บทความสุขภาพ

Knowledge

ดูแลสุขภาพจิต ลดความเครียดสะสม จาก PM 2.5

ฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 เกินค่ามาตรฐาน เป็นหนึ่งปัญหาที่ยากจะหลีกเลี่ยง มีทั้งช่วงลดและเพิ่มหลายรอบ มาเป็นระยะไม่ขาดสาย ซึ่งเจ้าฝุ่นละอองขนาดจิ๋วนี้ ไม่เพียงส่งผลเสียต่อสุขภาพกาย ยังส่งผลกระทบต่อสุขภาพจิตด้วย


เนื่องจาก PM 2.5 เกินค่ามาตรฐาน หลายคนมีสับสบในข้อมูลข่าวสารและเกิดความวิความวิตกกังวล ตื่นตระหนก ว่าตัวเองและครอบครัวจะได้รับผลกระทบต่อร่างกายขนาดไหน บางคนถึงไม่กล้าออกจากบ้าน จนเกิดเป็นความเครียด โดยเฉพาะคนที่มีความเครียดสะสมอยู่แล้วและในผู้มีปัญหาสุขภาพ อาจทำให้เกิดความเครียดสะสม


โดยข้อมูลจากกรมสุขภาพจิต แนะนำแนวทางในการดูแลสุขภาพจิต เพื่อช่วยให้สามารถปรับตัว ปรับวิธีคิด ให้ระวังและสามารถรับมือกับสถานการณ์ในช่วงฝุ่นละอองเกินเกณฑ์มาตรฐานได้ คือ


  1. ตั้งสติ โดยขอให้ติดตามข่าวสารสถานการณ์จากทางหน่วยงานราชการเป็นหลัก ซึ่งจะทำให้เราทราบถึงสถานการณ์ความเคลื่อนไหว สามารถปฏิบัติตามคำแนะนำ และประเมินสถานการณ์ได้อย่างถูกต้อง จะทำให้ลดความเครียด และความวิตกกังวลลงได้
  2. ปรับวิธีการคิด ซึ่งความคิดเป็นตัวการสำคัญที่ทำให้คนเราเกิดความเครียด หากเรารู้จักปรับวิธีการคิด ให้คิดแบบยืดหยุ่น คิดหลายแง่มุม โดยการยอมรับ ปรับตัว และทำความเข้าใจกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ก็จะช่วยลดความเครียดลงไปได้มาก
  3. หาวิธีการป้องกันฝุ่นละออง เช่น เวลาที่ต้องออกไปทำกิจกรรมนอกบ้านควรสวมหน้ากากอนามัย หลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมกลางแจ้งในพื้นที่ที่มีค่าฝุ่นละอองสูง เป็นต้น โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยงที่เจ็บป่วยได้ง่าย เช่น ผู้สูงอายุ เด็ก หญิงตั้งครรภ์ รวมทั้งผู้ที่มีโรคประจำตัว ซึ่งวิธีการเหล่านี้จะทำให้คลายความเครียดและวิตกกังวลลงไปได้
  4. ควรพักผ่อนให้เพียงพอ นอนหลับอย่างน้อย 6-8 ชั่วโมง และรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ อย่างไรก็ตาม หากใครยังมีความเครียดมาก วิตกกังวล นอนไม่หลับ สามารถโทรปรึกษาแพทย์ด้านจิตเวช เพื่อคลายความกังวลใจ เพราะหากเครียดสะสมนานๆ อาจจะไม่ส่งผลดีต่อสุขภาพจิตของเรา

อย่างไรก็ตาม หากใครยังมีความเครียดมาก วิตกกังวล นอนไม่หลับ สามารถโทรปรึกษาแพทย์ด้านจิตเวช เพื่อคลายความกังวลใจ เพราะหากเครียดสะสมนานๆ อาจจะไม่ส่งผลดีต่อสุขภาพจิตของเรา

บทความที่เกี่ยวข้อง (10)

ดูทั้งหมด

ภาวะข้อไหล่หลุดคืออะไร รู้สาเหตุ อาการ และวิธีรักษาให้หายดี

ภาวะข้อไหล่หลุดคืออาการที่พบได้บ่อยในคนที่ใช้แรงเยอะ ๆ หรือเคยไหล่หลุดมาก่อน มาดูกันว่าอะไรคือสาเหตุที่ทำให้ไหล่หลุดได้บ้าง และจะต้องดูแลรักษาตัวอย่างไ

กระดูกคอเสื่อมอันตรายไหม? รู้จักอาการ สาเหตุ และการป้องกัน

โรคกระดูกคอเสื่อมอันตรายไหม? ชวนคุณมาทำความรู้จักกับอาการ สาเหตุ และการรักษา เพื่อป้องกันสุขภาพตัวเองไม่ให้กระดูกคอได้รับบาดเจ็บ

ผ่าตัดไส้เลื่อน วิธีรักษาไส้เลื่อนให้หายดี ลดเสี่ยงภาวะแทรกซ้อน

ผ่าตัดไส้เลื่อน เป็นวิธีรักษาไส้เลื่อนที่มีประสิทธิภาพ ปลอดภัย ไม่น่ากลัวอย่างที่คิด โดยเฉพาะการผ่าแบบส่องกล้อง จะช่วยป้องกันภาวะแทรกซ้อนรุนแรง และลดการเป็นซ้ำได้

เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ สัญญาณเตือนที่ผู้หญิงไม่ควรมองข้าม

เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ (Endometriosis) คือภาวะที่เนื้อเยื่อในโพรงมดลูกเจริญนอกมดลูก เช่น รังไข่หรือท่อนำไข่ ทำให้เกิดการอักเสบและปวดท้องประจำเดือนรุนแรง

เนื้องอกมดลูก อันตรายใกล้ตัวของผู้หญิงที่ไม่ควรมองข้าม

เนื้องอกมดลูก มีสาเหตุมาจากเซลล์กล้ามเนื้อมดลูกเจริญผิดปกติ ผู้ป่วยส่วนมากมักไม่แสดงอาการ และผู้ป่วยบางส่วนอาจมีอาการปวดท้องน้อยรุนแรง ท้องผูก ปัสสาวะบ่อย

ต่อมลูกหมากโต (BHP) อาการเป็นอย่างไร รักษาวิธีไหนได้บ้าง?

โรคต่อมลูกหมากโต (BPH) คือ ภาวะที่ต่อมลูกหมากขยายใหญ่ขึ้น ส่งผลให้ปัสสาวะติดขัดและกระทบต่อคุณภาพชีวิต มักพบได้บ่อยในผู้ชายวัยกลางคนอายุ 50 ปีขึ้นไป

รู้ทันอาการริดสีดวงทวาร กับพฤติกรรมเสี่ยงที่ต้องระมัดระวัง

ริดสีดวงทวาร มีสาเหตุมาจากการเพิ่มแรงดันในช่องทวารหนัก ทำให้เนื้อเยื่อหลอดเลือดในช่องทวารหนัก (Anal cushion) เกิดการขยายตัวเป็นหัวริดสีดวง

ปัสสาวะบ่อย ไม่ใช่เรื่องเล็ก เสี่ยงโรคอันตรายบั่นทอนคุณภาพชีวิต

ปัสสาวะบ่อยเกิดได้จากหลายปัจจัย ตั้งแต่การดื่มน้ำหรือของเหลวในปริมาณมาก ได้รับคาเฟอีนมาก การใช้ยา ไปจนถึงโรคที่เกี่ยวข้องกับทางเดินปัสสาวะ เรียนรู้ในบทความนี้!

การผ่าตัดเปลี่ยนผิวข้อเข่าเทียมบางส่วน ทางเลือกรักษาข้อเข่าเสื่อม แผลเล็ก ฟื้นตัวเร็ว

การผ่าตัดเปลี่ยนผิวข้อเข่าเทียมบางส่วน หรือ UKA เป็นการผ่าตัดรักษาโรคข้อเข่าเสื่อม โดยเอาผิวข้อเฉพาะส่วนที่สึกหรอออก และเก็บผิวข้อเข่าส่วนที่ยังมีสภาพดีไว้ ทำให้ผู้ป่วยไม่ต้องใช้เวลาปรับตัวนาน ในการกลับไปใช้ข้อเข่าได้เหมือนธรรมชาติ

คุณเป็นโรคภูมิแพ้…จริงหรือ…?

คนทั่วไปเมื่อมีอาการคัดจมูก น้ำมูกไหลเรื้อรัง หรือเป็นๆ หายๆ มักจะบอกว่า เป็นโรคภูมิแพ้ หรือไม่ก็เข้าใจว่าตนเป็นหวัด หวัด เกิดจากการติดเชื้อไวรัส คนทั่วไปมักเป็นได้ปีละ 4 – 5 ครั้งก็มากเกินปกติแล้ว อาการหวัดมักเป็นอยู่ 3 – 4 วัน

Copyright © 2024 All Rights Reserved | Praram 9 Hospital