บทความสุขภาพ

Knowledge

สารกัมมันตรังสีกับการกินไอโอดีน

เหตุการณ์กรณีที่โรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ของญี่ปุ่นมีการระเบิดและมีความกังวลเกี่ยวกับเกิดการรั่วไหลของสารกัมมันตรังสี ซึ่งขณะนั้นประเทศญี่ปุ่นได้แจกจ่ายไอโอดีนให้แก่ประชาชนที่อยู่ในบริเวณพื้นที่เสี่ยง


แล้วไอโอดีนเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องได้อย่างไร???…


ในร่างกายของคนเราจะมีต่อมไทรอยด์ที่ทำหน้าที่ดูดซึมสารไอโอดีน ซึ่งโดยปกติเราจะได้รับไอโอดีนจากเกลือปรุงอาหาร อาหารทะเลหรือสาหร่ายทะเล ซึ่งไอโอดีนที่เราได้รับกันมีชื่อทางเคมีว่า️โพแทสเซียมไอโอไดด์ หรือ KI


ทีนี้ปัญหาก็คือ สารกัมมันตรังสีที่รั่วไหลออกมานั้นจะมี ไอโอดีน-131 และ ซีเซียม-137 ปะปนอยู่ ซึ่งเมื่อเข้าสู่ร่างกายแล้ว ต่อมไทรอยด์ก็จะทำการดูดซึมเช่นเดียวกัน เนื่องจากต่อมไทรอยด์ไม่มีระบบตรวจสอบว่า นี่คือไอโอดีนที่ดีหรือไม่ดี


แล้วถ้าเรากิน KI เข้าไปก่อนล่ะ ?


ร่างกายก็ยังรับไอโอดีน-131 เข้าไปอยู่ดี เพียงแต่ต่อมไทรอยด์จะไม่ดูดซึมเข้าไป…เพราะมันเต็มแล้ว เปรียบเทียบต่อมไทรอยด์เป็นคลังเก็บสินค้า เมื่อมีสินค้าลอตแรกเข้าไป จนเต็ม ก็ไม่สามารถเก็บสินค้าลอตหลังได้อีก หรืออาจจะแทรกเข้าไปได้เพียงเล็กน้อย จึงเป็นเหตุผลให้เราต้องกินไอโอดีนที่ดีไว้ก่อน เพื่อให้เจ้าตัวร้ายที่มาทีหลังไม่มีที่อยู่


แล้วเราจะต้องกินบ่อยแค่ไหน?


โดยปกติร่างกายต้องการไอโอดีนปกติหรือ KI ในปริมาณ 150 ไมโครกรัมต่อวัน ดังนั้น ไม่ว่าปริมาณสารจะรั่วไหลมากแค่ไหน เราก็ควรจะกินไอโอดีนแค่วันละหนึ่งเม็ดก็พอ … อย่าลืมนะว่าเราได้รับสารไอโอดีนจากอาหารอื่น ๆ ที่กินด้วย


แต่อย่าเข้าใจว่าการกินไอโอดีนมาก ๆ จะดี…


การได้รับไอโอดีนปริมาณสูงเป็นเวลาติดต่อกันก่อให้เกิดอันตรายได้ แทนที่จะช่วยเรื่องคอหอยพอก คุณอาจเป็นโรคคอพอกเป็นพิษโดยไม่รู้ตัว


มีผลวิจัยออกมาว่า เด็กมีความเสี่ยงมากกว่าผู้ใหญ่ ที่เมื่อรับสารกัมมันตรังสีเข้าไปแล้วจะกลายเป็นมะเร็งไทรอยด์ โดยเฉพาะเด็กทารก ฉะนั้นถ้ามีไอโอดีนหนึ่งเม็ด คุณก็ควรยกให้เด็กคนนั้นไปเพราะเขาจำเป็นมากกว่า ยิ่งคุณเป็นผู้ใหญ่เท่าไหร่ ต่อมไทรอยด์ของคุณก็จะแข็งแรงและเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งน้อยลง


ฉะนั้นขอมาร์คไว้สามดอกจัน *** ว่าให้กินกรณีที่ฉุกเฉินจริง อยู่ในพื้นที่เสี่ยงจริง ๆ และไม่มีทางเลือกจริง ๆ คงไม่มีใครอยากให้สิ่งแปลกปลอมเข้าไปในร่างกายหรอกใช่ไหมคะ แม้สิ่งนั้นเราจะเรียกมันว่า ‘ยา’ ก็ตาม


และอย่าลืมว่าไอโอดีนที่กินเข้าไปไม่ใช่ยาวิเศษ มันอาจป้องกันโรคมะเร็งที่ต่อมไทรอยด์จากกัมมันตรังสีได้ แต่ไม่ได้ป้องกันคุณจากมะเร็งอื่น ก็สารกัมมันตรังสีที่ออกมาไม่ได้มีแต่ไอโอดีน เพราะฉะนั้นทางที่ดี พยายามอย่าสัมผัสกับสารพิษเป็นดีที่สุด หรือถ้าสัมผัสไปก็อย่าลืมรีบกลับมาล้างเนื้อล้างตัวให้สะอาด


แต่อย่าเพิ่งตกใจไป!! นี่เป็นแค่เรื่องทางทฤษฎีที่ควรรู้ไว้ แต่โอกาสที่เราจะสัมผัสสารกัมมันตรังสีในปริมาณที่สูงจนเกิดปัญหามีน้อยมาก

บทความที่เกี่ยวข้อง (10)

ดูทั้งหมด

รู้ทันต้อหิน โรคร้ายทำลายการมองเห็น รีบรักษาก่อนสายเกินแก้

ต้อหิน (Glaucoma) คือโรคตาที่มีสาเหตุจากขั้วประสาทตาเสื่อม ผู้ป่วยจะมีอาการปวดหัวปวดตา กระจกตาขุ่น การมองเห็นแย่ลง และค่อย ๆ สูญเสียการมองเห็นไปในที่สุด

Hypothyroidism คืออะไร? รู้ทันสาเหตุ อาการ และวิธีรักษา

Hypothyroidism คือ ภาวะพร่องฮอร์โมนไทรอยด์ หรือฮอร์โมนไทรอยด์ทำงานต่ำ ทำให้ระดับการเผาผลาญพลังงานลดลง และนำมาสู่การทำงานของระบบต่าง ๆ ผิดปกติ

รู้ทันอาการน้ำในหูไม่เท่ากัน ใครเวียนหัว บ้านหมุนบ่อยต้องระวัง

โรคน้ำในหูไม่เท่ากัน เป็นความผิดปกติของระบบน้ำในหูชั้นใน ซึ่งสามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ ทำให้ผู้ป่วยมีอาการ เวียนหัว บ้านหมุน ทรงตัวไม่อยู่ และการได้ยินผิดปกติ

หายใจไม่อิ่ม หายใจลำบาก สัญญาณอันตรายที่คุณไม่ควรมองข้าม

หายใจไม่อิ่ม เป็นอาการที่หลายคนเผชิญ อาจมีอาการแน่นหน้าอก หายใจไม่เต็มปอด หายใจลำบาก หัวใจเต้นเร็ว เหนื่อยง่าย บทนี้ความจะพาไปดูสาเหตุของอาการเหล่านี้กัน

ภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน อันตรายถึงชีวิตแบบไร้สัญญาณเตือน

หัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน (Sudden Cardiac Arrest) คือ ภาวะที่หัวใจหยุดทำงานกะทันหัน ทำให้หมดสติและเสียชีวิตในไม่กี่นาที จึงเป็นภาวะฉุกเฉินที่ต้องรับการรักษาทันที

อาการปวดเข่าคืออะไร มีวิธีป้องกันข้อเข่ามีอะไรบ้าง?

อาการปวดเข่าเป็นอาการที่เกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น ข้อเข่าเสื่อม และส่งผลต่อชีวิตประจำวันได้ การรู้ถึงสาเหตุ วิธีป้องกัน และการรักษาอาการปวดเข่าจึงเป็นเรื่องสำคัญ

EST คืออะไร? การตรวจสมรรถภาพหัวใจ Exercise Stress Test

EST (Exercise Stress Test) คือ การออกกำลังกายตรวจสมรรถภาพหัวใจ เป็นวิธีวินิจฉัยสุขภาพหัวใจเพื่อทำการรักษาต่อไป EST มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง? บทความนี้มีคำตอบ

ภาวะข้อไหล่หลุดคืออะไร รู้สาเหตุ อาการ และวิธีรักษาให้หายดี

ภาวะข้อไหล่หลุดคืออาการที่พบได้บ่อยในคนที่ใช้แรงเยอะ ๆ หรือเคยไหล่หลุดมาก่อน มาดูกันว่าอะไรคือสาเหตุที่ทำให้ไหล่หลุดได้บ้าง และจะต้องดูแลรักษาตัวอย่างไ

กระดูกคอเสื่อมอันตรายไหม? รู้จักอาการ สาเหตุ และการป้องกัน

โรคกระดูกคอเสื่อมอันตรายไหม? ชวนคุณมาทำความรู้จักกับอาการ สาเหตุ และการรักษา เพื่อป้องกันสุขภาพตัวเองไม่ให้กระดูกคอได้รับบาดเจ็บ

ผ่าตัดไส้เลื่อน วิธีรักษาไส้เลื่อนให้หายดี ลดเสี่ยงภาวะแทรกซ้อน

ผ่าตัดไส้เลื่อน เป็นวิธีรักษาไส้เลื่อนที่มีประสิทธิภาพ ปลอดภัย ไม่น่ากลัวอย่างที่คิด โดยเฉพาะการผ่าแบบส่องกล้อง จะช่วยป้องกันภาวะแทรกซ้อนรุนแรง และลดการเป็นซ้ำได้

Copyright © 2024 All Rights Reserved | Praram 9 Hospital