บทความสุขภาพ

Knowledge

ไอคิว (IQ)

พญ. สุภาพร ปิตวิวัฒนานนท์

IQ (intelligence quotient) เป็นคำที่ทุกคนคงเคยได้ยินกันมานานจนคุ้นเคยกันดี ต่างจาก EQ (emotional quotient) และ AQ (adversity quotient) ซึ่งเป็นคำที่ทันสมัยกว่า และเป็นที่สนใจซักถามกันมากในปัจจุบัน อย่างไรก็ตามการที่คนเราจะประสบความสำเร็จพร้อม ๆ กับการมีความสุขในชีวิต ก็ควรจะต้องมีองค์ประกอบของทั้ง 3 สิ่งนี้อยู่ในตัวในเกณฑ์ที่เหมาะสม จะขาดสิ่งหนึ่งสิ่งใดไปไม่ได้


IQ คืออะไร?


เราจะมาคุยกันถึง IQ ก่อนเป็นลำดับแรก คนเราทุกคนจะเกิดมาพร้อมกับลักษณะเฉพาะตัว และถูกหล่อหลอมด้วยสภาพแวดล้อมในภายหลัง IQ หรือความสามารถทางเชาว์ปัญญาก็เป็นสิ่งหนึ่งซึ่งถูกกำหนดมาตั้งแต่แรกเกิด โดยมีปัจจัยด้านพันธุกรรมไปเกี่ยวข้องด้วย รวมถึงสิ่งแวดล้อมตั้งแต่ในครรภ์ของมารดาจนกระทั่งหลังคลอดก็เป็นปัจจัยอีกอย่างหนึ่งที่มีผลต่อเชาว์ปัญญาเช่นกัน เช่น ภาวะแวดล้อมที่มีการให้ความรัก ความอบอุ่น ให้การกระตุ้นพัฒนาการที่เหมาะสมกับวัย ก็จะมีผลต่อการเสริมสร้างศักยภาพนี้ให้ มากขึ้น หรือในทางกลับกันก็บั่นทอนให้ลดลงได้


เชาว์ปัญญาเป็นนามธรรมที่จับต้องไม่ได้ แต่แสดงออกให้เห็นได้ผ่านพฤติกรรมต่าง ๆ ที่แสดงถึงความสามารถในการเรียนรู้ ความสามารถปรับตัวต่อเหตุการณ์ใหม่ ๆ ความสามารถเข้าใจและเชื่อมโยงเหตุการณ์ต่าง ๆ อย่างมีเหตุผล และเป็นพฤติกรรมที่มีจุดมุ่งหมาย จะเห็นว่าเชาว์ปัญญาไม่ใช่ผลจากความสามารถอย่างใดอย่างหนึ่ง เพราะฉะนั้นเราจึงไม่สามารถนำพฤติกรรมใดเพียงอย่างเดียวไปตัดสินว่าคน ๆ นั้นโง่หรือฉลาดได้


เนื่องจากเชาว์ปัญญาเป็นสิ่งที่คนสนใจกันมานาน จึงมีการคิดมาตรวัดเชาว์ปัญญาขึ้นเพื่อให้ได้ผลออกมาเป็นตัวเลขที่สื่อกันได้ง่าย และเป็นที่รู้จักกันในคำว่า IQ นั่นเอง


IQ ย่อมาจากอะไร?


คำว่า IQ ย่อมาจาก Intelligence Quotient เป็นคำที่ William Stern เป็นผู้บัญญัติขึ้น เพื่อบ่งถึงระดับเชาว์ปัญญาของแต่ละบุคคล โดยมีสูตรว่า


IQ = (อายุสมอง (MENTAL AGE) X 100) / อายุจริง (CHRONOLOGICAL AGE)


โดยอายุสมองมาจากการวัด โดยการใช้แบบทดสอบเชาว์ปัญญา ค่าคะแนนที่ได้จากการทดสอบจะถูกนำไปเปรียบเทียบกับคะแนนมาตรฐานที่บุคคลในระดับอายุเดียวกันนั้นทำได้ จะเห็นว่าถ้าอายุสมองเท่ากับอายุจริง ค่า IQ ของบุคคลนั้นจะออกมาเท่ากับ 100 ซึ่งคือ ค่าเฉลี่ยของ IQ ในคนส่วนใหญ่นั่นเอง


การจําแนกระดับไอคิว


Classification of Intelligence by I.Q. Range


ค่า IQ ปกติ คือ 90 – 109 ส่วนที่ต่ำกว่าปกติเล็กน้อย คือ 80 – 89 จะเรียกว่ากลุ่ม Dull normal เป็นกลุ่มคนที่สามารถเรียนรู้ในระบบปกติได้ เพียงแต่จะช้ากว่าเล็กน้อยในเกือบทุกด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านวิชาการ กลุ่มที่ต่ำลงไปอีก คือ 70 – 79 ถือเป็นกลุ่ม Borderline MR (คำว่า MR มาจาก Mental Retardation หรือ ความบกพร่องทางสติปัญญา หรือ ที่เมื่อก่อนเรียกกันว่าปัญญาอ่อนนั่นเอง) กลุ่มนี้มักจะต้องการความช่วยเหลือพิเศษจึงจะสามารถเรียนรู้ได้ ส่วนกลุ่มต่ำกว่านั้น คือ เด็กสติปัญญาบกพร่องจะต้องอาศัยระบบการศึกษาพิเศษซึ่งจะแบ่งระดับไปตามความรุนแรงของความบกพร่อง กลุ่มที่บกพร่องอย่างอ่อน เป็นกลุ่มที่จัดเป็น Educable คือ เรียนรู้ทางด้านวิชาการได้ในระดับหนึ่ง สามารถอ่านออกเขียนได้ โดยในการเรียนรู้จะต้องใช้เวลาที่มากกว่าปกติ ส่วนกลุ่มสติปัญญาบกพร่องปานกลาง จัดเป็นพวก Trainable คือ สามารถฝึกฝนสิ่งจำเป็นในชีวิตประจำวันได้ ส่วนกลุ่มบกพร่องรุนแรงถึงรุนแรงมาก เป็นกลุ่มที่ต้องอาศัยผู้ดูแลอยู่ตลอดเวลา ซึ่งกลุ่มนี้มักมีโรคทางกายอื่น ๆ ร่วมด้วยอยู่แล้ว ซึ่งเราจะไม่ลงรายละเอียดในที่นี้


ต่อไปเราจะมาดูกลุ่มในฝั่งตรงข้ามกันบ้าง กลุ่มที่มีค่า IQ สูงกว่าค่าปกติ คือ กลุ่ม Bright Normal จะสามารถเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ ได้รวดเร็ว เข้าใจอะไร ๆ ได้ง่ายกว่าคนในระดับอายุเดียวกัน ที่สูงขึ้นมาอีก คือ กลุ่ม Superior และ Very superior กลุ่ม 2 กลุ่มหลังนี้ฟังดูน่าจะประสบความสำเร็จรวดเร็วกว่าคนอื่นในทุก ๆ ด้าน เนื่องจากความฉลาดที่โดดเด่น แต่บางครั้งจะกลับพบว่าคนกลุ่มนี้มีปัญหาด้านอารมณ์ และพฤติกรรมได้บ่อย ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากความฉลาดเกินปกติของเขาทำให้คนรอบข้างคาดหวังกับเขามาก และมองข้ามความต้องการด้านอื่น ๆ ของเขาไป


ในความเป็นจริงแล้ว เราไม่สามารถจัดแบ่งคนเป็นกลุ่ม ๆ ดังในตารางนี้ได้อย่างตายตัว เพราะค่า IQ ก็คล้ายกับแถบสีรุ้งที่แต่ละสีจะไม่แบ่งแยกกันโดยเด็ดขาด ความแตกต่างของตัวเลขเล็ก ๆ น้อย ๆ อาจไม่บ่งชี้ถึงความแตกต่างของเชาว์ปัญญาเท่าใดนัก โดยรายละเอียดของความสามารถในแต่ละด้านมีความสำคัญมากกว่า

เกี่ยวกับผู้เขียนบทความ

พญ. สุภาพร ปิตวิวัฒนานนท์

พญ. สุภาพร ปิตวิวัฒนานนท์

Mind Center

บทความที่เกี่ยวข้อง (10)

ดูทั้งหมด

Extraordinary Attorney Woo Ep.1 “รักยิ่งใหญ่จากชายคนหนึ่ง”

วิเคราะห์ “อูยองอู” เด็กที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคออทิสติก ผ่านซีรีย์ Extraordinary Attorney Woo โดยจิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น รพ.พระรามเก้าที่ดูแลเด็กออทิสติกมายาวนาน

จิตเวช เด็ก และ วัยรุ่น: ลูกสาวอายุ 4 ขวบ ชอบเถียง และดื้อมาก ขัดใจก็จะร้องไห้ทำอย่างไรดีคะ

จิตเวช เด็ก และ วัยรุ่น: ลูกสาวอายุ 4 ขวบ ชอบเถียง และดื้อมาก ขัดใจก็จะร้องไห้ทำอย่างไรดีคะคำถาม ลูกสาวอายุ 4 ขวบ ชอบเถียง และดื้อมาก ทำอะไรขัดใจก็จะร้องไห้ทำอย่างไรดีคะ ตอนนี้ไม่มีใครปราบได้เลยค่ะ คำตอบ โดย แพทย์หญิงสุภาพร ปิตวิวัฒนานนท์

ใครนอนไม่หลับ ฟังทางนี้!

“คุณเคยเป็นแบบนี้ไหม?” นอนหลับยาก หลับไม่สนิท ตื่นกลางดึกบ่อย ตื่นเช้ากว่าปกติ นอนไม่หลับเรื้อรัง รู้สึกไม่สดชื่นเมื่อตื่นนอน ในช่วงเวลาหนึ่งของชีวิต หลายท่านอาจเคยประสบปัญหาการนอนไม่หลับ

กินอย่างไรห่างไกลความเครียด

เซโรโทนิน สารสื่อประสาทต้านเครียด การมีสารสื่อประสาทในสมองที่มีชื่อว่า ซีโรโทนิน (serotonin) อย่างเพียงพอจะช่วยให้อารมณ์ดี รู้สึกผ่อนคลายและสงบ แต่ในสภาวะเครียดซีโรโทนินจะลดลง ทำให้นอนไม่หลับ หงุดหงิด ขาดสมาธิ และซึมเศร้า

จิตเวช: ห้ามบ่อยๆ หรือจะปล่อยตามใจ

จิตเวช: ห้ามบ่อยๆ หรือจะปล่อยตามใจ ห้ามบ่อยๆ หรือจะปล่อยตามใจ โดย พญ.พยอม อิงคตานุวัฒน์ การเลี้ยงลูกถึงแม้จะเป็นเรื่องของชีวภาพ มนุษย์ไม่ว่าอยู่ที่มุมใดของโลกเมื่อมีลูกก็จะเลี้ยงลูกเป็น หากแต่การเลี้ยงลูกย่อมแตกต่างตามภูมิภาคและวัฒนธรรม

จิตเวช: เห็น…(จิต)…ใจคนแก่บ้าง

จิตเวช: เห็น…(จิต)…ใจคนแก่บ้าง เห็น…(จิต)…ใจคนแก่บ้าง โดย นพ.ประทักษ์ ลิขิตเลอสรวง โปรดอย่าเข้าใจผิดคิดว่าเป็นเรื่องพรรค์นั้นนะครับ ผมหมายถึง “ปัญหาสุขภาพจิตของผู้สูงอายุ” ต่างหาก

จิตเวช: นอน… ใครว่าไม่สำคัญ

จิตเวช: นอน… ใครว่าไม่สำคัญ นอน… ใครว่าไม่สำคัญ น.พ.ประทักษ์ ลิขิตเลอสรวง จิตแพทย์ เมื่อก่อนหากมีใครกล่าวว่า “ กินได้นอนหลับ ” ย่อมถือว่าโชคดีมหาศาลแล้ว ผมก็เคยเชื่อตามนั้น แต่เดี๋ยวนี้ เราคำนึงถึงคุณภาพชีวิตกันมากขึ้น

จิตเวช: ยาบ้า ยาอี ยาม้า เหมือนกันหรือต่างกันตรงไหนคะ

ตเวช: ยาบ้า ยาอี ยาม้า เหมือนกันหรือต่างกันตรงไหนคะ คำถาม ยาบ้า ยาอี ยาม้า เหมือนกันหรือต่างกันตรงไหนคะ ยาพวกนี้มามีส่วนทำอะไรในร่างกายหรือจิตใจเราคะจึงทำให้เราติดมัน คำตอบ โดย นายแพทย์ประทักษ์ ลิขิตเลอสรวง ยาบ้า หรือ ยาม้า เป็นชื่อสารเสพติด

สุขภาพจิตเติมเต็มได้ด้วยการออกกำลังกาย

ปัญหาสุขภาพจิต และสมองเสื่อม เป็นหนึ่งในอาการทางจิตของคนในวัยสูงอายุ ซึ่งสาเหตุส่วนหนึ่งมาจากสภาพความเสื่อมของร่างกายและความเครียดในการใช้ชีวิต ส่งผลให้เกิดอาการทางจิตต่างๆ ตั้งแต่ อาการระยะแรกเริ่ม คือ ความเครียด กระวนกระวาย ซึมเศร้า จนถึง

ดูแลสุขภาพจิต ลดความเครียดสะสม จาก PM 2.5

ฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 เกินค่ามาตรฐาน เป็นหนึ่งปัญหาที่ยากจะหลีกเลี่ยง มีทั้งช่วงลดและเพิ่มหลายรอบ มาเป็นระยะไม่ขาดสาย ซึ่งเจ้าฝุ่นละอองขนาดจิ๋วนี้ ไม่เพียงส่งผลเสียต่อสุขภาพกาย ยังส่งผลกระทบต่อสุขภาพจิตด้วย เนื่องจาก PM 2.5 เกินค่าม

Copyright © 2024 All Rights Reserved | Praram 9 Hospital