บทความสุขภาพ

Knowledge

รักษาหลอดเลือดหัวใจตีบ ด้วยการผ่าตัดบายพาสเส้นเลือดหัวใจ

นพ. วิสุทธิ์ เกตุแก้ว

เช็คตรงนี้ก่อน คุณมีอาการเหล่านี้หรือไม่?

สัญญาณโรคหลอดเลือดหัวใจตี


แน่นหน้าอก

✅ ปวดร้าวไปที่กราม แขน หรือไหล่ซ้าย

✅ เหนื่อยง่ายเวลาออกแรง

✅ นั่งพักแล้วอาการแน่นหน้าอกดีขึ้น


อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ โรคหัวใจ

coronary-artery-bypass-grafting-1.jpg
“หากมีอาการเหล่านี้ ควรหาสาเหตุอย่างเร่งด่วน
เพราะอาจเกี่ยวข้องกับโรคหัวใจ”

การผ่าตัดบายพาสหัวใจ รักษาหลอดเลือดหัวใจตีบ


การผ่าตัดบายพาสหัวใจ หรือการผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ (Coronary Artery Bypass Graft – CABG)


การผ่าตัดบายพาสหัวใจ คือ การต่อหลอดเลือดใหม่ให้กับเส้นเลือดหัวใจเพื่อเลี่ยงตำแหน่งที่มีการตีบหรือตัน โดยจะทำให้เลือดไหลเวียนไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจได้ดีขึ้น


“หลักการนี้ คล้ายกับการสร้างถนนเลี่ยงเมือง

เพื่อเลี่ยงการจราจรติดขัดนั่นเอง”


ผ่าตัดบายพาสหัวใจ ทำอย่างไร?


เลือก “หลอดเลือด” ที่จะนำมาทำบายพาส


ศัลยแพทย์หัวใจจะทำการเลือกหลอดเลือด ที่มีคุณภาพดีจากส่วนอื่นในร่างกายผู้ป่วย เช่น หลอดเลือดดำจากขา หรือหลอดเลือดแดงจากทรวงอกหรือปลายแขน (ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของแต่ละคน) เพื่อใช้เป็น graft ทำบายพาสหลอดเลือดแดงส่วนที่ตีบหรืออุดตัน


ทำการผ่าตัดบายพาส


แพทย์จะใช้หลอดเลือดที่เตรียมไว้เบื้องต้น ทำการผ่าตัดเพื่อต่อปลายหลอดเลือดข้างหนึ่งเข้ากับหลอดเลือดแดงใหญ่ (Aorta) ส่วนปลายหลอดเลือดอีกข้างหนึ่งจะต่อเข้ากับหลอดเลือดหัวใจบริเวณใต้ต่อจุดที่ตีบหรืออุดตัน (Coronary Artery)


“วิธีนี้จะทำให้มีเลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจได้มากขึ้น

จึงบรรเทาอาการกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด

และช่วยทำให้หัวใจทำงานได้ดีขึ้น”


coronary-artery-bypass-grafting-2.jpg

อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับการผ่าตัดบายพาสหัวใจ : https://www.praram9.com/cabg/


ผ่าตัดบายพาสหัวใจกับเรา ที่โรงพยาบาลพระรามเก้า


สถาบันหัวใจและหลอดเลือดพระรามเก้า มีทีมแพทย์และบุคคลากรทางการแพทย์เฉพาะทางด้านหัวใจและหลอดเลือด ที่มีประสบการณ์และความชำนาญในการดูแลผู้ป่วย ที่เข้าใจคุณ และพร้อมจะให้การดูแล เพื่อให้คุณได้กลับไปใช้ชีวิตอย่างมีความสุขกับคนที่คุณรัก


  • ดูแลด้วยทีมแพทย์เฉพาะทางที่สามารถให้ข้อมูลที่ถูกต้องและครบถ้วน เพื่อการตรวจหาร่องรอยของโรคหัวใจและหลอดเลือด และนำเสนอแนวทางที่เหมาะสมในการดูแลคุณ
  • เทคนิคการรักษา และอุปกรณ์เทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ได้มาตรฐานสากล เพื่อการตรวจวินิจฉัยและดูแลรักษาโรคหัวใจอย่างละเอียด ตลอดจนการฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจ
  • ห้การดูแลและฟื้นฟูผู้ป่วยหลังผ่าตัดบายพาสหัวใจ โดยทีมแพทย์ นักกายภาพบำบัด และทีมบุคลากรที่มีความชำนาญในการดูแลผู้ป่วยหลังผ่าตัดบายพาส หัวใจ

การเตรียมตัวก่อนผ่าตัดบายพาสหัวใจ

เนื่องจากการผ่าตัดบายพาสหัวใจเป็นการผ่าตัดใหญ่ ทีมศัลยแพทย์และพยาบาลจะคอยให้คำปรึกษาและเตรียมความพร้อมให้ผู้ป่วยก่อนการผ่าตัด โดยผู้ป่วยควรปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด

ภายใต้ มาตรการรักษาความปลอดภัย COVID safe hospital ดังนี้


  • รับประทานอาหารและยาตามคำสั่งของแพทย์อย่างเคร่งครัด
  • งดสูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์
  • เข้าพักที่โรงพยาบาล 1 วันก่อนผ่าตัดเพื่อเตรียมความพร้อมของร่างกาย
  • เข้ารับการตรวจคัดกรองโควิด 19 ก่อนเข้ารับการผ่าตัด
  • ประเมินความพร้อมก่อนการผ่าตัดโดยทีมศัลยแพทย์หัวใจและวิสัญญีแพทย์
  • ตรวจเช็คคลื่นไฟฟ้าหัวใจ เอกซเรย์ปอด และเจาะเลือดสำหรับเตรียมเลือดสำรองไว้
  • กรณีการหยุดยาต้านเกล็ดเลือดขึ้นอยู่กับการวินิจฉัยของแพทย์ ในผู้ป่วยแต่ละราย

การดูแลหลังผ่าตัดบายพาสหัวใจ


ถ้าหากไม่มีภาวะแทรกซ้อน ผู้ป่วยจะใช้พักฟื้นอยู่ที่โรงพยาบาลประมาณ 1 สัปดาห์หลังจากผ่าตัด หลังจากนั้นแพทย์จะอนุญาตให้กลับไปพักฟื้นที่บ้าน และนัดหมายให้มาพบ เพื่อติดตามอาการและผลการรักษาต่อไป


coronary-artery-bypass-grafting-3.jpg

“ไม่เพียงแค่ขั้นตอนการรักษาเท่านั้น…

การดูแลและฟื้นฟูผู้เข้ารับการผ่าตัด

เพื่อเตรียมพร้อมให้กลับไปใช้ชีวิตได้อย่างเป็นปกติ

ถือเป็นเรื่องสำคัญไม่แพ้กัน”


วางใจแม้ต้องผ่าตัดบายพาสหัวใจ ด้วยมาตรการ COVID SAFE HOSPITAL


เนื่องจากในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโควิด 19 ทางโรงพยาบาลพระรามเก้ามีมาตรการ COVID SAFE HOSPITAL คำนึงถึงผู้เข้ารับการรักษาเป็นสำคัญ เราจึงทำงานอย่างหนัก เพื่อให้คุณอุ่นใจ มั่นใจ และปลอดภัยจากโควิด 19 แม้ต้องผ่าตัดในช่วงนี้ อย่างครอบคลุม ดังนี้


✅ ผู้เข้ารับการผ่าตัดปลอดภัย


  • ตรวจคัดกรองโควิด-19 ตามมาตรฐานความปลอดภัยอย่างเคร่งครัด ก่อนผ่าตัดทุกราย
  • แยกห้อง แยกอุปกรณ์ และเลือกใช้อุปกรณ์ที่สามารถใช้แล้วทิ้ง กรณีผู้ป่วยมีความเสี่ยงติดเชื้อและจำเป็นต้องผ่าตัด

✅ บุคลากรของโรงพยาบาลปลอดภัย


  • ตรวจคัดกรอง บุคลากรทุกคน ทุกวันก่อนเข้าปฏิบัติงาน
  • เจ้าหน้าที่ทุกคนสวมชุดป้องกันร่างกาย (PPE) ขณะผ่าตัด

✅ อุปกรณ์และเครื่องมือผ่าตัดปลอดภัย


  • ทำความสะอาดอุปกรณ์ผ่าตัดทุกชิ้น ด้วยการนึ่งทำลายเชื้อ (Sterilization)
  • เช็ดทำความสะอาดเครื่องมือในห้องผ่าตัดด้วยน้ำยาทำลายเชื้อ

coronary-artery-bypass-grafting-4.jpeg

เพราะ “โรคหัวใจ” รอนานไม่ได้


เรามีบริการการรักษาโรคหัวใจด้วยการผ่าตัดบายพาสหัวใจ แม้ในช่วงเวลาการแพร่ระบาดของโควิด-19


ด้วยมาตรการ COVID SAFE HOSPITAL


เพียงติดต่อสอบถามและปรึกษาเราได้ตามรายละเอียดข้างล่างนี้

ติดต่อสอบถาม สถาบันหัวใจและหลอดเลือดพระรามเก้า


ชั้น 3 อาคาร A โรงพยาบาลพระรามเก้า


โทรศัพท์ : 1270


ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญกับ Praram 9 V ปรึกษาแพทย์ได้ทุกที่ผ่านทางวิดีโอคอล (Telemedicine)

เกี่ยวกับผู้เขียนบทความ

นพ. วิสุทธิ์ เกตุแก้ว

นพ. วิสุทธิ์ เกตุแก้ว

สถาบันหัวใจและหลอดเลือดพระรามเก้า

บทความที่เกี่ยวข้อง (10)

ดูทั้งหมด

คำแนะนำการป้องกันมาลาเรียสำหรับนักเดินทาง

โรคมาลาเรียเป็นโรคที่เกิดจากโปรโตซัว Plasmodium นำโดยยุงก้นปล่อง มีทั้งหมด 5 สายพันธุ์ สายพันธ์ุที่รุนแรงคือ Plasmodium falciparum ซึ่งเป็นสายพันธุ์หลักในทวีปแอฟริกา ทำให้เกิดการติดเชื้อรุนแรง อวัยวะต่างๆล้มเหลว ติดเชื้อขึ้นสมอง โคม่า ชัก และเสียชีวิตได้ หากได้รับการรักษาที่ล่าช้า

ไส้เลื่อน ใครก็เป็นได้ อันตรายที่ต้องรักษาก่อนเกิดภาวะแทรกซ้อน

ไส้เลื่อน คือภาวะที่ลำไส้เลื่อนหรือดันออกมาจากช่องท้อง สามารถสังเกตเห็นก้อนนูนออกมาตามขาหนีบ หน้าท้อง สะดือ หากไม่รักษาอาจเกิดอันตรายจากอาการแทรกซ้อนได้

รู้ทันต้อหิน โรคร้ายทำลายการมองเห็น รีบรักษาก่อนสายเกินแก้

ต้อหิน (Glaucoma) คือโรคตาที่มีสาเหตุจากขั้วประสาทตาเสื่อม ผู้ป่วยจะมีอาการปวดหัวปวดตา กระจกตาขุ่น การมองเห็นแย่ลง และค่อย ๆ สูญเสียการมองเห็นไปในที่สุด

Hypothyroidism คืออะไร? รู้ทันสาเหตุ อาการ และวิธีรักษา

Hypothyroidism คือ ภาวะพร่องฮอร์โมนไทรอยด์ หรือฮอร์โมนไทรอยด์ทำงานต่ำ ทำให้ระดับการเผาผลาญพลังงานลดลง และนำมาสู่การทำงานของระบบต่าง ๆ ผิดปกติ

รู้ทันอาการน้ำในหูไม่เท่ากัน ใครเวียนหัว บ้านหมุนบ่อยต้องระวัง

โรคน้ำในหูไม่เท่ากัน เป็นความผิดปกติของระบบน้ำในหูชั้นใน ซึ่งสามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ ทำให้ผู้ป่วยมีอาการ เวียนหัว บ้านหมุน ทรงตัวไม่อยู่ และการได้ยินผิดปกติ

หายใจไม่อิ่ม หายใจลำบาก สัญญาณอันตรายที่คุณไม่ควรมองข้าม

หายใจไม่อิ่ม เป็นอาการที่หลายคนเผชิญ อาจมีอาการแน่นหน้าอก หายใจไม่เต็มปอด หายใจลำบาก หัวใจเต้นเร็ว เหนื่อยง่าย บทนี้ความจะพาไปดูสาเหตุของอาการเหล่านี้กัน

ภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน อันตรายถึงชีวิตแบบไร้สัญญาณเตือน

หัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน (Sudden Cardiac Arrest) คือ ภาวะที่หัวใจหยุดทำงานกะทันหัน ทำให้หมดสติและเสียชีวิตในไม่กี่นาที จึงเป็นภาวะฉุกเฉินที่ต้องรับการรักษาทันที

อาการปวดเข่าคืออะไร มีวิธีป้องกันข้อเข่ามีอะไรบ้าง?

อาการปวดเข่าเป็นอาการที่เกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น ข้อเข่าเสื่อม และส่งผลต่อชีวิตประจำวันได้ การรู้ถึงสาเหตุ วิธีป้องกัน และการรักษาอาการปวดเข่าจึงเป็นเรื่องสำคัญ

EST คืออะไร? การตรวจสมรรถภาพหัวใจ Exercise Stress Test

EST (Exercise Stress Test) คือ การออกกำลังกายตรวจสมรรถภาพหัวใจ เป็นวิธีวินิจฉัยสุขภาพหัวใจเพื่อทำการรักษาต่อไป EST มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง? บทความนี้มีคำตอบ

ภาวะข้อไหล่หลุดคืออะไร รู้สาเหตุ อาการ และวิธีรักษาให้หายดี

ภาวะข้อไหล่หลุดคืออาการที่พบได้บ่อยในคนที่ใช้แรงเยอะ ๆ หรือเคยไหล่หลุดมาก่อน มาดูกันว่าอะไรคือสาเหตุที่ทำให้ไหล่หลุดได้บ้าง และจะต้องดูแลรักษาตัวอย่างไ

Copyright © 2024 All Rights Reserved | Praram 9 Hospital