บทความสุขภาพ

Knowledge

“ความดันสูงควรกินอะไร” เคล็ดลับการเลือกอาหารสำหรับผู้มีความดันโลหิตสูง

ความดันสูง หรือความดันโลหิตสูง (Hypertension) เป็นภาวะที่พบได้บ่อยซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงต่อระบบหัวใจและหลอดเลือด หากไม่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม ภาวะนี้สามารถนำไปสู่โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง และโรคไตได้ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารเป็นหนึ่งวิธีการในการควบคุมความดันโลหิต แต่ในการเลือกบริโภคอาหารนั้น หลาย ๆ คนมักจะมีคำถามว่า “ความดันสูงควรกินอะไร” ซึ่งในบทความนี้จะกล่าวถึงแนวทางการบริโภคอาหารที่เหมาะสมสำหรับผู้ที่มีความดันโลหิตสูงซึ่งจะช่วยให้ผู้ที่มีภาวะความดันโลหิตสูงสามารถควบคุมความดันได้ดีขึ้น

ความดันสูงควรกินอะไร?


ผู้ที่มีภาวะความดันโลหิตสูงควรให้ความสำคัญกับการเลือกรับประทานอาหาร เนื่องจากการรับประทานอาหารที่เหมาะสมจะช่วยควบคุมระดับความดันโลหิตได้


มีหลักง่าย ๆ ในการเลือกรับประทานอาหาร คือ ลดการบริโภคเกลือโซเดียม อาหารที่มีรสจัด หลีกเลี่ยงอาหารหมักดอง อาหารกระป๋อง รวมถึงอาหารแปรรูปสำเร็จรูปที่มักมีเกลือในปริมาณสูง ในขณะเดียวกันควรเพิ่มการรับประทานอาหารที่เป็นแหล่งใยอาหารที่ดี เช่น ผัก ผลไม้สด ธัญพืชไม่ขัดสี และถั่วเมล็ดแห้ง และเลือกรับประทานโปรตีนจากแหล่งธรรมชาติ เช่น ปลา เนื้อสัตว์ไขมันต่ำ และถั่วเมล็ดแห้ง จำกัดการบริโภคไขมันอิ่มตัวและไขมันทรานส์ที่มักพบในอาหารทอดและขนมอบกรอบ การดื่มน้ำสะอาดวันละอย่างน้อย 8 แก้ว และหลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์และเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลสูง ก็จะช่วยในการควบคุมความดันโลหิตได้เช่นกัน


อาหารที่ช่วยลดความดันโลหิตมีให้เลือกรับประทานหลากหลาย โดยคุณสามารถปรับเปลี่ยนการรับประทานให้เหมาะกับความชอบของตัวเองได้


ผักและผลไม้


การบริโภคผักและผลไม้ช่วยลดความดันโลหิตได้ เนื่องจากมีสารอาหารที่สำคัญหลายชนิด เช่น โพแทสเซียม แมกนีเซียม และเส้นใยอาหาร ที่มีทำให้ความดันโลหิตลดลงได้ ตัวอย่างผักและผลไม้ที่ดีสำหรับการควบคุมความดันโลหิต เช่น


  • กล้วย: มีโพแทสเซียมสูงช่วยควบคุมความดันโลหิต
  • ส้ม: อุดมไปด้วยวิตามินซีและใยอาหาร
  • แครอท: มีวิตามินเอและใยอาหารสูง
  • ผักโขม: มีแมกนีเซียมและโพแทสเซียม ช่วยปรับสมดุลโซเดียมในร่างกาย
  • ผักใบเขียว: เช่น บล็อคโคลี่ และคะน้า ก็มีประโยชน์ในการลดความดันโลหิตได้เช่นกัน

ธัญพืชเต็มเมล็ด ไม่ขัดสี


ธัญพืชเต็มเมล็ดเป็นแหล่งของเส้นใยอาหารซึ่งช่วยในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและความดันโลหิต ธัญพืชเต็มเมล็ดที่มีใยอาหารและสารอาหารที่ช่วยลดความดันโลหิต เช่น


  • ข้าวกล้อง: มีแมกนีเซียมและใยอาหารสูง
  • ข้าวโอ๊ต: ช่วยลดคอเลสเตอรอลและความดันโลหิตได้
  • ควินัว: มีโปรตีนและแมกนีเซียมสูง
  • ข้าวบาร์เลย์: มีใยอาหารสูง
  • ขนมปังโฮลวีต: มีเส้นใยสูง ซึ่งช่วยในการลดความดันโลหิตซึ่งเป็นสาเหตุของโรคหัวใจ

ผลิตภัณฑ์นมไขมันต่ำ หรือไม่มีไขมัน


ผลิตภัณฑ์นมที่ไขมันต่ำหรือไม่มีไขมันเป็นแหล่งที่ดีของแคลเซียม โปรตีน และวิตามินดี ซึ่งช่วยเสริมสร้างกระดูกและช่วยในการลดความดันโลหิต ตัวอย่างผลิตภัณฑ์นมที่มีไขมันต่ำ เช่น


  • นมไขมันต่ำ
  • โยเกิร์ตไขมันต่ำ
  • ชีสไขมันต่ำ

โปรตีนที่ไม่ผ่านการแปรรูป


การเลือกรับประทานโปรตีนที่ไม่ผ่านการแปรรูปสามารถช่วยลดการบริโภคไขมันทรานส์และโซเดียม ซึ่งมีผลต่อความดันโลหิต นอกจากนี้การเลือกรับประทานโปรตีนที่มีไขมันต่ำ ก็สามารถช่วยลดความดันโลหิตได้เช่นกัน ตัวอย่างของอาหารกลุ่มนี้ เช่น


  • เนื้อปลา เช่น ปลาแซลมอน ปลาทูน่า ปลาซาร์ดีน
  • เนื้อไก่ไม่ติดมัน หมูเนื้อแดงไม่ติดมัน หรือเนื้อสัตว์ที่มีไขมันต่ำ
  • ถั่วต่าง ๆ เช่น ถั่วเหลือง ถั่วเขียว ถั่วลันเตา

อาหารที่มีไขมันดี


ไขมันดีเช่น ไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยวและไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน จะช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลและความดันโลหิตได้ ตัวอย่างของอาหารที่มีไขมันดี เช่น


  • น้ำมันมะกอก
  • น้ำมันคาโนล่า
  • อะโวคาโด
  • ถั่วและเมล็ดพืช เช่น อัลมอนด์ วอลนัท เมล็ดเชีย

ดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพอ


การดื่มน้ำในปริมาณที่เพียงพอมีความสำคัญต่อการรักษาสมดุลเกลือแร่และโซเดียมของร่างกาย รวมถึงการควบคุมความดันโลหิตด้วย การดื่มน้ำเปล่าแทนเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลหรือเกลือสูงจะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดความดันโลหิตสูง


สมุนไพรและเครื่องเทศ


การใช้สมุนไพรและเครื่องเทศในการปรุงอาหาร เช่น กระเทียม ขิง และพริกไทยดำ สามารถใช้เพิ่มรสชาติให้อาหารโดยไม่ต้องเติมเกลือ หรือซอสปรุงรส ช่วยลดการบริโภคโซเดียม ซึ่งเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้น


อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง


  • อาหารที่มีโซเดียมสูง: อาหารแปรรูป อาหารกระป๋อง ซอสปรุงรส ขนมขบเคี้ยว อาหารที่มีโซเดียมสูงทำให้มีการเก็บน้ำในร่างกายมากขึ้น และทำให้ความดันโลหิตสูง
  • อาหารที่มีไขมันอิ่มตัวและไขมันทรานส์: เช่น ของทอด อาหารจานด่วน จังค์ฟูด (junk food) ขนมเค้ก ขนมขบเคี้ยว อาหารกลุ่มนี้เพิ่มความเสี่ยงของโรคหัวใจ
  • เครื่องดื่มแอลกอฮอล์: การดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไปทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้น
  • น้ำตาลและของหวาน: น้ำหวาน ขนมหวาน ขนมขบเคี้ยว อาหารเหล่านี้มีปริมาณน้ำตาลสูง ซึ่งการบริโภคน้ำตาลมากเกินไปอาจทำให้เกิดโรคอ้วน เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง และเพิ่มความดันโลหิตให้สูงขึ้น

สรุป


สำหรับคำถามที่ว่า “ความดันสูงควรกินอะไร” ข้อมูลเบื้องต้นน่าจะช่วยเป็นข้อมูลในการเลือกบริโภคอาหารสำหรับหลาย ๆ ท่านได้ การเลือกรับประทานอาหารเป็นปัจจัยสำคัญในการจัดการกับภาวะความดันโลหิตสูง การเลือกอาหารที่มีประโยชน์ หลีกเลี่ยงอาหารที่มีผลเสียต่อสุขภาพจะช่วยการควบคุมความดันโลหิตทำได้ง่ายขึ้น นอกจากนี้การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เช่น การเดิน ว่ายน้ำ ปั่นจักรยาน รวมไปถึงการจัดการความเครียด เช่น การฝึกโยคะ การฝึกการหายใจ หรือการหากิจกรรมเพื่อผ่อนคลายความเครียด ก็จะช่วยทำให้การควบคุมความดันโลหิตดีขึ้นได้ และยังช่วยลดความเสี่ยงของโรคเรื้อรังอื่น ๆ ได้อีกด้วย


การตรวจติดตามสภาวะสุขภาพเป็นประจำจะช่วยป้องกันภาวะความดันโลหิตสูงได้ และหากพบว่าเป็นโรคความดันโลหิตสูงแล้วควรปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด และควรมาพบแพทย์ตามนัดทุกครั้ง เพื่อให้แพทย์ประเมินระดับความดันโลหิตว่าอยู่ในระดับที่เหมาะสมหรือไม่ หรือต้องมีการปรับการใช้ยาเพื่อการควบคุมความดันโลหิตให้อยู่ในระดับปกติ


ปรึกษาอาการเบื้องต้นได้เลย เพื่อสุขภาพของคุณ

บทความที่เกี่ยวข้อง (10)

ดูทั้งหมด

ปัสสาวะบ่อย ไม่ใช่เรื่องเล็ก เสี่ยงโรคอันตรายบั่นทอนคุณภาพชีวิต

ปัสสาวะบ่อยเกิดได้จากหลายปัจจัย ตั้งแต่การดื่มน้ำหรือของเหลวในปริมาณมาก ได้รับคาเฟอีนมาก การใช้ยา ไปจนถึงโรคที่เกี่ยวข้องกับทางเดินปัสสาวะ เรียนรู้ในบทความนี้!

การผ่าตัดเปลี่ยนผิวข้อเข่าเทียมบางส่วน ทางเลือกรักษาข้อเข่าเสื่อม แผลเล็ก ฟื้นตัวเร็ว

การผ่าตัดเปลี่ยนผิวข้อเข่าเทียมบางส่วน หรือ UKA เป็นการผ่าตัดรักษาโรคข้อเข่าเสื่อม โดยเอาผิวข้อเฉพาะส่วนที่สึกหรอออก และเก็บผิวข้อเข่าส่วนที่ยังมีสภาพดีไว้ ทำให้ผู้ป่วยไม่ต้องใช้เวลาปรับตัวนาน ในการกลับไปใช้ข้อเข่าได้เหมือนธรรมชาติ

คุณเป็นโรคภูมิแพ้…จริงหรือ…?

คนทั่วไปเมื่อมีอาการคัดจมูก น้ำมูกไหลเรื้อรัง หรือเป็นๆ หายๆ มักจะบอกว่า เป็นโรคภูมิแพ้ หรือไม่ก็เข้าใจว่าตนเป็นหวัด หวัด เกิดจากการติดเชื้อไวรัส คนทั่วไปมักเป็นได้ปีละ 4 – 5 ครั้งก็มากเกินปกติแล้ว อาการหวัดมักเป็นอยู่ 3 – 4 วัน

โรคไข้อีดำอีแดง โรคที่เกิดจากพิษของเชื้อแบคทีเรีย

ข้อมูลจาก สมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทย โรคไข้อีดำอีแดงหรือ scarlet fever เป็นโรคที่เกิดจากพิษของเชื้อแบคทีเรียชื่อ #สเตร็ปโตคอคคัสชนิดเอ ทำให้มีผื่นแดง ตามตัวร่วมกับคอหอยหรือทอนซิลอักเสบ พบบ่อยในช่วงอายุระหว่าง 5-15 ปี

วัคซีนปอดอักเสบนิวโมคอกคัสชนิดใหม่ 20 สายพันธุ์ (PCV 20)

โรคปอดอักเสบจากเชื้อนิวโมคอกคัสเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียสเตรปโตคอคคัสนิวโมเนียอี (Streptococcus pneumoniae) ส่วนใหญ่เชื้อจะพบอยู่ในโพรงจมูกและลำคอ สามารถแพร่กระจายผ่านการสัมผัสสารคัดหลั่งทางละอองฝอยทางการไอหรือจาม เป็นหนึ่งในเชื้อที่ทำให้เกิดปอดอักเสบที่พบบ่อย ทั้งในเด็ก ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ

โรคแอนแทรกซ์ (Anthrax) โรคติดต่อจากสัตว์สู่คน

โรคแอนแทรกซ์ หรือชาวบ้านเรียกว่าโรคกาลี เป็นโรคที่รู้จักกันมาแต่โบราณกาล แอนแทรกซ์นับว่าเป็นโรคระบาดสำคัญโรคหนึ่งในพระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ. 2499 เป็นโรคติดต่ออันตรายร้ายแรงที่เกิดขึ้นได้ในสัตว์กินหญ้าแทบทุกชนิด ทั้งสัตว์ป่า เช่น ช้าง เก้ง กวาง และสัตว์เลี้ยง เช่น โค กระบือ แพะ แกะ แล้วติดต่อไปยังคนและสัตว์อื่น

บอลลูนหัวใจ: แก้ปัญหาหลอดเลือดหัวใจตีบ โดยไม่ต้องผ่าตัดใหญ่

การทำบอลลูนหัวใจหรือ PCI เป็นการรักษาที่มีประสิทธิภาพในการรักษาภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบ ช่วยให้เลือดไหลเวียนได้สะดวก ลดอาการเจ็บหน้าอก และลดความเสี่ยงของหัวใจวาย เป็นการเปิดหลอดเลือดโดยไม่ต้องผ่าตัดใหญ่ ทำให้ผู้ป่วยฟื้นตัวเร็วขึ้น อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยยังคงต้องดูแลสุขภาพ หมั่นออกกำลังกาย รับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ และลดปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ เพื่อรักษาสุขภาพของหัวใจในระยะยาว

ลิ้นหัวใจเทียมคืออะไร? ทำไมต้องเปลี่ยน? และอะไรบ้างที่คุณควรรู้?

การผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจเทียมเป็นหนึ่งในวิธีการรักษาสำหรับผู้ป่วยที่มีปัญหาลิ้นหัวใจผิดปกติ และการผ่าตัดเปลี่ยนลินหัวใจจะช่วยฟื้นฟูการทำงานของหัวใจให้กลับมาใกล้เคียงปกติ อย่างไรก็ตามผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาจะต้องได้รับการประเมินอย่างละเอียด เพื่อเลือกชนิดของลิ้นหัวใจที่เหมาะสม

หัวใจล้มเหลว อาการเป็นอย่างไร ป้องกันได้อย่างไรบ้าง

หัวใจล้มเหลวคือภาวะที่หัวใจไม่สามารถสูบฉีดเลือดได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้ร่างกายได้รับออกซิเจนและสารอาหารไม่เพียงพอ อาการสำคัญที่ควรสังเกต ได้แก่ เหนื่อยง่าย หายใจลำบาก ขาบวม และน้ำหนักเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่มักเกี่ยวข้องกับโรคหัวใจและหลอดเลือด การวินิจฉัยและรักษาอย่างรวดเร็วจะช่วยลดความเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนรุนแรง

การตัดชิ้นเนื้อส่งตรวจมะเร็ง (Biopsy) หมดความสงสัย วินิจฉัยได้อย่างแม่นยำ

การตัดชิ้นเนื้อส่งตรวจมะเร็ง (Biopsy) คือวิธีที่นิยมในการวินิจฉัยมะเร็ง เนื่องจากความแม่นยำและละเอียดในการบ่งชี้ประเภทของมะเร็ง ทำได้อย่างไร? บทความนี้มีคำตอบ!

Copyright © 2024 All Rights Reserved | Praram 9 Hospital