บทความสุขภาพ

Knowledge

รักษาหลอดเลือดหัวใจตีบ ด้วยการผ่าตัดบายพาสเส้นเลือดหัวใจ

นพ. วิสุทธิ์ เกตุแก้ว

เช็คตรงนี้ก่อน คุณมีอาการเหล่านี้หรือไม่?

สัญญาณโรคหลอดเลือดหัวใจตี


แน่นหน้าอก

✅ ปวดร้าวไปที่กราม แขน หรือไหล่ซ้าย

✅ เหนื่อยง่ายเวลาออกแรง

✅ นั่งพักแล้วอาการแน่นหน้าอกดีขึ้น


อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ โรคหัวใจ

coronary-artery-bypass-grafting-1.jpg
“หากมีอาการเหล่านี้ ควรหาสาเหตุอย่างเร่งด่วน
เพราะอาจเกี่ยวข้องกับโรคหัวใจ”

การผ่าตัดบายพาสหัวใจ รักษาหลอดเลือดหัวใจตีบ


การผ่าตัดบายพาสหัวใจ หรือการผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ (Coronary Artery Bypass Graft – CABG)


การผ่าตัดบายพาสหัวใจ คือ การต่อหลอดเลือดใหม่ให้กับเส้นเลือดหัวใจเพื่อเลี่ยงตำแหน่งที่มีการตีบหรือตัน โดยจะทำให้เลือดไหลเวียนไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจได้ดีขึ้น


“หลักการนี้ คล้ายกับการสร้างถนนเลี่ยงเมือง

เพื่อเลี่ยงการจราจรติดขัดนั่นเอง”


ผ่าตัดบายพาสหัวใจ ทำอย่างไร?


เลือก “หลอดเลือด” ที่จะนำมาทำบายพาส


ศัลยแพทย์หัวใจจะทำการเลือกหลอดเลือด ที่มีคุณภาพดีจากส่วนอื่นในร่างกายผู้ป่วย เช่น หลอดเลือดดำจากขา หรือหลอดเลือดแดงจากทรวงอกหรือปลายแขน (ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของแต่ละคน) เพื่อใช้เป็น graft ทำบายพาสหลอดเลือดแดงส่วนที่ตีบหรืออุดตัน


ทำการผ่าตัดบายพาส


แพทย์จะใช้หลอดเลือดที่เตรียมไว้เบื้องต้น ทำการผ่าตัดเพื่อต่อปลายหลอดเลือดข้างหนึ่งเข้ากับหลอดเลือดแดงใหญ่ (Aorta) ส่วนปลายหลอดเลือดอีกข้างหนึ่งจะต่อเข้ากับหลอดเลือดหัวใจบริเวณใต้ต่อจุดที่ตีบหรืออุดตัน (Coronary Artery)


“วิธีนี้จะทำให้มีเลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจได้มากขึ้น

จึงบรรเทาอาการกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด

และช่วยทำให้หัวใจทำงานได้ดีขึ้น”


coronary-artery-bypass-grafting-2.jpg

อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับการผ่าตัดบายพาสหัวใจ : https://www.praram9.com/cabg/


ผ่าตัดบายพาสหัวใจกับเรา ที่โรงพยาบาลพระรามเก้า


สถาบันหัวใจและหลอดเลือดพระรามเก้า มีทีมแพทย์และบุคคลากรทางการแพทย์เฉพาะทางด้านหัวใจและหลอดเลือด ที่มีประสบการณ์และความชำนาญในการดูแลผู้ป่วย ที่เข้าใจคุณ และพร้อมจะให้การดูแล เพื่อให้คุณได้กลับไปใช้ชีวิตอย่างมีความสุขกับคนที่คุณรัก


  • ดูแลด้วยทีมแพทย์เฉพาะทางที่สามารถให้ข้อมูลที่ถูกต้องและครบถ้วน เพื่อการตรวจหาร่องรอยของโรคหัวใจและหลอดเลือด และนำเสนอแนวทางที่เหมาะสมในการดูแลคุณ
  • เทคนิคการรักษา และอุปกรณ์เทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ได้มาตรฐานสากล เพื่อการตรวจวินิจฉัยและดูแลรักษาโรคหัวใจอย่างละเอียด ตลอดจนการฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจ
  • ห้การดูแลและฟื้นฟูผู้ป่วยหลังผ่าตัดบายพาสหัวใจ โดยทีมแพทย์ นักกายภาพบำบัด และทีมบุคลากรที่มีความชำนาญในการดูแลผู้ป่วยหลังผ่าตัดบายพาส หัวใจ

การเตรียมตัวก่อนผ่าตัดบายพาสหัวใจ

เนื่องจากการผ่าตัดบายพาสหัวใจเป็นการผ่าตัดใหญ่ ทีมศัลยแพทย์และพยาบาลจะคอยให้คำปรึกษาและเตรียมความพร้อมให้ผู้ป่วยก่อนการผ่าตัด โดยผู้ป่วยควรปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด

ภายใต้ มาตรการรักษาความปลอดภัย COVID safe hospital ดังนี้


  • รับประทานอาหารและยาตามคำสั่งของแพทย์อย่างเคร่งครัด
  • งดสูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์
  • เข้าพักที่โรงพยาบาล 1 วันก่อนผ่าตัดเพื่อเตรียมความพร้อมของร่างกาย
  • เข้ารับการตรวจคัดกรองโควิด 19 ก่อนเข้ารับการผ่าตัด
  • ประเมินความพร้อมก่อนการผ่าตัดโดยทีมศัลยแพทย์หัวใจและวิสัญญีแพทย์
  • ตรวจเช็คคลื่นไฟฟ้าหัวใจ เอกซเรย์ปอด และเจาะเลือดสำหรับเตรียมเลือดสำรองไว้
  • กรณีการหยุดยาต้านเกล็ดเลือดขึ้นอยู่กับการวินิจฉัยของแพทย์ ในผู้ป่วยแต่ละราย

การดูแลหลังผ่าตัดบายพาสหัวใจ


ถ้าหากไม่มีภาวะแทรกซ้อน ผู้ป่วยจะใช้พักฟื้นอยู่ที่โรงพยาบาลประมาณ 1 สัปดาห์หลังจากผ่าตัด หลังจากนั้นแพทย์จะอนุญาตให้กลับไปพักฟื้นที่บ้าน และนัดหมายให้มาพบ เพื่อติดตามอาการและผลการรักษาต่อไป


coronary-artery-bypass-grafting-3.jpg

“ไม่เพียงแค่ขั้นตอนการรักษาเท่านั้น…

การดูแลและฟื้นฟูผู้เข้ารับการผ่าตัด

เพื่อเตรียมพร้อมให้กลับไปใช้ชีวิตได้อย่างเป็นปกติ

ถือเป็นเรื่องสำคัญไม่แพ้กัน”


วางใจแม้ต้องผ่าตัดบายพาสหัวใจ ด้วยมาตรการ COVID SAFE HOSPITAL


เนื่องจากในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโควิด 19 ทางโรงพยาบาลพระรามเก้ามีมาตรการ COVID SAFE HOSPITAL คำนึงถึงผู้เข้ารับการรักษาเป็นสำคัญ เราจึงทำงานอย่างหนัก เพื่อให้คุณอุ่นใจ มั่นใจ และปลอดภัยจากโควิด 19 แม้ต้องผ่าตัดในช่วงนี้ อย่างครอบคลุม ดังนี้


✅ ผู้เข้ารับการผ่าตัดปลอดภัย


  • ตรวจคัดกรองโควิด-19 ตามมาตรฐานความปลอดภัยอย่างเคร่งครัด ก่อนผ่าตัดทุกราย
  • แยกห้อง แยกอุปกรณ์ และเลือกใช้อุปกรณ์ที่สามารถใช้แล้วทิ้ง กรณีผู้ป่วยมีความเสี่ยงติดเชื้อและจำเป็นต้องผ่าตัด

✅ บุคลากรของโรงพยาบาลปลอดภัย


  • ตรวจคัดกรอง บุคลากรทุกคน ทุกวันก่อนเข้าปฏิบัติงาน
  • เจ้าหน้าที่ทุกคนสวมชุดป้องกันร่างกาย (PPE) ขณะผ่าตัด

✅ อุปกรณ์และเครื่องมือผ่าตัดปลอดภัย


  • ทำความสะอาดอุปกรณ์ผ่าตัดทุกชิ้น ด้วยการนึ่งทำลายเชื้อ (Sterilization)
  • เช็ดทำความสะอาดเครื่องมือในห้องผ่าตัดด้วยน้ำยาทำลายเชื้อ

coronary-artery-bypass-grafting-4.jpeg

เพราะ “โรคหัวใจ” รอนานไม่ได้


เรามีบริการการรักษาโรคหัวใจด้วยการผ่าตัดบายพาสหัวใจ แม้ในช่วงเวลาการแพร่ระบาดของโควิด-19


ด้วยมาตรการ COVID SAFE HOSPITAL


เพียงติดต่อสอบถามและปรึกษาเราได้ตามรายละเอียดข้างล่างนี้

ติดต่อสอบถาม สถาบันหัวใจและหลอดเลือดพระรามเก้า


ชั้น 3 อาคาร A โรงพยาบาลพระรามเก้า


โทรศัพท์ : 1270


ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญกับ Praram 9 V ปรึกษาแพทย์ได้ทุกที่ผ่านทางวิดีโอคอล (Telemedicine)

เกี่ยวกับผู้เขียนบทความ

นพ. วิสุทธิ์ เกตุแก้ว

นพ. วิสุทธิ์ เกตุแก้ว

สถาบันหัวใจและหลอดเลือดพระรามเก้า

บทความที่เกี่ยวข้อง (10)

ดูทั้งหมด

ปัสสาวะบ่อย ไม่ใช่เรื่องเล็ก เสี่ยงโรคอันตรายบั่นทอนคุณภาพชีวิต

ปัสสาวะบ่อยเกิดได้จากหลายปัจจัย ตั้งแต่การดื่มน้ำหรือของเหลวในปริมาณมาก ได้รับคาเฟอีนมาก การใช้ยา ไปจนถึงโรคที่เกี่ยวข้องกับทางเดินปัสสาวะ เรียนรู้ในบทความนี้!

การผ่าตัดเปลี่ยนผิวข้อเข่าเทียมบางส่วน ทางเลือกรักษาข้อเข่าเสื่อม แผลเล็ก ฟื้นตัวเร็ว

การผ่าตัดเปลี่ยนผิวข้อเข่าเทียมบางส่วน หรือ UKA เป็นการผ่าตัดรักษาโรคข้อเข่าเสื่อม โดยเอาผิวข้อเฉพาะส่วนที่สึกหรอออก และเก็บผิวข้อเข่าส่วนที่ยังมีสภาพดีไว้ ทำให้ผู้ป่วยไม่ต้องใช้เวลาปรับตัวนาน ในการกลับไปใช้ข้อเข่าได้เหมือนธรรมชาติ

คุณเป็นโรคภูมิแพ้…จริงหรือ…?

คนทั่วไปเมื่อมีอาการคัดจมูก น้ำมูกไหลเรื้อรัง หรือเป็นๆ หายๆ มักจะบอกว่า เป็นโรคภูมิแพ้ หรือไม่ก็เข้าใจว่าตนเป็นหวัด หวัด เกิดจากการติดเชื้อไวรัส คนทั่วไปมักเป็นได้ปีละ 4 – 5 ครั้งก็มากเกินปกติแล้ว อาการหวัดมักเป็นอยู่ 3 – 4 วัน

โรคไข้อีดำอีแดง โรคที่เกิดจากพิษของเชื้อแบคทีเรีย

ข้อมูลจาก สมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทย โรคไข้อีดำอีแดงหรือ scarlet fever เป็นโรคที่เกิดจากพิษของเชื้อแบคทีเรียชื่อ #สเตร็ปโตคอคคัสชนิดเอ ทำให้มีผื่นแดง ตามตัวร่วมกับคอหอยหรือทอนซิลอักเสบ พบบ่อยในช่วงอายุระหว่าง 5-15 ปี

วัคซีนปอดอักเสบนิวโมคอกคัสชนิดใหม่ 20 สายพันธุ์ (PCV 20)

โรคปอดอักเสบจากเชื้อนิวโมคอกคัสเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียสเตรปโตคอคคัสนิวโมเนียอี (Streptococcus pneumoniae) ส่วนใหญ่เชื้อจะพบอยู่ในโพรงจมูกและลำคอ สามารถแพร่กระจายผ่านการสัมผัสสารคัดหลั่งทางละอองฝอยทางการไอหรือจาม เป็นหนึ่งในเชื้อที่ทำให้เกิดปอดอักเสบที่พบบ่อย ทั้งในเด็ก ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ

โรคแอนแทรกซ์ (Anthrax) โรคติดต่อจากสัตว์สู่คน

โรคแอนแทรกซ์ หรือชาวบ้านเรียกว่าโรคกาลี เป็นโรคที่รู้จักกันมาแต่โบราณกาล แอนแทรกซ์นับว่าเป็นโรคระบาดสำคัญโรคหนึ่งในพระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ. 2499 เป็นโรคติดต่ออันตรายร้ายแรงที่เกิดขึ้นได้ในสัตว์กินหญ้าแทบทุกชนิด ทั้งสัตว์ป่า เช่น ช้าง เก้ง กวาง และสัตว์เลี้ยง เช่น โค กระบือ แพะ แกะ แล้วติดต่อไปยังคนและสัตว์อื่น

บอลลูนหัวใจ: แก้ปัญหาหลอดเลือดหัวใจตีบ โดยไม่ต้องผ่าตัดใหญ่

การทำบอลลูนหัวใจหรือ PCI เป็นการรักษาที่มีประสิทธิภาพในการรักษาภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบ ช่วยให้เลือดไหลเวียนได้สะดวก ลดอาการเจ็บหน้าอก และลดความเสี่ยงของหัวใจวาย เป็นการเปิดหลอดเลือดโดยไม่ต้องผ่าตัดใหญ่ ทำให้ผู้ป่วยฟื้นตัวเร็วขึ้น อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยยังคงต้องดูแลสุขภาพ หมั่นออกกำลังกาย รับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ และลดปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ เพื่อรักษาสุขภาพของหัวใจในระยะยาว

ลิ้นหัวใจเทียมคืออะไร? ทำไมต้องเปลี่ยน? และอะไรบ้างที่คุณควรรู้?

การผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจเทียมเป็นหนึ่งในวิธีการรักษาสำหรับผู้ป่วยที่มีปัญหาลิ้นหัวใจผิดปกติ และการผ่าตัดเปลี่ยนลินหัวใจจะช่วยฟื้นฟูการทำงานของหัวใจให้กลับมาใกล้เคียงปกติ อย่างไรก็ตามผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาจะต้องได้รับการประเมินอย่างละเอียด เพื่อเลือกชนิดของลิ้นหัวใจที่เหมาะสม

หัวใจล้มเหลว อาการเป็นอย่างไร ป้องกันได้อย่างไรบ้าง

หัวใจล้มเหลวคือภาวะที่หัวใจไม่สามารถสูบฉีดเลือดได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้ร่างกายได้รับออกซิเจนและสารอาหารไม่เพียงพอ อาการสำคัญที่ควรสังเกต ได้แก่ เหนื่อยง่าย หายใจลำบาก ขาบวม และน้ำหนักเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่มักเกี่ยวข้องกับโรคหัวใจและหลอดเลือด การวินิจฉัยและรักษาอย่างรวดเร็วจะช่วยลดความเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนรุนแรง

การตัดชิ้นเนื้อส่งตรวจมะเร็ง (Biopsy) หมดความสงสัย วินิจฉัยได้อย่างแม่นยำ

การตัดชิ้นเนื้อส่งตรวจมะเร็ง (Biopsy) คือวิธีที่นิยมในการวินิจฉัยมะเร็ง เนื่องจากความแม่นยำและละเอียดในการบ่งชี้ประเภทของมะเร็ง ทำได้อย่างไร? บทความนี้มีคำตอบ!

Copyright © 2024 All Rights Reserved | Praram 9 Hospital