บทความสุขภาพ

Knowledge

ใครนอนไม่หลับ ฟังทางนี้!

พญ. พรทิพย์ ศรีโสภิต

“คุณเคยเป็นแบบนี้ไหม?”


นอนหลับยาก หลับไม่สนิท ตื่นกลางดึกบ่อย ตื่นเช้ากว่าปกติ นอนไม่หลับเรื้อรัง รู้สึกไม่สดชื่นเมื่อตื่นนอน


insomnia-1.jpg

ในช่วงเวลาหนึ่งของชีวิต หลายท่านอาจเคยประสบปัญหาการนอนไม่หลับ ผู้ที่เคยประสบปัญหานี้คงทราบถึงความทุกข์ทรมานของภาวะดังกล่าวเป็นอย่างดี หากการนอนไม่หลับเกิดขึ้นเพียงชั่วครั้งชั่วคราวก็คงไม่เป็นเรื่องสำคัญ แต่ถ้าหากนอนไม่หลับบ่อย ๆ หรือเกิดขึ้นเป็นเวลานาน ย่อมมีผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตและกระทบต่อสุขภาพกายและใจ ยิ่งในสภาวะปัจจุบันที่หลายคนต้องเจอกับความเครียดต่าง ๆ อาจเกิดความสงสัยว่า “เมื่อไหร่ต้องไปหาหมอ?” “นอนไม่หลับนาน ๆ เป็นอะไรไหม?” บทความนี้จะเป็นข้อมูลหนึ่งที่ทำให้รู้จักกับปัญหาการนอนไม่หลับมากขึ้น


โรคนอนไม่หลับคืออะไร?


อาการนอนไม่หลับเป็นปัญหาที่พบบ่อยถึงร้อยละ 30 ของประชากรทั้งหมด 1 ใน 3 เป็นการนอนไม่หลับเรื้อรัง คือมีอาการนอนไม่หลับอย่างน้อย 1 เดือน หากปล่อยให้เกิดขึ้นเป็นเวลานานอาจเกิดเป็นโรคนอนไม่หลับได้


insomnia-2.jpg

โรคนอนไม่หลับ (Insomnia disorder) มักพบแพทย์ด้วยอาการ เข้านอนแล้วหลับยาก หลับแล้วตื่นบ่อย ตื่นเร็วกว่าปกติและไม่สามารถหลับต่อได้ กลางวันมีอาการง่วงเหงาหาวนอน อ่อนเพลียมาก ไม่สดชื่น ไม่มีเรี่ยวแรง และสมาธิลดลงอย่างมาก โดยอาการเกิดขึ้นต่อเนื่องอย่างน้อย 3 เดือน จนส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวัน เช่น ทำให้เกิดบกพร่องในหน้าที่การงานหรือการเรียน


สาเหตุของการนอนไม่หลับ


อาการนอนไม่หลับอาจเป็นอาการจากปัญหาอื่น ๆ ทั้งปัญหาจากสิ่งแวดล้อมภายนอกหรือเกิดจากปัญหาภายในร่างกายและจิตใจของผู้นั้น สาเหตุของการนอนไม่หลับที่พบบ่อย ได้แก่


ปัญหาจากสิ่งแวดล้อม


สภาพแวดล้อมขณะเข้านอนเป็นสิ่งหนึ่งที่มักทำให้นอนไม่หลับ เช่น ความสว่าง เสียงรบกวน อุณหภูมิ เป็นต้น


ปัญหาจากอาการทางร่างกาย


การเจ็บป่วยทางร่างกาย เช่น อาการปวดท้อง ปวดศีรษะ คันตามตัว หายใจขัด ปวดข้อ ปวดปัสสาวะบ่อย อาจเป็นสาเหตุให้เกิดอาการนอนไม่หลับได้ ซึ่งอาการต่าง ๆ เหล่านี้อาจเป็นอาการหนึ่งของโรคทางกาย อาทิเช่น โรคทางระบบประสาท โรคการนอนหลับที่สัมพันธ์กับการหายใจ โรคภูมิแพ้ เป็นต้น อาการและโรคเหล่านี้ล้วนมีผลกระทบกับการนอนทั้งสิ้น


ปัญหาด้านจิตใจ


ความเครียดจากการทำงาน ความวิตกกังวล หรือแม้แต่โรคทางจิตเวช เช่น โรคซึมเศร้า โรคอารมณ์


สองขั้ว โรควิตกกังวล อาจเป็นสาเหตุของการนอนไม่หลับได้เช่นกัน


สาเหตุจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ไม่ถูกสุขลักษณะ


การดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนมากเกินไป การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ การปล่อยให้หิวหรืออิ่ม


มากจนเกินไป พฤติกรรมการนอนที่ไม่เป็นเวลา นอนหลับกลางวันมากเกินไป ก่อให้เกิดปัญหาการนอนหลับได้


insomnia-3.jpg

ผลกระทบของการนอนไม่หลับ


นอกจากโรคทางกายและโรคทางจิตใจจะเป็นสาเหตุหนึ่งของการนอนไม่หลับ ในทางกลับกันการนอนไม่หลับเองก็ย่อมมีผลกระทบต่อร่างกายและจิตใจด้วยเช่นกัน รวมทั้งยังกระทบไปถึงการใช้ชีวิตประจำวันอีกด้วย ผลกระทบของการนอนไม่หลับ ได้แก่


  • มีอาการง่วงตอนกลางวัน
  • สมาธิลดลง
  • ความจำลดลง
  • ประสิทธิภาพในการทำงานลดลง
  • การร่วมกิจกรรมทางสังคมลดลง
  • ผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ ความรู้สึก เช่น หงุดหงิด เบื่อหน่าย ท้อแท้ เป็นต้น

ผลกระทบเหล่านี้ หากเกิดขึ้นเป็นระยะเวลานานอาจก่อให้เกิดเป็นโรคอื่น ๆ ตามมาได้ ทั้งโรคทาง


ร่างกาย และโรคทางจิตใจ ดังนั้น หากท่านมีอาการนอนไม่หลับ และไม่สามารถกลับสู่การนอนหลับตามปกติได้ด้วยตัวเอง ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ก่อนที่ปัญหาการนอนจะมีผลกระทบในด้านอื่น ๆ ตามมา


การรักษาอาการนอนไม่หลับ


insomnia-4.jpg

เนื่องจากอาการนอนไม่หลับอาจเป็นอาการของโรคอื่น ๆ ได้ ดังนั้นจึงต้องวินิจฉัยเพื่อหาสาเหตุของการนอนไม่หลับ และรักษาตามสาเหตุที่ค้นพบ หากอาการนอนไม่หลับของผู้ป่วยมีสาเหตุมาจากโรคนอนไม่หลับโดยตรง มีวิธีการรักษาอยู่หลายวิธีด้วยกัน ดังนี้


1.ปรับพฤติกรรมการนอนให้ถูกสุขอนามัย


อาทิเช่น การเข้านอนให้ตรงเวลา การจัดสิ่งแวดล้อมให้เหมาะแก่การนอนหลับ หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของคาเฟอีนหรือแอลกอฮอล์ เป็นต้น


2. เทคนิควิธีการผ่อนคลายความเครียด (Relaxation technique)


ผู้ที่นอนไม่หลับเรื้อรัง มักมีความวิตกกังวลสูง การเรียนรู้เรื่องวิธีการผ่อนคลายจะทำให้หลับได้ดีขึ้นเทคนิคการผ่อนคลาย อาทิเช่น การผ่อนคลายด้วยฝึกการหายใจ เทคนิคการผ่อนคลายกล้ามเนื้อ เป็นต้น


3. การรักษาด้วยยา


เป้าหมายในการรักษาด้วยยา คือ เพื่อช่วยให้วงจรการนอนกลับสู่ภาวะปกติ การใช้ยาช่วยนอนอย่างถูกวิธีจะช่วยให้การนอนกลับสู่วงจรปกติได้ดีขึ้น และเมื่อการนอนกลับสู่ภาวะปกติการใช้ยาช่วยนอนไม่ได้มีความจำเป็นอีกต่อไป อย่างไรก็ตามการรักษาอาการนอนไม่หลับที่ดีที่สุดไม่ใช่วิธีการใดวิธีการหนึ่งเพียงอย่างเดียว แต่ควรใช้หลายวิธีควบคู่กันไปจะทำให้การรักษามีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น


เนื่องจากการนอนหลับเป็นกลไกเพื่อฟื้นฟูซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ รวมทั้งคงความสมดุลในการทำงานส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ดังนั้นการนอนหลับจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้มนุษย์อยู่ในภาวะสมดุลของร่างกายและจิตใจ ไม่ควรปล่อยให้อาการนอนไม่หลับคงอยู่เป็นเวลานาน หากได้รับผลกระทบจากการนอนไม่หลับควรรีบปรึกษาแพทย์


นอนไม่หลับ ปรึกษาจากบ้าน ผ่าน PR9 Telemedicine


insomnia-5.webp

Telemedicine คือ บริการปรึกษาแพทย์ผ่านทางออนไลน์ โดยใช้เทคโนโลยีการสื่อสารมาผนวกกับการบริการด้านสุขภาพ โดยให้บริการปรึกษาปัญหาสุขภาพแบบ real-time ระหว่างแพทย์และผู้ป่วยโดยที่ไม่ต้องเดินทางมาโรงพยาบาล


“Health Care You Can Trust
เรื่องสุขภาพ…ไว้ใจเรา”

เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโควิด 19 ยังคงน่าเป็นห่วง ซึ่งอาจส่งผลต่อภาวะทางจิตใจ เช่น โรคแพนิค จนส่งผลกระทบต่อสุขภาพด้านอื่น ๆ ซึ่งทางโรงพยาบาลพระรามเก้า คำนึงถึงผู้รับบริการเป็นสำคัญ โดยมีช่องทางบริการในการรักษาด้วย “PR9 Telemedicine ไม่ว่าคุณอยู่ที่ไหนก็ปรึกษาหมอได้” ผ่านทาง Line Official Account โดยที่ผู้รับบริการสามารถปรึกษาปัญหาทางสุขภาพกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางผ่าน video call ซึ่งแพทย์จะสามารถวินิจฉัยอาการเบื้องต้น พร้อมทั้งให้คำปรึกษาและแนะนำแนวทางการรักษา ตลอดจนการจัดส่งยาให้แก่ผู้รับบริการถึงบ้าน


“PR9 Telemedicine” จึงเป็นทางเลือกที่ตอบโจทย์ชีวิตยุค new normal ให้ผู้รับบริการอุ่นใจ มั่นใจ ปลอดภัยจาก COVID-19 และมีสุขภาพที่ดีได้แม้ไม่ต้องเดินทางมาโรงพยาบาล


รพ.พระรามเก้า พร้อมดูแลและให้คำปรึกษาเกี่ยวกับทุกปัญหาสุขภาพ สามารถทำนัดหมายล่วงหน้าก่อนเข้ารับบริการ ผ่านช่องทางการติดต่อ


✅ Line Official Account ผ่าน video call คลิก link https://lin.ee/euA1bAc หรือโทร 1270

✅ เปิดให้บริการเวลา 8.00 น. ถึง 16.00 น. ของทุกวัน…เพราะคุณคือคนสำคัญ




เกี่ยวกับผู้เขียนบทความ

พญ. พรทิพย์  ศรีโสภิต

พญ. พรทิพย์ ศรีโสภิต

Mind Center

แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง (2)

ดูทั้งหมด

โปรแกรมตรวจหาความปกติของการนอนหลับที่บ้าน Home Sleep Test

โปรแกรมตรวจหาความปกติของการนอนหลับที่บ้าน Home Sleep Test

โปรแกรมตรวจหาความปกติของการนอนหลับที่บ้าน Home Sleep Test

฿ 8,900

แพ็กเกจตรวจคัดกรองการนอนหลับ Sleep Test

แพ็กเกจตรวจคัดกรองการนอนหลับ Sleep Test

แพ็กเกจตรวจคัดกรองการนอนหลับ Sleep Test

฿ 18,900 - 23,900

บทความที่เกี่ยวข้อง (10)

ดูทั้งหมด

“เสื่อม ปวด อ้วน เครียด” 4 ปัญหาสุขภาพมาแรงในปัจจุบัน

ในยุคปัจจุบันที่มีการเปลี่ยนแปลงในหลากหลายด้าน การมีสุขภาพดี เพื่อต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดอย่างรวดเร็ว ย่อมเป็นสิ่งที่ทุกคนต้องการ

Extraordinary Attorney Woo Ep.1 “รักยิ่งใหญ่จากชายคนหนึ่ง”

วิเคราะห์ “อูยองอู” เด็กที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคออทิสติก ผ่านซีรีย์ Extraordinary Attorney Woo โดยจิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น รพ.พระรามเก้าที่ดูแลเด็กออทิสติกมายาวนาน

จิตเวช เด็ก และ วัยรุ่น: ลูกสาวอายุ 4 ขวบ ชอบเถียง และดื้อมาก ขัดใจก็จะร้องไห้ทำอย่างไรดีคะ

จิตเวช เด็ก และ วัยรุ่น: ลูกสาวอายุ 4 ขวบ ชอบเถียง และดื้อมาก ขัดใจก็จะร้องไห้ทำอย่างไรดีคะคำถาม ลูกสาวอายุ 4 ขวบ ชอบเถียง และดื้อมาก ทำอะไรขัดใจก็จะร้องไห้ทำอย่างไรดีคะ ตอนนี้ไม่มีใครปราบได้เลยค่ะ คำตอบ โดย แพทย์หญิงสุภาพร ปิตวิวัฒนานนท์

กินอย่างไรห่างไกลความเครียด

เซโรโทนิน สารสื่อประสาทต้านเครียด การมีสารสื่อประสาทในสมองที่มีชื่อว่า ซีโรโทนิน (serotonin) อย่างเพียงพอจะช่วยให้อารมณ์ดี รู้สึกผ่อนคลายและสงบ แต่ในสภาวะเครียดซีโรโทนินจะลดลง ทำให้นอนไม่หลับ หงุดหงิด ขาดสมาธิ และซึมเศร้า

จิตเวช: ห้ามบ่อยๆ หรือจะปล่อยตามใจ

จิตเวช: ห้ามบ่อยๆ หรือจะปล่อยตามใจ ห้ามบ่อยๆ หรือจะปล่อยตามใจ โดย พญ.พยอม อิงคตานุวัฒน์ การเลี้ยงลูกถึงแม้จะเป็นเรื่องของชีวภาพ มนุษย์ไม่ว่าอยู่ที่มุมใดของโลกเมื่อมีลูกก็จะเลี้ยงลูกเป็น หากแต่การเลี้ยงลูกย่อมแตกต่างตามภูมิภาคและวัฒนธรรม

จิตเวช: เห็น…(จิต)…ใจคนแก่บ้าง

จิตเวช: เห็น…(จิต)…ใจคนแก่บ้าง เห็น…(จิต)…ใจคนแก่บ้าง โดย นพ.ประทักษ์ ลิขิตเลอสรวง โปรดอย่าเข้าใจผิดคิดว่าเป็นเรื่องพรรค์นั้นนะครับ ผมหมายถึง “ปัญหาสุขภาพจิตของผู้สูงอายุ” ต่างหาก

จิตเวช: นอน… ใครว่าไม่สำคัญ

จิตเวช: นอน… ใครว่าไม่สำคัญ นอน… ใครว่าไม่สำคัญ น.พ.ประทักษ์ ลิขิตเลอสรวง จิตแพทย์ เมื่อก่อนหากมีใครกล่าวว่า “ กินได้นอนหลับ ” ย่อมถือว่าโชคดีมหาศาลแล้ว ผมก็เคยเชื่อตามนั้น แต่เดี๋ยวนี้ เราคำนึงถึงคุณภาพชีวิตกันมากขึ้น

จิตเวช: ยาบ้า ยาอี ยาม้า เหมือนกันหรือต่างกันตรงไหนคะ

ตเวช: ยาบ้า ยาอี ยาม้า เหมือนกันหรือต่างกันตรงไหนคะ คำถาม ยาบ้า ยาอี ยาม้า เหมือนกันหรือต่างกันตรงไหนคะ ยาพวกนี้มามีส่วนทำอะไรในร่างกายหรือจิตใจเราคะจึงทำให้เราติดมัน คำตอบ โดย นายแพทย์ประทักษ์ ลิขิตเลอสรวง ยาบ้า หรือ ยาม้า เป็นชื่อสารเสพติด

ไอคิว (IQ)

ไอคิวหรือความสามารถทางเชาว์ปัญญาของแต่ละคนมีมาแต่กำเนิด โดยถ่ายทอดจากพันธุกรรมต่อจากพ่อแม่ ไอคิวสามารถพัฒนาให้สมบูรณ์ขึ้นได้ตามช่วงอายุ ซึ่งมีปัจจัยต่าง ๆ เข้ามาเกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นความสมบูรณ์ของระบบประสาทและสมอง รวมถึงสภาพแวดล้อมที่ช่วยส่งเสริมและกระตุ้นการเรียนรู้ ทำให้เกิดพัฒนาการทางไอคิวที่ดีขึ้น

สุขภาพจิตเติมเต็มได้ด้วยการออกกำลังกาย

ปัญหาสุขภาพจิต และสมองเสื่อม เป็นหนึ่งในอาการทางจิตของคนในวัยสูงอายุ ซึ่งสาเหตุส่วนหนึ่งมาจากสภาพความเสื่อมของร่างกายและความเครียดในการใช้ชีวิต ส่งผลให้เกิดอาการทางจิตต่างๆ ตั้งแต่ อาการระยะแรกเริ่ม คือ ความเครียด กระวนกระวาย ซึมเศร้า จนถึง

Copyright © 2024 All Rights Reserved | Praram 9 Hospital