บทความสุขภาพ

Knowledge

ผ่าตัดไส้เลื่อน วิธีรักษาไส้เลื่อนให้หายดี ลดเสี่ยงภาวะแทรกซ้อน

นพ. ธนพงศ์ ว่องวิริยกุล

การผ่าตัดไส้เลื่อนอาจฟังดูน่ากังวลสำหรับหลาย ๆ คน แต่ในความเป็นจริงแล้ว การผ่าตัดไส้เลื่อนเป็นกระบวนการรักษาที่มีความปลอดภัยและมีประสิทธิภาพสูง ยิ่งในปัจจุบันที่เทคโนโลยีทางการแพทย์ค่อนข้างก้าวหน้า ทำให้การผ่าตัดสามารถทำได้อย่างรวดเร็ว แผลเล็ก เสียเลือดน้อย ช่วยให้ผู้ป่วยฟื้นตัวได้ไวขึ้น ทั้งยังลดภาวะแทรกซ้อนและโอกาสเกิดซ้ำอีกด้วย เพื่อไม่ให้เกิดความกังวลจนเกินไป บทความนี้จะพาไปรู้จักวิธีผ่าตัดไส้เลื่อน พร้อมตอบข้อสงสัยเกี่ยวกับไส้เลื่อนกัน


Key Takeaways

  • ผู้ป่วยไส้เลื่อนจะมีก้อนบวมเกิดขึ้นตามตำแหน่งที่เป็นไส้เลื่อน ซึ่งเกิดได้หลายบริเวณ แต่ที่พบได้บ่อยที่สุด คือ ไส้เลื่อนขาหนีบ โดยมักมีอาการปวดที่ก้อนร่วมด้วย โดยเฉพาะเวลาไอ เบ่ง ก้มตัว หรือยกของหนัก หรือบางคนอาจไม่ปวดก็ได้เช่นกัน
  • ไส้เลื่อนไม่สามารถหายเองได้ และหากปล่อยไว้โดยไม่รักษาด้วยการผ่าตัดไส้เลื่อน อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง เช่น ไส้เลื่อนติดคา (Incarcerated hernia) ซึ่งอาจก่อให้เกิดลำไส้อุดตัน ขาดเลือดไปเลี้ยง จนไส้เน่าได้
  • การดูแลตนเองหลังผ่าตัดไส้เลื่อนเป็นสิ่งสำคัญอย่างมาก เพราะช่วยให้แผลหายเร็ว ลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อน รวมถึงลดโอกาสการเป็นไส้เลื่อนซ้ำอีกด้วย

ไส้เลื่อน คืออะไร มีอาการอย่างไรบ้าง?

โรคไส้เลื่อน (Hernia) เกิดจากอวัยวะภายใน เช่น ลำไส้หรือเนื้อเยื่อไขมัน ยื่นออกมาผ่านทางผนังหน้าท้องที่อ่อนแอ ทำให้ผู้ป่วยมีก้อนนูนผิดปกติ สามารถเกิดขึ้นได้หลายตำแหน่ง เช่น ไส้เลื่อนขาหนีบ (Inguinal hernia) ซึ่งเป็นชนิดที่พบได้บ่อยที่สุด ไส้เลื่อนกะบังลม (Hiatal hernia) หรือไส้เลื่อนที่เกิดหลังผ่าตัด (Incisional hernia) เป็นต้น

นอกจากนี้ผู้ป่วยอาจมีอาการปวดหน่วง ๆ เวลาไอ เบ่ง ก้มตัว หรือยกของหนัก แล้วปวดน้อยลงเมื่อดันก้อนกลับเข้าไปหรือนอนราบ ในรายที่ไส้เลื่อนบริเวณกะบังลม อาจรู้สึกเจ็บหน้าอก เป็นกรดไหลย้อนร่วมด้วย แต่บางคนอาจไม่รู้สึกปวด มีแค่ก้อนตุงก็ได้เช่นกัน จึงควรหมั่นสังเกตอาการตนเองเพื่อเข้ารับการผ่าตัดไส้เลื่อนได้อย่างทันท่วงที

ทำไมต้องผ่าตัดรักษาไส้เลื่อน โรคนี้หายเองได้ไหม?

ไส้เลื่อน หายเองได้ไหม? เมื่อโรคเกิดขึ้นแล้วจะไม่สามารถหายได้เองหรือรักษาได้ด้วยการทานยา หากปล่อยไว้นานไม่รีบรักษาด้วยการผ่าตัดไส้เลื่อน เมื่อโรครุนแรงขึ้น จะทำให้เกิดภาวะไส้เลื่อนกลับเข้าที่เดิมไม่ได้ (Incarcerated hernia) เสี่ยงไส้เน่าจากการขาดเลือดไปเลี้ยง (Strangulated hernia) หรือลำไส้อุดตัน (Intestinal obstruction) ผู้ป่วยจะมีอาการปวดท้องและอาเจียนรุนแรง ซึ่งเป็นภาวะแทรกซ้อนอันตรายถึงชีวิต ต้องเข้ารับการผ่าตัดไส้เลื่อนโดยเร็วที่สุด


ผ่าตัดไส้เลื่อน มีกี่ประเภท?

วิธีรักษาไส้เลื่อน

วิธีรักษาไส้เลื่อนที่มีประสิทธิภาพ คือ การผ่าตัดไส้เลื่อน ซึ่งสามารถแบ่งได้ 3 วิธีหลัก ๆ ดังนี้

ผ่าตัดไส้เลื่อนแบบผ่าเปิดหน้าท้อง

การผ่าตัดเปิดหน้าท้อง (Open repair) เป็นการผ่าตัดไส้เลื่อนแบบดั้งเดิม โดยแพทย์จะทำการผ่าตัดเปิดผิวหนังบริเวณที่เกิดไส้เลื่อนความยาวประมาณ 2-3 นิ้ว เพื่อตัดถุงไส้เลื่อนออก จากนั้นทำการเย็บซ่อมแซมผนังด้วยเทคนิคเย็บปิดด้วยกล้ามเนื้อ หรือใช้สกรูยึดตาข่ายสังเคราะห์ (Mesh) เข้ากับผนังกล้ามเนื้อหน้าท้อง เพื่อเสริมความแข็งแรงให้มากขึ้น ช่วยลดโอกาสในการเกิดซ้ำ

วิธีผ่าตัดไส้เลื่อนแบบดั้งเดิมนี้ สามารถทำได้ในผู้ป่วยเกือบทุกราย ค่าใช้จ่ายต่ำ แต่หลังผ่าตัดไส้เลื่อน ผู้ป่วยจะรู้สึกเจ็บแผลค่อนข้างมาก ฟื้นตัวช้า อาจใช้เวลา 1-2 สัปดาห์ กว่าแผลจะหายเจ็บ แล้วจึงกลับไปใช้ชีวิตได้ตามปกติ

ผ่าตัดไส้เลื่อนแบบส่องกล้อง (MIS)

การผ่าตัดส่องกล้องแบบ Minimal Invasive surgery หรือ MSI เป็นการผ่าตัดรูปแบบใหม่ โดยแพทย์จะเจาะรูเล็ก ๆ สำหรับใส่กล้องให้มีความยาว 1 ซม. และเจาะอีกสองรูยาว 0.5 ซม. สำหรับใส่เครื่องมือ เพื่อทำการดึงถุงไส้เลื่อนให้กลับเข้าไปในช่องท้อง จากนั้นตรึงตาข่ายสังเคราะห์เข้ากับกล้ามเนื้อด้วยหมุดเย็บ 3-4 ตัวเหมือนการผ่าตัดไส้เลื่อนแบบดั้งเดิม แล้วนำเครื่องมือออก เย็บแผลปิด เป็นอันเสร็จสิ้น

วิธีนี้จะมีแผลผ่าตัดไส้เลื่อนขนาดเล็ก ผู้ป่วยจะรู้สึกเจ็บน้อยลง ช่วยลดโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัด สามารถซ่อมแซมไส้เลื่อนขาหนีบได้ทุกชนิด ทั้งยังใช้เวลาพักฟื้นสั้น โดยอยู่โรงพยาบาลเพียง 1-2 วัน และกลับไปพักฟื้นต่อที่บ้านอีก 5-7 วัน ก็กลับไปทำกิจกรรมต่าง ๆ ได้ตามเดิม

ผ่าตัดไส้เลื่อนโดยใช้หุ่นยนต์ช่วยผ่าตัดดาวินชี

เป็นเทคนิคการผ่าตัดไส้เลื่อนที่ใช้แขนกลหุ่นยนต์เข้ามาช่วย เมื่อทำการเจาะรูที่หน้าท้อง 3 รูเพื่อสอดเครื่องมือเข้าไปแล้ว แพทย์จะควบคุมเครื่องมือผ่าน Console และทำการผ่าตัดผ่านจอที่แสดงอวัยวะภายในแบบ 3 มิติซึ่งมีความคมชัดสูง ช่วยเพิ่มความแม่นยำ ลดภาวะแทรกซ้อนได้ดี


ข้อควรปฏิบัติหลังผ่าตัดไส้เลื่อน ให้ฟื้นตัวเร็ว แผลสมานไว

หลังการผ่าตัดไส้เลื่อน ผู้ป่วยควรปฏิบัติตามคำแนะนำหลังผ่าตัดไส้เลื่อนของแพทย์อย่างเคร่งครัด จะช่วยให้แผลหายเร็ว ลดความเสี่ยงของภาวะแทรกซ้อน และกลับไปใช้ชีวิตตามปกติได้เร็วขึ้น โดยสามารถปฏิบัติได้ ดังนี้

  • ระวังไม่ให้แผลเปียกน้ำ ไม่แกะเกาแผล จนกว่าจะตัดไหม
  • หลีกเลี่ยงการออกแรงเบ่งขณะขับถ่าย หรือการเบ่งเป็นเวลานาน เพราะทำให้เกิดไส้เลื่อนซ้ำได้ แนะนำให้ทานอาหารที่มีกากใยสูงอย่างผัก ผลไม้ และดื่มน้ำให้เพียงพอ เพื่อป้องกันท้องผูก
  • ทานอาหารที่มีโปรตีนและวิตามินซีสูง งดของหมักดอง จะช่วยให้แผลหายเร็ว สมานตัวดี
  • ใช้มือหรือผ้านุ่มกดประคองแผล ขณะไอ จาม หากมีอาการป่วย ทำให้ไอจามบ่อย ควรรีบพบแพทย์ เพราะอาจกระทบต่อแผลผ่าตัด ทำให้ปวด บวม และตึงแผลได้
  • ห้ามทำงานหนักหรือยกของหนักหลังผ่าตัดไส้เลื่อนอย่างน้อย 3 เดือน
  • ใส่กางเกงในที่มีความกระชับ เพื่อช่วยประคองแผล
  • ทานยาตามแพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด
  • สังเกตอาการผิดปกติ ไม่ว่าจะปวดแผลมากผิดปกติ แผลแยก แผลบวมแดง เป็นหนอง มีไข้สูง ปวดท้อง หรือเกิดไส้เลื่อนซ้ำ ควรรีบพบแพทย์

ผ่าตัดไส้เลื่อน เกิดผลข้างเคียงหรือภาวะแทรกซ้อนอะไรได้บ้าง?

อาการแทรกซ้อนหลังผ่าไส้เลื่อน

การผ่าตัดไส้เลื่อน มีโอกาสเกิดผลข้างเคียงหรือภาวะแทรกซ้อนบางอย่างได้ ดังนี้

  • ผลข้างเคียงทั่วไปจากการใช้ยาชา จะทำให้ผู้ป่วยรู้สึกปวด ไม่สบายตัว มีรอยช้ำ หรือเลือดออกบริเวณจุดฉีด เป็นอาการแทรกซ้อนหลังผ่าไส้เลื่อนที่ไม่อันตราย แต่ควรระวังหากผู้ป่วยสายตาพร่ามัว กล้ามเนื้อกระตุก มีอาการชาต่อเนื่อง และรู้สึกเจ็บเหมือนเข็มทิ่ม
  • ผลข้างเคียงจากยาสลบ อาจทำให้คลื่นไส้ อาเจียนมากกว่าปกติ รู้สึกอ่อนเพลีย และปากแห้ง รวมถึงเจ็บคอจากการใส่ท่อช่วยหายใจ
  • แผลผ่าตัดติดเชื้อ มีเลือดไหล
  • ผู้ป่วยมีอาการชาหรือผิวหนังไร้ความรู้สึก จากเส้นประสาทผิวหนังถูกทำลาย
  • ผู้ป่วยปวดเรื้อรังที่แผลผ่าตัด แต่เป็นอาการที่พบได้น้อยมาก

ผ่าตัดไส้เลื่อน ไม่อันตรายอย่างที่คิด ผ่าแบบส่องกล้องแผลเล็กกว่า ฟื้นตัวได้ไว

ไส้เลื่อนเป็นโรคที่ไม่สามารถหายได้เอง ต้องรักษาด้วยวิธีผ่าตัดไส้เลื่อน เพื่อป้องกันไม่ให้โรคลุกลามจนเกิดภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายถึงชีวิต ทั้งยังช่วยลดโอกาสเป็นซ้ำอีกด้วย สำหรับคนที่กังวลเรื่องความเจ็บปวด และไม่อยากพักฟื้นนาน ๆ ขอแนะนำให้เลือกผ่าตัดไส้เลื่อนแบบส่องกล้อง เพราะเป็นวิธีที่ช่วยลดผลกระทบหลังผ่าตัดได้เป็นอย่างดี


หากยังเลือกไม่ได้ว่าจะผ่าไส้เลื่อนแบบส่องกล้องที่ไหนดี สามารถเข้ามาปรึกษาได้ที่ศูนย์ผ่าตัดส่องกล้องแผลเล็ก (MIS) โรงพยาบาลพระรามเก้า ซึ่งมีแพทย์ที่มีความชำนาญด้านการผ่าตัดผ่านกล้องแผลเล็กรอให้บริการ โดยทีมแพทย์และพยาบาลจะคอยดูแลผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง ใกล้ชิด ตั้งแต่ขั้นตอนการตรวจวินิจฉัยโรค การผ่าตัดไส้เลื่อน ไปจนถึงการฟื้นฟูหลังผ่าตัด ช่วยให้การรักษามีประสิทธิภาพ แม่นยำ แผลหายเร็ว ผู้ป่วยกลับไปดำเนินชีวิตตามปกติได้ไว


สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

Facebook : Praram 9 hospital

Line : @Praram9Hospital

โทร. 1270


คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับการผ่าตัดไส้เลื่อน

ผ่าตัดไส้เลื่อน มีโอกาสสำเร็จมากแค่ไหน?

โอกาสสำเร็จของการผ่าตัดไส้เลื่อนขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย โดยเฉพาะหากดูแลตัวเองทั้งก่อนและหลังผ่าตัดอย่างเหมาะสม จะช่วยเพิ่มโอกาสประสบความสำเร็จในการรักษาได้สูง และหลังผ่าตัดแล้วจะมีอัตราการเป็นไส้เลื่อนซ้ำน้อยกว่า 1%

ผ่าตัดไส้เลื่อน ส่งผลต่อสมรรถภาพทางเพศจริงไหม?

โดยทั่วไป การผ่าตัดไส้เลื่อนจะไม่ส่งผลกระทบต่อสมรรถภาพทางเพศแต่อย่างใด ทั้งการแข็งตัว ขนาด ความต้องการทางเพศ รวมถึงจำนวนอสุจิ กลับกันการปล่อยทิ้งไว้ไม่ผ่าตัดจนไส้เลื่อนขาหนีบรุนแรงขึ้น จะไปกดเบียดองคชาต จนมีผลต่อการมีเพศสัมพันธ์ได้


References

Hernia. (2023, February 7). Cleveland clinic. https://my.clevelandclinic.org/health/diseases/15757-hernia


Hernia Repair Surgery. (2023, September 21). Cleveland clinic. https://my.clevelandclinic.org/health/procedures/17967-hernia-repair-surgery


Wint, C., & Higuera, V. (2023, April 17). Everything You Want to Know About a Hernia. Healthline. https://www.healthline.com/health/hernia




เกี่ยวกับผู้เขียนบทความ

นพ. ธนพงศ์ ว่องวิริยกุล

นพ. ธนพงศ์ ว่องวิริยกุล

ศูนย์ศัลยกรรม

บทความที่เกี่ยวข้อง (10)

ดูทั้งหมด

เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ สัญญาณเตือนที่ผู้หญิงไม่ควรมองข้าม

เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ (Endometriosis) คือภาวะที่เนื้อเยื่อในโพรงมดลูกเจริญนอกมดลูก เช่น รังไข่หรือท่อนำไข่ ทำให้เกิดการอักเสบและปวดท้องประจำเดือนรุนแรง

เนื้องอกมดลูก อันตรายใกล้ตัวของผู้หญิงที่ไม่ควรมองข้าม

เนื้องอกมดลูก มีสาเหตุมาจากเซลล์กล้ามเนื้อมดลูกเจริญผิดปกติ ผู้ป่วยส่วนมากมักไม่แสดงอาการ และผู้ป่วยบางส่วนอาจมีอาการปวดท้องน้อยรุนแรง ท้องผูก ปัสสาวะบ่อย

ต่อมลูกหมากโต (BHP) อาการเป็นอย่างไร รักษาวิธีไหนได้บ้าง?

โรคต่อมลูกหมากโต (BPH) คือ ภาวะที่ต่อมลูกหมากขยายใหญ่ขึ้น ส่งผลให้ปัสสาวะติดขัดและกระทบต่อคุณภาพชีวิต มักพบได้บ่อยในผู้ชายวัยกลางคนอายุ 50 ปีขึ้นไป

รู้ทันอาการริดสีดวงทวาร กับพฤติกรรมเสี่ยงที่ต้องระมัดระวัง

ริดสีดวงทวาร มีสาเหตุมาจากการเพิ่มแรงดันในช่องทวารหนัก ทำให้เนื้อเยื่อหลอดเลือดในช่องทวารหนัก (Anal cushion) เกิดการขยายตัวเป็นหัวริดสีดวง

ปัสสาวะบ่อย ไม่ใช่เรื่องเล็ก เสี่ยงโรคอันตรายบั่นทอนคุณภาพชีวิต

ปัสสาวะบ่อยเกิดได้จากหลายปัจจัย ตั้งแต่การดื่มน้ำหรือของเหลวในปริมาณมาก ได้รับคาเฟอีนมาก การใช้ยา ไปจนถึงโรคที่เกี่ยวข้องกับทางเดินปัสสาวะ เรียนรู้ในบทความนี้!

การผ่าตัดเปลี่ยนผิวข้อเข่าเทียมบางส่วน ทางเลือกรักษาข้อเข่าเสื่อม แผลเล็ก ฟื้นตัวเร็ว

การผ่าตัดเปลี่ยนผิวข้อเข่าเทียมบางส่วน หรือ UKA เป็นการผ่าตัดรักษาโรคข้อเข่าเสื่อม โดยเอาผิวข้อเฉพาะส่วนที่สึกหรอออก และเก็บผิวข้อเข่าส่วนที่ยังมีสภาพดีไว้ ทำให้ผู้ป่วยไม่ต้องใช้เวลาปรับตัวนาน ในการกลับไปใช้ข้อเข่าได้เหมือนธรรมชาติ

คุณเป็นโรคภูมิแพ้…จริงหรือ…?

คนทั่วไปเมื่อมีอาการคัดจมูก น้ำมูกไหลเรื้อรัง หรือเป็นๆ หายๆ มักจะบอกว่า เป็นโรคภูมิแพ้ หรือไม่ก็เข้าใจว่าตนเป็นหวัด หวัด เกิดจากการติดเชื้อไวรัส คนทั่วไปมักเป็นได้ปีละ 4 – 5 ครั้งก็มากเกินปกติแล้ว อาการหวัดมักเป็นอยู่ 3 – 4 วัน

โรคไข้อีดำอีแดง โรคที่เกิดจากพิษของเชื้อแบคทีเรีย

ข้อมูลจาก สมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทย โรคไข้อีดำอีแดงหรือ scarlet fever เป็นโรคที่เกิดจากพิษของเชื้อแบคทีเรียชื่อ #สเตร็ปโตคอคคัสชนิดเอ ทำให้มีผื่นแดง ตามตัวร่วมกับคอหอยหรือทอนซิลอักเสบ พบบ่อยในช่วงอายุระหว่าง 5-15 ปี

วัคซีนปอดอักเสบนิวโมคอกคัสชนิดใหม่ 20 สายพันธุ์ (PCV 20)

โรคปอดอักเสบจากเชื้อนิวโมคอกคัสเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียสเตรปโตคอคคัสนิวโมเนียอี (Streptococcus pneumoniae) ส่วนใหญ่เชื้อจะพบอยู่ในโพรงจมูกและลำคอ สามารถแพร่กระจายผ่านการสัมผัสสารคัดหลั่งทางละอองฝอยทางการไอหรือจาม เป็นหนึ่งในเชื้อที่ทำให้เกิดปอดอักเสบที่พบบ่อย ทั้งในเด็ก ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ

โรคแอนแทรกซ์ (Anthrax) โรคติดต่อจากสัตว์สู่คน

โรคแอนแทรกซ์ หรือชาวบ้านเรียกว่าโรคกาลี เป็นโรคที่รู้จักกันมาแต่โบราณกาล แอนแทรกซ์นับว่าเป็นโรคระบาดสำคัญโรคหนึ่งในพระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ. 2499 เป็นโรคติดต่ออันตรายร้ายแรงที่เกิดขึ้นได้ในสัตว์กินหญ้าแทบทุกชนิด ทั้งสัตว์ป่า เช่น ช้าง เก้ง กวาง และสัตว์เลี้ยง เช่น โค กระบือ แพะ แกะ แล้วติดต่อไปยังคนและสัตว์อื่น

Copyright © 2024 All Rights Reserved | Praram 9 Hospital