บทความสุขภาพ

Knowledge

จิตเวช: ทำอย่างไรดี ? เมื่อลูกพูดติด…ติด…อ่าง

ทำอย่างไรดี? เมื่อลูกพูดติด…ติด…อ่าง


โดย พญ.สุภานี อริยะโสภณวงศ์


คุณพ่อคุณแม่คงจะรู้สึกอึดอัดใจมากเมื่อพบว่า ลูกน้อยอายุ 3 – 5 ปี ของคุณพูดติดอ่าง บางคนอาจทนที่จะรับฟังเรื่องที่ลูกพูดต่อไปอีกไม่ได้ ต้องบอกให้ลูกพูดใหม่ แต่พอลูกพูดใหม่ก็พูดติดอีก คุณพ่อคุณแม่บางคนอดทนต่อลักษณะที่ลูกพูดติดอ่างไม่ได้ ต้องดุหรือทำโทษเด็กทุกครั้งที่ได้ยิน บางคนก็ทำท่าเอาใจช่วยคอยบอกให้ลูกพูดช้า ๆ ชัด ๆ สิ่งเหล่านี้แทนที่จะช่วยให้ลูกพูดคล่องกลับเป็นการเน้นย้ำทำให้ลูกพูดติดอ่างมากขึ้นกว่าเดิม


การพูดติดอ่างของเด็กเล็กในช่วงอายุ 3 – 5 ปีนั้น ถือเป็นลักษณะการพูดไม่คล่องโดยปกติของเด็ก เนื่องจากในช่วงนี้เด็กจะมีพัฒนาการด้านภาษาในอัตราที่รวดเร็วมาก เด็กจึงอยากที่จะพูดแสดงความรู้ความเข้าใจของตนเองต่อสิ่งต่างๆ แต่อวัยวะในการพูดของเด็กยังทำงานได้ไม่คล่องแคล่ว และเด็กยังรู้คำศัพท์ในจำนวนจำกัด ดังนั้นเด็กจึงต้องเสียเวลาหยุดคิดคำศัพท์ และจัดลำดับเรื่องเพื่อที่จะพูด ทำให้การพูดของเด็กมีการสะดุดชะงักเป็นช่วงๆ เวลาที่เขาจะเล่าเรื่องยาวๆ ให้ผู้ใหญ่ฟัง ถ้าผู้ใหญ่แสดงทีท่ากังวลใจหรือมีท่าทางที่แปลกไปจากเดิมเวลาที่เด็กพูดติด เด็กจะสังเกตเห็นและพลอยกังวลใจไปกับการพูดติดของตนด้วย เด็กบางคนอาจรู้สึกว่าตนทำอะไรผิด พูดติด เกิดความไม่มั่นใจที่จะพูด ขลาดอายและแยกตัวไม่ยอมพูดกับใคร พอจะพูดก็เกิดความกังวลใจ และพูดติดมากยิ่งขึ้นจนกลายเป็นการพูดติดอ่างแบบถาวรไป


วิธีการที่พ่อแม่จะช่วยให้ลูกพูดได้คล่องขึ้นนั้น คือ การให้กำลังใจและช่วยให้เด็กเกิดความมั่นใจในการพูดของตนเอง เมื่อเวลาที่ลูกพูดกับเรา ก็ควรจะรอฟังลูกพูดจนจบด้วย ท่าทีปกติธรรมดา ไม่ทักเวลาที่ลูกพูดติด เมื่อลูกพูดจบแล้ว พ่อแม่จึงพูดทวนประโยคที่ลูกได้พูดไปนั้นอีกครั้งด้วยลักษณะการพูดที่ถูกต้องเพื่อให้ลูกดูเป็นตัวอย่าง โดยพูดคุยกันในลักษณะท่าทีเป็นธรรมชาติ ไม่ให้ลูกรู้สึกว่า พ่อแม่กำลังจ้องจับผิดหรือคอยจะแก้ไขเขา ในที่สุดลูกจะค่อยๆ ปรับเปลี่ยนลักษณะการพูดของตนจนสามารถพูดคล่องขึ้นได้

บทความที่เกี่ยวข้อง (10)

ดูทั้งหมด

รู้ทันต้อหิน โรคร้ายทำลายการมองเห็น รีบรักษาก่อนสายเกินแก้

ต้อหิน (Glaucoma) คือโรคตาที่มีสาเหตุจากขั้วประสาทตาเสื่อม ผู้ป่วยจะมีอาการปวดหัวปวดตา กระจกตาขุ่น การมองเห็นแย่ลง และค่อย ๆ สูญเสียการมองเห็นไปในที่สุด

Hypothyroidism คืออะไร? รู้ทันสาเหตุ อาการ และวิธีรักษา

Hypothyroidism คือ ภาวะพร่องฮอร์โมนไทรอยด์ หรือฮอร์โมนไทรอยด์ทำงานต่ำ ทำให้ระดับการเผาผลาญพลังงานลดลง และนำมาสู่การทำงานของระบบต่าง ๆ ผิดปกติ

รู้ทันอาการน้ำในหูไม่เท่ากัน ใครเวียนหัว บ้านหมุนบ่อยต้องระวัง

โรคน้ำในหูไม่เท่ากัน เป็นความผิดปกติของระบบน้ำในหูชั้นใน ซึ่งสามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ ทำให้ผู้ป่วยมีอาการ เวียนหัว บ้านหมุน ทรงตัวไม่อยู่ และการได้ยินผิดปกติ

หายใจไม่อิ่ม หายใจลำบาก สัญญาณอันตรายที่คุณไม่ควรมองข้าม

หายใจไม่อิ่ม เป็นอาการที่หลายคนเผชิญ อาจมีอาการแน่นหน้าอก หายใจไม่เต็มปอด หายใจลำบาก หัวใจเต้นเร็ว เหนื่อยง่าย บทนี้ความจะพาไปดูสาเหตุของอาการเหล่านี้กัน

ภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน อันตรายถึงชีวิตแบบไร้สัญญาณเตือน

หัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน (Sudden Cardiac Arrest) คือ ภาวะที่หัวใจหยุดทำงานกะทันหัน ทำให้หมดสติและเสียชีวิตในไม่กี่นาที จึงเป็นภาวะฉุกเฉินที่ต้องรับการรักษาทันที

อาการปวดเข่าคืออะไร มีวิธีป้องกันข้อเข่ามีอะไรบ้าง?

อาการปวดเข่าเป็นอาการที่เกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น ข้อเข่าเสื่อม และส่งผลต่อชีวิตประจำวันได้ การรู้ถึงสาเหตุ วิธีป้องกัน และการรักษาอาการปวดเข่าจึงเป็นเรื่องสำคัญ

EST คืออะไร? การตรวจสมรรถภาพหัวใจ Exercise Stress Test

EST (Exercise Stress Test) คือ การออกกำลังกายตรวจสมรรถภาพหัวใจ เป็นวิธีวินิจฉัยสุขภาพหัวใจเพื่อทำการรักษาต่อไป EST มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง? บทความนี้มีคำตอบ

ภาวะข้อไหล่หลุดคืออะไร รู้สาเหตุ อาการ และวิธีรักษาให้หายดี

ภาวะข้อไหล่หลุดคืออาการที่พบได้บ่อยในคนที่ใช้แรงเยอะ ๆ หรือเคยไหล่หลุดมาก่อน มาดูกันว่าอะไรคือสาเหตุที่ทำให้ไหล่หลุดได้บ้าง และจะต้องดูแลรักษาตัวอย่างไ

กระดูกคอเสื่อมอันตรายไหม? รู้จักอาการ สาเหตุ และการป้องกัน

โรคกระดูกคอเสื่อมอันตรายไหม? ชวนคุณมาทำความรู้จักกับอาการ สาเหตุ และการรักษา เพื่อป้องกันสุขภาพตัวเองไม่ให้กระดูกคอได้รับบาดเจ็บ

ผ่าตัดไส้เลื่อน วิธีรักษาไส้เลื่อนให้หายดี ลดเสี่ยงภาวะแทรกซ้อน

ผ่าตัดไส้เลื่อน เป็นวิธีรักษาไส้เลื่อนที่มีประสิทธิภาพ ปลอดภัย ไม่น่ากลัวอย่างที่คิด โดยเฉพาะการผ่าแบบส่องกล้อง จะช่วยป้องกันภาวะแทรกซ้อนรุนแรง และลดการเป็นซ้ำได้

Copyright © 2024 All Rights Reserved | Praram 9 Hospital