บทความสุขภาพ

Knowledge

วัคซีนมือเท้าปาก เสริมเกราะป้องกันโรคร้ายในเด็กเล็ก

พญ. นงนภัส เก้าเอี้ยน

โรคมือเท้าปากเป็นโรคที่มักพบในเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 5 ปี และยังสามารถแพร่กระจายให้กับผู้ใหญ่ได้ด้วยแต่อาการมักจะไม่รุนแรงเท่ากับในเด็ก โรคนี้เกิดจากเชื้อไวรัสที่ชื่อว่า เอนเทอโรไวรัส (enterovirus) โดยอาการจะขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ของไวรัส หากได้รับเชื้อไวรัสจากสายพันธุ์ที่ไม่รุนแรงอาการจะหายได้เองภายใน 7 -10 วัน แต่หากเป็นสายพันธุ์รุนแรงอาจส่งผลให้เกิดภาวะสมองอักเสบและภาวะแทรกซ้อนที่อันตรายได้


โรคมือเท้าปากนี้ในประเทศไทยจะพบการระบาดได้ตลอดปี แต่มักพบบ่อยในช่วงฤดูฝน โดยเฉพาะในโรงเรียนอนุบาลหรือศูนย์รับเลี้ยงเด็กที่มีเด็กอยู่ร่วมกันหลายคน เชื้อไวรัสนี้แพร่กระจายได้ง่าย ผ่านน้ำมูก น้ำลายที่มีเชื้อไวรัสปนอยู่เมื่อมีการไอหรือจาม


ปัจจุบันโรคมือเท้าปาก ยังไม่มีวัคซีนป้องกันที่ครอบคลุมเชื้อไวรัสมือเท้าปากทุกสายพันธุ์ มีเพียงวัคซีนป้องกันเชื้อไวรัสเฉพาะบางสายพันธุ์ที่เป็นชนิดรุนแรง คือ “ไวรัสเอนเทอโร ชนิด 71 (enterovirus 71)” โดยวัคซีนจะช่วยป้องกันการเกิดภาวะสมองอักเสบและลดโอกาสการเกิดภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ได้ ทั้งนี้ผู้ปกครองควรใส่ใจ สร้างภูมิคุ้มกันโรคให้กับบุตรหลาน เพื่อเป็นเกราะป้องกันโรคติดต่อที่มักจะเกิดได้บ่อย ในเด็กเล็กอย่างเช่นโรคมือ เท้า ปาก



โรคมือเท้าปาก เกิดจากสาเหตุใด?


โรคมือ เท้า ปาก เกิดจากการได้รับเชื้อไวรัสเอนเทอโรไวรัส (enterovirus) ติดต่อจากการไอ จาม สัมผัสของเล่นที่ปนเปื้อนน้ำมูก น้ำลาย หรือสัมผัสตุ่มน้ำ เชื้อไวรัสในกลุ่มนี้มีหลากหลายสายพันธุ์ ทั้งที่อาการรุนแรงและไม่รุนแรง


สายพันธุ์ที่อาการไม่รุนแรง จะเกิดจากไวรัสสายพันธุ์ค๊อกซากี (Coxsackien) โดยเด็กจะมีไข้ ร่วมกับตุ่มเล็ก ๆ บนผิวหนัง ฝ่ามือ ฝ่าเท้า และในปาก ซึ่งอาการจะดีขึ้น และจะหายได้เองภายใน 1 สัปดาห์


สายพันธ์ุที่ทำให้เกิดอาการรุนแรงและพบได้บ่อยในประเทศไทย เกิดจากสายพันธุ์ย่อยเอนเทอโรไวรัส 71 (enterovirus 71; EV71) โดยเด็กจะมีอาการไข้สูง มีตุ่ม ซึม อ่อนเพลีย อาเจียน ชัก อาจทำให้เกิดภาวะเยื่อหุ้มสมองอักเสบ หรือภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ เช่น กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ หอบเหนื่อยจากภาวะน้ำท่วมปอด อัมพาต กล้ามเนื้ออ่อนแรง ซึ่งอาจทำให้เด็กเสียชีวิตได้



วัคซีนมือ เท้า ปาก ป้องกันการติดเชื้อ และอาการรุนแรงจากสายพันธุ์ EV71


ปัจจุบันมีวัคซีนที่ช่วยป้องกันมือ เท้า ปาก ในประเทศไทย ชื่อมีว่า “วัคซีนป้องกันไวรัสเอนเทอโร ชนิด 71” วัคซีนชนิดนี้สามารถป้องกันการเกิดโรคมือ เท้า ปากที่เกิดจากเชื้อเอนเทอโรไวรัส 71 หรือ EV71 ได้ค่อนข้างดี จากข้อมูล WHO รายงานว่าการฉีดวัคซีนโรคมือเท้าปาก EV71 ครบ 2 เข็ม สามารถป้องกันการติดเชื้อจากเชื้อเอนเทอโรไวรัส 71 ได้ 97.4% และเมื่อเด็กป่วยสามารถป้องกันไม่ให้เกิดอาการรุนแรงหรือภาวะแทรกซ้อนที่อันตรายถึงขั้นเสียชีวิตได้ แต่วัคซีน EV71 นี้ไม่ครอบคลุมการติดเชื้อไวรัสมือ เท้า ปากที่เกิดเชื้อเอนเทอโรจากสายพันธุ์อื่น ๆ ได้



ผลข้างเคียงจากวัคซีน มือ เท้า ปาก

วัคซีนป้องกันโรคมือ เท้า ปาก เป็นวัคซีนเชื้อตายที่มีความปลอดภัยสูง หรือในบางรายที่พบผลข้างเคียงก็จะมีอาการน้อย โดยมีอาการจะเหมือนได้รับวัคซีนอื่น ๆ เช่น ปวด บวม แดงบริเวณที่ฉีด ซึ่งจะหายได้เองภายใน 2-3 วัน อาจมีไข้ ท้องเสีย เบื่ออาหารได้ จากข้อมูลปัจจุบันยังไม่มีรายงานผลข้างเคียงรุนแรงอื่น ๆ ทั้งนี้ผู้ปกครองควรปรึกษากุมารแพทย์ก่อนนำบุตรหลานเข้ารับการฉีดวัคซีนทุกครั้ง และไม่ควรรับวัคซีนขณะที่เด็กป่วยเป็นหวัด หรือท้องเสีย


หากเด็กมีไข้หลังการฉีดวัคซีน ให้คุณพ่อคุณแม่หมั่นเช็ดตัวด้วยน้ำอุ่น หรือน้ำธรรมดา ไม่ควรใช้น้ำเย็นจัด เพราะจะทำให้หลอดเลือดตีบส่งผลให้การระบายความร้อนออกจากร่างกายทำได้ยาก หรือให้เด็กรับประทานยาลดไข้ตามคำแนะนำของแพทย์


หลังจากฉีดวัคซีน ต้องรออย่างน้อย 15 นาทีก่อน เพื่อสังเกตอาการค้างเคียง การแพ้ยา หรือความรุนแรงอื่น ๆ ก่อนกลับบ้าน



ใครบ้างควรได้รับวัคซีนโรคมือ เท้า ปาก?


กลุ่มเสี่ยงที่ปัจจุบันมีคำแนะนำให้ได้รับวัคซีน มือ เท้าปาก จะเป็นกลุ่มเด็กเล็กที่มีอายุตั้งแต่ 6 เดือน – 5 ปี 9 เดือน


ส่วนในกลุ่มเด็กโตและผู้ใหญ่ยังไม่มีคำแนะนำให้ฉีดวัคซีนชนิดนี้ในปัจจุบัน เพราะหากมีการติดเชื้อมือ เท้า ปาก ผู้ป่วยกลุ่มเด็กโตและผู้ใหญ่ อาการจะไม่รุนแรง มักจะดีขึ้นและหายได้เองภายใน 7-10 วัน


ในขณะที่โรคมือ เท้า ปาก โดยเฉพาะจากเชื้อไวรัสสายพันธุ์ EV71 เป็นโรคที่ทำให้มีอาการรุนแรงและอันตรายในเด็กเล็กจึงมีคำแนะนำให้เด็กเล็กในช่วงวัยดังกล่าวได้รับวัคซีน และปรึกษากุมารแพทย์ เพื่อประเมินความเสี่ยงต่อการแพ้วัคซีนและอาการข้างเคียงหลังฉีดวัคซีน



วัคซีนมือ เท้า ปากฉีดอย่างไร?


วัคซีนมือ เท้า ปากจะมีประสิทธิภาพที่ดีที่สุด เมื่อฉีดครบ 2 โดส โดยเข็มที่ 2 ให้เว้นระยะห่างจากเข็มที่ 1 ประมาณ 1 เดือน โดยแพทย์จะทำการฉีดเข้าชั้นกล้ามเนื้อ จากการเก็บข้อมูลพบว่า เด็กที่ฉีดครบทั้ง 2 เข็มแล้วภูมิคุ้มกันจะยังคงอยู่ในระดับสูงมากกว่า 95% หลังจากได้รับวัคซีนไปแล้ว 2 ปี


ในกรณีลืมฉีดเข็มที่ 2 สามารถเลื่อนเวลาออกไปได้ แต่ยังคงจำเป็นต้องเข้ามารับการฉีดเข็มที่ 2 ซึ่งผู้ปกครองสามารถขอคำแนะนำเพิ่มเติมจากแพทย์ หรือพยาบาลได้


วัคซีนชนิดนี้สามารถให้ร่วมกับวัคซีนพื้นฐานชนิดอื่นได้ เนื่องจากเป็นวัคซีนนี้เป็นชนิดเชื้อตาย จึงมีความปลอดภัย อย่างไรก็ตามแนะนำให้ปรึกษาแพทย์หากต้องฉีดร่วมกับวัคซีนชนิดอื่น



เคยเป็นโรคมือ เท้า ปากแล้ว ฉีดวัคซีนได้หรือไม่?


เด็กที่เคยป่วยเป็นโรคมือ เท้า ปากแล้ว สามารถกลับมาป่วยซ้ำได้อีกหากได้รับเชื้อเอนเทอโรไวรัสคนละชนิด หรือได้รับเชื้อที่รุนแรงกว่า เช่น กรณีเด็กเคยป่วยและมีภูมิต่อเชื้อไวรัสสายพันธุ์ค๊อกซากี (ซึ่งเป็นสายพันธ์ุไม่รุนแรงที่พบมากในประเทศไทย ปี 2565) แต่เด็กจะยังไม่มีภูมิต่อเชื้อเอนเทอโรไวรัส 71 (EV71) การรับวัคซีนป้องกันไวรัสเอนเทอโร ชนิด 71 ก็จะช่วยป้องกันการติดเชื้อจากไวรัส EV71 ได้ หรือในกรณีเด็กเคยป่วยโรคมือ เท้า ปากแล้ว แต่ไม่สามารถระบุสายพันธุ์ที่ป่วยได้ เด็กอาจจะมีโอกาสได้รับเชื้อเอนเทอโรไวรัส 71 (EV71) ได้อีก การรับวัคซีนก็จะช่วยลดโอกาสเสี่ยงการเกิดโรคซ้ำ และลดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง โดยการฉีดวัคซีน ควรเว้นระยะห่างจากวันที่เด็กหายป่วยประมาณ 1 เดือน



สรุป


การสร้างภูมิคุ้มกันให้กับเด็กเล็ก ด้วยวัคซีนมือ เท้า ปาก ชนิด EV71 นี้ เป็นการสร้างเกราะป้องกันลูกน้อย ไม่ให้เจ็บป่วยจากการติดเชื้อไวรัส EV71 ได้ถึง 97% หรือถ้าหากเด็กมีการติดเชื้อ วัคซีนก็จะช่วยป้องไม่ให้เกิดอาการสมองอักเสบหรืออาการรุนแรงที่อาจถึงขั้นเสียชีวิต


ผู้ปกครองควรให้ความสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเด็กเล็ก 6 เดือน- 5 ขวบ ซึ่งเป็นวัยที่ยังมีภูมิคุ้มกันน้อย เจ็บป่วยได้ง่าย ปัจจุบันโรคมือ เท้า ปากยังไม่มีวิธีการรักษาให้หายขาดทันที และ ยังไม่มีวัคซีนที่สามารถป้องกันไวรัสทุกสายพันธ์ุ การเฝ้ารระวัง ไม่ให้มีการสัมผัสโรค และการฉีดวัคซีน ก็จะเป็นการลดความเสี่ยงจากการป่วยด้วยโรค มือ เท้า ปาก ได้


ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญกับ Praram 9 V ปรึกษาแพทย์ได้ทุกที่ผ่านทางวิดีโอคอล (Telemedicine)

เกี่ยวกับผู้เขียนบทความ

พญ. นงนภัส เก้าเอี้ยน

พญ. นงนภัส เก้าเอี้ยน

ศูนย์กุมารเวชกรรม

บทความที่เกี่ยวข้อง (10)

ดูทั้งหมด

คำแนะนำการป้องกันมาลาเรียสำหรับนักเดินทาง

โรคมาลาเรียเป็นโรคที่เกิดจากโปรโตซัว Plasmodium นำโดยยุงก้นปล่อง มีทั้งหมด 5 สายพันธุ์ สายพันธ์ุที่รุนแรงคือ Plasmodium falciparum ซึ่งเป็นสายพันธุ์หลักในทวีปแอฟริกา ทำให้เกิดการติดเชื้อรุนแรง อวัยวะต่างๆล้มเหลว ติดเชื้อขึ้นสมอง โคม่า ชัก และเสียชีวิตได้ หากได้รับการรักษาที่ล่าช้า

ไส้เลื่อน ใครก็เป็นได้ อันตรายที่ต้องรักษาก่อนเกิดภาวะแทรกซ้อน

ไส้เลื่อน คือภาวะที่ลำไส้เลื่อนหรือดันออกมาจากช่องท้อง สามารถสังเกตเห็นก้อนนูนออกมาตามขาหนีบ หน้าท้อง สะดือ หากไม่รักษาอาจเกิดอันตรายจากอาการแทรกซ้อนได้

รู้ทันต้อหิน โรคร้ายทำลายการมองเห็น รีบรักษาก่อนสายเกินแก้

ต้อหิน (Glaucoma) คือโรคตาที่มีสาเหตุจากขั้วประสาทตาเสื่อม ผู้ป่วยจะมีอาการปวดหัวปวดตา กระจกตาขุ่น การมองเห็นแย่ลง และค่อย ๆ สูญเสียการมองเห็นไปในที่สุด

Hypothyroidism คืออะไร? รู้ทันสาเหตุ อาการ และวิธีรักษา

Hypothyroidism คือ ภาวะพร่องฮอร์โมนไทรอยด์ หรือฮอร์โมนไทรอยด์ทำงานต่ำ ทำให้ระดับการเผาผลาญพลังงานลดลง และนำมาสู่การทำงานของระบบต่าง ๆ ผิดปกติ

รู้ทันอาการน้ำในหูไม่เท่ากัน ใครเวียนหัว บ้านหมุนบ่อยต้องระวัง

โรคน้ำในหูไม่เท่ากัน เป็นความผิดปกติของระบบน้ำในหูชั้นใน ซึ่งสามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ ทำให้ผู้ป่วยมีอาการ เวียนหัว บ้านหมุน ทรงตัวไม่อยู่ และการได้ยินผิดปกติ

หายใจไม่อิ่ม หายใจลำบาก สัญญาณอันตรายที่คุณไม่ควรมองข้าม

หายใจไม่อิ่ม เป็นอาการที่หลายคนเผชิญ อาจมีอาการแน่นหน้าอก หายใจไม่เต็มปอด หายใจลำบาก หัวใจเต้นเร็ว เหนื่อยง่าย บทนี้ความจะพาไปดูสาเหตุของอาการเหล่านี้กัน

ภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน อันตรายถึงชีวิตแบบไร้สัญญาณเตือน

หัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน (Sudden Cardiac Arrest) คือ ภาวะที่หัวใจหยุดทำงานกะทันหัน ทำให้หมดสติและเสียชีวิตในไม่กี่นาที จึงเป็นภาวะฉุกเฉินที่ต้องรับการรักษาทันที

อาการปวดเข่าคืออะไร มีวิธีป้องกันข้อเข่ามีอะไรบ้าง?

อาการปวดเข่าเป็นอาการที่เกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น ข้อเข่าเสื่อม และส่งผลต่อชีวิตประจำวันได้ การรู้ถึงสาเหตุ วิธีป้องกัน และการรักษาอาการปวดเข่าจึงเป็นเรื่องสำคัญ

EST คืออะไร? การตรวจสมรรถภาพหัวใจ Exercise Stress Test

EST (Exercise Stress Test) คือ การออกกำลังกายตรวจสมรรถภาพหัวใจ เป็นวิธีวินิจฉัยสุขภาพหัวใจเพื่อทำการรักษาต่อไป EST มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง? บทความนี้มีคำตอบ

ภาวะข้อไหล่หลุดคืออะไร รู้สาเหตุ อาการ และวิธีรักษาให้หายดี

ภาวะข้อไหล่หลุดคืออาการที่พบได้บ่อยในคนที่ใช้แรงเยอะ ๆ หรือเคยไหล่หลุดมาก่อน มาดูกันว่าอะไรคือสาเหตุที่ทำให้ไหล่หลุดได้บ้าง และจะต้องดูแลรักษาตัวอย่างไ

Copyright © 2024 All Rights Reserved | Praram 9 Hospital