บทความสุขภาพ

Knowledge

มะเร็งเต้านม มฤตยูเงียบ

จากข้อมูลระบาดวิทยาของมะเร็งเต้านม พบอุบัติการณ์มากอันดับแรกในหญิงไทยและหญิงทั่วโลก และสามารถพบได้ทั้งในเพศหญิงและเพศชาย



ผู้ป่วยส่วนมากมักพบโรคในช่วงอายุ 50-60 ปี โดยแตกต่างกันตามเชื้อชาติ สำหรับข้อมูลในประเทศไทยพบมากในช่วงอายุ 45-50 ปี ซึ่งพบว่าร้อยละ 80 เป็นมะเร็งในระยะแรก (ระยะที่ 1-3) ร้อยละ 10 เป็นมะเร็งในระยะกระจาย (ระยะที่ 4) และจากการตรวจคัดกรองที่มากขึ้นในปัจจุบันจึงทำให้พบมะเร็งเต้านมระยะแรกมากขึ้นในประเทศไทย



มะเร็งเต้านมในระยะแรกเริ่มไม่มีอาการ และการตรวจร่างกายอาจไม่พบเนื่องจากรอยโรคเล็กมากเปรียบเสมือน “มฤตยูเงียบ” การตรวจคัดกรองด้วยเครื่องดิจิตอลแมมโมแกรมและอัลตราซาวนด์จึงมีความสำคัญ ส่วนการเปลี่ยนแปลงลักษณะของเต้านมก็เป็นสิ่งที่ต้องหมั่นสังเกต เนื่องจากว่ามะเร็งเต้านมในช่วงแรกอาจไม่ได้ทำให้รู้สึกเจ็บปวดอย่างชัดเจน แต่จะเห็นได้จากความผิดปรกติของลักษณะเต้านมมากกว่า เช่น เต้านมคัดตึงและแข็งเกินปรกติ เนื้อเต้านมยุบ ผิวไม่เรียบเนียนเสมอกัน หรือเต้านมมีรอยแดงเป็นจ้ำปรากฏตลอดเวลา และมีอาการร้อนตรงจุดแดงนั้น เป็นต้น ซึ่งโดยปรกติผู้ป่วยสามารถเช็กความผิดปรกติเหล่านี้ได้ด้วยตนเอง และหากพบอาการดังกล่าวควรรีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจกรองอีกครั้งด้วยเครื่องดิจิตอลแมมโมแกรมและการวินิจฉัยจากแพทย์ร่วมด้วย



แนะนำให้ผู้หญิงทุกคนที่มีอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป ควรเข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยเครื่องดิจิตอลแมมโมแกรมและอัลตราซาวนด์ พร้อมตรวจร่างกายโดยแพทย์เฉพาะทางปีละ 1 ครั้ง หากมีอาการน่าสงสัยควรตรวจทุกๆ 6 เดือน ในกรณีที่มีความผิดปรกติแพทย์จะทำการตรวจชิ้นเนื้อโดยการเจาะตรวจชิ้นเนื้อด้วยเข็ม (Needle biopsy) โดยไม่จำเป็นต้องทำการผ่าตัด สามารถทำได้ง่าย ไม่ต้องนอนโรงพยาบาล เจ็บตัวน้อย และได้ผลการวินิจฉัยที่ตรงจุด หากพบว่าเป็นมะเร็งเต้านมตั้งแต่ระยะแรกๆก็สามารถรักษาได้ด้วยการผ่าตัด ซึ่งในปัจจุบันความก้าวหน้าของเทคโนโลยีช่วยให้ไม่จำเป็นต้องตัดเต้านมออกหมดทุกราย หรือในบางรายที่จำเป็นต้องผ่าตัดเต้านมออกหมดก็สามารถทำการผ่าตัดสร้างเสริมเต้านมได้ทันที ด้วยการใช้เต้านมเทียมหรือการใช้เนื้อเยื่อของผู้ป่วยเอง เนื้อเยื่อที่นิยมใช้ ได้แก่ กล้ามเนื้อและชั้นไขมันบริเวณหน้าท้อง กล้ามเนื้อและไขมันบริเวณหลัง ซึ่งการใช้กล้ามเนื้อบริเวณหลังทำให้ผู้ป่วยฟื้นตัวได้เร็วกว่าการใช้กล้ามเนื้อบริเวณหน้าท้อง เป็นวิธีการที่ปลอดภัย มีผลแทรกซ้อนน้อย



โดยการรักษานี้ช่วยให้ผู้ป่วยมีความมั่นใจมากขึ้น เนื่องจากเต้านมที่สร้างขึ้นใหม่เหมือนเต้านมจริงทั้งด้านรูปร่างและลักษณะเนื้อเต้านมจากการสัมผัส สร้างความรู้สึกว่ายังมีเต้านมอยู่ การผ่าตัดเสริมสร้างเต้านมใหม่ภายหลังตัดเต้านมออกทั้งเต้าสามารถทำในคราวเดียวกัน โดยใช้ระยะเวลาในการผ่าตัดไม่เกิน 4-6 ชั่วโมง ผู้ป่วยส่วนใหญ่สามารถลุกนั่งบนเตียงและลุกเดินได้ ใช้เวลาพักฟื้นในโรงพยาบาล 5-7 วัน ผู้ป่วยก็สามารถกลับบ้านได้



ทั้งนี้ ด้วยความก้าวหน้าทางการแพทย์ สามารถช่วยรักษาชีวิตและช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิตให้ผู้ป่วยกลับมาใช้ชีวิตได้อย่างปรกติ มีความมั่นใจในการดำเนินชีวิตมากขึ้น มะเร็งเต้านมรักษาได้หากตรวจพบแต่เนิ่นๆ

เกี่ยวกับผู้เขียนบทความ

แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง (3)

ดูทั้งหมด

ตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม 3D (3D-Digital Mammogram with Breast Ultrasound)

ตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม 3D (3D-Digital Mammogram with Breast Ultrasound)

ตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม 3D (3D-Digital Mammogram with Breast Ultrasound)

฿ 4,700

ตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมและคัดกรองมะเร็งปากมดลูก (Digital Mammogram with Breast Ultrasound & Liquid-prep Cervical Cancer Screening)

ตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมและคัดกรองมะเร็งปากมดลูก (Digital Mammogram with Breast Ultrasound & Liquid-prep Cervical Cancer Screening)

ตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมและคัดกรองมะเร็งปากมดลูก

฿ 4,500

โปรแกรมตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม (Digital Mammogram with Breast Ultrasound)

โปรแกรมตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม (Digital Mammogram with Breast Ultrasound)

ตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม (Digital Mammogram with Breast Ultrasound)

฿ 3,400

บทความที่เกี่ยวข้อง (10)

ดูทั้งหมด

การตัดชิ้นเนื้อส่งตรวจมะเร็ง (Biopsy) หมดความสงสัย วินิจฉัยได้อย่างแม่นยำ

การตัดชิ้นเนื้อส่งตรวจมะเร็ง (Biopsy) คือวิธีที่นิยมในการวินิจฉัยมะเร็ง เนื่องจากความแม่นยำและละเอียดในการบ่งชี้ประเภทของมะเร็ง ทำได้อย่างไร? บทความนี้มีคำตอบ!

ตรวจเต้านมด้วยตนเอง เพื่อรู้ทันมะเร็งเต้านม

การคลำเต้านมด้วยตนเองเป็นประจำ ช่วยให้เราสังเกตเห็นสัญญาณผิดปกติของมะเร็งเต้านมตั้งแต่ระยะแรก ๆ วิธีการคลำเต้านมทำง่ายๆได้ด้วยตัวเองดังนี้

มะเร็ง โรคที่ใครก็ไม่อยากเจอ

มะเร็งโรคที่ใครก็ไม่อยากเจอ มะเร็ง หรือ เนื้องอกร้าย เกิดจากการเจริญเติบโตที่ผิดปกติของเซลล์ในร่างกาย กล่าวคือจะมีการแบ่งตัวของเซลล์อย่างควบคุมไม่ได้จนกลายเป็นก้อนเนื้อร้ายที่มีขนาดใหญ่ขึ้นจนส่งผลกระทบต่อการทำงานของอวัยวะในส่วนต่างๆ ของร่าง

ตรวจแมมโมแกรมและอัลตร้าซาวด์ เพื่อรู้ทันมะเร็งเต้านมก่อนจะลุกลาม

การตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมเป็นประจำ ด้วยการทำแมมโมแกรม และอัลตร้าซาวด์

มะเร็ง…รู้เร็ว รักษาได้ ผลลัพธ์ดี

โรคมะเร็งคือการเกิดเซลล์ผิดปกติที่เติบโตอย่างไม่ปกติและแพร่กระจายไปยังส่วนอื่นของร่างกาย สาเหตุส่วนใหญ่มาจากพันธุกรรมหรือปัจจัยเสี่ยง เช่น สูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์ การได้รับหรือสัมผัสสารเคมี การควบคุมปัจจัยเสี่ยงและการตรวจคัดกรองเป็นสิ่งสำคัญในการป้องกันโรคมะเร็ง

มะเร็งปอดรักษาหายไหม มาฟังคำตอบกัน!

มะเร็งปอดรักษาหายไหม” คำตอบของคำถามนี้ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น ระยะของโรค ประเภทของมะเร็ง และสุขภาพของผู้ป่วย ซึ่งหากมะเร็งปอดถูกตรวจพบตั้งแต่ในระยะเริ่มต้น โอกาสในการรักษาให้หายขาดก็จะสูงกว่า การรักษามะเร็งปอดนั้นมีหลายวิธี ได้แก่ การผ่าตัด การฉายแสง เคมีบำบัด และภูมิคุ้มกันบำบัด ซึ่งการเลือกวิธีที่เหมาะสมแพทย์ต้องพิจารณาจากหลาย ๆ ปัจจัย

การตรวจยีนมะเร็ง ค้นหาความเสี่ยงเพื่อการป้องกันโรคมะเร็ง

การตรวจยีนมะเร็งเป็นเทคโนโลยีในการประเมินความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็ง เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการทราบข้อมูลเกี่ยวกับความเสี่ยงของตนเอง ผู้ที่มีประวัติคนในครอบครัวเป็นมะเร็ง ผู้ที่เคยเป็นมะเร็งมาก่อน หรือผู้ที่มีอาการที่สงสัยว่าเป็นโรคมะเร็ง การตรวจยีนมะเร็งยังสามารถช่วยให้แพทย์และผู้ป่วยสามารถวางแผนการดูแลสุขภาพที่เหมาะสมได้

ตรวจเลือดมะเร็ง ตรวจอย่างไร บอกอะไรได้บ้าง?

การตรวจเลือดมะเร็งเป็นการตรวจที่สามารถตรวจหาสารบ่งชี้มะเร็งได้หลายชนิด เช่น มะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งรังไข่ มะเร็งลำไส้ การตรวจเลือดมะเร็งเป็นวิธีที่สะดวกและเจ็บตัวน้อยสำหรับการตรวจหามะเร็งเบื้องต้น

รักษาโรคมะเร็งวิธีใหม่ ด้วยภูมิต้านทาน

(น.พ.วิโรจน์ เหล่าสุนทรสิริ) ปัจจุบันการรักษาโรคมะเร็งได้มีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ความรู้ใหม่ๆ และยารุ่นใหม่ที่ ถูกนำมาใช้เพื่อประสิทธิผลการรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็งมีมากขึ้น ยาเดิมๆ ที่เคยใช้อยู่ก็กำลังเริ่มใช้น้อยลง ขณะ เดียวกันยาที่พัฒนาขึ้นมาใหม่ เริ่มแสดงบทบาทสำคัญในการรักษาโรคมะเร็งร้ายเหล่านี้อย่างชัดเจนขึ้น ความหลากหลายของการรักษาโรคเหล่านี้มีมากก็จริงอยู่ แต่ที่แพทย์ และนักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกให้ความสำคัญ ถึง หรือฝากความหวังว่า “การเปลี่ยนแปลงภูมิคุ้มกัน หรือภูมิต้านทานของร่างกาย” อาจจะมีประสิทธิผลใน การรักษาโรคมะเร็งให้หาย หรือรักษาให้ผู้ป่วยมีชีวิตที่ยืนยาวออกไปได้ การรักษาเหล่านี้มักจะมีผลข้าง เคียงน้อยลง แต่ประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน

ตรวจคัดกรองมะเร็ง…กันไว้ดีกว่าแก้

“กันไว้ดีกว่าแก้ เพราะถ้าแย่เดี๋ยวจะแก้ไม่ทัน” สุภาษิตโบราณนี้เข้ากับทุกยุคสมัย โดยเฉพาะแนว นิยมด้านสุขภาพในปัจจุบันที่เน้นเชิงป้องกันมากขึ้น ทั้งการออกกําลังกาย อาหารการกิน อาหารเสริม และการตรวจสุขภาพประจําปี หนึ่งในหัวข้อสําคัญ สําหรับการ

Copyright © 2024 All Rights Reserved | Praram 9 Hospital