บทความสุขภาพ

Knowledge

โรคหัวใจอาการเริ่มต้นเป็นอย่างไร หาคำตอบได้ที่นี่!

โรคหัวใจเป็นภัยร้ายที่คุกคามผู้คนทั่วโลก และเป็นสาเหตุการตายอันดับแรก ๆ ของประชากรโลกอีกด้วย โรคหัวใจเป็นที่อันตราย เนื่องจากสามารถนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง เช่น หัวใจล้มเหลว หัวใจวายเฉียบพลัน หรือหลอดเลือดสมองตีบตันได้


อาการของโรคหัวใจอาจแสดงออกได้หลายรูปแบบ บางครั้งอาจเริ่มจากอาการที่ไม่รุนแรง ทำให้ผู้ป่วยอาจมองข้ามและไม่ได้พบแพทย์ และไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที ซึ่งเมื่อเวลาผ่านไปอาจทำให้อาการแย่ลงและมีความเสี่ยงสูงต่อการเสียชีวิต การตระหนักและทราบว่าโรคหัวใจอาการเริ่มต้นเป็นอย่างไร ก็จะสามารถช่วยให้ได้รับการรักษาและการดูแลป้องกันได้ทันเวลา ซึ่งช่วยลดความเสี่ยงของภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงได้

อาการเจ็บหน้าอก (Chest pain)


อาการเจ็บหน้าอกหรือแน่นหน้าอกเป็นอาการที่พบได้บ่อยที่สุดในผู้ที่เป็นโรคหัวใจโดยเฉพาะ ผู้ที่มีภาวะหัวใจขาดเลือด อาจรู้สึกเหมือนจุก แน่น หรือมีอะรไมาทับที่กลางหน้าอก และอาจมีการปวดร้าวไปที่กราม แขน หรือหลัง อาการเจ็บหน้าอกจากโรคหัวใจมักเกิดขึ้นเมื่อมีการออกแรง เช่น ตอนออกกำลังกาย หรือออกแรงยกของ อาการเจ็บหน้าอกยังอาจมีลักษณะดังนี้


  • รู้สึกเหมือนมีของหนักกดทับที่หน้าอก
  • มีความเจ็บปวดรุนแรงที่เกิดขึ้นอย่างฉับพลัน
  • รู้สึกเจ็บร้าวไปที่คอหรือไหล่ด้านซ้าย

หายใจลำบาก (Shortness of breath)


หายใจลำบากหรือหายใจสั้นเป็นอีกหนึ่งอาการที่สำคัญ ซึ่งมักเกิดจากหัวใจไม่สามารถสูบฉีดเลือดได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้ร่างกายได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ ซึ่งอาการนี้อาจเกิดขึ้นได้ ทั้งในขณะออกแรงหรือในขณะที่พักผ่อนหรือไม่ได้มีกิจกรรมใด ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากมีอาการหายใจลำบากในช่วงกลางคืนขณะกำลังนอน ต้องรีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัย อาการหายใจลำบากอาจมีลักษณะอื่น ๆ เช่น


  • หายใจถี่และสั้นลง
  • รู้สึกว่าหายใจไม่เต็มที่
  • ต้องลุกขึ้นนั่งหรือนอนหนุนหมอนสูงเพื่อให้หายใจสะดวกขึ้น หลังการนอนราบ

เหนื่อยง่ายผิดปกติ (Fatigue)


รู้สึกเหนื่อยง่ายแม้ว่าจะไม่ได้ออกแรงมาก เช่น เดินขึ้นบันไดเล็กน้อย อาการนี้อาจเป็นสัญญาณของโรคหัวใจอาการเริ่มต้น ซึ่งอาการเหนื่อยง่ายอาจมีลักษณะดังนี้


  • รู้สึกเหนื่อยง่ายผิดปกติ หลังจากกิจกรรมที่ปกติทำได้
  • ไม่สามารถทำกิจกรรมประจำวันได้อย่างที่เคย
  • ต้องหยุดพักบ่อยขึ้นเมื่อทำงานหรือออกกำลังกาย

หัวใจเต้นผิดจังหวะ (Irregular heartbeat)


รู้สึกว่าหัวใจเต้นเร็วเกินไป ช้าเกินไป หรือเต้นไม่สม่ำเสมอ อาการนี้อาจมาพร้อมกับอาการวิงเวียน หน้ามืดหรือหมดสติได้ ซึ่งต้องรีบพบแพทย์เพราะอาจทำให้เสียชีวิตได้ หัวใจเต้นผิดจังหวะอาจเกิดจากการทำงานที่ผิดปกติของระบบไฟฟ้าภายในหัวใจ ซึ่งเป็นสัญญาณเตือนที่สำคัญของโรคหัวใจ เช่น ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ (Arrhythmia) หรือภาวะหัวใจล้มเหลว อาการหัวใจเต้นผิดจังหวะอาจมีลักษณะดังนี้


  • รู้สึกใจสั่น
  • รู้สึกว่าหัวใจเต้นสะดุดหรือมีการกระตุก
  • รู้สึกว่าหัวใจเต้นเร็วอย่างฉับพลัน (Tachycardia)
  • รู้สึกว่าหัวใจเต้นช้าลงผิดปกติ (Bradycardia)

เหงื่อออกมากโดยไม่ทราบสาเหตุ (Excessive sweating)


เหงื่อออกมากโดยไม่ทราบสาเหตุ เช่น เหงื่อออกในขณะที่ไม่ได้ออกกำลังกายหรือไม่ได้อยู่ในสภาพอากาศร้อน อาจเป็นสัญญาณของโรคหัวใจอาการเริ่มต้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีอาการเจ็บหน้าอกร่วมด้วย อาการเหงื่อออกมากเกินไปอาจมีลักษณะดังนี้ คือ


  • มีเหงื่อออกมาก ร่วมกับเจ็บแน่นหน้าอก หรือหายใจลำบาก
  • รู้สึกใจสั่นร่วมกับการเหงื่อออกมาก
  • เหงื่อออกมากในขณะพักหรือทำกิจกรรมเบา ๆ

ปวดที่แขนหรือไหล่ (Pain in arms or shoulders)


รู้สึกปวดหรือไม่สบายที่แขน ไหล่ หรือคอ โดยเฉพาะด้านซ้ายของร่างกาย ซึ่งอาการนี้อาจเกิดขึ้นแบบเฉียบพลันโดยไม่มีสาเหตุ และมักปวดร้าวไปที่ขากรรไกรหรือด้านหลัง ซึ่งเป็นสัญญาณอาการของโรคหัวใจ อาการปวดแขนหรือไหล่อาจมีลักษณะดังนี้


  • รู้สึกเจ็บหรือร้าวที่แขนซ้ายหรือไหล่
  • ปวดร้าวไปที่กรามหรือหลังส่วนบน
  • มีอาการปวดที่รุนแรง ซึ่งอาจหาสาเหตุไม่ได้

อาการบวม (Swelling)


มีอาการบวมที่เท้า ขา หรือหน้าท้อง ซึ่งอาจเกิดจากหัวใจไม่ทำงานแย่ลง การไหลเวียนเลือดในร่างกายผิดปกติไป ทำให้เลือดสะสมอยู่ในเนื้อเยื่อต่าง ๆ ของร่างกายจนมีอาการบวม โดยอาการบวมนี้มักพบในผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจล้มเหลว โดยอาการบวมอาจมีลักษณะดังนี้


  • ข้อเท้าหรือเท้าบวมโดยไม่มีสาเหตุ
  • ขาหรือหน้าท้องบวมผิดปกติ

อาการอื่น ๆ (Other symptoms)


บางคนอาจมีอาการอื่น ๆ ซึ่งแตกต่างไปในแต่ละคน เช่น อาการคลื่นไส้ เวียนศีรษะ หรือหมดสติ ซึ่งอาจเป็นสัญญาณของภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน อาจทำให้เสียชีวิตได้ อาการอื่นที่เป็นอาการโรคหัวใจ เช่น


  • คลื่นไส้หรืออาเจียนที่ไม่มีสาเหตุชัดเจน
  • รู้สึกเวียนศีรษะหรือหมุนเวียน
  • หมดสติหรือมีความรู้สึกหมดแรงแบบทันทีทันใด ซึ่งต้องรีบพาผู้ป่วยไปโรงพยาบาลทันที

สรุป


ความเข้าใจและทราบถึงโรคหัวใจอาการเริ่มต้น เป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้เราสามารถรับมือและไปพบแพทย์ได้ทันท่วงที หากคุณหรือคนใกล้ตัวมีอาการเหล่านี้ ควรรีบพบแพทย์เพื่อทำการตรวจวินิจฉัยและรักษา เพราะการรักษาแต่เนิ่น ๆ สามารถช่วยลดความเสี่ยงของภาวะแทรกซ้อนที่ร้ายแรงได้


การป้องกันและรักษาโรคหัวใจ เริ่มได้จากการดูแลสุขภาพในชีวิตประจำวัน เช่น การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่และดื่มแอลกอฮอล์ รวมถึงการตรวจสุขภาพประจำปีเพื่อเฝ้าระวังและป้องกันโรคร้ายต่าง ๆ การดูแลสุขภาพเหล่านี้จะช่วยลดความเสี่ยงและป้องกันการเกิดโรคหัวใจได้


ปรึกษาอาการเบื้องต้นได้เลย เพื่อสุขภาพของคุณ

บทความที่เกี่ยวข้อง (10)

ดูทั้งหมด

ผ่าตัดไส้เลื่อน วิธีรักษาไส้เลื่อนให้หายดี ลดเสี่ยงภาวะแทรกซ้อน

ผ่าตัดไส้เลื่อน เป็นวิธีรักษาไส้เลื่อนที่มีประสิทธิภาพ ปลอดภัย ไม่น่ากลัวอย่างที่คิด โดยเฉพาะการผ่าแบบส่องกล้อง จะช่วยป้องกันภาวะแทรกซ้อนรุนแรง และลดการเป็นซ้ำได้

เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ สัญญาณเตือนที่ผู้หญิงไม่ควรมองข้าม

เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ (Endometriosis) คือภาวะที่เนื้อเยื่อในโพรงมดลูกเจริญนอกมดลูก เช่น รังไข่หรือท่อนำไข่ ทำให้เกิดการอักเสบและปวดท้องประจำเดือนรุนแรง

เนื้องอกมดลูก อันตรายใกล้ตัวของผู้หญิงที่ไม่ควรมองข้าม

เนื้องอกมดลูก มีสาเหตุมาจากเซลล์กล้ามเนื้อมดลูกเจริญผิดปกติ ผู้ป่วยส่วนมากมักไม่แสดงอาการ และผู้ป่วยบางส่วนอาจมีอาการปวดท้องน้อยรุนแรง ท้องผูก ปัสสาวะบ่อย

ต่อมลูกหมากโต (BHP) อาการเป็นอย่างไร รักษาวิธีไหนได้บ้าง?

โรคต่อมลูกหมากโต (BPH) คือ ภาวะที่ต่อมลูกหมากขยายใหญ่ขึ้น ส่งผลให้ปัสสาวะติดขัดและกระทบต่อคุณภาพชีวิต มักพบได้บ่อยในผู้ชายวัยกลางคนอายุ 50 ปีขึ้นไป

รู้ทันอาการริดสีดวงทวาร กับพฤติกรรมเสี่ยงที่ต้องระมัดระวัง

ริดสีดวงทวาร มีสาเหตุมาจากการเพิ่มแรงดันในช่องทวารหนัก ทำให้เนื้อเยื่อหลอดเลือดในช่องทวารหนัก (Anal cushion) เกิดการขยายตัวเป็นหัวริดสีดวง

ปัสสาวะบ่อย ไม่ใช่เรื่องเล็ก เสี่ยงโรคอันตรายบั่นทอนคุณภาพชีวิต

ปัสสาวะบ่อยเกิดได้จากหลายปัจจัย ตั้งแต่การดื่มน้ำหรือของเหลวในปริมาณมาก ได้รับคาเฟอีนมาก การใช้ยา ไปจนถึงโรคที่เกี่ยวข้องกับทางเดินปัสสาวะ เรียนรู้ในบทความนี้!

การผ่าตัดเปลี่ยนผิวข้อเข่าเทียมบางส่วน ทางเลือกรักษาข้อเข่าเสื่อม แผลเล็ก ฟื้นตัวเร็ว

การผ่าตัดเปลี่ยนผิวข้อเข่าเทียมบางส่วน หรือ UKA เป็นการผ่าตัดรักษาโรคข้อเข่าเสื่อม โดยเอาผิวข้อเฉพาะส่วนที่สึกหรอออก และเก็บผิวข้อเข่าส่วนที่ยังมีสภาพดีไว้ ทำให้ผู้ป่วยไม่ต้องใช้เวลาปรับตัวนาน ในการกลับไปใช้ข้อเข่าได้เหมือนธรรมชาติ

คุณเป็นโรคภูมิแพ้…จริงหรือ…?

คนทั่วไปเมื่อมีอาการคัดจมูก น้ำมูกไหลเรื้อรัง หรือเป็นๆ หายๆ มักจะบอกว่า เป็นโรคภูมิแพ้ หรือไม่ก็เข้าใจว่าตนเป็นหวัด หวัด เกิดจากการติดเชื้อไวรัส คนทั่วไปมักเป็นได้ปีละ 4 – 5 ครั้งก็มากเกินปกติแล้ว อาการหวัดมักเป็นอยู่ 3 – 4 วัน

โรคไข้อีดำอีแดง โรคที่เกิดจากพิษของเชื้อแบคทีเรีย

ข้อมูลจาก สมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทย โรคไข้อีดำอีแดงหรือ scarlet fever เป็นโรคที่เกิดจากพิษของเชื้อแบคทีเรียชื่อ #สเตร็ปโตคอคคัสชนิดเอ ทำให้มีผื่นแดง ตามตัวร่วมกับคอหอยหรือทอนซิลอักเสบ พบบ่อยในช่วงอายุระหว่าง 5-15 ปี

วัคซีนปอดอักเสบนิวโมคอกคัสชนิดใหม่ 20 สายพันธุ์ (PCV 20)

โรคปอดอักเสบจากเชื้อนิวโมคอกคัสเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียสเตรปโตคอคคัสนิวโมเนียอี (Streptococcus pneumoniae) ส่วนใหญ่เชื้อจะพบอยู่ในโพรงจมูกและลำคอ สามารถแพร่กระจายผ่านการสัมผัสสารคัดหลั่งทางละอองฝอยทางการไอหรือจาม เป็นหนึ่งในเชื้อที่ทำให้เกิดปอดอักเสบที่พบบ่อย ทั้งในเด็ก ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ

Copyright © 2024 All Rights Reserved | Praram 9 Hospital