บทความสุขภาพ

Knowledge

วัคซีนทางเลือกโควิด 19 ถ้าต้องเลือกก็ต้องรู้ว่ามีอะไรบ้าง?

นพ. อนุวัตร สุขสมานพาณิชย์

บนวิกฤตที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของประเทศไทยในปัจจุบันของโรคโควิด 19 ที่กำลังมาพร้อมความหวัง ความหวังที่จะได้กลับไปใช้ชีวิตตามปกติด้วยวัคซีนโควิด 19 ที่รัฐบาลได้จัดสรรและเตรียมให้ประชาชน และยังมีความหวังที่มากขึ้นอีกจากการจัดซื้อวัคซีนทางเลือกอีกหลายยี่ห้อมาเพิ่มเติม


รวมถึงการอนุญาตให้เอกชนนำเข้าวัคซีนโควิด 19 เพื่อเป็นอีกแรงสนันสนุนให้คนไทยได้รับมือกับโรคโควิด 19 ได้ดียิ่งขึ้น ดังนั้นการศึกษารายละเอียดของวัคซีนทางเลือกจึงเป็นสิ่งจำเป็น เพื่อให้เราตัดสินใจได้อย่างถูกต้องตามสถานการณ์ยิ่งขึ้น


Q1: วัคซีนทางเลือก คืออะไร

คำตอบ: วัคซีนทางเลือก คือ วัคซีนโควิด 19 ที่รัฐบาลอนุมัติให้โรงพยาบาลเอกชนเป็นผู้จัดซื้อผ่านองค์การเภสัช นอกเหนือจากวัคซีนที่อยู่ในแผนการจัดซื้อของกระทรวงสาธารณสุข เพื่อให้ประชาชนมีทางเลือกในการฉีดวัคซีนโควิด 19 ที่หลากหลายมากขึ้น


Q2: สถานการณ์วัคซีนในประเทศไทยเป็นอย่างไร

คำตอบ: แผนการจัดซื้อวัคซีนหลัก มีเป้าหมายว่า จะมีวัคซีนจำนวน 100 ล้านโดส ภายในสิ้นปี 2564 มีการคาดการณ์ว่า วัคซีนแอสตราเซเนกา (AstraZeneca) ที่จะผลิตในไทยนั้น เมื่อรวมกับวัคซีน ซิโนแวค (Sinovac) แล้ว จะมีจำนวนโดสคิดเป็นประมาณร้อยละ 63 ของความต้องการในประเทศ จึงยังขาดอีกร้อยละ 37 ที่ภาครัฐต้องวางแผนจัดหาเพิ่มเติม

แต่เนื่องจากอัปเดตล่าสุดนั้น ภาครัฐมีโครงการจะจัดซื้อวัคซีน 4 ยี่ห้อเพิ่มเติม เมื่อประเมินจากปริมาณโดสที่คาดว่าจะสั่งได้ คิดเป็นร้อยละ 30 ของความต้องการในประเทศ

สำหรับความต้องการอีกร้อยละ 7 ที่เหลือนั้น คาดว่าภาครัฐจะให้เอกชนเป็นฝ่ายจัดหาเพิ่มเติม อาจเป็นวัคซีนโควิด 19 ของโมเดิร์นนา (Moderna), ซิโนฟาร์ม (Sinapharm) จอห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน (J&J) หรือ บารัต (Bharat) ของอินเดีย ซึ่งสำหรับส่วนที่เหลือนี้เอง ที่เรียกว่า ‘วัคซีนทางเลือก’


Q3: วัคซีนที่รัฐสั่งซื้อแล้ว และกำลังดำเนินการ มียี่ห้อใดบ้าง


คำตอบ: อัปเดตล่าสุดตอนนี้ วัคซีนโควิด 19 ที่รัฐบาลโดยกระทรวงสาธารณสุข ติดต่อสั่งซื้อในแผนการจัดซื้อเพิ่มเติม มีอยู่ 4 ยี่ห้อ คิดเป็นร้อยละ 30 ของความต้องการในประเทศ ได้แก่


  1. ไฟเซอร์ (Pfizer) จำนวน 5-20 ล้านโดส*
  2. จอห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน (Johnson & Johnson: J&J) จำนวน 5-10 ล้านโดส*
  3. สปุตนิก วี (Sputnik V) จำนวน 5-10 ล้านโดส*
  4. ซิโนแวค (Sinovac) ซึ่งเป็นการสั่งซื้อเพิ่มเติมจากโดสที่มีอยู่อีก จำนวน 5-10 ล้านโดส*

* จำนวนโดสของวัคซีนทั้ง 4 ยี่ห้อดังกล่าว เป็นจำนวนที่คาดว่าจะสั่งซื้อ อาจมีการเปลี่ยนแปลงภายหลัง


Q4: วัคซีนโควิด 19 ของบริษัทใดบ้าง ที่มีแนวโน้มจะเป็นวัคซีนทางเลือก ?

คำตอบ: ยังต้องรอการยืนยันจากทางภาครัฐว่าจะทำการจัดหาเพิ่มเติมหรือไม่ แต่จากข้อมูล ณ ปัจจุบัน (ข้อมูลวันที่ 1 พฤษภาคม 2564) มีแนวโน้มว่าจะเป็นวัคซีนโมเดิร์นนา (Moderna), ซิโนฟาร์ม (Sinapharm) บารัต (Bharat) และ จอห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน (J&J) สำหรับ Moderna นั้น ภาคเอกชนมีแผนจะเตรียมจัดซื้อผ่านองค์กรเภสัชกรรม เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงระบบวัคซีนทางเลือกได้อย่างทั่วถึงทั้งประเทศ


Q5: ข้อแตกต่างระหว่างวัคซีนทางเลือกและวัคซีนที่ภาครัฐจัดหาให้ เป็นอย่างไร?


คำตอบ: ประชาชนสามารถเลือกที่จะรับวัคซีนที่นอกเหนือจากวัคซีนตามแผนงานที่ภาครัฐจัดหาได้ แต่ต้องชำระค่าวัคซีนเอง


Q6: วัคซีนโควิด 19 ยี่ห้อไหน จะได้เมื่อไหร่

คำตอบ: ขั้นตอนในปัจจุบันของวัคซีนที่จะนำเข้ามาใช้ในประเทศไทย จะต้องผ่านสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) โดยมี 2 ขั้นตอนหลักในการดำเนินการ ได้แก่ การยื่นคำขอขึ้นทะเบียน และ การอนุมัติคำขอขึ้นทะเบียนโดย อย.


วัคซีนที่ อย. อนุมัติขึ้นทะเบียนแล้ว


ข้อมูลวันที่ 24 มิถุนายน 2564 มีบริษัทที่ผ่านการอนุมัติขึ้นทะเบียนแล้ว 6 บริษัท ได้แก่


  1. วัคซีน CoronaVac ของ Sinovac
  2. วัคซีน AZD1222 ของ AstraZeneca
  3. วัคซีน JNJ-78436735 ของ Johnson & Johnson
  4. วัคซีน mRNA-1273 ของ Moderna
  5. วัคซีน BBIBP-CorV ของ Sinopharm
  6. วัคซีน COMIRNATY VACCINE ของ Pfizer

วัคซีนที่ อยู่ในขั้นตอนยื่นคำขอขึ้นทะเบียน


ข้อมูลวันที่ 24 มิถุนายน 2564 วัคซีนซึ่งอยู่ระหว่างการยื่นเอกสารประเมินคำขอขึ้นทะเบียนมี 2 บริษัท ได้แก่


  1. วัคซีน Covaxin ของ Bharat Biotech
  2. วัคซีน Sputznik V ของ Sputnik V

Q7: วัคซีนทางเลือก โควิด 19 แพงไหม ราคาเท่าไหร่บ้าง

คำตอบ: ราคาตอนนี้ยังไม่แน่นอน แต่มีหลักการของคณะทำงานพิจารณาการจัดหาวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ที่ขอให้เป็นราคาควบคุมในอัตราเดียวกัน ในวัคซีนยี่ห้อเดียวกัน


สรุป


โรงพยาบาลพระรามเก้า ได้เฝ้าติดตามความเคลื่อนไหวของการจัดซื้อวัคซีนโควิด 19 อย่างใกล้ชิด ไม่ว่าจะเป็นวัคซีนตามแผนการจัดซื้อหลัก วัคซีนตามแผนการจัดซื้อเพิ่มเติม และวัคซีนทางเลือกที่มีแนวโน้มจะเข้ามาจำหน่ายในประเทศไทยทุกยี่ห้อ เพื่อร่วมมือเป็นส่วนหนึ่งในการจัดหาและส่งเสริมการฉีดวัคซีนโควิด 19 ให้กับประชาชน และร่วมต่อสู้กับโควิด 19 กับทุกภาคส่วน


เราจะเอาชนะและผ่านวิกฤติครั้งนี้ไปด้วยกัน!

เกี่ยวกับผู้เขียนบทความ

นพ. อนุวัตร สุขสมานพาณิชย์

นพ. อนุวัตร สุขสมานพาณิชย์

ศูนย์ศัลยกรรม

บทความที่เกี่ยวข้อง (10)

ดูทั้งหมด

หมอนรองกระดูกเสื่อม ต้นเหตุอาการปวดหลังเรื้อรังที่อายุน้อยก็พบได้

หมอนรองกระดูกเสื่อมคือภาวะที่เกิดจากการเสื่อมของหมอนรองกระดูกจนไม่สามารถทำหน้าที่ลดแรงกระแทกได้ ทำให้กระดูกรอบ ๆ สึกและอักเสบขึ้นจนเกิดอาการปวดเรื้อรัง

อาการปวดสะโพกร้าวลงขา อีกหนึ่งสัญญาณเส้นประสาทถูกกดทับ

อาการปวดสะโพกร้าวลงขา (Sciatica pain) เกิดจากการถูกกดทับที่เส้นประสาท ทำให้รู้สึกปวดจากช่วงเอวหรือสะโพกร้าวลงขาด้านหลัง บางรายอาจร้าวไปถึงน่องและเท้าได้

ปวดข้อเท้าเกิดจากสาเหตุอะไร มีวิธีรักษาอย่างไรไม่ให้เจ็บเรื้อรัง?

ทำความเข้าใจกับอาการปวดข้อเท้าที่ควรรู้ อาการแบบไหนที่ควรเข้าปรึกษาแพทย์? พร้อมเรียนรู้สาเหตุของอาการ วิธีรักษา ตลอดจนการป้องกันไม่ให้เจ็บข้อเท้าเรื้อรัง

คำแนะนำการป้องกันมาลาเรียสำหรับนักเดินทาง

โรคมาลาเรียเป็นโรคที่เกิดจากโปรโตซัว Plasmodium นำโดยยุงก้นปล่อง มีทั้งหมด 5 สายพันธุ์ สายพันธ์ุที่รุนแรงคือ Plasmodium falciparum ซึ่งเป็นสายพันธุ์หลักในทวีปแอฟริกา ทำให้เกิดการติดเชื้อรุนแรง อวัยวะต่างๆล้มเหลว ติดเชื้อขึ้นสมอง โคม่า ชัก และเสียชีวิตได้ หากได้รับการรักษาที่ล่าช้า

ไส้เลื่อน ใครก็เป็นได้ อันตรายที่ต้องรักษาก่อนเกิดภาวะแทรกซ้อน

ไส้เลื่อน คือภาวะที่ลำไส้เลื่อนหรือดันออกมาจากช่องท้อง สามารถสังเกตเห็นก้อนนูนออกมาตามขาหนีบ หน้าท้อง สะดือ หากไม่รักษาอาจเกิดอันตรายจากอาการแทรกซ้อนได้

รู้ทันต้อหิน โรคร้ายทำลายการมองเห็น รีบรักษาก่อนสายเกินแก้

ต้อหิน (Glaucoma) คือโรคตาที่มีสาเหตุจากขั้วประสาทตาเสื่อม ผู้ป่วยจะมีอาการปวดหัวปวดตา กระจกตาขุ่น การมองเห็นแย่ลง และค่อย ๆ สูญเสียการมองเห็นไปในที่สุด

Hypothyroidism คืออะไร? รู้ทันสาเหตุ อาการ และวิธีรักษา

Hypothyroidism คือ ภาวะพร่องฮอร์โมนไทรอยด์ หรือฮอร์โมนไทรอยด์ทำงานต่ำ ทำให้ระดับการเผาผลาญพลังงานลดลง และนำมาสู่การทำงานของระบบต่าง ๆ ผิดปกติ

รู้ทันอาการน้ำในหูไม่เท่ากัน ใครเวียนหัว บ้านหมุนบ่อยต้องระวัง

โรคน้ำในหูไม่เท่ากัน เป็นความผิดปกติของระบบน้ำในหูชั้นใน ซึ่งสามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ ทำให้ผู้ป่วยมีอาการ เวียนหัว บ้านหมุน ทรงตัวไม่อยู่ และการได้ยินผิดปกติ

หายใจไม่อิ่ม หายใจลำบาก สัญญาณอันตรายที่คุณไม่ควรมองข้าม

หายใจไม่อิ่ม เป็นอาการที่หลายคนเผชิญ อาจมีอาการแน่นหน้าอก หายใจไม่เต็มปอด หายใจลำบาก หัวใจเต้นเร็ว เหนื่อยง่าย บทนี้ความจะพาไปดูสาเหตุของอาการเหล่านี้กัน

ภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน อันตรายถึงชีวิตแบบไร้สัญญาณเตือน

หัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน (Sudden Cardiac Arrest) คือ ภาวะที่หัวใจหยุดทำงานกะทันหัน ทำให้หมดสติและเสียชีวิตในไม่กี่นาที จึงเป็นภาวะฉุกเฉินที่ต้องรับการรักษาทันที

Copyright © 2024 All Rights Reserved | Praram 9 Hospital