ยง เช่น สูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์ การได้รับหรือสัมผัสสารเคมี การควบคุมปัจจัยเสี่ยงและการตรวจคัดกรองเป็นสิ่งสำคัญในการป้องกันโรคมะเร็ง
ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญกับ Praram 9 V ปรึกษาแพทย์ได้ทุกที่ผ่านทางวิดีโอคอล (Telemedicine)
เกี่ยวกับผู้เขียนบทความ
แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง (0)
ดูทั้งหมด
บทความที่เกี่ยวข้อง (10)
ดูทั้งหมด
Copyright © 2024 All Rights Reserved | Praram 9 Hospital