บทความสุขภาพ

Knowledge

การผ่าตัดเปลี่ยนผิวข้อเข่าเทียมบางส่วน ทางเลือกรักษาข้อเข่าเสื่อม แผลเล็ก ฟื้นตัวเร็ว

นพ. พีรพงษ์ สวัสดิพงษ์

โรคข้อเข่าเสื่อมเป็นโรคที่เราคุ้นเคยกันดี ซึ่งบางท่านอาจมีญาติผู้ใหญ่เป็นโรคข้อเข่าเสื่อมทำให้มีอาการปวดเข่า เดินลำบาก จนทำให้มีปัญหาเรื่องการเดินและการเคลื่อนไหว แต่โรคข้อเข่าเสื่อมไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะกับผู้สูงอายุเท่านั้น วัยทำงานหรือวัยกลางคนก็สามารถเป็นโรคข้อเข่าเสื่อมได้

การรักษาหลักของโรคข้อเข่าเสื่อมระยะท้ายที่มีการสึกหรอของข้อแล้วมักเป็นการผ่าตัด ซึ่งนอกจากการผ่าตัดเปลี่ยนผิวข้อเข่าเทียมทั้งหมดที่เป็นที่นิยมมาก ยังมีการผ่าตัดอีกชนิดคือ “การผ่าตัดเปลี่ยนผิวข้อเข่าเทียมบางส่วน” ซึ่งเป็นการรักษาที่มีการบาดเจ็บน้อยกว่า ทำให้ผู้ป่วยฟื้นตัวได้เร็วกว่า เป็นอีกทางเลือกหนึ่งของการรักษาโรคข้อเข่าเสื่อม


การผ่าตัดเปลี่ยนผิวข้อเข่าเทียมบางส่วน หรือ UKA คืออะไร?


การผ่าตัดเปลี่ยนผิวข้อเข่าเทียมบางส่วน (Unicompartment Knee Arthroplasty) หรือที่เรียกสั้น ๆ ว่า UKA คือ การผ่าตัดข้อเข่าเทียมโดยเอาผิวข้อเฉพาะส่วนที่สึกหรอออก และใส่ด้วยวัสดุที่เป็นโลหะไว้แทน แล้วเก็บผิวข้อเข่าส่วนที่ยังมีสภาพดีไว้ เนื่องจากผู้ป่วยที่เป็นโรคข้อเข่าเสื่อม มักจะเริ่มมีการสึกหรอ ของผิวข้อเข่าฝั่งด้านในก่อนในระยะแรก แล้วถึงมีการสึกหรอของผิวข้อเข่าทั้งหมดในระยะสุดท้าย ดังนั้น ในผู้ป่วยที่เริ่มเป็น แพทย์อาจจะผ่าตัดเปลี่ยนผิวเฉพาะที่สึกหรอโดยเก็บส่วนผิวข้อเข่าส่วนที่ยังมีสภาพดีเอาไว้ โดยจะผ่าตัดเปลี่ยนผิวข้อเข่าเทียมทั้งหมดในกรณีที่โรคเป็นมากแล้ว ซึ่งในการผ่าตัดเปลี่ยนผิวข้อเข่าเทียมบางส่วน จะคงเหลือเส้นเอ็นไขว้และผิวกระดูกอ่อนส่วนที่ยังสมบูรณ์ มากกว่า 60-70% ของข้อเข่า ผู้ป่วยจึงต้องใช้เวลาในการฟื้นตัวน้อยในการกลับไปใช้ข้อเข่าได้ เช่น การนั่งกับพื้น นั่งขัดสมาธิ นั่งพับเพียบ


uka-unicompartment-knee-arthroplasty-2.jpg


ข้อดีของการผ่าตัดเปลี่ยนผิวข้อเข่าเทียมบางส่วน


  • รักษาเส้นเอ็นไขว้และผิวกระดูกอ่อนส่วนที่ยังสมบูรณ์ไว้ได้
  • แก้ไขอาการต่าง ๆ ของข้อเข่าเสื่อมได้ เช่น เจ็บปวดในข้อ เจ็บขัดที่เส้นเอ็น เข่าหลวม ข้อเข่าผิดรูป
  • ผู้ป่วยกลับมางอเข่า และใช้งานข้อเข่าได้อย่างเป็นธรรมชาติได้เร็ว ฟื้นตัวเร็ว
  • บาดเจ็บน้อย ลดความเจ็บปวดที่เกิดขึ้น เสียเลือดน้อย
  • ลดความเสี่ยงการติดเชื้อ

uka-unicompartment-knee-arthroplasty-3.webp

ผู้ป่วยแบบไหนที่เหมาะกับการผ่าตัดเปลี่ยนผิวข้อเข่าเทียมบางส่วน


แพทย์จะเป็นผู้ประเมินว่าผู้ป่วยแต่ละรายว่าเหมาะสมกับการผ่าตัดด้วยเทคนิคนี้หรือไม่ ซึ่งโดยทั่วไปจะเป็นผู้ป่วยที่มีลักษณะดังนี้


  • มีข้อเข่าเสื่อมด้านเดียว
  • ระยะของโรคข้อเข่าเสื่อมยังไม่รุนแรง กระดูกยังเสียหายไม่มาก
  • ยังสามารถงอและเหยียดขาได้ดี
  • ขายังไม่ผิดรูปมาก

ข้อจำกัดของการผ่าตัดเปลี่ยนผิวข้อเข่าเทียมบางส่วน


แม้ว่าการรักษาด้วยเทคนิคนี้จะให้ผลการรักษาที่ดี แต่ก็มีข้อจำกัดบางประการ ได้แก่


  • ไม่เหมาะกับผู้ป่วยที่น้ำหนักตัวมาก
  • ไม่เหมาะกับผู้ป่วยที่มีขาโก่ง ผิดรูปมาก
  • ไม่เหมาะกับผู้ป่วยที่มีโรคข้ออักเสบ เช่น รูมาตอยด์ ข้ออักเสบ
  • ไม่เหมาะกับผู้ป่วยที่มีโรคกระดูกพรุน
  • ไม่เหมาะกับผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อมรุนแรง
  • ไม่เหมาะกับผู้ที่ต้องวิ่งและเล่นกีฬาหนัก ๆ
  • เป็นการผ่าตัดที่ซับซ้อน รับความคลาดเคลื่อนได้น้อย อาจเหมาะกับการใช้หุ่นยนต์ช่วยผ่าตัด*


เมื่อผ่าตัดเปลี่ยนผิวข้อเข่าเทียมบางส่วนแล้ว สามารถใช้งานได้กี่ปี?


ในปัจจุบันพบว่าการผ่าตัดเปลี่ยนผิวข้อเข่าเทียมบางส่วน เป็นการรักษาที่ปลอดภัยและมีอายุการใช้งาน ไปได้อีกมากกว่า 10 ปี อย่างไรก็ตาม โดยสถิติแล้วผู้ป่วยที่ผ่าตัดเปลี่ยนผิวข้อเข่าเทียมบางส่วนจะ มีโอกาสที่จะถูกผ่าตัดซ้ำสูงกว่าผู้ป่วยที่ผ่าตัดเปลี่ยนผิวข้อเข่าเทียมทั้งหมด แต่ข้อดีของการรักษาด้วยวิธีนี้คือผู้ป่วยสามารถใช้ข้อเข่าได้ใกล้เคียงข้อเข่าปกติมากที่สุด สามารถงอข้อเข่าได้เหมือนปกติและเหยียดเข่าได้สุด สามารถนั่งพื้นหรือนั่งยอง ๆ หรือคุกเข่าได้ ให้ความรู้สึกใกล้เคียงข้อเข่าธรรมชาติมากกว่า


uka-unicompartment-knee-arthroplasty-4.jpg


สรุป


การผ่าตัดเปลี่ยนผิวข้อเข่าเทียมบางส่วน หรือ UKA เป็นเทคนิคการผ่าตัดรักษาโรคข้อเข่าเสื่อมที่เป็นทางเลือกหนึ่งในปัจจุบัน ซึ่งจะสามารถรักษาเอ็นและกระดูกส่วนที่ยังไม่เสียหายเอาไว้ได้ ทำให้ผู้ป่วยสามารถใช้ข้อเข่า งอเข่า นั่งพับเพียบ นั่งยองได้เหมือนกับข้อเข่าธรรมชาติ เป็นการผ่าตัดที่บาดเจ็บน้อย ฟื้นตัวเร็ว แต่อย่างไรก็ตามการเลือกใช้เทคนิคการรักษานี้ต้องให้แพทย์เป็นผู้พิจารณาว่าผู้ป่วยแต่ละรายเหมาะสมกับวิธีการรักษานี้หรือไม่ เพื่อประสิทธิภาพและความปลอดภัยสูงสุดของผู้ป่วยแต่ละราย



ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญกับ Praram 9 V ปรึกษาแพทย์ได้ทุกที่ผ่านทางวิดีโอคอล (Telemedicine)

เกี่ยวกับผู้เขียนบทความ

นพ. พีรพงษ์ สวัสดิพงษ์

นพ. พีรพงษ์ สวัสดิพงษ์

ศูนย์กระดูกและข้อโรงพยาบาลพระรามเก้า

บทความที่เกี่ยวข้อง (10)

ดูทั้งหมด

คำแนะนำการป้องกันมาลาเรียสำหรับนักเดินทาง

โรคมาลาเรียเป็นโรคที่เกิดจากโปรโตซัว Plasmodium นำโดยยุงก้นปล่อง มีทั้งหมด 5 สายพันธุ์ สายพันธ์ุที่รุนแรงคือ Plasmodium falciparum ซึ่งเป็นสายพันธุ์หลักในทวีปแอฟริกา ทำให้เกิดการติดเชื้อรุนแรง อวัยวะต่างๆล้มเหลว ติดเชื้อขึ้นสมอง โคม่า ชัก และเสียชีวิตได้ หากได้รับการรักษาที่ล่าช้า

ไส้เลื่อน ใครก็เป็นได้ อันตรายที่ต้องรักษาก่อนเกิดภาวะแทรกซ้อน

ไส้เลื่อน คือภาวะที่ลำไส้เลื่อนหรือดันออกมาจากช่องท้อง สามารถสังเกตเห็นก้อนนูนออกมาตามขาหนีบ หน้าท้อง สะดือ หากไม่รักษาอาจเกิดอันตรายจากอาการแทรกซ้อนได้

รู้ทันต้อหิน โรคร้ายทำลายการมองเห็น รีบรักษาก่อนสายเกินแก้

ต้อหิน (Glaucoma) คือโรคตาที่มีสาเหตุจากขั้วประสาทตาเสื่อม ผู้ป่วยจะมีอาการปวดหัวปวดตา กระจกตาขุ่น การมองเห็นแย่ลง และค่อย ๆ สูญเสียการมองเห็นไปในที่สุด

Hypothyroidism คืออะไร? รู้ทันสาเหตุ อาการ และวิธีรักษา

Hypothyroidism คือ ภาวะพร่องฮอร์โมนไทรอยด์ หรือฮอร์โมนไทรอยด์ทำงานต่ำ ทำให้ระดับการเผาผลาญพลังงานลดลง และนำมาสู่การทำงานของระบบต่าง ๆ ผิดปกติ

รู้ทันอาการน้ำในหูไม่เท่ากัน ใครเวียนหัว บ้านหมุนบ่อยต้องระวัง

โรคน้ำในหูไม่เท่ากัน เป็นความผิดปกติของระบบน้ำในหูชั้นใน ซึ่งสามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ ทำให้ผู้ป่วยมีอาการ เวียนหัว บ้านหมุน ทรงตัวไม่อยู่ และการได้ยินผิดปกติ

หายใจไม่อิ่ม หายใจลำบาก สัญญาณอันตรายที่คุณไม่ควรมองข้าม

หายใจไม่อิ่ม เป็นอาการที่หลายคนเผชิญ อาจมีอาการแน่นหน้าอก หายใจไม่เต็มปอด หายใจลำบาก หัวใจเต้นเร็ว เหนื่อยง่าย บทนี้ความจะพาไปดูสาเหตุของอาการเหล่านี้กัน

ภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน อันตรายถึงชีวิตแบบไร้สัญญาณเตือน

หัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน (Sudden Cardiac Arrest) คือ ภาวะที่หัวใจหยุดทำงานกะทันหัน ทำให้หมดสติและเสียชีวิตในไม่กี่นาที จึงเป็นภาวะฉุกเฉินที่ต้องรับการรักษาทันที

อาการปวดเข่าคืออะไร มีวิธีป้องกันข้อเข่ามีอะไรบ้าง?

อาการปวดเข่าเป็นอาการที่เกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น ข้อเข่าเสื่อม และส่งผลต่อชีวิตประจำวันได้ การรู้ถึงสาเหตุ วิธีป้องกัน และการรักษาอาการปวดเข่าจึงเป็นเรื่องสำคัญ

EST คืออะไร? การตรวจสมรรถภาพหัวใจ Exercise Stress Test

EST (Exercise Stress Test) คือ การออกกำลังกายตรวจสมรรถภาพหัวใจ เป็นวิธีวินิจฉัยสุขภาพหัวใจเพื่อทำการรักษาต่อไป EST มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง? บทความนี้มีคำตอบ

ภาวะข้อไหล่หลุดคืออะไร รู้สาเหตุ อาการ และวิธีรักษาให้หายดี

ภาวะข้อไหล่หลุดคืออาการที่พบได้บ่อยในคนที่ใช้แรงเยอะ ๆ หรือเคยไหล่หลุดมาก่อน มาดูกันว่าอะไรคือสาเหตุที่ทำให้ไหล่หลุดได้บ้าง และจะต้องดูแลรักษาตัวอย่างไ

Copyright © 2024 All Rights Reserved | Praram 9 Hospital