บทความสุขภาพ

Knowledge

ขลิบปลายอวัยวะเพศชาย คืนความมั่นใจให้กับคุณ

นพ. ประภากร ก๋งอุบล

ทำไมต้องขลิบปลายอวัยวะเพศชาย?


ปกติแล้ว เด็กผู้ชายแรกเกิดหนังหุ้มปลายจะยังปิดอยู่ แต่จะมีรูเล็ก ๆเปิดให้สามารถปัสสาวะได้ เมื่อร่างกายเจริญเติบโตขึ้น จะสามารถรูดเปิดหนังหุ้มปลายได้มากขึ้นเรื่อย ๆ ทั้งนี้ก็ต้องอาศัยความร่วมมือของคุณพ่อคุณแม่ในการช่วยหมั่นค่อย ๆ พยายามรูดเปิด และทำความสะอาดทุกวัน ก็จะสามารถรูดเปิดพ้นส่วนหัวของอวัยวะเพศชายได้เองในที่สุด


แต่ในบางรายที่หนังหุ้มปลายตีบมาก ทำให้ปัสสาวะลำบาก เด็กจะร้อง เพราะเจ็บตอนปัสสาวะ จากการที่หนังหุ้มปลายโป่งพองตอนปัสสาวะ ทำให้เกิดการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะตามมาได้ ในกรณีนี้จำเป็นต้องขลิบหนังหุ้มปลายตั้งแต่วัยเด็ก


ในผู้ใหญ่บางราย สามารถรูดเปิดหนังหุ้มปลายได้ แต่มีการรัดตึงของหนังส่วนปลาย ทำให้มีอาการปวดบวมส่วนหัวอวัยวะเพศเวลาแข็งตัว และเวลามีเพศสัมพันธ์ ทำให้ต้องขลิบหนังหุ้มปลาย หรือในกรณีมีการอักเสบติดเชื้อเรื้อรังจากโรคเบาหวาน หรือในรายที่รูดเปิดหนังหุ้มปลายได้ไม่สุด เกิดการหมักหมมของเชื้อโรคข้างใน เกิดการอักเสบติดเชื้อ ทำให้ต้องทำการขลิบปลายหนังหุ้มอวัยวะเพศออก


“การผ่าตัดขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย สามารถทำได้ทุกช่วงอายุ ตั้งแต่เด็กแรกเกิด ไปจนถึงวัยสูงอายุ” ทั้งนี้ถ้าเป็นเด็กเล็กมาก ๆ จะต้องทำโดยแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญและทำในโรงพยาบาลที่มีความพร้อม


ประโยชน์ของการขลิบปลายหนังหุ้มอวัยวะเพศชาย


  1. ทำให้ง่ายต่อการทำความสะอาดอวัยวะเพศ ลดการหมักหมมของเชื้อโรคและกลิ่นอันไม่พึงประสงค์ ที่อาจทำให้มีปัญหากับคู่นอนได้
  2. ลดการติดเชื้อของทางเดินปัสสาวะ ในกรณีที่หนังหุ้มปลายตีบแคบมากจนปัสสาวะลำบาก ซึ่งทำให้เกิดการติดเชื้อได้
  3. ลดการเกิดหนังหุ้มปลายอักเสบ (balanitis) ที่มักเกิดจากการรูดเปิดล้างได้ไม่ดี หรือมีโรคเบาหวานร่วมด้วย
  4. ลดความเสี่ยงของโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ รวมไปถึง HIV แต่อย่างไรก็ตาม แนะนำใช้ถุงยางอนามัยเพราะเป็นการป้องกันที่ดีที่สุด
  5. แก้ปัญหาหนังหุ้มปลายตีบตัน (phimosis) ซึ่งคือการรูดเปิดหนังหุ้มปลายไม่ได้
  6. ป้องกันการเกิดหนังหุ้มปลายบีบรัด (paraphimosis) ที่มักพบหลังการมีเพศสัมพันธ์ หรือสำเร็จความใคร่ด้วยตนเองแล้วรูดหนังหุ้มปลายกลับไปปิด ทำให้เกิดการบีบรัด และมีอาการปวดบวมส่วนปลายของอวัยวะเพศ จนทำให้ต้องมาโรงพยาบาล
  7. ตรงกับข้อกำหนดตามหลักศาสนาอิสลาม ที่เรียกว่า “การทำสุหนัต”
  8. ลดความเสี่ยงของมะเร็งองคชาติ
  9. ประโยชน์ในด้านอื่น ๆ เช่น เรื่องความสวยงามในการเปิดให้เห็นส่วนหัวอวัยวะเพศชาย, ความสุขระหว่างการมีเพศสัมพันธ์ที่มากขึ้นจากการที่ไม่มีหนังหุ้มปิด ทำให้รับสัมผัสได้เต็มที่ระหว่างมีเพศสัมพันธ์, ช่วยแก้ปัญหาเรื่องหลั่งเร็วเพราะเชื่อว่า เมื่อหัวส่วนปลายอวัยวะเพศเปิด ก็จะเสียดสีกับสิ่งรอบ ๆ ตลอดเวลา ลดความไวต่อสัมผัส ลดความรู้สึก ทำให้หลั่งช้าลง

การขลิบหนังหุ้มปลายทำอย่างไรและต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้าง?


  • เป็นวิธีการขลิบปลายหนังหุ้มอวัยวะเพศชายแบบชิดหัว เพื่อพยายามซ่อนรอยแผลเป็นให้ได้มากที่สุด
  • ระยะเป็นการผ่าตัดเล็ก ไม่มีการดมยาสลบหรือบล็อคหลัง เพียงแค่ฉีดยาชาเท่านั้น ใช้เวลาผ่าตัดประมาณ ครึ่งถึงหนึ่งชั่วโมง
  • ไม่ต้องงดน้ำ งดอาหารก่อนผ่าตัด
  • ต้องแจ้งแพทย์เรื่องโรคประจำตัว ยาประจำ หรือประวัติการแพ้ยา
  • ลางานแค่ในวันผ่าตัด หรือไม่เกินสามวัน เพราะหลังผ่าตัดมักไม่มีการปวดแผลรุนแรง
  • เวลาแผลหาย โดยเฉลี่ย ในสัปดาห์แรกแผลจะเริ่มแห้ง สัปดาห์ที่ 2 แผลจะเริ่มตกสะเก็ด สัปดาห์ที่ 3 ไหมละลายหลุด ควรเริ่มมีเพศสัมพันธ์หลังผ่าตัด 3 – 4 สัปดาห์ ซึ่งแพทย์จะพิจารณาเป็นราย ๆไป เช่น ถ้ามีโรคเบาหวานหรือแผลติดเชื้อก็อาจใช้เวลานานขึ้น

ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญกับ Praram 9 V ปรึกษาแพทย์ได้ทุกที่ผ่านทางวิดีโอคอล (Telemedicine)


เกี่ยวกับผู้เขียนบทความ

นพ. ประภากร ก๋งอุบล

นพ. ประภากร ก๋งอุบล

ศูนย์ศัลยกรรม

บทความที่เกี่ยวข้อง (10)

ดูทั้งหมด

รู้ทันอาการริดสีดวงทวาร กับพฤติกรรมเสี่ยงที่ต้องระมัดระวัง

ริดสีดวงทวาร มีสาเหตุมาจากการเพิ่มแรงดันในช่องทวารหนัก ทำให้เนื้อเยื่อหลอดเลือดในช่องทวารหนัก (Anal cushion) เกิดการขยายตัวเป็นหัวริดสีดวง

ปัสสาวะบ่อย ไม่ใช่เรื่องเล็ก เสี่ยงโรคอันตรายบั่นทอนคุณภาพชีวิต

ปัสสาวะบ่อยเกิดได้จากหลายปัจจัย ตั้งแต่การดื่มน้ำหรือของเหลวในปริมาณมาก ได้รับคาเฟอีนมาก การใช้ยา ไปจนถึงโรคที่เกี่ยวข้องกับทางเดินปัสสาวะ เรียนรู้ในบทความนี้!

การผ่าตัดเปลี่ยนผิวข้อเข่าเทียมบางส่วน ทางเลือกรักษาข้อเข่าเสื่อม แผลเล็ก ฟื้นตัวเร็ว

การผ่าตัดเปลี่ยนผิวข้อเข่าเทียมบางส่วน หรือ UKA เป็นการผ่าตัดรักษาโรคข้อเข่าเสื่อม โดยเอาผิวข้อเฉพาะส่วนที่สึกหรอออก และเก็บผิวข้อเข่าส่วนที่ยังมีสภาพดีไว้ ทำให้ผู้ป่วยไม่ต้องใช้เวลาปรับตัวนาน ในการกลับไปใช้ข้อเข่าได้เหมือนธรรมชาติ

คุณเป็นโรคภูมิแพ้…จริงหรือ…?

คนทั่วไปเมื่อมีอาการคัดจมูก น้ำมูกไหลเรื้อรัง หรือเป็นๆ หายๆ มักจะบอกว่า เป็นโรคภูมิแพ้ หรือไม่ก็เข้าใจว่าตนเป็นหวัด หวัด เกิดจากการติดเชื้อไวรัส คนทั่วไปมักเป็นได้ปีละ 4 – 5 ครั้งก็มากเกินปกติแล้ว อาการหวัดมักเป็นอยู่ 3 – 4 วัน

โรคไข้อีดำอีแดง โรคที่เกิดจากพิษของเชื้อแบคทีเรีย

ข้อมูลจาก สมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทย โรคไข้อีดำอีแดงหรือ scarlet fever เป็นโรคที่เกิดจากพิษของเชื้อแบคทีเรียชื่อ #สเตร็ปโตคอคคัสชนิดเอ ทำให้มีผื่นแดง ตามตัวร่วมกับคอหอยหรือทอนซิลอักเสบ พบบ่อยในช่วงอายุระหว่าง 5-15 ปี

วัคซีนปอดอักเสบนิวโมคอกคัสชนิดใหม่ 20 สายพันธุ์ (PCV 20)

โรคปอดอักเสบจากเชื้อนิวโมคอกคัสเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียสเตรปโตคอคคัสนิวโมเนียอี (Streptococcus pneumoniae) ส่วนใหญ่เชื้อจะพบอยู่ในโพรงจมูกและลำคอ สามารถแพร่กระจายผ่านการสัมผัสสารคัดหลั่งทางละอองฝอยทางการไอหรือจาม เป็นหนึ่งในเชื้อที่ทำให้เกิดปอดอักเสบที่พบบ่อย ทั้งในเด็ก ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ

โรคแอนแทรกซ์ (Anthrax) โรคติดต่อจากสัตว์สู่คน

โรคแอนแทรกซ์ หรือชาวบ้านเรียกว่าโรคกาลี เป็นโรคที่รู้จักกันมาแต่โบราณกาล แอนแทรกซ์นับว่าเป็นโรคระบาดสำคัญโรคหนึ่งในพระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ. 2499 เป็นโรคติดต่ออันตรายร้ายแรงที่เกิดขึ้นได้ในสัตว์กินหญ้าแทบทุกชนิด ทั้งสัตว์ป่า เช่น ช้าง เก้ง กวาง และสัตว์เลี้ยง เช่น โค กระบือ แพะ แกะ แล้วติดต่อไปยังคนและสัตว์อื่น

บอลลูนหัวใจ: แก้ปัญหาหลอดเลือดหัวใจตีบ โดยไม่ต้องผ่าตัดใหญ่

การทำบอลลูนหัวใจหรือ PCI เป็นการรักษาที่มีประสิทธิภาพในการรักษาภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบ ช่วยให้เลือดไหลเวียนได้สะดวก ลดอาการเจ็บหน้าอก และลดความเสี่ยงของหัวใจวาย เป็นการเปิดหลอดเลือดโดยไม่ต้องผ่าตัดใหญ่ ทำให้ผู้ป่วยฟื้นตัวเร็วขึ้น อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยยังคงต้องดูแลสุขภาพ หมั่นออกกำลังกาย รับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ และลดปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ เพื่อรักษาสุขภาพของหัวใจในระยะยาว

ลิ้นหัวใจเทียมคืออะไร? ทำไมต้องเปลี่ยน? และอะไรบ้างที่คุณควรรู้?

การผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจเทียมเป็นหนึ่งในวิธีการรักษาสำหรับผู้ป่วยที่มีปัญหาลิ้นหัวใจผิดปกติ และการผ่าตัดเปลี่ยนลินหัวใจจะช่วยฟื้นฟูการทำงานของหัวใจให้กลับมาใกล้เคียงปกติ อย่างไรก็ตามผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาจะต้องได้รับการประเมินอย่างละเอียด เพื่อเลือกชนิดของลิ้นหัวใจที่เหมาะสม

หัวใจล้มเหลว อาการเป็นอย่างไร ป้องกันได้อย่างไรบ้าง

หัวใจล้มเหลวคือภาวะที่หัวใจไม่สามารถสูบฉีดเลือดได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้ร่างกายได้รับออกซิเจนและสารอาหารไม่เพียงพอ อาการสำคัญที่ควรสังเกต ได้แก่ เหนื่อยง่าย หายใจลำบาก ขาบวม และน้ำหนักเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่มักเกี่ยวข้องกับโรคหัวใจและหลอดเลือด การวินิจฉัยและรักษาอย่างรวดเร็วจะช่วยลดความเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนรุนแรง

Copyright © 2024 All Rights Reserved | Praram 9 Hospital