บทความสุขภาพ
Knowledge
เนื้องอกมดลูก เป็นอีกโรคทางนรีเวชที่พบได้บ่อย อย่างไรก็ตาม ในผู้ป่วยเนื้องอกมดลูกจะมีเพียงบางส่วนเท่านั้นที่แสดงอาการ และมีเพียงส่วนน้อยเท่านั้นที่พบเนื้องอกเป็นเนื้อร้าย แต่ทั้งนี้ไม่ควรปล่อยปละละเลยและคอยติดตามอาการอยู่เสมอ เพื่อรับการรักษาได้ทันท่วงที และกลับมามีคุณภาพชีวิตที่ดีเป็นปกติอีกครั้ง
Key Takeaways
เนื้องอกมดลูก คือลักษณะของเซลล์กล้ามเนื้อมดลูกเจริญผิดปกติ เกิดเป็นก้อนที่ผนังมดลูก ซึ่งก้อนที่เกิดขึ้นอาจเบียดทำให้มดลูกเสียรูป โดยก้อนเนื้องอกมดลูกอาจนูนออกมาจากผิวนอกมดลูกหรือด้านในโพรงมดลูกก็ได้
เนื้องอกมดลูกที่เกิดขึ้นอาจมีขนาดโตขึ้นเรื่อย ๆ หรืออาจมีขนาดคงที่ก็ได้ และไม่จำเป็นจะต้องพบเพียง 1 ก้อน เพราะเนื้องอกมดลูกสามารถเกิดขึ้นหลายก้อนพร้อมกัน โดยผู้หญิง 2 ใน 3 มักจะมีเนื้องอกมดลูกอย่างน้อย 1 ก้อนในช่วงเวลาหนึ่งของชีวิต ซึ่งสามารถพบได้มากขึ้นตามอายุจนถึงวัยหมดประจำเดือน โดยส่วนใหญ่เนื้องอกจะฝ่อไปเองตามการลดลงของฮอร์โมนเพศหญิง
การตรวจพบเนื้องอกที่มดลูกไม่ได้เป็นการแสดงแนวโน้มของการเกิดมะเร็งที่สูงขึ้น แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าการมีเนื้องอกมดลูกจะไม่เป็นอันตราย เพราะการเปลี่ยนเเปลงของโครงสร้างมดลูกนี้สามารถทำให้เกิดการกดทับอวัยวะอื่น ๆ ที่อยู่รอบ ๆ จนส่งผลกระทบต่อการทำงานของอวัยวะนั้น ๆ นอกจากนี้อาจทำให้มีเลือดออกผิดปกติ หรือส่งผลต่อการตั้งครรภ์ได้เช่นกัน
เนื้องอกมดลูกสามารถแบ่งชนิดได้ตามตำแหน่งที่เกิดเนื้องอกมดลูกขึ้น ซึ่งมีอยู่ 3 ชนิด ได้แก่
ในปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุการเกิดเนื้องอกมดลูกที่แน่ชัด แต่พบว่าปัจจัยสำคัญของการเกิดเนื้องอกมีความเกี่ยวข้องกับฮอร์โมนเพศหญิงอย่างเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรน เนื่องจากเนื้องอกมดลูกพบได้บ่อยในวัยเจริญพันธุ์ และฝ่อตัวลงไปในช่วงวัยหมดประจำเดือนซึ่งเป็นช่วงที่ฮอร์โมนเพศลดลง
นอกจากนี้การเกิดเนื้องอกมดลูกยังมีโอกาสพบได้เมื่อมีประวัติคนในครอบครัวเป็นเนื้องอกมดลูก และยังมีโอกาสพบได้มากขึ้นในผู้มีปัจจัยเสี่ยง เช่น การขาดสารอาหารบางชนิด การมีน้ำหนักตัวมาก ฯลฯ
อาการที่พบในผู้ที่มีเนื้องอกมดลูกนั้นขึ้นอยู่กับตำแหน่งและขนาดของก้อนเนื้อในมดลูก ซึ่งอาจพบอาการดังต่อไปนี้
ทั้งนี้ผู้ป่วยส่วนมากมักไม่มีอาการแสดงที่ชัดเจน หรือไม่มีอาการผิดปกติเลย จึงอาจทำให้ไม่ทราบว่ามีเนื้องอกในมดลูก
สูตินรีแพทย์จะทำการซักประวัติและอาการของผู้ป่วยเป็นอันดับแรก เพื่อคัดกรองเบื้องต้น จากนั้นหากพบความเสี่ยงที่จะเกิดเนื้องอก แพทย์จะขอตรวจภายในและอัลตราซาวนด์เพื่อดูว่ามีเนื้องอกมดลูกหรือไม่ มีที่บริเวณไหน มีขนาดเท่าไหร่ ซึ่งสามารถทำได้ทั้งการอัลตราซาวนด์ผ่านหน้าท้อง หรือผ่านทางช่องคลอด ทั้งนี้ หากแพทย์สงสัยว่าเนื้องอกมดลูกอาจเป็นเนื้อร้าย อาจมีการขอเก็บชิ้นเนื้อเพื่อส่งตรวจในห้องปฏิบัติการต่อไป
การรักษาเนื้องอกมดลูกนั้น แพทย์จะพิจารณาจากตำแหน่งและขนาดของเนื้องอกในมดลูก รวมถึงอาการและภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นจากเนื้องอกมดลูก ซึ่งมีแนวทางการรักษาดังต่อไปนี้
เนื้องอกมดลูกเกิดขึ้นได้เองโดยไม่ทราบสาเหตุ จึงไม่มีวิธีป้องกันการเกิดเนื้องอกมดลูกที่แน่นอน แต่สามารถลดปัจจัยที่อาจทำให้เกิดเนื้องอกมดลูกได้โดยควบคุมฮอร์โมนให้อยู่ในระดับที่ปกติ ซึ่งสามารถทำได้ดังนี้
เนื้องอกมดลูกเป็นความผิดปกติที่เกิดขึ้นได้บ่อยในผู้หญิงวัยเจริญพันธุ์ ส่วนมากมักไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ทั้งนี้ หากเนื้องอกมีความผิดปกติ เช่น มีขนาดใหญ่มาก มีเลือดออกทางช่องคลอดในปริมาณมาก หรือเริ่มส่งผลกระทบต่ออวัยวะข้างเคียง การผ่าตัดเนื้องอกเป็นหนทางรักษาที่มีประสิทธิภาพที่สุด
ที่โรงพยาบาลพระรามเก้า พร้อมดูแลผู้ป่วยโดยคำนึงถึงคุณภาพชีวิตที่ดีหลังรักษา ด้วยทางเลือกผ่าตัดมดลูกแบบส่องกล้อง Minimally Invasive Surgery ที่มีความปลอดภัย ฟื้นตัวได้ไว และกลับมาใช้ชีวิตประจำวันได้เร็วขึ้น
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
Facebook : Praram 9 hospital
Line : @Praram9Hospital
โทร. 1270
เนื้องอกมดลูกสามารถพัฒนาเป็นมะเร็งได้ แต่มีโอกาสน้อยมาก จากการศึกษาพบว่ามีโอกาสน้อยกว่าร้อยละ 0.5 เท่านั้น
ขึ้นอยู่กับขนาดและตำแหน่งที่เกิดเนื้องอกมดลูก หากเนื้องอกมดลูกมีขนาดเล็กและไม่ได้อยู่ในโพรงมดลูกก็ยังสามารถตั้งครรภ์ได้ แต่หากเนื้องอกมดลูกอยู่ในโพรงมดลูก อาจทำให้เกิดปัญหาตั้งครรภ์ยากและแท้งง่าย เนื่องจากเนื้องอกมดลูกอาจไปขัดขวางการฝังตัวของตัวอ่อน
References
Brazier, Y. (2024, January 3). Fibroids: Everything you need to know. MedicalNewsToday. https://www.medicalnewstoday.com/articles/151405
Macon, BL & Yu, W. (2023, October 30). All About Fibroids (Uterine Fibroids). healthline. https://www.healthline.com/health/uterine-fibroids
Key, AP. (2024, January 29). Uterine Fibroids. WebMD. https://www.webmd.com/women/uterine-fibroids/uterine-fibroids
Overview: Fibroids. (n.d.). NHS. https://www.nhs.uk/conditions/fibroids/
เกี่ยวกับผู้เขียนบทความ
แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง (0)
ดูทั้งหมด
บทความที่เกี่ยวข้อง (10)
ดูทั้งหมด
Copyright © 2024 All Rights Reserved | Praram 9 Hospital