บทความสุขภาพ

Knowledge

ตรวจแมมโมแกรมและอัลตร้าซาวด์ เพื่อรู้ทันมะเร็งเต้านมก่อนจะลุกลาม

เป็นที่ทราบกันดีว่า การรักษามะเร็งเต้านมให้ได้ผลดีนั้นคือการตรวจพบได้ตั้งแต่ระยะต้น ๆ จากสถิติที่ผ่านมาพบว่าผู้ป่วยมะเร็งเต้านมมักไม่มีอาการเริ่มแรกแสดงให้เห็น หรืออาจเป็นอาการเล็ก ๆ น้อย ๆ ทำให้มองข้ามไป จนกระทั่งมะเร็งเริ่มอยู่ในระยะลุกลาม มีอาการเด่นชัด แล้วค่อยมาพบแพทย์ ซึ่งอาจสายเกินไป


การตรวจพบความผิดปกติตั้งแต่เนิ่น ๆ ด้วยการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม ด้วยแมมโมแกรมและอัลตร้าซาวด์เต้านมเมื่อถึงเกณฑ์ จึงเป็นเรื่องที่สำคัญ เพราะไม่เพียงแต่จะทำให้อัตราการรอดชีวิตสูงขึ้นเท่านั้น แต่ยังทำให้ผู้ป่วยมีทางเลือกในการรักษาโดยไม่ต้องผ่าตัดเต้านมทิ้ง


รศ.นพ.ประกาศิต จิรัปปภา แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านศัลยศาสตร์มะเร็งวิทยา โรงพยาบาลพระรามเก้า ท่านมีความชำนาญในการดูแลและรักษาผู้ป่วยมะเร็งเต้านมเป็นอย่างดี เนื่องจากดูแลผู้ป่วยมะเร็งเต้านมมาเป็นจำนวนมากและหลายช่วงอายุ ได้มาให้คำแนะนำวิธีการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมกับเราในบทความนี้


mammogram-and-breast-ultrasound-1.jpg

ใครบ้างที่ควรตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม


เกณฑ์ที่เหมาะสมที่ควรเข้ารับการตรวจคัดกรอง ดังนี้


เพศหญิง


ในแต่ละช่วงอายุควรปฏิบัติดังนี้


  • อายุ 20 ปีขึ้นไป ควรตรวจคลำเต้านมด้วยตนเองเป็นประจำ
  • อายุ 30-35 ปี ตรวจเป็นพื้นฐาน (base line)
  • อายุ 35-49 ปี ตรวจทุก 1-2 ปี
  • อายุ 50 ปีขึ้นไป ตรวจปีละ 1 ครั้ง

ผู้ที่มีปัจจัยอื่น ๆ ที่เพิ่มความเสี่ยงโอกาสเกิดมะเร็งเต้านม


ควรปรึกษาแพทย์และเข้ารับการตรวจคัดกรองเป็นประจำทุกปี อย่างน้อย 1-2 ครั้งต่อปี

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://www.praram9.com/breast-cancer-staging/


แต่หากพบความผิดปกติ เช่น คลำพบก้อนที่เต้านม หรือเต้านมมีรูปร่างผิดปกติเปลี่ยนไปจากเดิม กรณีนี้ต้องเข้าพบแพทย์ทันที


mammogram-and-breast-ultrasound-2.jpg

การตรวจคัดกรองด้วยแมมโมแกรม (mammogram) และอัลตร้าซาวด์ (breast ultrasound)


เนื่องจากมะเร็งเต้านมในระยะแรกไม่มีอาการ ดังนั้นการคัดกรองด้วยเครื่องดิจิทัลแมมโมแกรม (Digital Mammogram) และอัลตร้าซาวด์ (Ultrasound) เข้ามาช่วย จะทำให้สามารถพบความผิดปกติในระยะแรกได้ โดยทั้ง 2 เทคนิคต่างล้วนมีความสำคัญต่อการตรวจพบมะเร็งเต้านม


การตรวจแมมโมแกรม (mammogram)


การตรวจแมมโมแกรม (mammogram) คือ เทคโนโลยีการตรวจทางรังสีชนิดพิเศษ คล้ายกับการตรวจเอกซเรย์ แต่ใช้ปริมาณรังสีน้อยกว่าเครื่องเอกซเรย์ทั่วไป 30-60% โดยแพทย์จะใช้เครื่องแมมโมแกรม ซึ่งเป็นเครื่องเอกซเรย์แบบพิเศษในการตรวจ เทคนิคนี้มีประสิทธิภาพในการตรวจหามะเร็งเต้านมได้ตั้งแต่ระยะเริ่มแรก เนื่องจากภาพที่ได้จากการตรวจมีความละเอียดสูง สามารถเห็นความผิดปกติได้ เช่น จุดหินปูนหรือเนื้อเยื่อที่ผิดปกติขนาดเล็ก (microcalcification) หรือก้อนที่มีลักษณะแข็ง (solidmass) ทำให้สามารถระบุตำแหน่งและค้นหาความผิดปกติของเต้านมได้อย่างถูกต้อง แม่นยำและรวดเร็วมากขึ้น


ตรวจมะเร็งได้ มีความปลอดภัย ไร้รังสีตกค้าง


เทคโนโลยีแมมโมแกรมทำให้แพทย์สามารถตรวจสอบเนื้องอกขนาดเล็กได้ดีขึ้น ทำให้วางแผนการรักษาได้เหมาะสม และเพิ่มโอกาสหายขาดจากมะเร็งร้ายได้ นอกจากนี้ เครื่องแมมโมแกรมจะเป็นรังสีเอกซเรย์พลังงานต่ำ จึงไม่มีรังสีตกค้างในร่างกายหลังตรวจเสร็จ และไม่มีผลข้างเคียงกับร่างกาย


เตรียมตัวอย่างไร สำหรับการตรวจแมมโมแกรม


ผู้เข้ารับการตรวจควรแต่งกายด้วยเสื้อผ้าแบบ 2 ชิ้น บน-ล่าง เพื่อความสะดวก และสามารถกินอาหารและดื่มน้ำได้ตามปกติ แต่ห้ามทาแป้ง โลชั่น โรลออน ฉีดสเปรย์ หรือใช้สารระงับกลิ่นกายทุกชนิด ในบริเวณเต้านมและรักแร้


การทำแมมโมแกรม จะทำการบีบเนื้อนมเข้าหากัน แล้วทำการถ่ายรูปจากด้านบน และด้านข้าง หากพบจุดที่น่าสงสัย อาจถ่ายรูปเพิ่มหรือขยายรูป เพื่อให้เกิดความชัดเจนขึ้น ขณะตรวจอาจจะรู้สึกเจ็บได้ จึงแนะนำให้เข้ารับการตรวจในช่วงที่เต้านมตึงน้อยที่สุด โดยในระหว่างตรวจ หากรู้สึกเจ็บมากสามารถแจ้งเจ้าหน้าที่ได้ เพื่อให้ลดแรงกดลง


นอกจากนี้ หากเคยตรวจแมมโมแกรมมาก่อน ควรนำผลตรวจเดิมมาด้วย และหากมาด้วยอาการผิดปกติของเต้านม ควรแจ้งให้แพทย์ผู้ตรวจทราบทันที


mammogram-and-breast-ultrasound-3.jpg

การตรวจด้วยอัลตร้าซาวด์เต้านม (breast ultrasound)


การตรวจอัลตร้าซาวด์เต้านม (breast ultrasound) คือ การตรวจโดยการส่งคลื่นเสียงความถี่สูงเข้าไปในเนื้อเต้านม โดยคลื่นเสียงจะไปกระทบกับส่วนต่าง ๆ จะสะท้อนกลับขึ้นมาที่เครื่องตรวจ ทำให้สามารถบอกความแตกต่างขององค์ประกอบเนื้อเยื่อได้ว่าเป็นเนื้อเยื่อเต้านมปกติ เป็นถุงน้ำ หรือเป็นก้อนเนื้อ การตรวจนี้จะทำให้ได้ผลการตรวจที่แม่นยำขึ้นในผู้ป่วยที่มีเนื้อเต้านมหนาแน่น แต่จะมีข้อจำกัดตรงที่ไม่สามารถตรวจพบหินปูนขนาดเล็กได้ ดังนั้นควรตรวจควบคู่กับแมมโมแกรม เพื่อความแม่นยำและถูกต้องในการค้นหามะเร็งเต้านมระยะเริ่มแรก และนำไปสู่การวางแผนการรักษาที่มีประสิทธิภาพต่อไป


ใครควรตรวจอัลตร้าซาวด์บ้าง

เทคนิคนี้จะเหมาะกับคนอายุน้อยกว่า 25 ปี และเหมาะกับคนที่มีเต้านมหนาแน่นมาก แต่ผู้ที่มีอายุมากกว่านั้นก็สามารถตรวจด้วยวิธีนี้ได้ โดยตรวจร่วมกับการทำแมมโมแกรม


นอกจากนี้ อัลตร้าซาวด์ยังเหมาะกับผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ ผู้หญิงในช่วงให้นมบุตร รวมถึงคนที่ผ่านการเสริมหน้าอกมา


เตรียมตัวอย่างไร สำหรับการตรวจอัลตร้าซาวด์


ผู้เข้ารับการตรวจสามารถกินอาหารและดื่มน้ำได้ตามปกติ แต่ห้ามทาแป้ง โลชั่น โรลออน หรือฉีดสเปรย์ระงับกลิ่น ในบริเวณเต้านมและรักแร้ โดยทางโรงพยาบาลจะเตรียมเสื้อผ้าสำหรับเข้ารับการตรวจให้


สำหรับขั้นตอนการตรวจนั้น จะเหมือนกับการอัลตร้าซาวด์ที่อวัยวะส่วนอื่น โดยการใช้หัวตรวจ (Transducer) วางบนผิวหนัง และจะเห็นภาพฉายที่ปรากฏที่หน้าจอ ซึ่งแพทย์จะบันทึกภาพไว้เพื่อใช้วิเคราะห์ต่อไป


หากเคยเสริมหน้าอกมาแล้ว หรือมีความผิดปกติอื่น ๆ ของเต้านม ควรแจ้งให้แพทย์ผู้ตรวจทราบด้วย


mammogram-and-breast-ultrasound-4.jpg

ตรวจแมมโมแกรมและอัลตร้าซาวด์คู่กัน ไม่ให้มะเร็งเล็ดลอด


การตรวจแมมโมแกรมแม้ว่าจะมีความแม่นยำสูง แต่ก็มีข้อจำกัดบางอย่าง เช่น ผู้ที่เนื้อเต้านมหนาแน่นมาก จะทำให้ความแม่นยำในการตรวจด้วยแมมโมแกรมลดลง หรืออาการบางอย่างของมะเร็ง ที่แมมโมแกรมเพียงอย่างเดียว ไม่อาจสรุปผลได้ หรือ ผู้ป่วยบางราย ที่มีผื่นบริเวณหัวนม หรือมีของเหลวผิดปกติซึมออกจากหัวนม ซึ่งอาจจะเป็นอาการของมะเร็งในระยะแรก แต่อาจไม่พบความผิดปกติเมื่อตรวจด้วยแมมโมแกรม และในบางกรณี ขณะตรวจแมมโมแกรมอาจหนีบไม่ถึงก้อนเนื้อที่ผิดปกติ และไม่สามารถดึงเต้านมให้เข้ามาอยู่ในฟิล์มได้ เนื่องจากก้อนเนื้อบางตำแหน่งอยู่ด้านในมาก ๆ หรืออยู่บริเวณขอบของฐานเต้านมมาก ๆ ดังนั้น แพทย์จึงแนะนำให้ ตรวจแมมโมแกรมร่วมกับการอัลตร้าซาวด์เต้านม และร่วมกับการตรวจร่างกายโดยแพทย์เฉพาะทาง เพื่อความแม่นยำและถูกต้องที่มากยิ่งขึ้น


mammogram-and-breast-ultrasound-5.jpg

สรุป


ขึ้นชื่อว่า “มะเร็ง” แล้ว ถ้าตรวจพบตั้งแต่เริ่มแรก โอกาสที่จะรักษาให้หายนั้นมีมาก แต่ถ้าปล่อยไว้จนกระทั่งเป็นมากแล้ว โอกาสรักษาให้หายก็จะมีน้อยลง จึงควรมาตรวจหาให้พบมะเร็งร้ายเสียก่อน โดยปฏิบัติตามขั้นตอนที่แนะนำไว้แล้วในบทความข้างต้น


ทั้งนี้ การตรวจพบเร็วไม่เพียงส่งผลดีต่อการรักษา แต่ยังช่วยให้เรามีทางเลือกในการรักษาที่หลากหลายขึ้น เพื่อตัวเราเองจะได้มีความสุขกับสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดีไปนาน ๆ


หากสนใจโปรแกรมตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม สามารถทำนัดหมายหรือศึกษาแพ็คเกจที่น่าสนใจเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์เต้านม โรงพยาบาลพระรามเก้า


ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญกับ Praram 9 V ปรึกษาแพทย์ได้ทุกที่ผ่านทางวิดีโอคอล (Telemedicine)

เกี่ยวกับผู้เขียนบทความ

บทความที่เกี่ยวข้อง (10)

ดูทั้งหมด

รู้ทันอาการริดสีดวงทวาร กับพฤติกรรมเสี่ยงที่ต้องระมัดระวัง

ริดสีดวงทวาร มีสาเหตุมาจากการเพิ่มแรงดันในช่องทวารหนัก ทำให้เนื้อเยื่อหลอดเลือดในช่องทวารหนัก (Anal cushion) เกิดการขยายตัวเป็นหัวริดสีดวง

ปัสสาวะบ่อย ไม่ใช่เรื่องเล็ก เสี่ยงโรคอันตรายบั่นทอนคุณภาพชีวิต

ปัสสาวะบ่อยเกิดได้จากหลายปัจจัย ตั้งแต่การดื่มน้ำหรือของเหลวในปริมาณมาก ได้รับคาเฟอีนมาก การใช้ยา ไปจนถึงโรคที่เกี่ยวข้องกับทางเดินปัสสาวะ เรียนรู้ในบทความนี้!

การผ่าตัดเปลี่ยนผิวข้อเข่าเทียมบางส่วน ทางเลือกรักษาข้อเข่าเสื่อม แผลเล็ก ฟื้นตัวเร็ว

การผ่าตัดเปลี่ยนผิวข้อเข่าเทียมบางส่วน หรือ UKA เป็นการผ่าตัดรักษาโรคข้อเข่าเสื่อม โดยเอาผิวข้อเฉพาะส่วนที่สึกหรอออก และเก็บผิวข้อเข่าส่วนที่ยังมีสภาพดีไว้ ทำให้ผู้ป่วยไม่ต้องใช้เวลาปรับตัวนาน ในการกลับไปใช้ข้อเข่าได้เหมือนธรรมชาติ

คุณเป็นโรคภูมิแพ้…จริงหรือ…?

คนทั่วไปเมื่อมีอาการคัดจมูก น้ำมูกไหลเรื้อรัง หรือเป็นๆ หายๆ มักจะบอกว่า เป็นโรคภูมิแพ้ หรือไม่ก็เข้าใจว่าตนเป็นหวัด หวัด เกิดจากการติดเชื้อไวรัส คนทั่วไปมักเป็นได้ปีละ 4 – 5 ครั้งก็มากเกินปกติแล้ว อาการหวัดมักเป็นอยู่ 3 – 4 วัน

โรคไข้อีดำอีแดง โรคที่เกิดจากพิษของเชื้อแบคทีเรีย

ข้อมูลจาก สมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทย โรคไข้อีดำอีแดงหรือ scarlet fever เป็นโรคที่เกิดจากพิษของเชื้อแบคทีเรียชื่อ #สเตร็ปโตคอคคัสชนิดเอ ทำให้มีผื่นแดง ตามตัวร่วมกับคอหอยหรือทอนซิลอักเสบ พบบ่อยในช่วงอายุระหว่าง 5-15 ปี

วัคซีนปอดอักเสบนิวโมคอกคัสชนิดใหม่ 20 สายพันธุ์ (PCV 20)

โรคปอดอักเสบจากเชื้อนิวโมคอกคัสเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียสเตรปโตคอคคัสนิวโมเนียอี (Streptococcus pneumoniae) ส่วนใหญ่เชื้อจะพบอยู่ในโพรงจมูกและลำคอ สามารถแพร่กระจายผ่านการสัมผัสสารคัดหลั่งทางละอองฝอยทางการไอหรือจาม เป็นหนึ่งในเชื้อที่ทำให้เกิดปอดอักเสบที่พบบ่อย ทั้งในเด็ก ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ

โรคแอนแทรกซ์ (Anthrax) โรคติดต่อจากสัตว์สู่คน

โรคแอนแทรกซ์ หรือชาวบ้านเรียกว่าโรคกาลี เป็นโรคที่รู้จักกันมาแต่โบราณกาล แอนแทรกซ์นับว่าเป็นโรคระบาดสำคัญโรคหนึ่งในพระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ. 2499 เป็นโรคติดต่ออันตรายร้ายแรงที่เกิดขึ้นได้ในสัตว์กินหญ้าแทบทุกชนิด ทั้งสัตว์ป่า เช่น ช้าง เก้ง กวาง และสัตว์เลี้ยง เช่น โค กระบือ แพะ แกะ แล้วติดต่อไปยังคนและสัตว์อื่น

บอลลูนหัวใจ: แก้ปัญหาหลอดเลือดหัวใจตีบ โดยไม่ต้องผ่าตัดใหญ่

การทำบอลลูนหัวใจหรือ PCI เป็นการรักษาที่มีประสิทธิภาพในการรักษาภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบ ช่วยให้เลือดไหลเวียนได้สะดวก ลดอาการเจ็บหน้าอก และลดความเสี่ยงของหัวใจวาย เป็นการเปิดหลอดเลือดโดยไม่ต้องผ่าตัดใหญ่ ทำให้ผู้ป่วยฟื้นตัวเร็วขึ้น อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยยังคงต้องดูแลสุขภาพ หมั่นออกกำลังกาย รับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ และลดปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ เพื่อรักษาสุขภาพของหัวใจในระยะยาว

ลิ้นหัวใจเทียมคืออะไร? ทำไมต้องเปลี่ยน? และอะไรบ้างที่คุณควรรู้?

การผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจเทียมเป็นหนึ่งในวิธีการรักษาสำหรับผู้ป่วยที่มีปัญหาลิ้นหัวใจผิดปกติ และการผ่าตัดเปลี่ยนลินหัวใจจะช่วยฟื้นฟูการทำงานของหัวใจให้กลับมาใกล้เคียงปกติ อย่างไรก็ตามผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาจะต้องได้รับการประเมินอย่างละเอียด เพื่อเลือกชนิดของลิ้นหัวใจที่เหมาะสม

หัวใจล้มเหลว อาการเป็นอย่างไร ป้องกันได้อย่างไรบ้าง

หัวใจล้มเหลวคือภาวะที่หัวใจไม่สามารถสูบฉีดเลือดได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้ร่างกายได้รับออกซิเจนและสารอาหารไม่เพียงพอ อาการสำคัญที่ควรสังเกต ได้แก่ เหนื่อยง่าย หายใจลำบาก ขาบวม และน้ำหนักเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่มักเกี่ยวข้องกับโรคหัวใจและหลอดเลือด การวินิจฉัยและรักษาอย่างรวดเร็วจะช่วยลดความเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนรุนแรง

Copyright © 2024 All Rights Reserved | Praram 9 Hospital