บทความสุขภาพ

Knowledge

สุขภาพจิตเติมเต็มได้ด้วยการออกกำลังกาย

พญ. ดุจฤดี อภิวงศ์

ปัญหาสุขภาพจิต และสมองเสื่อม เป็นหนึ่งในอาการทางจิตของคนในวัยสูงอายุ ซึ่งสาเหตุส่วนหนึ่งมาจากสภาพความเสื่อมของร่างกายและความเครียดในการใช้ชีวิต ส่งผลให้เกิดอาการทางจิตต่างๆ ตั้งแต่ อาการระยะแรกเริ่ม คือ ความเครียด กระวนกระวาย ซึมเศร้า จนถึงขั้นเป็นโรคจิตแบบสมบูรณ์แบบ ซึ่งกลุ่มอาการเหล่านี้เป็นกลุ่มอาการที่เกิดกับวัยทำงานเช่นกัน แต่ด้วยสภาวะความเครียดที่น้อยกว่า การผ่อนคลาย และสภาพร่างกายที่สมบูรณ์ทำให้อาการเหล่านั้นไม่แสดงออกมา จนเมื่ออายุมากขึ้น สารเคมีในสมองผิดปกติ อาการเครียดแบบเดิมๆ ก็ส่งผลให้เกิดความเครียดจนนำไปสู่อาการทางจิตได้


ขณะที่วัยสูงอายุ ยังมีสาเหตุที่กระทบกระเทือนจิตใจได้มาก เช่น การจากไปของคนใกล้ชิดหรือคนในครอบครัว ก็ทำให้เกิดความเครียดที่นำไปสู่อาการทางจิตได้ในที่สุด


ข้อบ่งชี้ของการเกิดโรค


อาการทางจิตสามารถสังเกตได้ง่ายโดยคนรอบข้าง จากความเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ เช่น อารมณ์แปรปรวน หงุดหงิดง่าย ร้องไห้ง่าย อาการต่างๆเหล่านี้จะเป็นการแสดงออกที่ผิดปกติไปจากนิสัยเดิมๆ นอกจาก 2 ข้อข้างต้น บางครั้งคนไข้จะรู้สึกว่าการดำรงชีวิตของตนเองเปลี่ยนแปลงไป เช่น ทำงานไม่ได้ ไม่มีสมาธิ ไม่มีประสิทธิภาพเท่าเดิม ซึ่งถ้าทราบอาการแล้วก็สามารถมาพบแพทย์ได้


การดูแลป้องกัน


ในทางการแพทย์จะวัดระดับอาการทางจิตโดยพิจารณาจากระยะเวลา 2 สัปดาห์ ถ้าคนไข้มีอาการเครียด ซึมเศร้า อย่างสังเกตได้ ทั้งจากตัวเองและคนรอบข้าง ก็ควรจะผ่อนคลายอิริยาบถจากสิ่งที่ทำอยู่ พักจากงานที่ทำอันเป็นสาเหตุของความเครียด หรือหาเวลาว่างไปออกกำลังกาย สิ่งเหล่านี้จะช่วยปลดปล่อยความเครียดออกมา ทำให้จิตใจกลับไปสู่ภาวะปกติ


ส่วนในการป้องกันนั้น เราสามารถป้องกันได้ โดยระวังไม่ให้เครียด ซึมเศร้า นอนไม่หลับ โดยการสำรวจตัวเองเป็นหลักว่า เรามีสติ มีอารมณ์อย่างไร และหมั่นตรวจสอบความคิดของตัวเองอยู่เสมอ ส่วนด้านกายภาพนั้น การออกกำลังกายเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยได้มาก ทั้งด้านร่างกายและจิตใจ


อีกประการหนึ่งที่สำคัญ พนักงานประจำจะเผชิญกับความเครียดอยู่แสมอ ฉะนั้นต้องมีวิธีในการปลดปล่อยความเครียด ถ้าไม่ระบายออกก็จะเป็นโรคได้ ซึ่งบ่อยครั้งคนไข้ไม่รู้สึกตัว ฉะนั้นการออกกำลังกายจะเป็นการป้องกันที่ดีที่สุด ไม่ว่าเครียดหรือไม่เครียดก็ต้องออกกำลังกาย


ปกติความเครียดมีแบบที่แสดงอาการอย่างรุนแรง และความเครียดสะสม ซึ่งในแบบการสะสมนั้น สามารถป้องกันได้ด้วยการออกกำลังกาย ผ่อนคลายตัวเอง เช่น การทำสติ ซึ่งเป็นการปล่อยความเครียดตลอดเวลา การออกกำลังกายเป็นการปลดปล่อยความเครียดทุกวัน ถ้าเรามีสติความเครียดจะไม่สะสม แต่เราไม่สามารถมีสติได้ตลอดเวลา


การรักษาทางการแพทย์


ถ้าคนไข้มีความผิดปกติทางจิตใจนานเกินกว่า 2 สัปดาห์ให้สันนิษฐานเบื้องต้นว่ามีอาการทางจิต และควรเข้ามาปรึกษาแพทย์ เพื่อทำการรักษา ซึ่งในการรักษานั้น จะแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ส่วนแรกคือ การรักษาทางชีวภาพ เช่น การใช้ยาผ่อนคลาย และส่วนที่สองคือ การพูดคุยเพื่อเข้าใจสาเหตุของปัญหา และปรับปรุงสภาพสังคม และสิ่งแวดล้อมที่เป็นต้นเหตุของปัญหา รวมถึงการทำจิตบำบัด ซึ่งในการพูดคุย เพื่อเข้าใจสาเหตุของปัญหานั้น เป็นส่วนสำคัญของการรักษาที่ทำให้การรักษาได้ผลดีขึ้น

เกี่ยวกับผู้เขียนบทความ

บทความที่เกี่ยวข้อง (10)

ดูทั้งหมด

“เสื่อม ปวด อ้วน เครียด” 4 ปัญหาสุขภาพมาแรงในปัจจุบัน

ในยุคปัจจุบันที่มีการเปลี่ยนแปลงในหลากหลายด้าน การมีสุขภาพดี เพื่อต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดอย่างรวดเร็ว ย่อมเป็นสิ่งที่ทุกคนต้องการ

Extraordinary Attorney Woo Ep.1 “รักยิ่งใหญ่จากชายคนหนึ่ง”

วิเคราะห์ “อูยองอู” เด็กที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคออทิสติก ผ่านซีรีย์ Extraordinary Attorney Woo โดยจิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น รพ.พระรามเก้าที่ดูแลเด็กออทิสติกมายาวนาน

จิตเวช เด็ก และ วัยรุ่น: ลูกสาวอายุ 4 ขวบ ชอบเถียง และดื้อมาก ขัดใจก็จะร้องไห้ทำอย่างไรดีคะ

จิตเวช เด็ก และ วัยรุ่น: ลูกสาวอายุ 4 ขวบ ชอบเถียง และดื้อมาก ขัดใจก็จะร้องไห้ทำอย่างไรดีคะคำถาม ลูกสาวอายุ 4 ขวบ ชอบเถียง และดื้อมาก ทำอะไรขัดใจก็จะร้องไห้ทำอย่างไรดีคะ ตอนนี้ไม่มีใครปราบได้เลยค่ะ คำตอบ โดย แพทย์หญิงสุภาพร ปิตวิวัฒนานนท์

ใครนอนไม่หลับ ฟังทางนี้!

“คุณเคยเป็นแบบนี้ไหม?” นอนหลับยาก หลับไม่สนิท ตื่นกลางดึกบ่อย ตื่นเช้ากว่าปกติ นอนไม่หลับเรื้อรัง รู้สึกไม่สดชื่นเมื่อตื่นนอน ในช่วงเวลาหนึ่งของชีวิต หลายท่านอาจเคยประสบปัญหาการนอนไม่หลับ

กินอย่างไรห่างไกลความเครียด

เซโรโทนิน สารสื่อประสาทต้านเครียด การมีสารสื่อประสาทในสมองที่มีชื่อว่า ซีโรโทนิน (serotonin) อย่างเพียงพอจะช่วยให้อารมณ์ดี รู้สึกผ่อนคลายและสงบ แต่ในสภาวะเครียดซีโรโทนินจะลดลง ทำให้นอนไม่หลับ หงุดหงิด ขาดสมาธิ และซึมเศร้า

จิตเวช: ห้ามบ่อยๆ หรือจะปล่อยตามใจ

จิตเวช: ห้ามบ่อยๆ หรือจะปล่อยตามใจ ห้ามบ่อยๆ หรือจะปล่อยตามใจ โดย พญ.พยอม อิงคตานุวัฒน์ การเลี้ยงลูกถึงแม้จะเป็นเรื่องของชีวภาพ มนุษย์ไม่ว่าอยู่ที่มุมใดของโลกเมื่อมีลูกก็จะเลี้ยงลูกเป็น หากแต่การเลี้ยงลูกย่อมแตกต่างตามภูมิภาคและวัฒนธรรม

จิตเวช: เห็น…(จิต)…ใจคนแก่บ้าง

จิตเวช: เห็น…(จิต)…ใจคนแก่บ้าง เห็น…(จิต)…ใจคนแก่บ้าง โดย นพ.ประทักษ์ ลิขิตเลอสรวง โปรดอย่าเข้าใจผิดคิดว่าเป็นเรื่องพรรค์นั้นนะครับ ผมหมายถึง “ปัญหาสุขภาพจิตของผู้สูงอายุ” ต่างหาก

จิตเวช: นอน… ใครว่าไม่สำคัญ

จิตเวช: นอน… ใครว่าไม่สำคัญ นอน… ใครว่าไม่สำคัญ น.พ.ประทักษ์ ลิขิตเลอสรวง จิตแพทย์ เมื่อก่อนหากมีใครกล่าวว่า “ กินได้นอนหลับ ” ย่อมถือว่าโชคดีมหาศาลแล้ว ผมก็เคยเชื่อตามนั้น แต่เดี๋ยวนี้ เราคำนึงถึงคุณภาพชีวิตกันมากขึ้น

จิตเวช: ยาบ้า ยาอี ยาม้า เหมือนกันหรือต่างกันตรงไหนคะ

ตเวช: ยาบ้า ยาอี ยาม้า เหมือนกันหรือต่างกันตรงไหนคะ คำถาม ยาบ้า ยาอี ยาม้า เหมือนกันหรือต่างกันตรงไหนคะ ยาพวกนี้มามีส่วนทำอะไรในร่างกายหรือจิตใจเราคะจึงทำให้เราติดมัน คำตอบ โดย นายแพทย์ประทักษ์ ลิขิตเลอสรวง ยาบ้า หรือ ยาม้า เป็นชื่อสารเสพติด

ไอคิว (IQ)

ไอคิวหรือความสามารถทางเชาว์ปัญญาของแต่ละคนมีมาแต่กำเนิด โดยถ่ายทอดจากพันธุกรรมต่อจากพ่อแม่ ไอคิวสามารถพัฒนาให้สมบูรณ์ขึ้นได้ตามช่วงอายุ ซึ่งมีปัจจัยต่าง ๆ เข้ามาเกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นความสมบูรณ์ของระบบประสาทและสมอง รวมถึงสภาพแวดล้อมที่ช่วยส่งเสริมและกระตุ้นการเรียนรู้ ทำให้เกิดพัฒนาการทางไอคิวที่ดีขึ้น

Copyright © 2024 All Rights Reserved | Praram 9 Hospital