บทความสุขภาพ

Knowledge

จิตเวช: ยาบ้า ยาอี ยาม้า เหมือนกันหรือต่างกันตรงไหนคะ

ตเวช: ยาบ้า ยาอี ยาม้า เหมือนกันหรือต่างกันตรงไหนคะ

คำถาม ยาบ้า ยาอี ยาม้า เหมือนกันหรือต่างกันตรงไหนคะ ยาพวกนี้มามีส่วนทำอะไรในร่างกายหรือจิตใจเราคะจึงทำให้เราติดมัน


คำตอบ โดย นายแพทย์ประทักษ์ ลิขิตเลอสรวง


ยาบ้า หรือ ยาม้า เป็นชื่อสารเสพติดชนิดเดียวกัน คือ สารแอมเฟตามีน (Amphetamine) จัดเป็นสารกระตุ้นประสาท โดยออกฤทธิ์กระตุ้นสมองชั้นในหรือสมองส่วนอยาก (Limbic system) ซึ่งประกอบด้วยศูนย์พึงพอใจ ศูนย์ควบคุมอารมณ์ & พฤติกรรม ศูนย์ความอิ่ม ทำให้ผู้เสพมีความสุข สนุกสนาน ขยันขันแข็ง มีกำลังวังชา ไม่อยากอาหารแบบอิ่มทิพย์ นอนไม่หลับ หัวใจเต้นเร็ว ความดันโลหิตสูง ถ้าเสพมากหรือติดต่อกันจะมีพฤติกรรมก้าวร้าว หงุดหงิดง่าย มีอาการทางจิต หวาดระแวง หูแว่ว ประสาทหลอน และอาจมีอารมณ์ซึมเศร้าฆ่าตัวตายได้ เดิมยาบ้าตั้งแต่สังเคราะห์ โดยนักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมัน เมื่อ คศ.1887 เป็นต้นมา ได้ถูกผลิตเป็นยาดม ยาเม็ดกิน จนมีการใช้ฉีดเข้าเส้น และล่าสุดทำเป็นก้อนผลึก จุดไฟอบสูบควัน ยาบ้าเคยใช้เป็นยารักษาโรคดอ้วน โรคหลับผิดปกติ และโรคซนในเด็ก แต่ปัจจุบันเลิกใช้แล้ว


ส่วนยาอี มาจากคำว่า Ecstasy ซึ่งแปลว่าสนุกสนานเบิกบานใจอย่างยิ่ง เป็นน้องของยาบ้าอีกที เพราะสังเคราะห์หลังยาบ้า 1 ปี โดยนักวิทยาศาสตร์ชาวญี่ปุ่น มีสูตรโครงสร้างใกล้เคียงกัน คือ เมทแอมเฟตามีน (Mathamphetamine) แต่มีฤทธิ์ร้ายแรงกว่า คือ นอกจากมีฤทธิ์กระตุ้นประสาทแล้วยังมีฤทธิ์หลอนประสาทด้วย (psychedelic) กล่าวคือ ทำให้กล้ามเนื้ออยู่ไม่สุก ต้องเคลื่อนไหว เต้นรำ รู้สึกรักใคร่กลมเกลียวเหมือนพี่เหมือนน้อง รู้สึกอบอุ่นในอย่างประหลาด ต้องการเปิดเผยความในใจ มีส่วนรับรู้ความรู้สึกนึกคิดของผู้อื่น เป็นยาแห่งความรัก และการรับรู้ทางอายตนะสัมผัสพิศดาร จึงมักใช้ในงานปาร์ตี้ต่างๆ


ทั้งยาบ้าและยาอีจะไปจับกับตัวรับ (receptors) ของสมองชั้นในหรือสมองส่วนนอก จนในที่สุดจะครอบงำสมองชั้นนอกหรือสมองส่วนเหตุผล (cerebral cortex) ทำให้ไม่สามารถยับยั้งชั่งใจได้ เข้าสู่กระบวนการเสพติดยา กล่าวคือ ตัวกระตุ้น –> ความคิด –> ความอยากยา –> การเสพยา ส่วนกระบวนการเสพติดยานั้นอธิบายด้วยทฤษฎีการเรียนรู้ กล่าวคือ


ยา —–> อาการทางร่างกาย&จิตใจ (อยากยา)


ยา + สิ่งที่เกี่ยวข้องกับยา (ตัวกระตุ้น) —> อยากยา


ตัวกระตุ้น —> อยากยา


และ เมื่อเสพติดยาแล้ว พอหยุดเสพจะเกิดอาการอยากยา ทนทุกข์ทรมานคล้ายลงแดง จึงหายามาเสพอีก วนเวียนไม่รู้จบ

เกี่ยวกับผู้เขียนบทความ

บทความที่เกี่ยวข้อง (10)

ดูทั้งหมด

“เสื่อม ปวด อ้วน เครียด” 4 ปัญหาสุขภาพมาแรงในปัจจุบัน

ในยุคปัจจุบันที่มีการเปลี่ยนแปลงในหลากหลายด้าน การมีสุขภาพดี เพื่อต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดอย่างรวดเร็ว ย่อมเป็นสิ่งที่ทุกคนต้องการ

Extraordinary Attorney Woo Ep.1 “รักยิ่งใหญ่จากชายคนหนึ่ง”

วิเคราะห์ “อูยองอู” เด็กที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคออทิสติก ผ่านซีรีย์ Extraordinary Attorney Woo โดยจิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น รพ.พระรามเก้าที่ดูแลเด็กออทิสติกมายาวนาน

จิตเวช เด็ก และ วัยรุ่น: ลูกสาวอายุ 4 ขวบ ชอบเถียง และดื้อมาก ขัดใจก็จะร้องไห้ทำอย่างไรดีคะ

จิตเวช เด็ก และ วัยรุ่น: ลูกสาวอายุ 4 ขวบ ชอบเถียง และดื้อมาก ขัดใจก็จะร้องไห้ทำอย่างไรดีคะคำถาม ลูกสาวอายุ 4 ขวบ ชอบเถียง และดื้อมาก ทำอะไรขัดใจก็จะร้องไห้ทำอย่างไรดีคะ ตอนนี้ไม่มีใครปราบได้เลยค่ะ คำตอบ โดย แพทย์หญิงสุภาพร ปิตวิวัฒนานนท์

ใครนอนไม่หลับ ฟังทางนี้!

“คุณเคยเป็นแบบนี้ไหม?” นอนหลับยาก หลับไม่สนิท ตื่นกลางดึกบ่อย ตื่นเช้ากว่าปกติ นอนไม่หลับเรื้อรัง รู้สึกไม่สดชื่นเมื่อตื่นนอน ในช่วงเวลาหนึ่งของชีวิต หลายท่านอาจเคยประสบปัญหาการนอนไม่หลับ

กินอย่างไรห่างไกลความเครียด

เซโรโทนิน สารสื่อประสาทต้านเครียด การมีสารสื่อประสาทในสมองที่มีชื่อว่า ซีโรโทนิน (serotonin) อย่างเพียงพอจะช่วยให้อารมณ์ดี รู้สึกผ่อนคลายและสงบ แต่ในสภาวะเครียดซีโรโทนินจะลดลง ทำให้นอนไม่หลับ หงุดหงิด ขาดสมาธิ และซึมเศร้า

จิตเวช: ห้ามบ่อยๆ หรือจะปล่อยตามใจ

จิตเวช: ห้ามบ่อยๆ หรือจะปล่อยตามใจ ห้ามบ่อยๆ หรือจะปล่อยตามใจ โดย พญ.พยอม อิงคตานุวัฒน์ การเลี้ยงลูกถึงแม้จะเป็นเรื่องของชีวภาพ มนุษย์ไม่ว่าอยู่ที่มุมใดของโลกเมื่อมีลูกก็จะเลี้ยงลูกเป็น หากแต่การเลี้ยงลูกย่อมแตกต่างตามภูมิภาคและวัฒนธรรม

จิตเวช: เห็น…(จิต)…ใจคนแก่บ้าง

จิตเวช: เห็น…(จิต)…ใจคนแก่บ้าง เห็น…(จิต)…ใจคนแก่บ้าง โดย นพ.ประทักษ์ ลิขิตเลอสรวง โปรดอย่าเข้าใจผิดคิดว่าเป็นเรื่องพรรค์นั้นนะครับ ผมหมายถึง “ปัญหาสุขภาพจิตของผู้สูงอายุ” ต่างหาก

จิตเวช: นอน… ใครว่าไม่สำคัญ

จิตเวช: นอน… ใครว่าไม่สำคัญ นอน… ใครว่าไม่สำคัญ น.พ.ประทักษ์ ลิขิตเลอสรวง จิตแพทย์ เมื่อก่อนหากมีใครกล่าวว่า “ กินได้นอนหลับ ” ย่อมถือว่าโชคดีมหาศาลแล้ว ผมก็เคยเชื่อตามนั้น แต่เดี๋ยวนี้ เราคำนึงถึงคุณภาพชีวิตกันมากขึ้น

ไอคิว (IQ)

ไอคิวหรือความสามารถทางเชาว์ปัญญาของแต่ละคนมีมาแต่กำเนิด โดยถ่ายทอดจากพันธุกรรมต่อจากพ่อแม่ ไอคิวสามารถพัฒนาให้สมบูรณ์ขึ้นได้ตามช่วงอายุ ซึ่งมีปัจจัยต่าง ๆ เข้ามาเกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นความสมบูรณ์ของระบบประสาทและสมอง รวมถึงสภาพแวดล้อมที่ช่วยส่งเสริมและกระตุ้นการเรียนรู้ ทำให้เกิดพัฒนาการทางไอคิวที่ดีขึ้น

สุขภาพจิตเติมเต็มได้ด้วยการออกกำลังกาย

ปัญหาสุขภาพจิต และสมองเสื่อม เป็นหนึ่งในอาการทางจิตของคนในวัยสูงอายุ ซึ่งสาเหตุส่วนหนึ่งมาจากสภาพความเสื่อมของร่างกายและความเครียดในการใช้ชีวิต ส่งผลให้เกิดอาการทางจิตต่างๆ ตั้งแต่ อาการระยะแรกเริ่ม คือ ความเครียด กระวนกระวาย ซึมเศร้า จนถึง

Copyright © 2024 All Rights Reserved | Praram 9 Hospital