บทความสุขภาพ

Knowledge

มะเร็งตับปฐมภูมิ (หรือมะเร็งของเซลล์ตับ) โรคมะเร็งที่พบบ่อย ป้องกันและรักษาได้อย่างไรบ้าง?

นพ. ปรเมษฐ์ เหลืองอ่อน

มะเร็งตับปฐมภูมิ คือ มะเร็งที่เกิดจากเซลล์ตับเอง ซึ่งในที่นี้เราจะกล่าวถึง hepatocellular carcinoma (HCC) ไม่รวมกับมะเร็งท่อน้ำดีในตับ


hepatocellular carcinoma (HCC) เป็นสาเหตุการเสียชีวิตของผู้ป่วยด้วยโรคมะเร็งเป็นอันดับ 1 ของประเทศไทย เเละยังเป็นโรคมะเร็งที่พบบ่อยเป็นอันดับที่ 1 ในเพศชายเเละอันดับที่ 3 ในเพศหญิง ตามสถิติขององค์การอนามัยโลก โดยเป็นมะเร็งที่มีอัตราเสียชีวิตสูงมาก จากการศึกษาพบว่าผู้ป่วยโรคมะเร็งตับที่ไม่ได้รับการรักษามีอัตราการรอดชีวิตใน 1 ปีเพียง 17.5% เเละอัตราการรอดชีวิตภายใน 2 ปีอยู่ที่ 7.3% ซึ่งมะเร็งตับปฐมภูมิ ชนิด HCC ในระยะเเรกเริ่มมักไม่แสดงอาการเเละตรวจพบยากทำให้มะเร็งลุกลามก่อนตรวจพบเเละได้รับการรักษาซึ่งมะเร็งตับในระยะแรกเริ่มสามารถรักษาให้หายขาดได้ด้วยการผ่าตัดหรือใช้จี้ความร้อนหรือการเปลี่ยนถ่ายตับ จึงไม่ควรละเลยการตรวจคัดกรองเพื่อการป้องกันโรคมะเร็งชนิดนี้ในกลุ่มผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งตับ


มะเร็งตับปฐมภูมิชนิด HCC เกิดจากอะไร?


สาเหตุสำคัญของโรคมะเร็งตับปฐมภูมิชนิด HCC ได้แก่


  1. การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี (hepatitis B) โดยพบว่าประเทศไทยมีผู้ที่เป็นโรคไวรัสตับบีมากถึง 2.2 ล้านคน เเละอาจพบเป็นผู้ที่มีเชื้อไวรัสตับอักเสบอยู่ในร่างกายที่ไม่มีอาการ เเต่สามารถเเพร่ให้ผู้อื่นได้ โดยการเเพร่จากมารดาสู่บุตร การมีเพศสัมพันธ์กับผู้ติดเชื้อ เเละจากการสัมผัสสารคัดหลั่ง เช่น น้ำลาย รวมไปถึงการใช้เข็มฉีดยาหรือของใช้ส่วนตัวร่วมกับผู้ติดเชื้อ ซึ่งความอันตรายของไวรัสตับอักเสบบี คือ ผู้ป่วยสามารถเป็นมะเร็งตับโดยที่ไม่ต้องเป็นตับแข็งก่อน
  2. โรคตับเเข็งจากสาเหตุต่าง เช่น การดื่มสุรา ไขมันเกาะตับ ไวรัสตับอักเสบซ๊ เเละตับเเข็งที่เกิดจากความผิดปกติของภูมิคุ้มกันร่างกายที่ทำลายเซลล์ตับ
  3. การได้รับสารอะฟลาท็อกซิน (aflatoxin) ซึ่งเป็นสารพิษที่เกิดจากการปนเปื้อนของเชื้อราในอาหารเเห้งหลายชนิด เช่น ถั่ว ข้าวโพด พริกเเห้ง เมล็ดธัญพืชต่าง ๆ

อาการของโรคมะเร็งตับปฐมภูมิชนิด HCC


โรคมะเร็งตับในระยะเริ่มเเรกมักไม่มีอาการที่ชัดเจน โดยอาจพบก้อนมะเร็งขนาดเล็ก 2-3 เซนติเมตร ซึ่งมักจะพบจากการตรวจอัลตราซาวนด์ตับเเละการตรวจเลือดค่า AFP การตรวจพบมะเร็งตับในระยะเริ่มต้นนี้จะมีโอกาสรักษาให้หายขาดได้


อาการแสดงของโรคมะเร็งตับจะเกิดขึ้นเมื่อตัวเซลล์มะเร็งมีขนาดมากกว่า 10 เซนติเมตรขึ้นไปซึ่งเป็นระยะที่รักษาให้หายขาดได้ยาก โดยมักมีอาการดังนี้


  • ปวดท้องใต้ชายโครงขวาเรื้อรัง โดยมีอาการคล้ายโรคกระเพาะ
  • เบื่ออาหารเเละน้ำหนักลดลงโดยไม่ทราบสาเหตุ
  • เเน่นท้อง ท้องผูก เเละอาจมีไข้ต่ำ ๆ เป็นเวลานาน ๆ
  • คลำพบก้อนขนาดใหญ่บริเวณช่องท้อง
  • อาการอื่น ๆ ที่เกิดจากภาวะตับเเข็ง เช่น ตัวเหลือง ตาเหลือง เเละท้องโตขึ้นผิดปกติ

มะเร็งตับปฐมภูมิชนิด HCC มีกี่ระยะ?


มะเร็งตับสามารถเเบ่งได้ 5 ระยะโดยเเบ่งตามขนาดของเซลล์มะเร็งเเละการลุกลาม ได้แก่


1.ระยะเเรกเริ่ม (very early stage)


จะพบก้อนมะเร็งขนาดเล็กกว่า 2 เซนติเมตรโดยยังไม่ลุกลามเข้าไปยังหลอดเลือดในตับ ในระยะนี้สามารถตรวจพบได้น้อยมาก โดยสามารถตรวจพบได้เพียง 30% เท่านั้น


2.ระยะแรก (early stage)


จะพบก้อนมะเร็งขนาดใหญ่กว่า 2 เซนติเมตรเพียงก้อนเดียว หรือ ก้อนที่มีขนาดเล็กกว่า 3 เซนติเมตรไม่เกิน 3 ก้อน


3.ระยะกลาง (intermediate stage)


จะพบก้อนมะเร็งจำนวนหลายก้อน โดยระยะนี้ผู้ป่วยจะไม่สามารถทำการรักษาโดยการผ่าตัดได้เเละหากไม่ได้รับการรักษาจะมีอัตราการเสียชีวิตสูงมาก


4.ระยะแพร่กระจาย (advanced stage)


โดยเซลล์มะเร็งในระยะนี้จะลุกลามเข้าไปยังต่อมน้ำเหลือง หลอดเลือดดำ เเละอวัยวะอื่น ๆ โดยผู้ป่วยกลุ่มนี้มีอัตราการรอดชีวิตใน 1 ปี เพียง 25% เท่านั้น


5.มะเร็งตับระยะสุดท้าย (end-stage)


ในระยะนี้การทำงานของตับจะเหลือน้อยมาก ๆ เเละผู้ป่วยจะมีอาการปวดรุนเเรงมากเเละมีภาวะเเทรกซ้อนต่าง ๆ ร่วมด้วย ซึ่งในระยะนี้ผู้ป่วยจะมีอัตราการรอดชีวิตใน 1 ปี เพียง 11%


การวินิจฉัยโรคมะเร็งตับปฐมภูมิชนิด HCC


การตรวจวินิจฉัยมะเร็งตับปฐมภูมิชนิดHCCสามารถทำการตรวจคัดกรองได้จากการตรวจสุขภาพประจำปี แต่หากจำเป็นต้องตรวจให้ละเอียดและแม่นยำมากขึ้นควรได้รับการตรวจจากแพทย์เฉพาะทางโรคตับและทางเดินอาหาร ซึ่งการตรวจวินิจฉัยมะเร็งตับสามารถตรวจได้ดังนี้


  1. การตรวจอัลตราซาวนด์ช่องท้อง เป็นวิธีที่นิยมมากที่สุด เนื่องจากสามารถวินิจฉัยโครงสร้างเเละความผิดปกติของตับได้ เช่น ลักษณะของเนื้องอกในตับ ไขมันพอกตับ เเละตับอักเสบ เเละยังสามารถบอกภาวะการถูกทำลายของตับได้ เเต่มีข้อจำกัดในผู้ป่วยที่มีภาวะตับเเข็ง การตรวจด้วยวิธีนี้จะไม่สามารถจำเเนกชนิดของเนื้องอกในตับได้
  2. การตรวจเลือด เพื่อดูค่าการทำงานของตับ
  3. การตรวจวัดสารก่อมะเร็งในเลือด หรือ alpha-fetoprotien (AFP) เป็นการตรวจเพื่อหาสารโปรตีนชนิดพิเศษ ที่สามารถบ่งบอกถึงมะเร็งตับในระยะเริ่มต้น
  4. การตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (computed tomography; CT SCAN) โดยแพทย์อาจพิจารณาการตรวจ CT scan แบบต้องฉีดสารทึบรังสีเข้าทางหลอดเลือดดำ หรือแบบไม่ต้องฉีดสารทึบรังสี ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของผู้ป่วยแต่ละราย การตรวจ CT scan จะทำให้ทราบถึงลักษณะของเนื้อตับว่าปกติหรือไม่ และยังบอกถึงการลุกลามของเซลล์มะเร็งได้อีกด้วย
  5. การตรวจด้วยคลื่นเเม่เหล็กไฟฟ้า (magnetic resonance imaging; MRI) เพื่อดูลักษณะก้อนมะเร็งอย่างละเอียดหรือเนื้องอกในบริเวณตับ รวมไปถึงดูการลุกลามไปยังอวัยวะอื่น ๆ

มะเร็งตับปฐมภูมิชนิด HCC รักษาหายไหม?


โรคมะเร็งตับปฐมภูมิชนิด HCC มีโอกาสรักษาให้หายขาดได้ หากตรวจพบเร็วเเละอยู่ในระยะเริ่มต้นถึงระยะกลาง โดยอาจทำการรักษาด้วยการผ่าตัด หรือทำการรักษาด้วยวิธีอื่น ๆ ตามคำเเนะนำของเเพทย์ ร่วมกับการปฎิบัติตัวเเละดูเเลตัวเองอย่างเหมาะสม


การรักษามะเร็งตับชนิด HCC


การรักษาโรคมะเร็งตับปฐมภูมิ ชนิด HCC เเพทย์จะให้คำเเนะนำเเละปรึกษากับผู้ป่วยเเละครอบครัวเพื่อเลือกเเนวทางการรักษาที่เหมาะสม โดยเเนวทางการรักษาในเเต่ผู้ป่วยเเต่ละรายจะขึ้นกับขนาด จำนวนเเละตำแหน่งของเซลล์มะเร็ง รวมไปถึงภาวะต่าง ๆ เเละโรคประจำตัวของผู้ป่วยเเต่ละราย โดยเเนวทางการรักษาสามารถจำเเนกได้ตามระยะของโรคดังนี้


1.ระยะที่สามารถรักษาให้หายขาดได้


การรักษาที่เหมาะสมกับผู้ป่วยมะเร็งตับที่มีก้อนมะเร็งไม่เเพร่กระจายออกนอกตับ เเละผู้ป่วยมีสภาพร่างกายเเข็งเเรง ซึ่งการรักษาผผู้ป่วยที่ยังสามารถรักษาให้หายขาดได้ สามารถทำได้ 3 วิธี


  1. การผ่าตัดตับออกบางส่วน เหมาะกับผู้ป่วยที่มีมะเร็งระยะแรกเริ่มและระยะแรก ที่การทำงานของตับยังทำงานได้ดี และผู้ป่วยมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง
  2. การทำลายเซลล์มะเร็งตับด้วยความร้อน (thermal ablation) เหมาะกับผู้ป่วยที่มีมะเร็งระยะแรกเริ่มและระยะแรก ที่ก้อนมะเร็งขนาดไม่เกิน 3-5 cm ซึ่งผลการรักษามีอัตราการรอดชีวิตไกล้เคียงกับการผ่าตัด แต่มีโอกาสกลับเป็นซ้ำมากกว่าการผ่าตัดเพียงเล็กน้อยเท่านั้น เป็นทางเลือกที่ดีสำหรับผู้ป่วยที่สุขภาพร่างกายไม่แข็งแรงและ การทำงานของตับไม่สมบูรณ์
  3. เปลี่ยนตับ (liver transplantation) ถือเป็นทางเลือกหนึ่งของการรักษา แต่อย่างไรก็ตามต้องคัดเลือกผู้ป่วยที่เหมาะสมสำหรับการรักษาด้วยวิธีนี้ด้วย

2.การรักษามะเร็งตับที่ลุกลามเฉพาะที่


การรักษามะเร็งตับที่ลุกลามเฉพาะที่ เเต่ไม่สามารถผ่าตัดได้เนื่องจากผู้ป่วยมีภาวะตับเเข็งหรือมีก้อนมะเร็งติดกับหลอดเลือดใหญ่ในตับ รวมไปถึงผู้ที่มีความเสี่ยงการเสียชีวิตจากการผ่าตัดสูง จึงจำเป็นต้องทำการรักษาด้วยวิธีอื่น ๆ เช่น


  • การให้ยามุ่งเป้า(targeted therapy) หรือการให้ยาอิมมูน(immunotherapy)เพื่อยับยั้งการเเบ่งตัวของเซลล์มะเร็งตับ
  • การฉีดยาเคมีบำบัดเฉพาะที่ (transarterial chemoembolization; TACE) เป็นการรักษาโดยการให้ยาเคมีบำบัดเข้าไปยังหลอดเลือดแดงในตับที่เลี้ยงก้อนเซลล์มะเร็งโดยตรงร่วมกับการอุดกั้นหลอดบริเวณนั้น เพื่อให้ก้อนมะเร็งขาดเลือดเเละสลายไปเอง
  • การอุดกั้นหลอดเลือดแดงของตับด้วยสารกัมมันตรังสี (radioembolization) เป็นทางเลือกการรักษาเพื่อทำลายก้อนมะเร็งและลดขนาดของก้อนมะเร็งตับ
  • การฉายแสงที่ตับ (radiotherapy)

3.การรักษามะเร็งตับในระยะสุดท้าย


ในระยะนี้ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ โดยจะทำการรักษาได้เพียงชะลอให้เซลล์มะเร็งเเพร่กระจายตัวช้าลง หรือลดอาการปวด เป็นการรักษาแบบประคับประคอง เพื่อให้ผู้ป่วยในระยะนี้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น


การป้องกันโรคมะเร็งตับปฐมภูมิชนิด HCC


การป้องกันโรคมะเร็งตับทำได้โดย 2 วิธีหลัก ๆ คือ การสร้างภูมิคุ้มกันเเละการหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยง


  1. การสร้างภูมิคุ้มกัน ทำได้โดยการฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบเอเเละบี ร่วมกับสังเกตอาการผิดปกติด้วยตนเอง เเละตรวจสุขภาพประจำปีเป็นประจำทุกปี
  2. การหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ เช่น
    1. ควรสวมถุงยางอนามัยทุกครั้งเมื่อมีเพศสัมพันธ์กับผู้อื่นเพื่อป้องกันการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีเเละซี
    2. หลีกเลี่ยงการสัมผัสเลือดเเละสารคัดหลั่งของผู้อื่นโดยตรง ควรสวมใส่ถุงมือยางทุกครั้ง เเละไม่ใช้ของใช้ส่วนตัวร่วมกับผู้อื่นเช่น ใบมีดโกนหนวด เข็มเจาะหู หรือเข็มที่ใช้ในการสักผิวหนัง
    3. หลีกเลี่ยงอาหารที่มีความเสี่ยงปนเปื้อนเชื้อรา เช่น ถั่วลิสง พริกแห้ง พริกป่น กระเทียม ข้าวโพดเเละเต้าเจี้ยว และไม่ควรเก็บอาหารจำพวกนี้ไว้เป็นเวลานานเพราะอาจมีเชื้อราที่ก่อมะเร็งได้
    4. หลีกเลี่ยงอาหารแปรรูปต่าง ๆ เช่น อาหารใส่สารกันบูด แฮม ไส้กรอก ปลาเค็ม กุนเชียง กุ้งเเห้ง
    5. ไม่รับประทานอาหารสุก ๆ ดิบ ๆ เช่น ปลาน้ำจืดที่ไม่ผ่านการปรุงสุก หรืออาหารหมัก เช่น ปลาร้า เเหนม ปลาจ่อม เพื่อป้องกันการเกิดพยาธิ
    6. งดดื่มสุราเเละงดสูบบุหรี่
    7. พักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ เเละรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ในปริมาณที่เหมาะสม

สรุป


มะเร็งตับปฐมภูมิชนิด HCC เป็นมะเร็งที่มีอัตราการตายสูงเเละไม่มีอาการในระยะเเรกเริ่ม ทำให้ผู้ป่วยส่วนหนึ่งมาพบแพทย์เมื่ออาการของโรคเข้าสู่ระยะลุกลามไปแล้ว การตรวจสุขภาพประจำปีเป็นประจำ และการฉีดวัคซีนจะช่วยป้องกันโรคมะเร็งตับได้ โดยหากตรวจพบได้ตั้งแต่ในระยะเเรก ๆ เเละระยะกลางเเล้วทำการรักษาต่อเนื่องกับทีมเเพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางเเละปฎิบัติตามคำเเนะนำของเเพทย์ ก็จะสามารถทำให้มีโอกาสหายขาดจากโรคมะเร็งตับได้สูงมาก


ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญกับ Praram 9 V ปรึกษาแพทย์ได้ทุกที่ผ่านทางวิดีโอคอล (Telemedicine)


เกี่ยวกับผู้เขียนบทความ

นพ. ปรเมษฐ์ เหลืองอ่อน

นพ. ปรเมษฐ์ เหลืองอ่อน

ศูนย์ศัลยกรรม

บทความที่เกี่ยวข้อง (10)

ดูทั้งหมด

ปัสสาวะบ่อย ไม่ใช่เรื่องเล็ก เสี่ยงโรคอันตรายบั่นทอนคุณภาพชีวิต

ปัสสาวะบ่อยเกิดได้จากหลายปัจจัย ตั้งแต่การดื่มน้ำหรือของเหลวในปริมาณมาก ได้รับคาเฟอีนมาก การใช้ยา ไปจนถึงโรคที่เกี่ยวข้องกับทางเดินปัสสาวะ เรียนรู้ในบทความนี้!

การผ่าตัดเปลี่ยนผิวข้อเข่าเทียมบางส่วน ทางเลือกรักษาข้อเข่าเสื่อม แผลเล็ก ฟื้นตัวเร็ว

การผ่าตัดเปลี่ยนผิวข้อเข่าเทียมบางส่วน หรือ UKA เป็นการผ่าตัดรักษาโรคข้อเข่าเสื่อม โดยเอาผิวข้อเฉพาะส่วนที่สึกหรอออก และเก็บผิวข้อเข่าส่วนที่ยังมีสภาพดีไว้ ทำให้ผู้ป่วยไม่ต้องใช้เวลาปรับตัวนาน ในการกลับไปใช้ข้อเข่าได้เหมือนธรรมชาติ

คุณเป็นโรคภูมิแพ้…จริงหรือ…?

คนทั่วไปเมื่อมีอาการคัดจมูก น้ำมูกไหลเรื้อรัง หรือเป็นๆ หายๆ มักจะบอกว่า เป็นโรคภูมิแพ้ หรือไม่ก็เข้าใจว่าตนเป็นหวัด หวัด เกิดจากการติดเชื้อไวรัส คนทั่วไปมักเป็นได้ปีละ 4 – 5 ครั้งก็มากเกินปกติแล้ว อาการหวัดมักเป็นอยู่ 3 – 4 วัน

โรคไข้อีดำอีแดง โรคที่เกิดจากพิษของเชื้อแบคทีเรีย

ข้อมูลจาก สมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทย โรคไข้อีดำอีแดงหรือ scarlet fever เป็นโรคที่เกิดจากพิษของเชื้อแบคทีเรียชื่อ #สเตร็ปโตคอคคัสชนิดเอ ทำให้มีผื่นแดง ตามตัวร่วมกับคอหอยหรือทอนซิลอักเสบ พบบ่อยในช่วงอายุระหว่าง 5-15 ปี

วัคซีนปอดอักเสบนิวโมคอกคัสชนิดใหม่ 20 สายพันธุ์ (PCV 20)

โรคปอดอักเสบจากเชื้อนิวโมคอกคัสเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียสเตรปโตคอคคัสนิวโมเนียอี (Streptococcus pneumoniae) ส่วนใหญ่เชื้อจะพบอยู่ในโพรงจมูกและลำคอ สามารถแพร่กระจายผ่านการสัมผัสสารคัดหลั่งทางละอองฝอยทางการไอหรือจาม เป็นหนึ่งในเชื้อที่ทำให้เกิดปอดอักเสบที่พบบ่อย ทั้งในเด็ก ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ

โรคแอนแทรกซ์ (Anthrax) โรคติดต่อจากสัตว์สู่คน

โรคแอนแทรกซ์ หรือชาวบ้านเรียกว่าโรคกาลี เป็นโรคที่รู้จักกันมาแต่โบราณกาล แอนแทรกซ์นับว่าเป็นโรคระบาดสำคัญโรคหนึ่งในพระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ. 2499 เป็นโรคติดต่ออันตรายร้ายแรงที่เกิดขึ้นได้ในสัตว์กินหญ้าแทบทุกชนิด ทั้งสัตว์ป่า เช่น ช้าง เก้ง กวาง และสัตว์เลี้ยง เช่น โค กระบือ แพะ แกะ แล้วติดต่อไปยังคนและสัตว์อื่น

บอลลูนหัวใจ: แก้ปัญหาหลอดเลือดหัวใจตีบ โดยไม่ต้องผ่าตัดใหญ่

การทำบอลลูนหัวใจหรือ PCI เป็นการรักษาที่มีประสิทธิภาพในการรักษาภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบ ช่วยให้เลือดไหลเวียนได้สะดวก ลดอาการเจ็บหน้าอก และลดความเสี่ยงของหัวใจวาย เป็นการเปิดหลอดเลือดโดยไม่ต้องผ่าตัดใหญ่ ทำให้ผู้ป่วยฟื้นตัวเร็วขึ้น อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยยังคงต้องดูแลสุขภาพ หมั่นออกกำลังกาย รับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ และลดปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ เพื่อรักษาสุขภาพของหัวใจในระยะยาว

ลิ้นหัวใจเทียมคืออะไร? ทำไมต้องเปลี่ยน? และอะไรบ้างที่คุณควรรู้?

การผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจเทียมเป็นหนึ่งในวิธีการรักษาสำหรับผู้ป่วยที่มีปัญหาลิ้นหัวใจผิดปกติ และการผ่าตัดเปลี่ยนลินหัวใจจะช่วยฟื้นฟูการทำงานของหัวใจให้กลับมาใกล้เคียงปกติ อย่างไรก็ตามผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาจะต้องได้รับการประเมินอย่างละเอียด เพื่อเลือกชนิดของลิ้นหัวใจที่เหมาะสม

หัวใจล้มเหลว อาการเป็นอย่างไร ป้องกันได้อย่างไรบ้าง

หัวใจล้มเหลวคือภาวะที่หัวใจไม่สามารถสูบฉีดเลือดได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้ร่างกายได้รับออกซิเจนและสารอาหารไม่เพียงพอ อาการสำคัญที่ควรสังเกต ได้แก่ เหนื่อยง่าย หายใจลำบาก ขาบวม และน้ำหนักเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่มักเกี่ยวข้องกับโรคหัวใจและหลอดเลือด การวินิจฉัยและรักษาอย่างรวดเร็วจะช่วยลดความเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนรุนแรง

การตัดชิ้นเนื้อส่งตรวจมะเร็ง (Biopsy) หมดความสงสัย วินิจฉัยได้อย่างแม่นยำ

การตัดชิ้นเนื้อส่งตรวจมะเร็ง (Biopsy) คือวิธีที่นิยมในการวินิจฉัยมะเร็ง เนื่องจากความแม่นยำและละเอียดในการบ่งชี้ประเภทของมะเร็ง ทำได้อย่างไร? บทความนี้มีคำตอบ!

Copyright © 2024 All Rights Reserved | Praram 9 Hospital