บทความสุขภาพ

Knowledge

วัคซีนปอดอักเสบนิวโมคอกคัสชนิดใหม่ 20 สายพันธุ์ (PCV 20)

พญ. จิตรฟ้า หรูรุ่งโรจน์

โรคปอดอักเสบจากเชื้อนิวโมคอกคัสเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียสเตรปโตคอคคัสนิวโมเนียอี (Streptococcus pneumoniae) ส่วนใหญ่เชื้อจะพบอยู่ในโพรงจมูกและลำคอ สามารถแพร่กระจายผ่านการสัมผัสสารคัดหลั่งทางละอองฝอยทางการไอหรือจาม เป็นหนึ่งในเชื้อที่ทำให้เกิดปอดอักเสบที่พบบ่อย ทั้งในเด็ก ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ นอกจากจะทำให้เกิดปอดอักเสบแล้ว ยังก่อให้เกิดการติดเชื้อแบบรุกราน (Invasive pneumococcal disease ; IPD) เช่น ปอดอักเสบแบบรุนแรง ติดเชื้อในกระแสเลือด เยื่อหุ้มสมองอักเสบ นำไปสู่การเสียชีวิตได้ ซึ่งโรคนี้สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีน


กลุ่มเสี่ยงต่อการติดเชื้อนิวโมคอกคัสได้แก่


  • เด็กอายุน้อยกว่า 5 ปี
  • ผู้สูงอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไป
  • ผู้ที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง เช่น ผู้ป่วยเอชไอวี ผู้ป่วยโรคมะเร็ง ผู้ที่มีโรคที่ต้องรับยากดภูมิคุ้มกัน เช่น สเตียรอยด์ ผู้ป่วยปลูกถ่ายอวัยวะหรือไขกระดูก
  • ผู้ป่วยที่ตัดม้ามหรือไม่มีม้าม ผู้ที่ผ่าตัดฝังประสาทหูเทียม ผู้ที่มีภาวะน้ำไขสันหลังรั่ว
  • ผู้ที่มีโรคประจำตัวหรือโรคเรื้อรัง เช่น เบาหวาน หัวใจ ปอดเรื้อรัง หอบหืด โรคตับเรื้อรัง ไตวายเรื้อรังระดับ 4 เป็นต้นไป โรคไตเนฟโฟรติค สูบบุหรี่ พิษสุราเรื้อรัง

ปัจจุบันประเทศไทยมีวัคซีนปอดอักเสบชนิด 20 สายพันธุ์ (PCV 20) ซึ่งเป็นวัคซีนปอดอักเสบชนิดล่าสุดที่มีใช้ในประเทศไทย สามารถครอบคลุมเชื้อแบคทีเรียนิวโมคอกคัส (Streptococcus pneumoniae) ที่ก่อโรคในประเทศไทยได้มากถึง 83.2% ซึ่งมีความครอบคลุมมากกว่าวัคซีนปอดอักเสบที่มีอยู่เดิม คือ ชนิด 13 (PCV 13) 15 (PCV15) และ 23 สายพันธุ์ (PPSV23) ที่มีความครอบคลุมอยู่ที่ 74.6-81.8% วัคซีนมีประสิทธิภาพในการลดการติดเชื้อนิวโมคอกคัสแบบรุนแรง ได้ถึง 75%


ใครควรฉีดบ้าง


  • เด็กที่อายุตั้งแต่ 6 สัปดาห์ถึง 5 ปี ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มเสี่ยงหรือแข็งแรงดี
  • เด็กอายุ 5 ปีขึ้นไปที่เป็นกลุ่มเสี่ยง ได้แก่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง หรือโรคเรื้อรังข้างต้น
  • ผู้ใหญ่ 18-64 ปีที่เป็นกลุ่มเสี่ยง ได้แก่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง หรือโรคเรื้อรังข้างต้น
  • ผู้สูงอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไปที่แข็งแรงดี

คำแนะนำของประเทศไทยสำหรับการฉีดวัคซีนปอดอักเสบนิวโมคอกคัส 20 สายพันธุ์ (PCV 20) ในผู้ใหญ่


  • ผู้สูงอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไป ที่แข็งแรงดี ฉีด 1 เข็ม
  • ผู้ใหญ่อายุ 18-64 ปีที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง ตัดม้ามหรือไม่มีม้าม ผู้ที่ผ่าตัดฝังประสาทหูเทียม ผู้ที่มีภาวะน้ำไขสันหลังรั่ว ผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น เบาหวาน หัวใจ ปอดเรื้อรัง ตับเรื้อรัง ไตวายเรื้อรังระดับ 4 เป็นต้นไป
  • ฉีด 1 เข็ม

สรุป


  • ฉีดวัคซีน PCV 20 เพียง 1 เข็มในคนแข็งแรงดีและกลุ่มเสี่ยง ยังไม่มีคำแนะนำว่าต้องฉีดกระตุ้นในขณะนี้
  • กรณีในเด็กจะฉีด 2-4 เข็ม ขึ้นกับช่วงอายุและกลุ่มเสี่ยง

คำแนะนำสำหรับผู้ที่เคยฉีดวัคซีนปอดอักเสบ 13 และ 23 สายพันธุ์มาแล้ว


  • ผู้ที่อายุ 18-64 ปี ที่เคยฉีดวัคซีนปอดอักเสบชนิด 13 และ 23 สายพันธุ์ครบแล้ว แนะนำฉีดวัคซีนปอดอักเสบ 20 สายพันธุ์อีก 1 เข็ม โดยเว้นระยะหลังฉีดวัคซีนเข็มก่อนหน้าอย่างน้อย 5 ปี
  • ผู้ที่อายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไปที่เคยฉีดวัคซีนปอดอักเสบชนิด 13 และ 23 สายพันธุ์ครบแล้ว อาจพิจารณาฉีดวัคซีนปอดอักเสบ 20 สายพันธุ์เพิ่มเติมตามคำแนะนำของแพทย์

อย่างไรก็ตามควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับคำแนะนำการฉีดวัคซีนที่เหมาะสม


ผลข้างเคียงของวัคซีนปอดอักเสบนิวโมคอกคัส

อาการข้างเคียงส่วนใหญ่มักไม่รุนแรง สามารถหายได้เองในระยะเวลา 2-3 วัน เช่น อาการบวมแดงบริเวณที่ฉีด มีไข้ต่ำ ๆ ปวดเมื่อยตัว ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร ซึ่งอาการเหล่านี้แตกต่างออกไปในแต่ละบุคคล


โปรแกรมวัคซีน


  1. โปรแกรมวัคซีนป้องกันปอดอักเสบ 20 สายพันธุ์ 4,290.- (1 เข็ม รวมค่าแพทย์และบริการ)
  2. โปรแกรมวัคซีนป้องกันปอดอักเสบ 20 สายพันธุ์ + ไข้หวัดใหญ่ 4,990.- (รวมค่าแพทย์และบริการ)
  3. โปรแกรมวัคซีนป้องกันปอดอักเสบ 20 สายพันธุ์ 4 เข็ม 14,900.- (ไม่รวมค่าแพทย์)

เกี่ยวกับผู้เขียนบทความ

พญ. จิตรฟ้า หรูรุ่งโรจน์

พญ. จิตรฟ้า หรูรุ่งโรจน์

ศูนย์ตรวจสุขภาพ

บทความที่เกี่ยวข้อง (10)

ดูทั้งหมด

คำแนะนำการป้องกันมาลาเรียสำหรับนักเดินทาง

โรคมาลาเรียเป็นโรคที่เกิดจากโปรโตซัว Plasmodium นำโดยยุงก้นปล่อง มีทั้งหมด 5 สายพันธุ์ สายพันธ์ุที่รุนแรงคือ Plasmodium falciparum ซึ่งเป็นสายพันธุ์หลักในทวีปแอฟริกา ทำให้เกิดการติดเชื้อรุนแรง อวัยวะต่างๆล้มเหลว ติดเชื้อขึ้นสมอง โคม่า ชัก และเสียชีวิตได้ หากได้รับการรักษาที่ล่าช้า

ไส้เลื่อน ใครก็เป็นได้ อันตรายที่ต้องรักษาก่อนเกิดภาวะแทรกซ้อน

ไส้เลื่อน คือภาวะที่ลำไส้เลื่อนหรือดันออกมาจากช่องท้อง สามารถสังเกตเห็นก้อนนูนออกมาตามขาหนีบ หน้าท้อง สะดือ หากไม่รักษาอาจเกิดอันตรายจากอาการแทรกซ้อนได้

รู้ทันต้อหิน โรคร้ายทำลายการมองเห็น รีบรักษาก่อนสายเกินแก้

ต้อหิน (Glaucoma) คือโรคตาที่มีสาเหตุจากขั้วประสาทตาเสื่อม ผู้ป่วยจะมีอาการปวดหัวปวดตา กระจกตาขุ่น การมองเห็นแย่ลง และค่อย ๆ สูญเสียการมองเห็นไปในที่สุด

Hypothyroidism คืออะไร? รู้ทันสาเหตุ อาการ และวิธีรักษา

Hypothyroidism คือ ภาวะพร่องฮอร์โมนไทรอยด์ หรือฮอร์โมนไทรอยด์ทำงานต่ำ ทำให้ระดับการเผาผลาญพลังงานลดลง และนำมาสู่การทำงานของระบบต่าง ๆ ผิดปกติ

รู้ทันอาการน้ำในหูไม่เท่ากัน ใครเวียนหัว บ้านหมุนบ่อยต้องระวัง

โรคน้ำในหูไม่เท่ากัน เป็นความผิดปกติของระบบน้ำในหูชั้นใน ซึ่งสามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ ทำให้ผู้ป่วยมีอาการ เวียนหัว บ้านหมุน ทรงตัวไม่อยู่ และการได้ยินผิดปกติ

หายใจไม่อิ่ม หายใจลำบาก สัญญาณอันตรายที่คุณไม่ควรมองข้าม

หายใจไม่อิ่ม เป็นอาการที่หลายคนเผชิญ อาจมีอาการแน่นหน้าอก หายใจไม่เต็มปอด หายใจลำบาก หัวใจเต้นเร็ว เหนื่อยง่าย บทนี้ความจะพาไปดูสาเหตุของอาการเหล่านี้กัน

ภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน อันตรายถึงชีวิตแบบไร้สัญญาณเตือน

หัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน (Sudden Cardiac Arrest) คือ ภาวะที่หัวใจหยุดทำงานกะทันหัน ทำให้หมดสติและเสียชีวิตในไม่กี่นาที จึงเป็นภาวะฉุกเฉินที่ต้องรับการรักษาทันที

อาการปวดเข่าคืออะไร มีวิธีป้องกันข้อเข่ามีอะไรบ้าง?

อาการปวดเข่าเป็นอาการที่เกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น ข้อเข่าเสื่อม และส่งผลต่อชีวิตประจำวันได้ การรู้ถึงสาเหตุ วิธีป้องกัน และการรักษาอาการปวดเข่าจึงเป็นเรื่องสำคัญ

EST คืออะไร? การตรวจสมรรถภาพหัวใจ Exercise Stress Test

EST (Exercise Stress Test) คือ การออกกำลังกายตรวจสมรรถภาพหัวใจ เป็นวิธีวินิจฉัยสุขภาพหัวใจเพื่อทำการรักษาต่อไป EST มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง? บทความนี้มีคำตอบ

ภาวะข้อไหล่หลุดคืออะไร รู้สาเหตุ อาการ และวิธีรักษาให้หายดี

ภาวะข้อไหล่หลุดคืออาการที่พบได้บ่อยในคนที่ใช้แรงเยอะ ๆ หรือเคยไหล่หลุดมาก่อน มาดูกันว่าอะไรคือสาเหตุที่ทำให้ไหล่หลุดได้บ้าง และจะต้องดูแลรักษาตัวอย่างไ

Copyright © 2024 All Rights Reserved | Praram 9 Hospital