บทความสุขภาพ

Knowledge

จิตเวช: ลูกชายซึมแต่ติดละคร เป็นอาการออทิสทิคหรือไม่

พญ. ดุจฤดี อภิวงศ์

จิตเวช: ลูกชายซึมแต่ติดละคร เป็นอาการออทิสทิคหรือไม่ น่ากลัว และเลี้ยงดูอย่างไร

คำถามคุณพายัพ


ลูกชายผมเป็นเด็กซึมๆ ไม่ค่อยชอบพูดกับใคร แต่เวลาดูโทรทัศน์ เขามีสมาธิดีมากและมีอารมณ์อินกับเรื่องราวในข่าว ในหนังในละครมากกว่าผู้ใหญ่เสียอีก ผิดปกติหรือไม่ครับ

อาการออทิสทิคของเด็กแปดขวบจะเป็นอย่างไรบ้างครับ น่ากลัว หรือเลี้ยงลูกแบบนี้ยากไหมครับ

คำตอบ โดย แพทย์หญิงสุภาพร ปิตวิวัฒนานนท์ (จิตแพทย์เด็ก และวัยรุ่น)


ขอตอบปัญหาคุณพายัพดังนี้ เข้าใจว่าคุณพายัพคงสังสัยว่าลูกจะเข้าเข้าข่ายเด็กออทิสทิคหรือไม่ เด็กออทิสทิคเป็นกลุ่มที่มีความผิดปกติของพัฒนาการด้านทักษะทางสังคมและทางภาษา และมักมีพฤติกรรมที่ซ้ำๆ แปลกๆ ร่วมด้วย แต่ความรุนแรงก็มีแตกต่างกันไป ในเด็กที่อาการไม่รุนแรงอาการอาจแสดงออกช้าและไม่ชัดเจนในวัยเด็กเล็ก ทำให้เพิ่งมาสังเกตุเห็นความแปลกเมื่อเข้าสู่วัยเรียน เด็กมักจะมีความพอใจจะเล่นคนเดียวมากกว่าสนใจที่จะสัมพันธ์กับคนรอบข้าง เด็กอาจเข้ากลุ่มเพื่อนได้อย่างผิวเผิน และมักเป็นผู้ตามเด็ก มักจะหมกมุ่นอยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งเสมอ และไม่ค่อยรับรู้ว่าผู้อื่นอยู่ใกล้ๆ เขา ไม่รับรู้ความรู้สึกของผู้อื่น เด็กที่มีอาการไม่รุนแรงเมื่อค่อยๆ โตขึ้นเขาสามารถมีสัมพันธภาพกับคนในครอบครัวได้แต่มักจะห่างเหิน แยกตัวมากกว่าเด็กในวัยเดียวกัน ในการดูแลเด็กเหล่านี้ต้องอาศัยความช่วยเหลือหลายๆ ด้านพร้อมกันไป พ่อแม่จะต้องเข้าใจธรรมชาติของโรค และช่วยกระตุ้นให้เพิ่มทักษะทางสังคมและภาษา ช่วยกันลดความความเครียดทั้งกับตัวเด็กเองและครอบครัว


ถ้าอาการเหล่านี้คล้ายกับลักษณะของลูก หมอขอแนะนำให้คุณพายัพพาเด็กมาปรึกษากุมารแพทย์ที่ดูแลอยู่ เพื่อส่งต่อพบจิตแพทย์เด็กค่ะ เด็กออทิสทิคที่ได้รับการดูแลรักษาจะช่วยลดปัญหาที่จะเกิดตามมาได้ค่ะ



เกี่ยวกับผู้เขียนบทความ

บทความที่เกี่ยวข้อง (10)

ดูทั้งหมด

“เสื่อม ปวด อ้วน เครียด” 4 ปัญหาสุขภาพมาแรงในปัจจุบัน

ในยุคปัจจุบันที่มีการเปลี่ยนแปลงในหลากหลายด้าน การมีสุขภาพดี เพื่อต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดอย่างรวดเร็ว ย่อมเป็นสิ่งที่ทุกคนต้องการ

Extraordinary Attorney Woo Ep.1 “รักยิ่งใหญ่จากชายคนหนึ่ง”

วิเคราะห์ “อูยองอู” เด็กที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคออทิสติก ผ่านซีรีย์ Extraordinary Attorney Woo โดยจิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น รพ.พระรามเก้าที่ดูแลเด็กออทิสติกมายาวนาน

จิตเวช เด็ก และ วัยรุ่น: ลูกสาวอายุ 4 ขวบ ชอบเถียง และดื้อมาก ขัดใจก็จะร้องไห้ทำอย่างไรดีคะ

จิตเวช เด็ก และ วัยรุ่น: ลูกสาวอายุ 4 ขวบ ชอบเถียง และดื้อมาก ขัดใจก็จะร้องไห้ทำอย่างไรดีคะคำถาม ลูกสาวอายุ 4 ขวบ ชอบเถียง และดื้อมาก ทำอะไรขัดใจก็จะร้องไห้ทำอย่างไรดีคะ ตอนนี้ไม่มีใครปราบได้เลยค่ะ คำตอบ โดย แพทย์หญิงสุภาพร ปิตวิวัฒนานนท์

ใครนอนไม่หลับ ฟังทางนี้!

“คุณเคยเป็นแบบนี้ไหม?” นอนหลับยาก หลับไม่สนิท ตื่นกลางดึกบ่อย ตื่นเช้ากว่าปกติ นอนไม่หลับเรื้อรัง รู้สึกไม่สดชื่นเมื่อตื่นนอน ในช่วงเวลาหนึ่งของชีวิต หลายท่านอาจเคยประสบปัญหาการนอนไม่หลับ

กินอย่างไรห่างไกลความเครียด

เซโรโทนิน สารสื่อประสาทต้านเครียด การมีสารสื่อประสาทในสมองที่มีชื่อว่า ซีโรโทนิน (serotonin) อย่างเพียงพอจะช่วยให้อารมณ์ดี รู้สึกผ่อนคลายและสงบ แต่ในสภาวะเครียดซีโรโทนินจะลดลง ทำให้นอนไม่หลับ หงุดหงิด ขาดสมาธิ และซึมเศร้า

จิตเวช: ห้ามบ่อยๆ หรือจะปล่อยตามใจ

จิตเวช: ห้ามบ่อยๆ หรือจะปล่อยตามใจ ห้ามบ่อยๆ หรือจะปล่อยตามใจ โดย พญ.พยอม อิงคตานุวัฒน์ การเลี้ยงลูกถึงแม้จะเป็นเรื่องของชีวภาพ มนุษย์ไม่ว่าอยู่ที่มุมใดของโลกเมื่อมีลูกก็จะเลี้ยงลูกเป็น หากแต่การเลี้ยงลูกย่อมแตกต่างตามภูมิภาคและวัฒนธรรม

จิตเวช: เห็น…(จิต)…ใจคนแก่บ้าง

จิตเวช: เห็น…(จิต)…ใจคนแก่บ้าง เห็น…(จิต)…ใจคนแก่บ้าง โดย นพ.ประทักษ์ ลิขิตเลอสรวง โปรดอย่าเข้าใจผิดคิดว่าเป็นเรื่องพรรค์นั้นนะครับ ผมหมายถึง “ปัญหาสุขภาพจิตของผู้สูงอายุ” ต่างหาก

จิตเวช: นอน… ใครว่าไม่สำคัญ

จิตเวช: นอน… ใครว่าไม่สำคัญ นอน… ใครว่าไม่สำคัญ น.พ.ประทักษ์ ลิขิตเลอสรวง จิตแพทย์ เมื่อก่อนหากมีใครกล่าวว่า “ กินได้นอนหลับ ” ย่อมถือว่าโชคดีมหาศาลแล้ว ผมก็เคยเชื่อตามนั้น แต่เดี๋ยวนี้ เราคำนึงถึงคุณภาพชีวิตกันมากขึ้น

จิตเวช: ยาบ้า ยาอี ยาม้า เหมือนกันหรือต่างกันตรงไหนคะ

ตเวช: ยาบ้า ยาอี ยาม้า เหมือนกันหรือต่างกันตรงไหนคะ คำถาม ยาบ้า ยาอี ยาม้า เหมือนกันหรือต่างกันตรงไหนคะ ยาพวกนี้มามีส่วนทำอะไรในร่างกายหรือจิตใจเราคะจึงทำให้เราติดมัน คำตอบ โดย นายแพทย์ประทักษ์ ลิขิตเลอสรวง ยาบ้า หรือ ยาม้า เป็นชื่อสารเสพติด

ไอคิว (IQ)

ไอคิวหรือความสามารถทางเชาว์ปัญญาของแต่ละคนมีมาแต่กำเนิด โดยถ่ายทอดจากพันธุกรรมต่อจากพ่อแม่ ไอคิวสามารถพัฒนาให้สมบูรณ์ขึ้นได้ตามช่วงอายุ ซึ่งมีปัจจัยต่าง ๆ เข้ามาเกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นความสมบูรณ์ของระบบประสาทและสมอง รวมถึงสภาพแวดล้อมที่ช่วยส่งเสริมและกระตุ้นการเรียนรู้ ทำให้เกิดพัฒนาการทางไอคิวที่ดีขึ้น

Copyright © 2024 All Rights Reserved | Praram 9 Hospital