บทความสุขภาพ

Knowledge

โรคซึมเศร้าดีขึ้นได้โดยการรักษาด้วย TMS

โรคซึมเศร้าเป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญอย่างหนึ่งเพราะเป็นโรคที่คนทั่วไปอาจยังไม่ค่อยเข้าใจหรือยังไม่ค่อยตระหนักถึงผลกระทบที่เกิดจากโรคนี้ ผู้ป่วยบางคนอาจไม่รู้ตัวว่ามีอาการของโรคซึมเศร้าอยู่ หรือแม้กระทั่งญาติหรือคนใกล้ชิดก็อาจไม่ได้สังเกตว่าคนใกล้ตัวกำลังมีภาวะซึมเศร้าอยู่ หรือบางคนถึงกับคิดไปว่าผู้ป่วยคิดมาก เครียดเกินไป หรือคิดไปเอง ทำให้ผู้ป่วยหลาย ๆ คนได้รับการรักษาช้าหรือมีอาการรุนแรงมากจนเกิดผลกระทบที่รุนแรงตามมา เช่น การคิดฆ่าตัวตาย การพยายามฆ่าตัวตาย


และหลายปีมานี้มีการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่มีผู้ติดเชื้อและเสียชีวิตจำนวนมาก และผู้ที่ติดเชื้อที่หายแล้วหลาย ๆ รายมี “ภาวะลองโควิด” ซึ่งพบว่าผู้ป่วยกลุ่มนี้จะมีปัญหาสุขภาพจิด เช่น วิตกกังวล ปัญหาด้านการควบคุมอารมณ์ ภาวะนอนไม่หลับ และอาจนำไปสู่โรคซึมเศร้าได้ ซึ่งทำให้มีคนป่วยเป็นโรคซึมเศร้ามากขึ้นในปัจจุบัน


การรักษาโรคซึมเศร้าตั้งแต่เพิ่งเริ่มมีอาการด้วยวิธีที่ถูกต้องจึงเป็นสิ่งที่ควรให้ความสำคัญ โดยปัจจุบันการรักษาโรคซึมเศร้าสามารถทำได้หลายวิธีตั้งแต่การรับประทานยา การพูดคุยกับจิตแพทย์ การรักษาจิตบำบัดเชิงลึก และการรักษาโดยการกระตุ้นสมองด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า หรือ transcranial magnetic stimulation (TMS) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีการกระตุ้นสมองด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าโดยไม่ต้องผ่าตัดหรือดมยาสลบ ซึ่งบทความนี้เราจะมาทำความรู้จักกับการรักษาโรคซึมเศร้าด้วย TMS ซึ่งเป็นทางเลือกหนึ่งของการรักษาโรคซึมเศร้าในปัจจุบัน

โรคซึมเศร้า


โรคซึมเศร้า เกิดจากภาวะสารเคมีในสมองผิดปกติ ส่งผลให้ผู้ป่วยมีกระทบทางด้านอารมณ์ ความคิด พฤติกรรม ผู้ป่วยมักน้ำหนักลด มีอาการอ่อนเพลีย นอนไม่หลับ หรืออาจส่งผลไปถึงประสิทธิภาพการทำงานและความสัมพันธ์กับคนรอบข้าง เป็นโรคที่สามารถรักษาได้ด้วยการรับประทานยา การพบและพูดคุยกับจิตแพทย์ หรือการรักษาด้วยการพูดคุยกับนักจิตบำบัด การกระตุ้นด้วยการช็อตไฟฟ้า (electroconvulsive therapy: ECT) และการรักษาโดยการกระตุ้นสมองด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า หรือ transcranial magnetic stimulation (TMS)


Transcranial magnetic stimulation (TMS) คืออะไร?


Transcranial magnetic stimulation (TMS) คือ เทคโนโลยีการรักษาด้วยการกระตุ้นสมองด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าผ่านกะโหลกศีรษะจากภายนอก โดยจะปล่อยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าไปกระตุ้นเซลล์ประสาทในสมองให้ทำงานได้ดีขึ้นเพื่อฟื้นฟูประสิทธิภาพการทำงานของสมองและลดอาการของโรคซึมเศร้า ซึ่งนอกจากโรคซึมเศร้าแล้ว TMS ยังมาใช้รักษาโรคเกี่ยวกับระบบประสาทและสมองอื่น ๆ ได้อีกด้วย เช่น โรคไมเกรนชนิดมีออร่า โรคย้ำคิดย้ำทำ โรคจิตเภท (schizophrenia) โรคหลอดเลือดสมอง การบาดเจ็บของไขสันหลัง และกล้ามเนื้อหดเกร็ง และช่วยในการเลิกบุหรี่ เป็นต้น


TMS รักษาซึมเศร้าได้อย่างไร?


การรักษาโรคซึมเศร้าด้วย TMS คือการปล่อยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าไปเหนี่ยวนำ และกระตุ้นทำให้เกิดกระเเสประสาท แล้วทำให้เกิดการหลั่งสารเคมีในสมองและปรับการทำงานของสมองให้อยู่ในสภาวะปกติเเละลดการเกิดอาการซึมเศร้าลงได้ โดยการรักษาด้วย TMS นี้ได้รับการรับรองจากองค์การอาหารและยาของสหรัฐอเมริกา (FDA) ว่ามีความปลอดภัยเเละมีประโยชน์ช่วยในการรักษาโรคซึมเศร้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยจากการศึกษาพบว่าการรักษาโรคซึมเศร้าด้วย TMS นี้มีอัตราความสำเร็จในการรักษามากถึง 78%


รักษาโรคซึมเศร้าด้วย TMS ทำอย่างไร?


  1. จิตแพทย์จะทำการประเมินและซักประวัติอย่างละเอียดเพื่อเป็นข้อมูลประกอบการวางแผนการรักษา
  2. ในวันที่เข้ารับการทำ TMS ผู้ป่วยจะได้รับการรักษา ในห้อง TMS โดยจะนั่งบนเก้าอี้ที่ปรับเอน แล้ววางศีรษะในตำแหน่งที่เหมาะสมเเละสบาย จากนั้น สวมอุปกรณ์บริเวณศีรษะและใส่ที่อุดหูเพื่อป้องกันเสียงรบกวน
  3. เจ้าหน้าที่ (TMS team) จะนำอุปกรณ์ปล่อยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า มาติดบนศีรษะในตำแหน่งที่ต้องการกระตุ้นและทดสอบความแรงของการกระตุ้นที่เหมาะสม แล้วทำการกระตุ้น โดยจะกระตุ้นติดต่อกันเป็นเวลา 30-60 นาที โดยไม่ต้องวางยาสลบหรือยาระงับความรู้สึก ซึ่งความถี่ในการรักษาจะอยู่ที่ประมาณ 5 ครั้งต่อสัปดาห์ ติดต่อกันประมาณ 4-6 สัปดาห์ โดยจำนวนครั้งและระยะเวลาการรักษาจะขึ้นกับอาการของผู้ป่วยแต่ละราย

ใครบ้างที่เหมาะกับการรักษาด้วย TMS


แพทย์จะทำการแนะนำการรักษาด้วยวิธี TMS ในผู้ป่วยโรคซึมเศร้าที่มีอาการรุนแรง ผู้ป่วยที่ทนต่อผลข้างเคียงจากยาไม่ได้ หรือในกลุ่มผู้ป่วยโรคซึมเศร้าที่รักษาด้วยยามามากกว่า 1 ปี แล้วอาการไม่ดีขึ้น หรือไม่ตอบสนองต่อยาและปริมาณยาที่สูงขึ้น


โดยในปัจจุบันได้มีการเริ่มนำการรักษาด้วย TMS มาใช้ร่วมกับการรักษาด้วยการพูดคุยกับนักจิตบำบัดเเละการทานยาเพื่อให้ผลการรักษาดีขึ้นอีกด้วย


ในบางกรณีอาจใช้ TMS ในการรักษาโรคหลอดเลือดสมอง โรคอัมพฤกษ์อัมพาต รวมไปถึงอาการนอนไม่หลับเรื้อรัง เเละการเลิกบุหรี่


ผลการรักษาโรคซึมเศร้าด้วย TMS


การรักษาด้วย TMS จะช่วยลดอาการซึมเศร้า และอาการวิตกกังวลลงได้ แล้วยังช่วยให้มีสมาธิและทำให้การนอนหลับดีขึ้น ซึ่งจะส่งผลต่อพฤติกรรมในด้านบวก ทั้งในแง่การเข้าสังคมเเละการใช้ชีวิต การรักษาโรคซึมเศร้าด้วย TMS นี้เป็นการรักษาที่จะทำให้อาการของภาวะซึมเศร้าดีขึ้นได้ ภายใน 2-3 สัปดาห์ ทั้งนี้ขึ้นกับจำนวนครั้งที่ทำการกระตุ้นและความรุนแรงของโรคแต่ละราย


การรักษาโรคซึมเศร้าด้วย TMS มีผลข้างเคียงหรือไม่?


การรักษาด้วย TMS เป็นการรักษาที่มีผลข้างเคียงน้อย อาจทำให้มีอาการวิงเวียนศีรษะ ปวดศีรษะเล็กน้อยในบริเวณที่ทำการกระตุ้น และอาจเกิดอาการชักในขณะทำการรักษาโดยมีโอกาสเกิดเพียง 0.01% โดยอาการทั้งหมดสามารถหายได้เอง หรือรักษาให้หายได้ภายในวันที่ทำการกระตุ้น อย่างไรก็ตามก่อนรับการรักษาด้วย TMS จิตแพทย์จะประเมินความเสี่ยงของผู้ป่วยทุกราย กรณีที่มีความเสี่ยงการเกิดอาการชัก แพทย์อาจต้องพิจารณาความเหมาะสมเป็นราย ๆ ไป


การรักษาด้วย TMS ดีอย่างไร?


  • เป็นการรักษาที่ผู้ป่วยไม่ต้องมีการผ่าตัด หรือได้รับความเจ็บปวดจากการรักษา
  • ให้ผลดีในผู้ป่วยโรคซึมเศร้าที่อาการรุนแรงและดื้อต่อการรักษาด้วยวิธีอื่น ๆ
  • เป็นการรักษาที่มีความปลอดภัย มีผลข้างเคียงจากการรักษาค่อนข้างน้อย
  • เป็นวิธีการรักษาที่สามารถใช้ร่วมกับการรักษาวิธีอื่น เช่น การรักษาด้วยการรับประทานยา หรือการรักษาโดยการทำจิตบำบัดได้
  • ช่วยเพิ่มการรอดชีวิตของผู้ป่วยโรคซึมเศร้า เพราะการรักษาวิธีนี้ช่วยลดอาการของโรคซึมเศร้าได้ดี ทำให้ลดการฆ่าตัวตายของผู้ป่วยซึมเศร้าได้
  • ภายหลังการรักษาสามารถกลับบ้านไปทำกิจวัตรประจำวันและทำงานได้ตามปกติ

สรุป


การรักษาโรคซึมเศร้าด้วยเทคโนโลยี TMS เป็นทางเลือกการรักษาที่มีผลข้างเคียงน้อยเเละสามารถรักษาโรคซึมเศร้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งเป็นทางเลือกของการรักษาของผู้ป่วยซึมเศร้าที่อาการรุนแรง และดื้อต่อการรักษาด้วยวิธีอื่น ๆ อีกทั้งยังเป็นการรักษาที่ไม่ต้องผ่าตัด หรือไม่ทำให้ผู้ป่วยได้รับความเจ็บปวด อย่างไรก็ตามการรักษาด้วย TMS ต้องทำโดยจิตเเพทย์ผู้เชี่ยวชาญเเละเจ้าหน้าที่ที่มีความชำนาญสูงเพื่อให้การรักษามีประสิทธิภาพสูงสุด


ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญกับ Praram 9 V ปรึกษาแพทย์ได้ทุกที่ผ่านทางวิดีโอคอล (Telemedicine)

บทความที่เกี่ยวข้อง (10)

ดูทั้งหมด

ปัสสาวะบ่อย ไม่ใช่เรื่องเล็ก เสี่ยงโรคอันตรายบั่นทอนคุณภาพชีวิต

ปัสสาวะบ่อยเกิดได้จากหลายปัจจัย ตั้งแต่การดื่มน้ำหรือของเหลวในปริมาณมาก ได้รับคาเฟอีนมาก การใช้ยา ไปจนถึงโรคที่เกี่ยวข้องกับทางเดินปัสสาวะ เรียนรู้ในบทความนี้!

การผ่าตัดเปลี่ยนผิวข้อเข่าเทียมบางส่วน ทางเลือกรักษาข้อเข่าเสื่อม แผลเล็ก ฟื้นตัวเร็ว

การผ่าตัดเปลี่ยนผิวข้อเข่าเทียมบางส่วน หรือ UKA เป็นการผ่าตัดรักษาโรคข้อเข่าเสื่อม โดยเอาผิวข้อเฉพาะส่วนที่สึกหรอออก และเก็บผิวข้อเข่าส่วนที่ยังมีสภาพดีไว้ ทำให้ผู้ป่วยไม่ต้องใช้เวลาปรับตัวนาน ในการกลับไปใช้ข้อเข่าได้เหมือนธรรมชาติ

คุณเป็นโรคภูมิแพ้…จริงหรือ…?

คนทั่วไปเมื่อมีอาการคัดจมูก น้ำมูกไหลเรื้อรัง หรือเป็นๆ หายๆ มักจะบอกว่า เป็นโรคภูมิแพ้ หรือไม่ก็เข้าใจว่าตนเป็นหวัด หวัด เกิดจากการติดเชื้อไวรัส คนทั่วไปมักเป็นได้ปีละ 4 – 5 ครั้งก็มากเกินปกติแล้ว อาการหวัดมักเป็นอยู่ 3 – 4 วัน

โรคไข้อีดำอีแดง โรคที่เกิดจากพิษของเชื้อแบคทีเรีย

ข้อมูลจาก สมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทย โรคไข้อีดำอีแดงหรือ scarlet fever เป็นโรคที่เกิดจากพิษของเชื้อแบคทีเรียชื่อ #สเตร็ปโตคอคคัสชนิดเอ ทำให้มีผื่นแดง ตามตัวร่วมกับคอหอยหรือทอนซิลอักเสบ พบบ่อยในช่วงอายุระหว่าง 5-15 ปี

วัคซีนปอดอักเสบนิวโมคอกคัสชนิดใหม่ 20 สายพันธุ์ (PCV 20)

โรคปอดอักเสบจากเชื้อนิวโมคอกคัสเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียสเตรปโตคอคคัสนิวโมเนียอี (Streptococcus pneumoniae) ส่วนใหญ่เชื้อจะพบอยู่ในโพรงจมูกและลำคอ สามารถแพร่กระจายผ่านการสัมผัสสารคัดหลั่งทางละอองฝอยทางการไอหรือจาม เป็นหนึ่งในเชื้อที่ทำให้เกิดปอดอักเสบที่พบบ่อย ทั้งในเด็ก ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ

โรคแอนแทรกซ์ (Anthrax) โรคติดต่อจากสัตว์สู่คน

โรคแอนแทรกซ์ หรือชาวบ้านเรียกว่าโรคกาลี เป็นโรคที่รู้จักกันมาแต่โบราณกาล แอนแทรกซ์นับว่าเป็นโรคระบาดสำคัญโรคหนึ่งในพระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ. 2499 เป็นโรคติดต่ออันตรายร้ายแรงที่เกิดขึ้นได้ในสัตว์กินหญ้าแทบทุกชนิด ทั้งสัตว์ป่า เช่น ช้าง เก้ง กวาง และสัตว์เลี้ยง เช่น โค กระบือ แพะ แกะ แล้วติดต่อไปยังคนและสัตว์อื่น

บอลลูนหัวใจ: แก้ปัญหาหลอดเลือดหัวใจตีบ โดยไม่ต้องผ่าตัดใหญ่

การทำบอลลูนหัวใจหรือ PCI เป็นการรักษาที่มีประสิทธิภาพในการรักษาภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบ ช่วยให้เลือดไหลเวียนได้สะดวก ลดอาการเจ็บหน้าอก และลดความเสี่ยงของหัวใจวาย เป็นการเปิดหลอดเลือดโดยไม่ต้องผ่าตัดใหญ่ ทำให้ผู้ป่วยฟื้นตัวเร็วขึ้น อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยยังคงต้องดูแลสุขภาพ หมั่นออกกำลังกาย รับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ และลดปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ เพื่อรักษาสุขภาพของหัวใจในระยะยาว

ลิ้นหัวใจเทียมคืออะไร? ทำไมต้องเปลี่ยน? และอะไรบ้างที่คุณควรรู้?

การผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจเทียมเป็นหนึ่งในวิธีการรักษาสำหรับผู้ป่วยที่มีปัญหาลิ้นหัวใจผิดปกติ และการผ่าตัดเปลี่ยนลินหัวใจจะช่วยฟื้นฟูการทำงานของหัวใจให้กลับมาใกล้เคียงปกติ อย่างไรก็ตามผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาจะต้องได้รับการประเมินอย่างละเอียด เพื่อเลือกชนิดของลิ้นหัวใจที่เหมาะสม

หัวใจล้มเหลว อาการเป็นอย่างไร ป้องกันได้อย่างไรบ้าง

หัวใจล้มเหลวคือภาวะที่หัวใจไม่สามารถสูบฉีดเลือดได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้ร่างกายได้รับออกซิเจนและสารอาหารไม่เพียงพอ อาการสำคัญที่ควรสังเกต ได้แก่ เหนื่อยง่าย หายใจลำบาก ขาบวม และน้ำหนักเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่มักเกี่ยวข้องกับโรคหัวใจและหลอดเลือด การวินิจฉัยและรักษาอย่างรวดเร็วจะช่วยลดความเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนรุนแรง

การตัดชิ้นเนื้อส่งตรวจมะเร็ง (Biopsy) หมดความสงสัย วินิจฉัยได้อย่างแม่นยำ

การตัดชิ้นเนื้อส่งตรวจมะเร็ง (Biopsy) คือวิธีที่นิยมในการวินิจฉัยมะเร็ง เนื่องจากความแม่นยำและละเอียดในการบ่งชี้ประเภทของมะเร็ง ทำได้อย่างไร? บทความนี้มีคำตอบ!

Copyright © 2024 All Rights Reserved | Praram 9 Hospital