บทความสุขภาพ

Knowledge

เซ็กซ์เป็นเรื่องใกล้ตัว…โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ก็เช่นกัน!

นพ. จิรายุ ฉิมวิไลทรัพย์

โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ (STDs) คือการติดเชื้อไวรัส แบคทีเรีย และปรสิตจากการมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ได้รับการป้องกันที่ถูกต้อง โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์เป็นโรคติดต่อที่พบได้สูงขึ้นในปัจจุบันและเป็นโรคที่ใกล้ตัวกว่าที่คิด โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์หลายชนิด ผู้ติดเชื้ออาจไม่ทราบว่าภายในร่างกายได้รับเชื้อแล้ว แต่จะสามารถแพร่เชื้อให้ผู้อื่นได้เพราะโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์บางชนิดอาจไม่แสดงอาการให้เห็นในระยะเริ่มต้น แต่จะเริ่มทำลายระบบภูมิคุ้มกันภายในร่างกายก่อนจะแสดงอาการออกมาภายหลัง


โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ (STDs) ที่พบได้บ่อยมีอะไรบ้าง?


โรคซิฟิลิส (Syphilis)


เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่เกิดจากการติดเชื้อจากแบคทีเรียชื่อ Treponema pallidum โดยเชื้อโรคนี้จะสามารถติดต่อผ่านทางต่างๆ ได้ดังนี้ การมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ได้รับการป้องกันที่เหมาะสมทั้งการมีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนัก และทางช่องปาก และยังสามารถติดต่อผ่านการสัมผัสทางร่างกายได้อีกด้วย เช่น การสัมผัสแผลเปิด/แผลติดเชื้อตามร่างกาย การจูบ นอกจากนี้ยังสามารถติดต่อผ่านทางเลือดรวมถึงการถ่ายทอดเชื้อจากแม่สู่ทารกในครรภ์ได้ โรคซิฟิลิสเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่ส่งผลให้เกิดความผิดปกติในระบบประสาทอีกด้วยจึงถือว่าเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่น่ากลัวมากๆ อีกโรคหนึ่ง


โรคหนองในแท้ (Gonorrhoea)


เป็นอีกหนึ่งโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่พบได้บ่อย การติดเชื้อจากโรคหนองในแท้สามารถติดต่อได้จากการมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ได้ป้องกันโดยมีหรือไม่มีน้ำอสุจิก็ได้ และยังติดต่อได้ทั้งทางช่องคลอด ทางทวารหนัก ทางช่องปาก หรือการสัมผัสเยื่อบุตามอวัยวะต่างๆ อันตรายอีกหนึ่งอย่างของโรคหนองในคือส่งผลต่อระบบสืบพันธุ์ โดยเฉพาะในเพศหญิงอาจทำให้เสี่ยงต่อการเกิดภาวะมีบุตรยาก และท้องนอกมดลูก


โรคหนองในเทียม (Chlamydia)


โรคหนองในเทียมลักษณะคล้ายโรคหนองในแท้ แต่โรคหนองในเทียมเกิดได้จากเชื้อหลายชนิดกว่าโรคหนองในแท้ และมีลักษณะโรคที่เกิดขึ้นได้เล็กกว่า สามารถติดต่อได้โดยการสัมผัสเยื่อบุผิวตามอวัยวะต่างๆ เช่น องคชาต ท่อปัสสาวะ ช่องคลอด ปากมดลูก ทวารหนัก ช่องปาก ลำคอโดยเชื้อจะอยู่ในสารคัดหลั่งรวมไปถึงน้ำอสุจิด้วย หากมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ใช้ถุงยางอนามัยก็สามารถติดเชื้อมาได้โดยตรง


โรคเริม (Herpes)


โรคเริมสามารถติดต่อได้จากการสัมผัสเชื้อจากผู้ติดเชื้อ เช่น การจูบ การสัมผัสผิวหนังบริเวณที่ติดเชื้อ และจากการมีเพศสัมพันธ์กับผู้ที่ติดเชื้อ โดยโรคเริมสามารถรักษาได้แต่ไม่หายขาด หากร่างกายมีภูมิคุ้มกันที่ดีก็จะทำให้โรคสงบขึ้นได้ แต่หากช่วงไหนที่ผู้ติดเชื้อมีภูมิคุ้มกันต่ำเชื้อเริมก็จะสามารถกลับมาแสดงอาการได้อีก


เชื้อไวรัส HPV


เชื้อ HPV เป็นสาเหตุของการเกิดโรคมะเร็งปากมดลูกที่ติดต่อได้ง่ายทางเพศสัมพันธ์ หรือจากการสัมผัสบริเวณอวัยวะเพศของผู้ที่มีเชื้อ หากได้รับเชื้อ HPV เชื้อตัวนี้จะเข้าไปเปลี่ยนเซลล์ปากมดลูกให้มีความผิดปกติและกลายเป็นเซลล์มะเร็งในที่สุด เชื้อ HPV มีหลากหลายสายพันธุ์ แต่เชื้อ HPV ชนิดที่ก่อมะเร็งที่พบได้บ่อย คือ สายพันธุ์ 16 และ 18 ซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดมะเร็งปากมดลูกถึง 70% และสายพันธุ์ที่ 6 และ 11 ก็อาจเป็นสาเหตุของโรคหูดหงอนไก่ได้


เชื้อไวรัส HIV


เชื้อไวรัส HIV คือเชื้อที่สามารถติดต่อได้ง่ายมากๆ การติดเชื้อหลักจะสามารถติดได้จากเลือด เช่น การส่งผ่านเชื้อจากแม่สู่ลูกในครรภ์ และการใช้ของที่ติดเชื้อร่วมกัน เช่น การใช้สารเสพติด หรือแม้กระทั่งการใช้เข็มติดเชื้อ และสามารถติดต่อได้ทางเพศสัมพันธ์ที่ไม่ได้มีการป้องกันที่เหมาะสม โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากมีเลือดก็จะสามรถติดต่อได้ง่ายมากขึ้น


โรคหูดหงอนไก่ (Condyloma Acuminatum)


โรคหูดหงอนไก่เป็นผลมาจากการติดเชื้อไวรัส HPV สายพันธุ์ที่ 6 และสายพันธุ์ที่ 11 ซึ่งเชื้อ HPV สายพันธุ์นี้สามารถติดต่อผ่านทางเพศสัมพันธ์ และยังสามารถติดต่อได้ผ่านทางการสัมผัสผิวหนังได้ด้วย


โรคพยาธิในช่องคลอด (Trichomoniasi)


เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่เกิดจากเชื้อ Trichomonas vaginalis โดยเชื้อตัวนี้มีขนาดเล็กมากๆ ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า มักจะพบได้บ่อยในเพศหญิง และไม่ค่อยแสดงอาการในระยะเริ่มต้น


อาการจากโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์มีอะไรบ้าง?


สำหรับอาการของโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์จะคล้ายกันบางอาการ ได้แก่


  • เป็นผื่นหรือคันที่อวัยวะเพศ
  • มีอาการแสบเวลาปัสสาวะ
  • เจ็บแผล เป็นตุ่ม หรือมีหนองที่อวัยวะเพศ
  • มีติ่งหรือก้อนเนื้อขึ้นบริเวณผิวหนัง
  • เจ็บปวดที่อวัยวะเพศหรือท้องน้อย
  • มีเลือดออกหลังจากมีเพศสัมพันธ์

แต่จะมีบางอาการจะจำเพาะกับอวัยวะของแต่ละเพศ


อาการในเพศชาย


  • มีน้ำหรือหนองออกมาจากท่อปัสสาวะ
  • มีแผลริมแข็งที่อวัยวะเพศ

อาการในเพศหญิง


  • คันหรือตกขาวในช่องคลอด
  • ช่องคลอดมีกลิ่นเหม็นผิดปกติ
  • สีของตกขาวผิดปกติไปจากเดิม

พฤติกรรมใดบ้างที่เสี่ยงติดเชื้อจากโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์?


  • การมีเพศสัมพันธ์ทางปาก ทางทวารหนัก หรือทางช่องคลอดโดยไม่มีการป้องกัน
  • การใช้สารเสพติด รวมถึงใช้อุปกรณ์เสริมทางเพศร่วมกัน
  • บุคคลที่มีเพศสัมพันธ์กับหญิงหรือชายให้บริการทางเพศโดยไม่ใช้ถุงยางอนามัย
  • บุคคลมีคู่เพศสัมพันธ์มากกว่า 1 คน
  • มีเพศสัมพันธ์โดยไม่ใช้ถุงยางอนามัย หรือ ถุงยางอนามัยแตก รั่ว หลุด (ช่องทางใดช่องทางหนึ่งหรือทุกช่องทางที่ใช้ในการมีเพศสัมพันธ์)
  • คู่เพศสัมพันธ์เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
  • มีประวัติการป่วยติดเชื้อโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ตั้งแต่ 1 ครั้งขึ้นไปในรอบปีที่ผ่านมา

โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ติดต่อได้ทางใดบ้าง?


  • เชื้อสามารถส่งต่อจากคนสู่คนผ่านเลือด น้ำอสุจิ อวัยวะเพศ และของเหลวในร่างกาย ซึ่งมักส่งต่อผ่านการมีเพศสัมพันธ์
  • โรคบางโรคติดต่อจากการสัมผัสทางใดทางหนึ่งได้แก่ ทางปาก ช่องคลอด หรือทวารหนัก

นอกเหนือจากเพศสัมพันธ์แล้ว โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ยังสามารถส่งต่อจากคนสู่คนด้วยการใช้เข็มร่วมกัน การให้เลือด หรือแม้กระทั่งจากแม่สู่ลูกในขณะตั้งครรภ์ หรือขณะคลอดบุตรได้


ป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้อย่างไรบ้าง?


  • ใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์อย่างถูกต้อง
  • ไม่เปลี่ยนคู่นอนบ่อย หรือมีคู่นอนเดียวที่ไม่มีความเสี่ยงต่อโรค
  • รักษาความสะอาดร่างกาย และบริเวณอวัยวะเพศอย่างสม่ำเสมอ

นอกจากนี้โรคบางโรคสามารถป้องกันได้ด้วยการฉีดวัคซีนป้องกันเช่น วัคซีนไวรัสตับอักเสบบี และวัคซีน HPV ซึ่งสามารถฉีดได้ทั้งเพศชายและเพศหญิงอีกด้วยครับ


*** สนใจบริการ Telemedicine และ Smart Healthcare Service สามารถนัดหมายเพื่อเข้ารับการปรึกษาแพทย์ออนไลน์ได้ โดย Scan QR Code ของศูนย์โรงพยาบาลออนไลน์ ได้ที่นี่

pr9v-vdo-call-cta.jpg

หรือ ติดต่อเจ้าหน้าที่ศูนย์โรงพยาบาลออนไลน์ (Praram9V) โดย add line : @praram9v หรือ click https://lin.ee/euA1bAc เพื่อรับคำแนะนำเพิ่มเติม ได้เลยค่ะ


**เวลาทำการ : ทุกวัน เวลา 08.00 – 20.00 น.

เกี่ยวกับผู้เขียนบทความ

นพ. จิรายุ ฉิมวิไลทรัพย์

นพ. จิรายุ ฉิมวิไลทรัพย์

ศูนย์ตรวจสุขภาพ

บทความที่เกี่ยวข้อง (10)

ดูทั้งหมด

คำแนะนำการป้องกันมาลาเรียสำหรับนักเดินทาง

โรคมาลาเรียเป็นโรคที่เกิดจากโปรโตซัว Plasmodium นำโดยยุงก้นปล่อง มีทั้งหมด 5 สายพันธุ์ สายพันธ์ุที่รุนแรงคือ Plasmodium falciparum ซึ่งเป็นสายพันธุ์หลักในทวีปแอฟริกา ทำให้เกิดการติดเชื้อรุนแรง อวัยวะต่างๆล้มเหลว ติดเชื้อขึ้นสมอง โคม่า ชัก และเสียชีวิตได้ หากได้รับการรักษาที่ล่าช้า

ไส้เลื่อน ใครก็เป็นได้ อันตรายที่ต้องรักษาก่อนเกิดภาวะแทรกซ้อน

ไส้เลื่อน คือภาวะที่ลำไส้เลื่อนหรือดันออกมาจากช่องท้อง สามารถสังเกตเห็นก้อนนูนออกมาตามขาหนีบ หน้าท้อง สะดือ หากไม่รักษาอาจเกิดอันตรายจากอาการแทรกซ้อนได้

รู้ทันต้อหิน โรคร้ายทำลายการมองเห็น รีบรักษาก่อนสายเกินแก้

ต้อหิน (Glaucoma) คือโรคตาที่มีสาเหตุจากขั้วประสาทตาเสื่อม ผู้ป่วยจะมีอาการปวดหัวปวดตา กระจกตาขุ่น การมองเห็นแย่ลง และค่อย ๆ สูญเสียการมองเห็นไปในที่สุด

Hypothyroidism คืออะไร? รู้ทันสาเหตุ อาการ และวิธีรักษา

Hypothyroidism คือ ภาวะพร่องฮอร์โมนไทรอยด์ หรือฮอร์โมนไทรอยด์ทำงานต่ำ ทำให้ระดับการเผาผลาญพลังงานลดลง และนำมาสู่การทำงานของระบบต่าง ๆ ผิดปกติ

รู้ทันอาการน้ำในหูไม่เท่ากัน ใครเวียนหัว บ้านหมุนบ่อยต้องระวัง

โรคน้ำในหูไม่เท่ากัน เป็นความผิดปกติของระบบน้ำในหูชั้นใน ซึ่งสามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ ทำให้ผู้ป่วยมีอาการ เวียนหัว บ้านหมุน ทรงตัวไม่อยู่ และการได้ยินผิดปกติ

หายใจไม่อิ่ม หายใจลำบาก สัญญาณอันตรายที่คุณไม่ควรมองข้าม

หายใจไม่อิ่ม เป็นอาการที่หลายคนเผชิญ อาจมีอาการแน่นหน้าอก หายใจไม่เต็มปอด หายใจลำบาก หัวใจเต้นเร็ว เหนื่อยง่าย บทนี้ความจะพาไปดูสาเหตุของอาการเหล่านี้กัน

ภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน อันตรายถึงชีวิตแบบไร้สัญญาณเตือน

หัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน (Sudden Cardiac Arrest) คือ ภาวะที่หัวใจหยุดทำงานกะทันหัน ทำให้หมดสติและเสียชีวิตในไม่กี่นาที จึงเป็นภาวะฉุกเฉินที่ต้องรับการรักษาทันที

อาการปวดเข่าคืออะไร มีวิธีป้องกันข้อเข่ามีอะไรบ้าง?

อาการปวดเข่าเป็นอาการที่เกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น ข้อเข่าเสื่อม และส่งผลต่อชีวิตประจำวันได้ การรู้ถึงสาเหตุ วิธีป้องกัน และการรักษาอาการปวดเข่าจึงเป็นเรื่องสำคัญ

EST คืออะไร? การตรวจสมรรถภาพหัวใจ Exercise Stress Test

EST (Exercise Stress Test) คือ การออกกำลังกายตรวจสมรรถภาพหัวใจ เป็นวิธีวินิจฉัยสุขภาพหัวใจเพื่อทำการรักษาต่อไป EST มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง? บทความนี้มีคำตอบ

ภาวะข้อไหล่หลุดคืออะไร รู้สาเหตุ อาการ และวิธีรักษาให้หายดี

ภาวะข้อไหล่หลุดคืออาการที่พบได้บ่อยในคนที่ใช้แรงเยอะ ๆ หรือเคยไหล่หลุดมาก่อน มาดูกันว่าอะไรคือสาเหตุที่ทำให้ไหล่หลุดได้บ้าง และจะต้องดูแลรักษาตัวอย่างไ

Copyright © 2024 All Rights Reserved | Praram 9 Hospital