บทความสุขภาพ

Knowledge

Panic เราต้องรอด ในวิกฤต COVID-19

พญ. พิยะดา หาชัยภูมิ

ในที่ยุคข่าวสารเข้าถึงง่าย การรับรู้ข่าวสารง่ายเหมือนปลอกกล้วยเข้าปาก อีกทั้งการนำเสนอข่าว ยิ่งเป็น Hot topic ก็ยิ่งมีการนำเสนอกันถี่ยิบ พร้อมทั้งในโลกออนไลน์ยังมีการแชร์ข้อมูลข่าวสารหลากหลาย โดยเฉพาะข้อมูลข่าวสาร เรื่องการระบาดของไวรัส COVID-19 จนหลายคนมีภาวะตื่นตระหนก กังวลใจอย่างมาก จนอาจเข้าข่าย ภาวะแพนิค


แพทย์หญิงพิยะดา หาชัยภูมิ จิตแพทย์ โรงพยาบาลพระรามเก้า ให้ข้อมูลว่า แพนิค เป็นภาวะที่มีอาการจากระบบประสาทอัตโนมัติสั่งการผิดปกติโดยเฉียบพลัน เป็นกลุ่มอาการของคนที่มีความวิตกกังวล ที่เริ่มจากการสะสมความเครียด จิตตก จนไปสู่ภาวะตื่นตระหนกจนสุดท้ายกลายเป็น แพนิค


วิธีสังเกตตัวเองว่า เรามีความเสี่ยงเป็นแพนิคหรือไม่นั้น คือ หากเราหมกมุ่น กับข้อมูลข่าวสารทั้งเรื่องจริงหรือเรื่องไม่จริง ตลอดเวลา จะทำอะไรก็ครุ่นคิดแต่เรื่องโรคระบาด จนเรื่องดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต กระทบการใช้ชีวิต ทั้งการงาน การกิน การนอน ไม่มีสมาธิ กังวล จิตตก จนมีโอกาสนำไปสู่ โรคแพนิค ได้ดังนั้นดูแลตัวเองอย่างไร เพื่อให้รับมือกับภาวะแพนิค คือ


  • ต้องรู้ตัวเอง ว่า ตอนนี้ใจของเราเปราะบาง ซึ่งเมื่อใจเราเปราะปราง กายเราก็เปราะบางด้วย อาจมีผลต่อภูมิคุ้มกัน อย่างนั้น เราต้องรู้ว่าช่วงนี้ชีวิตเราเป็นแบบไหน เพื่อจัดการอารมณ์และความคิดของตัวเอง
  • ลดการรับข้อมูลข่าวสาร จำกัดเวลาในการเสพสื่อ ที่จะทำให้เรามีอารมณ์และความคิดที่ผิดปกติ ยิ่งสถานการณ์ในช่วงนี้ หลายคน คนมองว่าเป็นเรื่องราวใหม่ สมองคนเราไม่ชอบความไม่คุ้นเคยถึงแม้ว่ามันจะเป็นเรื่องปกติ ที่ควรทำ แต่หลายคนไม่เคยทำแบบนี้มาก่อน จนเกิดความไม่คุ้นเคย และรู้สึกว่า ไม่รู้ว่าจะสิ้นสุดเมื่อไร จบลงอย่างไร ดังนั้นการรับข้อมูลให้น้อยและแม่นยำเป็นสิ่งที่ช่วยลดความกังวลใจได้
  • รับข้อมูลข่าวสาร หลังทำหน้าที่ ทำงาน สำคัญต่างๆในแต่ละวันเสร็จสิ้น
  • เมื่อมีความคิดหมกมุ่น ฟุ้งซ่าน เรื่องการระบาดของไวรัสจนเกิดความกังวล ให้รับรู้แล้วเปลี่ยนความกังลวนี้มาเป็นการปฏิบัติให้ถูกต้อง เช่น ล้างมือ กินร้อน ปฏิบัติตามสุขอนามัย ก็จะสามารถสร้างภูมิคุ้มกันทางกายให้เรา แล้วเราก็จะสร้างภูมิคุ้มกันทางใจไปด้วย
  • เมื่อมีอาการแพนิค ตื่นตระหนก วิตกกังวล ให้เราบอกตัวเองว่า ไม่เป็นอะไร และจัดช่วงเวลาผ่อนคลายร่างกายและอารมณ์ เพื่อลดความเครียดจนนำมาสะสม

หากเราปฏิบัติตัวตามคำแนะนำของกรมควบคุมโรคได้ ในด้านโรคระบาด เราเองก็จะสามารถรับมือ สร้างภูมิกันทางร่างกายและจิตใจ เพื่อให้ผ่านช่วงเวลาวิกฤตินี้ไปพร้อมกัน

เกี่ยวกับผู้เขียนบทความ

พญ. พิยะดา หาชัยภูมิ

พญ. พิยะดา หาชัยภูมิ

Mind Center

บทความที่เกี่ยวข้อง (10)

ดูทั้งหมด

“เสื่อม ปวด อ้วน เครียด” 4 ปัญหาสุขภาพมาแรงในปัจจุบัน

ในยุคปัจจุบันที่มีการเปลี่ยนแปลงในหลากหลายด้าน การมีสุขภาพดี เพื่อต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดอย่างรวดเร็ว ย่อมเป็นสิ่งที่ทุกคนต้องการ

Extraordinary Attorney Woo Ep.1 “รักยิ่งใหญ่จากชายคนหนึ่ง”

วิเคราะห์ “อูยองอู” เด็กที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคออทิสติก ผ่านซีรีย์ Extraordinary Attorney Woo โดยจิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น รพ.พระรามเก้าที่ดูแลเด็กออทิสติกมายาวนาน

จิตเวช เด็ก และ วัยรุ่น: ลูกสาวอายุ 4 ขวบ ชอบเถียง และดื้อมาก ขัดใจก็จะร้องไห้ทำอย่างไรดีคะ

จิตเวช เด็ก และ วัยรุ่น: ลูกสาวอายุ 4 ขวบ ชอบเถียง และดื้อมาก ขัดใจก็จะร้องไห้ทำอย่างไรดีคะคำถาม ลูกสาวอายุ 4 ขวบ ชอบเถียง และดื้อมาก ทำอะไรขัดใจก็จะร้องไห้ทำอย่างไรดีคะ ตอนนี้ไม่มีใครปราบได้เลยค่ะ คำตอบ โดย แพทย์หญิงสุภาพร ปิตวิวัฒนานนท์

ใครนอนไม่หลับ ฟังทางนี้!

“คุณเคยเป็นแบบนี้ไหม?” นอนหลับยาก หลับไม่สนิท ตื่นกลางดึกบ่อย ตื่นเช้ากว่าปกติ นอนไม่หลับเรื้อรัง รู้สึกไม่สดชื่นเมื่อตื่นนอน ในช่วงเวลาหนึ่งของชีวิต หลายท่านอาจเคยประสบปัญหาการนอนไม่หลับ

กินอย่างไรห่างไกลความเครียด

เซโรโทนิน สารสื่อประสาทต้านเครียด การมีสารสื่อประสาทในสมองที่มีชื่อว่า ซีโรโทนิน (serotonin) อย่างเพียงพอจะช่วยให้อารมณ์ดี รู้สึกผ่อนคลายและสงบ แต่ในสภาวะเครียดซีโรโทนินจะลดลง ทำให้นอนไม่หลับ หงุดหงิด ขาดสมาธิ และซึมเศร้า

จิตเวช: ห้ามบ่อยๆ หรือจะปล่อยตามใจ

จิตเวช: ห้ามบ่อยๆ หรือจะปล่อยตามใจ ห้ามบ่อยๆ หรือจะปล่อยตามใจ โดย พญ.พยอม อิงคตานุวัฒน์ การเลี้ยงลูกถึงแม้จะเป็นเรื่องของชีวภาพ มนุษย์ไม่ว่าอยู่ที่มุมใดของโลกเมื่อมีลูกก็จะเลี้ยงลูกเป็น หากแต่การเลี้ยงลูกย่อมแตกต่างตามภูมิภาคและวัฒนธรรม

จิตเวช: เห็น…(จิต)…ใจคนแก่บ้าง

จิตเวช: เห็น…(จิต)…ใจคนแก่บ้าง เห็น…(จิต)…ใจคนแก่บ้าง โดย นพ.ประทักษ์ ลิขิตเลอสรวง โปรดอย่าเข้าใจผิดคิดว่าเป็นเรื่องพรรค์นั้นนะครับ ผมหมายถึง “ปัญหาสุขภาพจิตของผู้สูงอายุ” ต่างหาก

จิตเวช: นอน… ใครว่าไม่สำคัญ

จิตเวช: นอน… ใครว่าไม่สำคัญ นอน… ใครว่าไม่สำคัญ น.พ.ประทักษ์ ลิขิตเลอสรวง จิตแพทย์ เมื่อก่อนหากมีใครกล่าวว่า “ กินได้นอนหลับ ” ย่อมถือว่าโชคดีมหาศาลแล้ว ผมก็เคยเชื่อตามนั้น แต่เดี๋ยวนี้ เราคำนึงถึงคุณภาพชีวิตกันมากขึ้น

จิตเวช: ยาบ้า ยาอี ยาม้า เหมือนกันหรือต่างกันตรงไหนคะ

ตเวช: ยาบ้า ยาอี ยาม้า เหมือนกันหรือต่างกันตรงไหนคะ คำถาม ยาบ้า ยาอี ยาม้า เหมือนกันหรือต่างกันตรงไหนคะ ยาพวกนี้มามีส่วนทำอะไรในร่างกายหรือจิตใจเราคะจึงทำให้เราติดมัน คำตอบ โดย นายแพทย์ประทักษ์ ลิขิตเลอสรวง ยาบ้า หรือ ยาม้า เป็นชื่อสารเสพติด

ไอคิว (IQ)

ไอคิวหรือความสามารถทางเชาว์ปัญญาของแต่ละคนมีมาแต่กำเนิด โดยถ่ายทอดจากพันธุกรรมต่อจากพ่อแม่ ไอคิวสามารถพัฒนาให้สมบูรณ์ขึ้นได้ตามช่วงอายุ ซึ่งมีปัจจัยต่าง ๆ เข้ามาเกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นความสมบูรณ์ของระบบประสาทและสมอง รวมถึงสภาพแวดล้อมที่ช่วยส่งเสริมและกระตุ้นการเรียนรู้ ทำให้เกิดพัฒนาการทางไอคิวที่ดีขึ้น

Copyright © 2024 All Rights Reserved | Praram 9 Hospital