บทความสุขภาพ

Knowledge

ทำอย่างไร เมื่อหลังคลอด ไม่มีความรู้สึกทางเพศ

หลังคลอดมาประมาณ 1 ปี ตอนนี้ไม่มีความรู้สึกทางเพศเลยค่ะ กลัวสามีเบื่อ ทำอย่างไรดี?


คำถาม หลังคลอดมาประมาณ 1 ปี ตอนนี้ไม่มีความรู้สึกทางเพศเลยค่ะ กลัวสามีเบื่อ ทำอย่างไรดีคะจึงจะทำให้ความรู้สึกเมื่อครั้งแต่งงานใหม่ ๆ กลับมาได้ค่ะ


สาเหตุของไม่มีความรู้สึกทางเพศหลังคลอด


  1. ทางด้านจิตใจ คงเกี่ยวเนื่องกับความวุ่นวายในการเลี้ยงทารก ซึ่งต้องการเวลาและการเอาใจใส่มาก บางครั้งบางคราวทำให้เกิดความเครียด และความกังวลในจิตใจของพ่อแม่ จนเป็นเหตุกระทบถึงความต้องการทางเพศ หรือความรู้สึกทางเพศได้
  2. ทางด้านร่างกาย ไม่ทราบว่าคุณคลอดเองหรือผ่าคลอด อย่างไรก็ตามบางรายอาจจะมีความเจ็บปวดแผล เมื่อมีเพศสัมพันธ์เป็นเหตุให้เกิดความระแวงเพราะมีเพศสัมพันธ์ จนกระทั่งทำให้ความรู้สึกทางเพศหดหายไปได้


วิธีแก้ไขปัญหา


  • แม้ว่าคุณเองไม่มีความรู้สึกทางเพศ หรือไม่มีความต้องการทางเพศคุณก็สามารถมีเพศสัมพันธ์ได้โดยไม่ลำบาก ขอเพียงอย่าได้ปฏิเสธความต้องการของฝ่ายสามีเท่านั้น หมายความว่าเมื่อฝ่ายสามีมีความต้องการทางเพศ ต้องการมีเพศสัมพันธ์กับคุณ คุณก็ต้องเออออห่อหมกไปด้วย แม้ว่ากายใจของคุณไม่พร้อมหรือไม่ต้องการ หากคุณทำเช่นนี้ได้รับรองสามีไม่เบื่อแน่ครับ
  • ประการที่สอง คุณต้องพูดคุยปรึกษาเรื่องในมุ้งกับฝ่ายสามีชนิดเปิดอกว่า ขณะนี้คุณมีความรู้สึกอย่างไรจะช่วยกันแก้ไขอย่างไรดี หากฝ่ายสามีเข้าใจในเหตุการณ์ดี ผมก็เชื่อว่าสามีคงจะเห็นใจ ไม่ข่มขืนน้ำใจกัน หรืออาจจะจูงมือกันไปพบแพทย์ เพื่อปรึกษาหาต้นเหตุที่แท้จริง

สามีที่ดีมีความรับผิดชอบ เขาไม่เบื่อภรรยาที่มีภาระเลี้ยงดูลูกที่กำลังแบเบาะอย่างง่าย ๆ หรอกครับ มีเพศสัมพันธ์นาน ๆ ซักที ก็คงจะไม่ทำให้เกิดความเบื่อหน่าย ขอให้มีความเข้าใจกันเป็นใช้ได้ ปัญหาอีกประการหนึ่งของคุณ คือ จะทำอย่างไรดีเพื่อให้ความรู้สึกกลับมาเหมือนเมื่อแต่งงานใหม่ ๆ ผมคิดว่าสถานการณ์มันเปลี่ยนไป เวลามันเปลี่ยนไป สังขารมันเปลี่ยนไป คุณจะให้ความรู้สึกกลับมาเหมือนช่วงข้าวใหม่ปลามัน คงจะไม่ได้หรอกครับ คุณตั้งความหวังไว้มากเกินไป จนสามารถทำให้เกิดความเครียด เพราะมันไม่ได้อย่างที่หวัง เป็นผลให้ความรู้สึกทางเพศ พลอยถูกกระทบไปด้วย เพราะความเครียดของจิตใจฉะนั้นคุณต้องเข้าใจถึงความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ขณะนี้คุณมีบุคคลที่สาม คือ ลูก มาร่วมทุกข์ร่วมสุขด้วยอีกทั้งคน แล้วคุณจะมีเวลาไปจู๋จี๋กันตามลำพังเหมือนเมื่อแต่งงานกันใหม่ ๆ ได้อย่างไร อย่าได้ไปคิดอะไรมาก ทำตัวให้สบาย ทำใจให้สบาย ผ่อนคลายอารมณ์สร้างบรรยากาศภายในครอบครัวให้งดงาม มีความสุข ผมเชื่อว่าเรื่องในมุ้งก็จะพลอยดีตามไปด้วยอย่างแน่นอน

เกี่ยวกับผู้เขียนบทความ

บทความที่เกี่ยวข้อง (10)

ดูทั้งหมด

หมอนรองกระดูกเสื่อม ต้นเหตุอาการปวดหลังเรื้อรังที่อายุน้อยก็พบได้

หมอนรองกระดูกเสื่อมคือภาวะที่เกิดจากการเสื่อมของหมอนรองกระดูกจนไม่สามารถทำหน้าที่ลดแรงกระแทกได้ ทำให้กระดูกรอบ ๆ สึกและอักเสบขึ้นจนเกิดอาการปวดเรื้อรัง

อาการปวดสะโพกร้าวลงขา อีกหนึ่งสัญญาณเส้นประสาทถูกกดทับ

อาการปวดสะโพกร้าวลงขา (Sciatica pain) เกิดจากการถูกกดทับที่เส้นประสาท ทำให้รู้สึกปวดจากช่วงเอวหรือสะโพกร้าวลงขาด้านหลัง บางรายอาจร้าวไปถึงน่องและเท้าได้

ปวดข้อเท้าเกิดจากสาเหตุอะไร มีวิธีรักษาอย่างไรไม่ให้เจ็บเรื้อรัง?

ทำความเข้าใจกับอาการปวดข้อเท้าที่ควรรู้ อาการแบบไหนที่ควรเข้าปรึกษาแพทย์? พร้อมเรียนรู้สาเหตุของอาการ วิธีรักษา ตลอดจนการป้องกันไม่ให้เจ็บข้อเท้าเรื้อรัง

คำแนะนำการป้องกันมาลาเรียสำหรับนักเดินทาง

โรคมาลาเรียเป็นโรคที่เกิดจากโปรโตซัว Plasmodium นำโดยยุงก้นปล่อง มีทั้งหมด 5 สายพันธุ์ สายพันธ์ุที่รุนแรงคือ Plasmodium falciparum ซึ่งเป็นสายพันธุ์หลักในทวีปแอฟริกา ทำให้เกิดการติดเชื้อรุนแรง อวัยวะต่างๆล้มเหลว ติดเชื้อขึ้นสมอง โคม่า ชัก และเสียชีวิตได้ หากได้รับการรักษาที่ล่าช้า

ไส้เลื่อน ใครก็เป็นได้ อันตรายที่ต้องรักษาก่อนเกิดภาวะแทรกซ้อน

ไส้เลื่อน คือภาวะที่ลำไส้เลื่อนหรือดันออกมาจากช่องท้อง สามารถสังเกตเห็นก้อนนูนออกมาตามขาหนีบ หน้าท้อง สะดือ หากไม่รักษาอาจเกิดอันตรายจากอาการแทรกซ้อนได้

รู้ทันต้อหิน โรคร้ายทำลายการมองเห็น รีบรักษาก่อนสายเกินแก้

ต้อหิน (Glaucoma) คือโรคตาที่มีสาเหตุจากขั้วประสาทตาเสื่อม ผู้ป่วยจะมีอาการปวดหัวปวดตา กระจกตาขุ่น การมองเห็นแย่ลง และค่อย ๆ สูญเสียการมองเห็นไปในที่สุด

Hypothyroidism คืออะไร? รู้ทันสาเหตุ อาการ และวิธีรักษา

Hypothyroidism คือ ภาวะพร่องฮอร์โมนไทรอยด์ หรือฮอร์โมนไทรอยด์ทำงานต่ำ ทำให้ระดับการเผาผลาญพลังงานลดลง และนำมาสู่การทำงานของระบบต่าง ๆ ผิดปกติ

รู้ทันอาการน้ำในหูไม่เท่ากัน ใครเวียนหัว บ้านหมุนบ่อยต้องระวัง

โรคน้ำในหูไม่เท่ากัน เป็นความผิดปกติของระบบน้ำในหูชั้นใน ซึ่งสามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ ทำให้ผู้ป่วยมีอาการ เวียนหัว บ้านหมุน ทรงตัวไม่อยู่ และการได้ยินผิดปกติ

หายใจไม่อิ่ม หายใจลำบาก สัญญาณอันตรายที่คุณไม่ควรมองข้าม

หายใจไม่อิ่ม เป็นอาการที่หลายคนเผชิญ อาจมีอาการแน่นหน้าอก หายใจไม่เต็มปอด หายใจลำบาก หัวใจเต้นเร็ว เหนื่อยง่าย บทนี้ความจะพาไปดูสาเหตุของอาการเหล่านี้กัน

ภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน อันตรายถึงชีวิตแบบไร้สัญญาณเตือน

หัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน (Sudden Cardiac Arrest) คือ ภาวะที่หัวใจหยุดทำงานกะทันหัน ทำให้หมดสติและเสียชีวิตในไม่กี่นาที จึงเป็นภาวะฉุกเฉินที่ต้องรับการรักษาทันที

Copyright © 2024 All Rights Reserved | Praram 9 Hospital