บทความสุขภาพ

Knowledge

ทำหมันแล้วอยากมีลูกได้ไหม? ต้องอ่านการต่อหมันชายแบบเจาะโดยใช้กล้องจุลทรรศน์​

นพ. สุธี อุ้มปรีชา

การทำหมันชายถือเป็นการคุมกำเนิดถาวร แต่ก็สามารถแก้ไขได้ เพียงแต่ผลลัพธ์ที่ได้อาจไม่ 100% การทำผ่าตัดต่อหมันชาย (Vasectomy reversal) เป็นการต่อท่ออสุจิใหม่ในผู้ชายที่ได้รับการทำหมันมาก่อนแล้วต้องการจะมีบุตรอีก


โอกาสที่การผ่าตัดต่อหมันชายจะสำเร็จ


ผลสำเร็จของการผ่าตัดขึ้นอยู่กับหลายปัจจัยเช่นระยะเวลาในการผ่าตัดทำหมัน, วิธีการทำหมัน, การตีบตันของท่อน้ำเชื้อส่วนต้น, การเกิดภูมิต้านทานต่อเชื้ออสุจิ และความชำนาญของแพทย์ในการผ่าตัด โดยทั่วไปถ้าทำหมันไม่เกิน 10 ปี โอกาสประสบผลสำเร็จ 70-80% ถ้าทำหมันเกิน 10 ปี โอกาสสำเร็จ 20-30% ดังนั้นคนที่ทำหมันมาเกิน 10 ปีอาจพิจารณาทำเด็กหลอดแก้วเป็นอีกทางเลือกหนึ่ง


ขั้นตอนการทำ

ขั้นตอนการทำหมันชายจะใช้การฉีดยาชาเฉพาะที่ เหมือนตอนทำหมัน แล้วใช้คีมเล็กๆ เจาะเข้าไปดึงท่อน้ำเชื้อขึ้นมาหาตำแหน่งที่ทำหมัน แล้วตัดต่อท่อน้ำเชื้อใหม่ จากประสบการณ์ที่ทำมากว่า 200 ราย คนไข้จะมีความรู้สึกเจ็บ จุก เล็กน้อย 2-3นาที


การต่อหมันชายมีหลายวิธี ที่โรงพยาบาลพระรามเก้า ใช้แบบเจาะ( no-scalpel Vasectomy reversal) เปิดแผลเล็กๆประมาณ 1 ซม. ที่ลูกอัณฑะ 2 ข้าง ใช้เพียงการฉีดยาชา ไม่ต้องดมยาสลบหรือฉีดยาชาเข้าไขสันหลัง การเย็บต่อท่ออสุจิใช้กล้องจุลทรรศน์(Microscope)เพื่อขยายภาพให้เห็นชัดเจน แม่นยำ ใช้เวลาผ่าตัดประมาณ 2 ชั่วโมง ไม่ต้องเย็บแผล เนื่องจากแผลมีขนาดเล็ก ภายใน 2-3 วัน แผลจะติดกันได้เอง ทำเสร็จสามารถกลับบ้านได้เลย


ความเสี่ยงและผลข้างเคียงของการตรวจรักษา


  • แผลอักเสบติดเชื้อ เลือดคั่งในถุงอัณฑะ

ทางเลือกอื่นในการรักษา (Alternative treatment / Procedure)


  • ในรายทำหมันมาเป็นเวลานานอาจพิจารณาการผสมเทียมเป็นอีกทางเลือกหนึ่ง

การปฏิบัติตัวหลังผ่าตัด


  • หลังทำผ่าตัดควรพักผ่อนอยู่บ้าน 2-3 วัน งดเว้นการออกกำลังกาย กิจกรรมหนักๆ และ เพศสัมพันธ์ 1-2 สัปดาห์
  • ถ้ามีอาการบวม ปวดลูกอัณฑะมาก ควรกลับมาพบแพทย์ทันที
  • ตรวจน้ำอสุจิหลังผ่าตัด 3 เดือน

vasectomy-reversal-th-1.jpg
การทำหมันชาย ทำให้เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ จริงหรือไม่?

เกี่ยวกับผู้เขียนบทความ

นพ. สุธี  อุ้มปรีชา

นพ. สุธี อุ้มปรีชา

ศูนย์ศัลยกรรม

บทความที่เกี่ยวข้อง (10)

ดูทั้งหมด

คำแนะนำการป้องกันมาลาเรียสำหรับนักเดินทาง

โรคมาลาเรียเป็นโรคที่เกิดจากโปรโตซัว Plasmodium นำโดยยุงก้นปล่อง มีทั้งหมด 5 สายพันธุ์ สายพันธ์ุที่รุนแรงคือ Plasmodium falciparum ซึ่งเป็นสายพันธุ์หลักในทวีปแอฟริกา ทำให้เกิดการติดเชื้อรุนแรง อวัยวะต่างๆล้มเหลว ติดเชื้อขึ้นสมอง โคม่า ชัก และเสียชีวิตได้ หากได้รับการรักษาที่ล่าช้า

ไส้เลื่อน ใครก็เป็นได้ อันตรายที่ต้องรักษาก่อนเกิดภาวะแทรกซ้อน

ไส้เลื่อน คือภาวะที่ลำไส้เลื่อนหรือดันออกมาจากช่องท้อง สามารถสังเกตเห็นก้อนนูนออกมาตามขาหนีบ หน้าท้อง สะดือ หากไม่รักษาอาจเกิดอันตรายจากอาการแทรกซ้อนได้

รู้ทันต้อหิน โรคร้ายทำลายการมองเห็น รีบรักษาก่อนสายเกินแก้

ต้อหิน (Glaucoma) คือโรคตาที่มีสาเหตุจากขั้วประสาทตาเสื่อม ผู้ป่วยจะมีอาการปวดหัวปวดตา กระจกตาขุ่น การมองเห็นแย่ลง และค่อย ๆ สูญเสียการมองเห็นไปในที่สุด

Hypothyroidism คืออะไร? รู้ทันสาเหตุ อาการ และวิธีรักษา

Hypothyroidism คือ ภาวะพร่องฮอร์โมนไทรอยด์ หรือฮอร์โมนไทรอยด์ทำงานต่ำ ทำให้ระดับการเผาผลาญพลังงานลดลง และนำมาสู่การทำงานของระบบต่าง ๆ ผิดปกติ

รู้ทันอาการน้ำในหูไม่เท่ากัน ใครเวียนหัว บ้านหมุนบ่อยต้องระวัง

โรคน้ำในหูไม่เท่ากัน เป็นความผิดปกติของระบบน้ำในหูชั้นใน ซึ่งสามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ ทำให้ผู้ป่วยมีอาการ เวียนหัว บ้านหมุน ทรงตัวไม่อยู่ และการได้ยินผิดปกติ

หายใจไม่อิ่ม หายใจลำบาก สัญญาณอันตรายที่คุณไม่ควรมองข้าม

หายใจไม่อิ่ม เป็นอาการที่หลายคนเผชิญ อาจมีอาการแน่นหน้าอก หายใจไม่เต็มปอด หายใจลำบาก หัวใจเต้นเร็ว เหนื่อยง่าย บทนี้ความจะพาไปดูสาเหตุของอาการเหล่านี้กัน

ภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน อันตรายถึงชีวิตแบบไร้สัญญาณเตือน

หัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน (Sudden Cardiac Arrest) คือ ภาวะที่หัวใจหยุดทำงานกะทันหัน ทำให้หมดสติและเสียชีวิตในไม่กี่นาที จึงเป็นภาวะฉุกเฉินที่ต้องรับการรักษาทันที

อาการปวดเข่าคืออะไร มีวิธีป้องกันข้อเข่ามีอะไรบ้าง?

อาการปวดเข่าเป็นอาการที่เกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น ข้อเข่าเสื่อม และส่งผลต่อชีวิตประจำวันได้ การรู้ถึงสาเหตุ วิธีป้องกัน และการรักษาอาการปวดเข่าจึงเป็นเรื่องสำคัญ

EST คืออะไร? การตรวจสมรรถภาพหัวใจ Exercise Stress Test

EST (Exercise Stress Test) คือ การออกกำลังกายตรวจสมรรถภาพหัวใจ เป็นวิธีวินิจฉัยสุขภาพหัวใจเพื่อทำการรักษาต่อไป EST มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง? บทความนี้มีคำตอบ

ภาวะข้อไหล่หลุดคืออะไร รู้สาเหตุ อาการ และวิธีรักษาให้หายดี

ภาวะข้อไหล่หลุดคืออาการที่พบได้บ่อยในคนที่ใช้แรงเยอะ ๆ หรือเคยไหล่หลุดมาก่อน มาดูกันว่าอะไรคือสาเหตุที่ทำให้ไหล่หลุดได้บ้าง และจะต้องดูแลรักษาตัวอย่างไ

Copyright © 2024 All Rights Reserved | Praram 9 Hospital