บทความสุขภาพ

Knowledge

การผ่าตัดส่องกล้องมดลูก แผลเล็ก หายเร็ว ฟื้นตัวไว ตัวเลือกที่ตอบโจทย์ผู้หญิงยุคใหม่

สำหรับผู้หญิงหลายคนที่ต้องเผชิญกับปัญหาทางสุขภาพเกี่ยวกับมดลูก เช่น เนื้องอก เยื่อบุมดลูกเจริญผิดที่ หรือภาวะมดลูกหย่อน การตัดสินใจในการเข้ารับการผ่าตัดอาจเป็นเรื่องทำให้กังวลใจ แต่ด้วยเทคโนโลยีการแพทย์ในปัจจุบัน มีการพัฒนาการผ่าตัดมดลูกด้วยการส่องกล้อง ซึ่งเป็นวิธีการรักษาที่ทันสมัยและให้ผลการรักษาที่ดี ช่วยให้การผ่าตัดแม่นยำขึ้น ผู้ป่วยฟื้นตัวเร็ว ลดระยะเวลาการนอนโรงพยาบาลและมีผลข้างเคียงน้อย การผ่าตัดส่องกล้องมดลูกเป็นการผ่าตัดผ่านแผลเล็ก ๆ ที่หน้าท้อง ทำให้ผู้ป่วยเจ็บน้อยกว่าการผ่าตัดแบบเปิดแผลใหญ่ และยังช่วยลดความเสี่ยงในการติดเชื้อและปัญหารอยแผลเป็นขนาดใหญ่ได้อีกด้วย


aw_rama9_content5_feb2025_01.jpg
aw_rama9_content5_feb2025_02-1536x1536.jpgaw_rama9_content5_feb2025_03-1536x1536.jpgaw_rama9_content5_feb2025_04-1536x1536.jpg

ผ่าตัดส่องกล้องมดลูก จึงเป็นทางเลือกที่น่าสนใจสำหรับผู้หญิงที่มีโรคเกี่ยวกับมดลูก รังไข่ หรือระบบสืบพันธุ์ แต่อย่างไรก็ตามการตัดสินใจผ่าตัดควรอยู่ภายใต้คำแนะนำของ แพทย์เฉพาะทางด้านการผ่าตัดส่องกล้องทางนรีเวช (Laparoscopic ynecologic surgery) เพื่อให้คุณได้รับการดูแลที่เหมาะสมที่สุด

บทความนี้จะอธิบายถึงรายละเอียดเกี่ยวกับการผ่าตัดส่องกล้องทางนรีเวช รวมถึงขั้นตอน ข้อดี โรคที่สามารถรักษาได้ และการพักฟื้นหลังการผ่าตัด เพื่อให้ผู้อ่านมีความเข้าใจเกี่ยวกับการรักษานี้มากขึ้น


การผ่าตัดส่องกล้องมดลูก คืออะไร?

การผ่าตัดส่องกล้องมดลูก (Laparoscopic Hysterectomy) เป็นเทคนิคการผ่าตัดส่องกล้องรักษาโรคทางนรีเวชที่ทันสมัย เพื่อรักษาโรคเกี่ยวกับมดลูกหรืออวัยวะสืบพันธุ์ของผู้หญิง โดยแพทย์จะใช้กล้องขนาดเล็กที่สามารถบันทึกวิดีโอได้ ส่องดูภายในช่องท้อง ซึ่งกล้องจะถูกใส่ผ่านรูเปิดเล็ก ๆ บนผนังหน้าท้อง โดยรูจะมีขนาดประมาณ 5-10 มิลลิเมตร ภาพจากกล้องจะถูกส่งไปยังหน้าจอที่ต่ออยู่กับกล้อง จึงทำให้แพทย์สามารถเห็นอวัยวะภายในได้ชัดเจน โดยไม่จำเป็นต้องเปิดแผลขนาดใหญ่


ในการทำการรักษานั้น แพทย์จะใช้อุปกรณ์ผ่าตัดพิเศษสอดเข้าไปทางรูเปิดเล็ก ๆ นี้เช่นกัน แพทย์จะใช้เครื่องมือเหล่านี้ในการตัดหรือจัดการกับอวัยวะภายในที่มีปัญหา ซึ่งวิธีการผ่าตัดนี้ช่วยให้การผ่าตัดมีความแม่นยำ และลดความเสียหายต่อเนื้อเยื่อและอวัยวะข้างเคียง


ผ่าตัดส่องกล้องมดลูก รักษาโรคอะไรได้บ้าง?

ผ่าตัดส่องกล้องมดลูกสามารถรักษาโรคที่เกี่ยวข้องกับระบบสืบพันธุ์ของผู้หญิง โดยเฉพาะโรคที่เกี่ยวกับมดลูกหรืออวัยวะใกล้เคียง ซึ่งโรคที่สามารถรักษาได้ด้วยการผ่าตัดส่องกล้องมดลูก ได้แก่


  1. เนื้องอกในมดลูก (Fibroids): เนื้องอกที่เกิดจากการเจริญเติบโตผิดปกติของกล้ามเนื้อมดลูก แม้ว่าเนื้องอกนี้จะไม่ใช่มะเร็ง แต่ก็อาจทำให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับรอบประจำเดือน ปวดท้องน้อยรุนแรง หรือภาวะมีบุตรยาก
  2. เยื่อบุมดลูกเจริญผิดที่ (Endometriosis): ภาวะที่เยื่อบุมดลูกไปเจริญเติบโตอยู่นอกมดลูก ทำให้เกิดอาการปวดอย่างรุนแรงและอาจนำไปสู่ภาวะมีบุตรยากได้
  3. ช็อกโกแลตซีสต์ (Endometriotic Cyst): ซีสต์ในรังไข่ซึ่งเป็นถุงน้ำที่อาจเกิดจากโรคเยื่อบุมดลูกเจริญผิดที่ การผ่าตัดส่องกล้องสามารถกำจัดซีสต์โดยไม่ทำลายเนื้อเยื่อรอบ ๆ
  4. ภาวะมดลูกหย่อน (Uterine Prolapse): ภาวะที่มดลูกหย่อนลงในช่องคลอด การผ่าตัดส่องกล้องสามารถใช้ในการผ่าตัดแก้ไขมดลูกที่หย่อนได้
  5. การตั้งครรภ์นอกมดลูก (Ectopic Pregnancy): เมื่อ“ตัวอ่อน” ที่ผสมแล้วไปฝังตัว อยู่นอกมดลูก ที่พบมากสุดคือบริเวณท่อนำไข่ ถ้ามีการแตกของถุงการตั้งครรภ์ ทำให้มีการตกเลือดภายในช่องท้อง จะทำให้เป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้
  6. โรคมะเร็งมดลูกหรือมะเร็งรังไข่ระยะแรก: การผ่าตัดส่องกล้องสามารถใช้ในการตัดมดลูกหรือรังไข่ที่เป็นมะเร็งระยะแรกเพื่อควบคุมการแพร่กระจายของโรคได้

ผ่าตัดส่องกล้องมดลูก พักฟื้นกี่วัน?

การพักฟื้นหลังการผ่าตัดส่องกล้องทางนรีเวชมักจะใช้เวลาน้อยกว่าการผ่าตัดแบบเปิดหน้าท้อง เนื่องจากแผลมีขนาดเล็กและมีความเสียหายของเนื้อเยื่อภายในน้อยกว่า ระยะเวลาพักฟื้นสามารถแบ่งออกเป็นช่วงต่าง ๆ ได้ดังนี้


  1. ในโรงพยาบาล: ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะต้องพักฟื้นในโรงพยาบาลประมาณ 1-2 วันหลังการผ่าตัด ขึ้นอยู่กับความซับซ้อนของการผ่าตัดและสภาพร่างกายของผู้ป่วย
  2. การพักฟื้นที่บ้าน: หลังจากกลับบ้าน ผู้ป่วยควรพักผ่อนและหลีกเลี่ยงการยกของหนักหรือทำกิจกรรมที่ต้องออกแรงมาก ในช่วงสัปดาห์แรกควรมีการดูแลแผลผ่าตัดให้สะอาดและปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด โดยทั่วไป การพักฟื้นที่บ้านจะใช้เวลาประมาณ 1-2 สัปดาห์
  3. กลับมาทำกิจกรรมปกติ: หลังจากพักฟื้นประมาณ 2-4 สัปดาห์ ผู้ป่วยจะสามารถกลับมาทำกิจวัตรประจำวันได้ตามปกติ แต่ควรหลีกเลี่ยงการออกกำลังกายหนักและการมีเพศสัมพันธ์จนกว่าแพทย์จะแนะนำให้มีได้ ซึ่งมักจะใช้เวลาประมาณ 1-3 เดือน แล้วแต่ชนิดของการผ่าตัด

ข้อดีของการผ่าตัดส่องกล้องมดลูก


  1. แผลเล็กและเจ็บน้อยกว่า: เนื่องจากเป็นการผ่าตัดที่มีแผลขนาดเล็ก ความเจ็บปวดหลังผ่าตัดจึงน้อยกว่าเมื่อเทียบกับการผ่าตัดแบบเปิดหน้าท้อง
  2. ฟื้นตัวเร็วกว่า: ผู้ป่วยสามารถกลับมาทำกิจกรรมปกติได้เร็วกว่า เนื่องจากแผลที่เล็กและการฟื้นตัวที่เร็วกว่าการผ่าตัดใหญ่
  3. ลดโอกาสการเกิดภาวะแทรกซ้อน: โอกาสเกิดแผลติดเชื้อและภาวะแทรกซ้อนอื่นๆหลังการผ่าตัด จะน้อยลง
  4. มีความแม่นยำ: แพทย์สามารถมองเห็นรายละเอียดในมุมต่าง ๆ ได้ชัดเจน ช่วยให้การผ่าตัดมีความแม่นยำสูงขึ้น
  5. ผลลัพธ์การรักษาดี: การผ่าตัดส่องกล้องทำให้เนื้อเยื่อบาดเจ็บน้อยลง การฟื้นฟูจึงรวดเร็วและผู้ป่วยสามารถกลับมาทำงานหรือกิจกรรมต่าง ๆ ได้เร็วกว่า

ขั้นตอนการผ่าตัดส่องกล้องมดลูก


  1. การเตรียมตัวก่อนผ่าตัด: ผู้ป่วยต้องงดอาหารและเครื่องดื่มก่อนการผ่าตัดตามคำแนะนำของแพทย์ โดยปกติแพทย์จะให้ผู้ป่วยเตรียมตัวทางจิตใจและร่างกาย เช่น การตรวจการทำงานของระบบต่าง ๆ ของร่างกายก่อนผ่าตัด เพื่อประเมินความพร้อม และช่วยในการวางแผนการผ่าตัด
  2. การเจาะรูสำหรับใส่กล้องและเครื่องมือ: แพทย์จะทำการเจาะรูขนาดเล็กประมาณ 3-4 รูที่หน้าท้องเพื่อสอดกล้องและเครื่องมือผ่าตัด
  3. ทำการแก้ไขและรักษาอวัยวะที่มีปัญหา: เมื่อใส่กล้องและเครื่องมือแล้ว แพทย์จะทำการรักษาหรือผ่าตัดตามแผนที่กำหนดไว้ เช่น การตัดเนื้องอกหรือเยื่อบุมดลูกที่เจริญผิดที่ออก
  4. การปิดแผล: เมื่อการผ่าตัดเสร็จสิ้น แพทย์จะทำการเย็บปิดแผล

การดูแลตัวเองหลังผ่าตัดส่องกล้องมดลูก

การดูแลตัวเองหลังการผ่าตัดเป็นสิ่งสำคัญ ทั้งนี้เพื่อให้ร่างกายฟื้นตัวเร็วขึ้น ซึ่งมีข้อแนะนำดังนี้


  1. หลีกเลี่ยงการยกของหนัก: ควรงดการยกของหนักหรือทำกิจกรรมที่ต้องใช้แรงในช่วง 1-2 สัปดาห์แรกหลังผ่าตัด
  2. ดูแลแผลผ่าตัด: ควรดูแลรักษาความสะอาดของแผลผ่าตัดตามคำแนะนำของแพทย์ เช่น ไม่ให้แผลเปียกน้ำ หมั่นตรวจดูแผลเพื่อป้องกันการติดเชื้อ
  3. รับประทานยาตามแพทย์สั่ง: หากแพทย์ให้ยาลดปวดหรือยาปฏิชีวนะ ควรรับประทานตามคำแนะนำของแพทย์เพื่อป้องกันการติดเชื้อและลดอาการปวด
  4. ไปพบแพทย์ตามนัด: ควรไปพบแพทย์ตามที่แพทย์นัด เพื่อให้แพทย์ตรวจติดตามการฟื้นฟูของร่างกาย และประเมินว่ามีภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ หรือไม่

ข้อพิจารณาสำหรับการผ่าตัดส่องกล้องมดลูก

การผ่าตัดส่องกล้องมดลูกเป็นวิธีการรักษาที่ทันสมัยและมีผลการรักษาดี ซึ่งช่วยให้ผู้ป่วยฟื้นตัวเร็วและมีผลข้างเคียงน้อย อย่างไรก็ตาม สิ่งที่สำคัญอย่างยิ่งในการพิจารณาการผ่าตัดส่องกล้องคือ “ความชำนาญของแพทย์ผู้ทำการผ่าตัด” เนื่องจากวิธีการนี้ต้องอาศัยความแม่นยำ ความละเอียดอ่อน และความเชี่ยวชาญเฉพาะทาง


การผ่าตัดส่องกล้องต้องใช้เครื่องมือที่มีความซับซ้อน และแพทย์จะต้องควบคุมเครื่องมือผ่านจอภาพ ซึ่งแสดงภาพภายในร่างกายอย่างละเอียดในมุมที่จำกัด นั่นหมายความว่าแพทย์ที่ทำการผ่าตัดส่องกล้องควรมีประสบการณ์ และความชำนาญในการใช้เครื่องมือเฉพาะทาง และมีความสามารถในการประเมินสถานการณ์ภายในช่องท้องได้อย่างแม่นยำในขณะที่ทำการผ่าตัด


นอกจากนี้ชนิดของโรคที่เป็น รวมไปถึงระยะและความรุนแรงของโรคก็เป็นปัจจัยหนึ่งในการพิจารณาการรักษาด้วยวิธีส่องกล้อง ดังนั้นจึงควรปรึกษาและรับคำแนะนำจากแพทย์ เพื่อประเมินว่าโรคที่เป็นอยู่นั้นเหมาะสมกับการผ่าตัดแบบส่องกล้องหรือไม่


สรุป

การผ่าตัดส่องกล้องมดลูกเป็นนวัตกรรมที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษาโรคและปัญหาต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับมดลูก รังไข่ และอวัยวะสืบพันธุ์เพศหญิง ไม่ว่าจะเป็นเนื้องอกในมดลูก เยื่อบุมดลูกเจริญผิดที่ ช็อกโกแลตซีสต์ หลังเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ หรือภาวะมดลูกหย่อน เป็นวิธีการผ่าตัดผ่านแผลเล็ก ๆ ซึ่งช่วยลดความเจ็บปวด ลดระยะเวลาการพักฟื้น และลดความเสี่ยงของภาวะแทรกซ้อนเมื่อเทียบกับการผ่าตัดแบบเปิดหน้าท้อง


อย่างไรก็ตาม ความสำเร็จของการผ่าตัดส่องกล้องนั้นขึ้นอยู่โรคของผู้ป่วย สภาวะสุขภาพโดยรวมของผู้ป่วย รวมไปถึงความชำนาญและประสบการณ์ของแพทย์ผู้ทำการผ่าตัด


การผ่าตัดส่องกล้องมดลูกเป็นตัวเลือกหนึ่งที่น่าสนใจ เพราะฟื้นตัวเร็ว เจ็บน้อย และลดความเสี่ยงจากการผ่าตัด แต่ทั้งนี้ควรปรึกษาและรับคำแนะนำจากแพทย์เพื่อประเมินว่าโรคที่เป็นอยู่นั้นเหมาะสมกับการผ่าตัดแบบส่องกล้องหรือไม่เพื่อผลการรักษาที่ดีที่สุด

บทความที่เกี่ยวข้อง (10)

ดูทั้งหมด

ปัสสาวะบ่อย ไม่ใช่เรื่องเล็ก เสี่ยงโรคอันตรายบั่นทอนคุณภาพชีวิต

ปัสสาวะบ่อยเกิดได้จากหลายปัจจัย ตั้งแต่การดื่มน้ำหรือของเหลวในปริมาณมาก ได้รับคาเฟอีนมาก การใช้ยา ไปจนถึงโรคที่เกี่ยวข้องกับทางเดินปัสสาวะ เรียนรู้ในบทความนี้!

การผ่าตัดเปลี่ยนผิวข้อเข่าเทียมบางส่วน ทางเลือกรักษาข้อเข่าเสื่อม แผลเล็ก ฟื้นตัวเร็ว

การผ่าตัดเปลี่ยนผิวข้อเข่าเทียมบางส่วน หรือ UKA เป็นการผ่าตัดรักษาโรคข้อเข่าเสื่อม โดยเอาผิวข้อเฉพาะส่วนที่สึกหรอออก และเก็บผิวข้อเข่าส่วนที่ยังมีสภาพดีไว้ ทำให้ผู้ป่วยไม่ต้องใช้เวลาปรับตัวนาน ในการกลับไปใช้ข้อเข่าได้เหมือนธรรมชาติ

คุณเป็นโรคภูมิแพ้…จริงหรือ…?

คนทั่วไปเมื่อมีอาการคัดจมูก น้ำมูกไหลเรื้อรัง หรือเป็นๆ หายๆ มักจะบอกว่า เป็นโรคภูมิแพ้ หรือไม่ก็เข้าใจว่าตนเป็นหวัด หวัด เกิดจากการติดเชื้อไวรัส คนทั่วไปมักเป็นได้ปีละ 4 – 5 ครั้งก็มากเกินปกติแล้ว อาการหวัดมักเป็นอยู่ 3 – 4 วัน

โรคไข้อีดำอีแดง โรคที่เกิดจากพิษของเชื้อแบคทีเรีย

ข้อมูลจาก สมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทย โรคไข้อีดำอีแดงหรือ scarlet fever เป็นโรคที่เกิดจากพิษของเชื้อแบคทีเรียชื่อ #สเตร็ปโตคอคคัสชนิดเอ ทำให้มีผื่นแดง ตามตัวร่วมกับคอหอยหรือทอนซิลอักเสบ พบบ่อยในช่วงอายุระหว่าง 5-15 ปี

วัคซีนปอดอักเสบนิวโมคอกคัสชนิดใหม่ 20 สายพันธุ์ (PCV 20)

โรคปอดอักเสบจากเชื้อนิวโมคอกคัสเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียสเตรปโตคอคคัสนิวโมเนียอี (Streptococcus pneumoniae) ส่วนใหญ่เชื้อจะพบอยู่ในโพรงจมูกและลำคอ สามารถแพร่กระจายผ่านการสัมผัสสารคัดหลั่งทางละอองฝอยทางการไอหรือจาม เป็นหนึ่งในเชื้อที่ทำให้เกิดปอดอักเสบที่พบบ่อย ทั้งในเด็ก ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ

โรคแอนแทรกซ์ (Anthrax) โรคติดต่อจากสัตว์สู่คน

โรคแอนแทรกซ์ หรือชาวบ้านเรียกว่าโรคกาลี เป็นโรคที่รู้จักกันมาแต่โบราณกาล แอนแทรกซ์นับว่าเป็นโรคระบาดสำคัญโรคหนึ่งในพระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ. 2499 เป็นโรคติดต่ออันตรายร้ายแรงที่เกิดขึ้นได้ในสัตว์กินหญ้าแทบทุกชนิด ทั้งสัตว์ป่า เช่น ช้าง เก้ง กวาง และสัตว์เลี้ยง เช่น โค กระบือ แพะ แกะ แล้วติดต่อไปยังคนและสัตว์อื่น

บอลลูนหัวใจ: แก้ปัญหาหลอดเลือดหัวใจตีบ โดยไม่ต้องผ่าตัดใหญ่

การทำบอลลูนหัวใจหรือ PCI เป็นการรักษาที่มีประสิทธิภาพในการรักษาภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบ ช่วยให้เลือดไหลเวียนได้สะดวก ลดอาการเจ็บหน้าอก และลดความเสี่ยงของหัวใจวาย เป็นการเปิดหลอดเลือดโดยไม่ต้องผ่าตัดใหญ่ ทำให้ผู้ป่วยฟื้นตัวเร็วขึ้น อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยยังคงต้องดูแลสุขภาพ หมั่นออกกำลังกาย รับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ และลดปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ เพื่อรักษาสุขภาพของหัวใจในระยะยาว

ลิ้นหัวใจเทียมคืออะไร? ทำไมต้องเปลี่ยน? และอะไรบ้างที่คุณควรรู้?

การผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจเทียมเป็นหนึ่งในวิธีการรักษาสำหรับผู้ป่วยที่มีปัญหาลิ้นหัวใจผิดปกติ และการผ่าตัดเปลี่ยนลินหัวใจจะช่วยฟื้นฟูการทำงานของหัวใจให้กลับมาใกล้เคียงปกติ อย่างไรก็ตามผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาจะต้องได้รับการประเมินอย่างละเอียด เพื่อเลือกชนิดของลิ้นหัวใจที่เหมาะสม

หัวใจล้มเหลว อาการเป็นอย่างไร ป้องกันได้อย่างไรบ้าง

หัวใจล้มเหลวคือภาวะที่หัวใจไม่สามารถสูบฉีดเลือดได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้ร่างกายได้รับออกซิเจนและสารอาหารไม่เพียงพอ อาการสำคัญที่ควรสังเกต ได้แก่ เหนื่อยง่าย หายใจลำบาก ขาบวม และน้ำหนักเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่มักเกี่ยวข้องกับโรคหัวใจและหลอดเลือด การวินิจฉัยและรักษาอย่างรวดเร็วจะช่วยลดความเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนรุนแรง

การตัดชิ้นเนื้อส่งตรวจมะเร็ง (Biopsy) หมดความสงสัย วินิจฉัยได้อย่างแม่นยำ

การตัดชิ้นเนื้อส่งตรวจมะเร็ง (Biopsy) คือวิธีที่นิยมในการวินิจฉัยมะเร็ง เนื่องจากความแม่นยำและละเอียดในการบ่งชี้ประเภทของมะเร็ง ทำได้อย่างไร? บทความนี้มีคำตอบ!

Copyright © 2024 All Rights Reserved | Praram 9 Hospital