บทความสุขภาพ

Knowledge

โรคหอบหืด…..เสียชีวิตได้ เราจะป้องกันโรคหอบหืดกำเริบ Asthmatic attack ได้อย่างไร

พญ. มัณฑนา สันดุษฎี, พญ. ณัฐกานต์ มยุระสาคร

โรคหอบหืด (asthma) เป็นโรคที่มีการอักเสบเรื้อรังของหลอดลม ทำให้มีการตีบตันของหลอดลม โดยมักจะมีอาการเป็นๆ หายๆ เวลาที่มีอาการเราจะเรียกว่าหอบหืดกำเริบ อาการที่พบบ่อยคือ หายใจมีเสียงหวีด ไอ แน่นหน้าอก หายใจไม่อิ่ม โดยอาการเหล่านี้มีหลากหลายความรุนแรง หลายครั้งการเกิดหอบหืดกำเริบรุนแรงถึงขั้นการหายใจล้มเหลวต้องใส่ท่อช่วยหายใจ หรือเสียชีวิตได้ แต่ถ้าหอบหืดกำเริบไม่รุนแรงแต่ปล่อยให้มีการอักเสบในหลอดลมบ่อย มีอาการหลอดลมตีบตันบ่อยๆ ในที่สุดจะเกิดการตีบตันของหลอดลมแบบถาวร ซึ่งจะรักษาได้ยาก

การวินิจฉัย


การวินิจฉัยหอบหืดจะเริ่มจากประวัติและอาการเช่น อาการหายใจมีเสียงหวีด, หายใจไม่อิ่ม-แน่นหน้าอก, ไอเรื้อรัง โดยอาการจะเป็นๆหายๆ มักจะแย่ลงในเวลากลางคืนหรือเวลาออกแรง และอาการมักถูกกระตุ้นโดยตัวกระตุ้นบางอย่างเช่น การออกกำลังกาย, อากาศเย็น, สารก่อภูมิแพ้, หรือการติดเชื้อไวรัส


และต้องมีการยืนยันการวินิจฉัยเรื่องหลอดลมตีบตันเป็นๆหายๆ (variable airflow limitation) โดยอาจจะใช้


  1. การตรวจความผันแปลของความแรงสูงสุดในการหายใจออก หรือ peak expiratory flow rate (PEF) โดยpeak flow meter โดยให้ผู่ป่วยกลับบ้านไปบันทึกที่บ้านเองอย่างน้อย 2 สัปดาห์ จะพบว่ามีความผันแปลของ PEF เกินมาตรฐาน
  2. การตรวจสมรรถนะสภาพปอด หรือ pulmonary function test (PFT) โดย spirometry ต้องทำการตรวจที่โรงพยาบาล จะพบว่ามีการผันแปลของการตีบตันของหลอดลมหลังได้ยาขยายหลอดลม หรือหลังได้ตัวกระตุ้น

การประเมินความรุนแรงของหอบหืด


การประเมินโรคหอบหืดเราประเมิน 2 หัวข้อหลักๆคู่กัน เพื่อหาแนวทางการรักษาที่เหมาะสมคือ


1. การควบคุมอาการ (symptom control)


ถ้าผู้ป่วยควบคุมอาการหอบหืดได้ดีคือ ต้องมีอาการของหอบหืดในช่วงกลางวัน และต้องการใช้ยาพ่นฉุกเฉินไม่เกิน 2 ครั้งต่อสัปดาห์ รวมถึงต้องไม่มีอาการตื่นกลางคืนจากหอบหืดเลย และไม่มีกิจกรรมใดๆที่ทำไม่ได้จากอาการหอบหืด


2. ความเสี่ยงที่จะเกิดความรุนแรงเวลาเกิดหอบหืดกำเริบเฉียบพลัน (risk of adverse outcome)


ต้องประเมินจากหลายองค์ประกอบ เช่น


  • ตรวจ pulmonary function test พบสมรรถนะปอดว่าต่ำกว่าปกติ (FEV1<60%)
  • มีโรคร่วมอื่นๆที่กระตุ้นหอบหืดได้ง่าย เช่น ตั้งครรภ์, ภาวะอ้วน, กรดไหลย้อน, มีประวัติแพ้อาหาร
  • ยังต้องสัมผัสกับตัวกระตุ้นหอบหืด เช่น สูบบุหรี่, มลพิษทางอากาศ (air pollution), สารกระตุ้นภูมิแพ้
  • เคยมีประวัติหอบหืดกำเริบอย่างรุนแรงจนต้องใส่ท่อช่วยหายใจ หรือเข้า ICU

โดยถ้ามีความเสี่ยงที่จะเกิดความรุนแรงเวลาเกิดหอบหืดกำเริบ มีความจำเป็นที่จะต้องมียาควบคุมอาการต่อเนื่อง และอยู่ภานใต้การดูแลของแพทย์อย่างต่อเนื่อง


โดยคนไข้ที่ความคุมอาการได้ไม่ดี มักจะมีความเสี่ยงที่เกิดอาการกำเริบได้มากขึ้น แต่คนไข้ที่ควบคุมอาการได้ดี ก็ยังมีโอกาสเกิดอาการกำเริบแบบรุนแรงได้เช่นกัน


การรักษาโรคหอบหืด


เป้าหมายของการรักษาโรคหอบหืดคือ ต้องควบคุมอาการได้ดี (มีการใช้ยาฉุกเฉินไม่เกิน 2 ครั้งต่อสัปดาห์) สามารถใช้ชีวิตได้เป็นปกติ และลดความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะหอบหืดกำเริบอย่างรุนแรง ซึ่งสามารถรุนแรงถึงเสียชีวิตได้ อีกทั้งยังต้องไม่เกิดภาวะหลอดลมตีบตันถาวรในระยะยาว โดยจะปรับยาอย่างเหมาะสมไม่มากเกินไป เพื่อลดโอกาสการเกิดผลข้างเคียงจากการรักษา


การรักษาโดยยา


โดยปัจจุบันการรักษาหอบหืด ยาหลักๆในการรักษาคือยาพ่นขยายหลอดลมและลดการอักเสบของหลอดลม โดยยาพ่นแบ่งเป็น 2 กลุ่มหลักๆดังนี้


  1. ยาฉุกเฉินบรรเทาอาการ (relievers) ใช้เฉพาะเวลามีอาการหอบหืดกำเริบเฉียบพลัน ยากลุ่มนี้จะเป็นยาขยายหลอดลมที่ออกฤทธ์เร็ว ได้แก่ short-acting beta- agonist (SABA), ICS/formoterol
  2. ยาควบคุมอาการ (controllers) โดยจะเริ่ม controllers ตามขั้นความรุนแรงของอาการ โดยยาในกลุ่มนี้ เช่น Inhaled corticosteroids (ICS), ICS/LABA( long-acting beta2-agonist), LAMA (long acting muscarinic antagonist) มีฤทธิ์ลดการอักเสบของทางเดินหายใจและขยายหลอดลมแบบออกฤทธิ์ยาว

นอกจากนี้ในปัจจุบันหอบหืดที่ควบคุมยากยังมียา biologics ใหม่ๆออกมาหลายตัวเพื่อควบคุมหอบหืดได้ดีขึ้น เช่น omalizumab (anti-IgE), mepolizumab และ benralizumab (anti-IL5), dupilumab (anti-IL4)


การรักษาอื่นๆ ร่วมด้วยนอกจากยา


  • หยุดสูบบุหรี่
  • หลีกเลี่ยงตัวกระตุ้น, สารก่อภูมิแพ้, air pollution
  • รักษาโรคร่วมให้ดี เช่นภูมิแพ้, โรคอ้วน
  • มีการออกกำลังกายสม่ำเสมอ รวมถึง breathing exercise
  • วัคซีน ปัจจุบันแนะนำวัคซีนไข้หวัดใหญ่ และ วัคซีน covid-19

โรคหอบหืดและ covid-19


ผู้ป่วยหอบหืดไม่ได้เป็นความเสี่ยงของการติดเชื้อ covid-19 และจากการศึกษาปัจจุบันยังไม่พบว่าผู้ป่วยโรคหอบหืดที่ควบคุมได้ดีเป็นความเสี่ยงที่ covid-19 จะรุนแรงหรือเพิ่มอัตราการเสียชีวิตจาก covid-19


โรคหืดกำเริบเฉียบพลัน


เมื่อมีอาการหอบหืดกำเริบเฉียบพลัน แนะนำให้ใช้ยาพ่นฉุกเฉิน (reliver) กลุ่ม inhaled short-acting B2-agonist (SABA) เช่น salbutamol MDI 4-10 puff ทุก 20 นาที ถ้าพ่น 3 รอบแล้วยังไม่หายให้รีบมาห้องฉุกเฉินที่โรงพยาบาลเพื่อประเมินและรับการรักษาที่เหมาะสมเพิ่มเติม


สรุป


โรคหอบหืดเป็นโรคที่รุนแรงถึงชีวิตได้ แต่ก็สามารถควบคุมได้เช่นกัน โดยการเข้าใจโรค รู้จักอาการและสิ่งกระตุ้นอาการ ใช้ยาพ่นถูกวิธีและสม่ำเสมอ หมั่นออกกำลังกาย รักษาโรคร่วมต่างๆ ลดความเครียด รู้จักอาการฉุกเฉิน และหมั่นพบแพทย์ตามนัด ดังนั้นใครที่เป็นโรคหอบหืดอยู่ หรือมีอาการที่สงสัยโรคหอบหืด แนะนำให้ปรึกษาแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยและการรักษาที่เหมาะสมต่อไป


ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญกับ Praram 9 V ปรึกษาแพทย์ได้ทุกที่ผ่านทางวิดีโอคอล (Telemedicine)

เกี่ยวกับผู้เขียนบทความ

พญ. มัณฑนา สันดุษฎี

พญ. มัณฑนา สันดุษฎี

ศูนย์โรคปอดและระบบทางเดินหายใจ

พญ. ณัฐกานต์  มยุระสาคร

พญ. ณัฐกานต์ มยุระสาคร

ศูนย์เบาหวานและเมตาบอลิก

บทความที่เกี่ยวข้อง (10)

ดูทั้งหมด

หมอนรองกระดูกเสื่อม ต้นเหตุอาการปวดหลังเรื้อรังที่อายุน้อยก็พบได้

หมอนรองกระดูกเสื่อมคือภาวะที่เกิดจากการเสื่อมของหมอนรองกระดูกจนไม่สามารถทำหน้าที่ลดแรงกระแทกได้ ทำให้กระดูกรอบ ๆ สึกและอักเสบขึ้นจนเกิดอาการปวดเรื้อรัง

อาการปวดสะโพกร้าวลงขา อีกหนึ่งสัญญาณเส้นประสาทถูกกดทับ

อาการปวดสะโพกร้าวลงขา (Sciatica pain) เกิดจากการถูกกดทับที่เส้นประสาท ทำให้รู้สึกปวดจากช่วงเอวหรือสะโพกร้าวลงขาด้านหลัง บางรายอาจร้าวไปถึงน่องและเท้าได้

ปวดข้อเท้าเกิดจากสาเหตุอะไร มีวิธีรักษาอย่างไรไม่ให้เจ็บเรื้อรัง?

ทำความเข้าใจกับอาการปวดข้อเท้าที่ควรรู้ อาการแบบไหนที่ควรเข้าปรึกษาแพทย์? พร้อมเรียนรู้สาเหตุของอาการ วิธีรักษา ตลอดจนการป้องกันไม่ให้เจ็บข้อเท้าเรื้อรัง

คำแนะนำการป้องกันมาลาเรียสำหรับนักเดินทาง

โรคมาลาเรียเป็นโรคที่เกิดจากโปรโตซัว Plasmodium นำโดยยุงก้นปล่อง มีทั้งหมด 5 สายพันธุ์ สายพันธ์ุที่รุนแรงคือ Plasmodium falciparum ซึ่งเป็นสายพันธุ์หลักในทวีปแอฟริกา ทำให้เกิดการติดเชื้อรุนแรง อวัยวะต่างๆล้มเหลว ติดเชื้อขึ้นสมอง โคม่า ชัก และเสียชีวิตได้ หากได้รับการรักษาที่ล่าช้า

ไส้เลื่อน ใครก็เป็นได้ อันตรายที่ต้องรักษาก่อนเกิดภาวะแทรกซ้อน

ไส้เลื่อน คือภาวะที่ลำไส้เลื่อนหรือดันออกมาจากช่องท้อง สามารถสังเกตเห็นก้อนนูนออกมาตามขาหนีบ หน้าท้อง สะดือ หากไม่รักษาอาจเกิดอันตรายจากอาการแทรกซ้อนได้

รู้ทันต้อหิน โรคร้ายทำลายการมองเห็น รีบรักษาก่อนสายเกินแก้

ต้อหิน (Glaucoma) คือโรคตาที่มีสาเหตุจากขั้วประสาทตาเสื่อม ผู้ป่วยจะมีอาการปวดหัวปวดตา กระจกตาขุ่น การมองเห็นแย่ลง และค่อย ๆ สูญเสียการมองเห็นไปในที่สุด

Hypothyroidism คืออะไร? รู้ทันสาเหตุ อาการ และวิธีรักษา

Hypothyroidism คือ ภาวะพร่องฮอร์โมนไทรอยด์ หรือฮอร์โมนไทรอยด์ทำงานต่ำ ทำให้ระดับการเผาผลาญพลังงานลดลง และนำมาสู่การทำงานของระบบต่าง ๆ ผิดปกติ

รู้ทันอาการน้ำในหูไม่เท่ากัน ใครเวียนหัว บ้านหมุนบ่อยต้องระวัง

โรคน้ำในหูไม่เท่ากัน เป็นความผิดปกติของระบบน้ำในหูชั้นใน ซึ่งสามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ ทำให้ผู้ป่วยมีอาการ เวียนหัว บ้านหมุน ทรงตัวไม่อยู่ และการได้ยินผิดปกติ

หายใจไม่อิ่ม หายใจลำบาก สัญญาณอันตรายที่คุณไม่ควรมองข้าม

หายใจไม่อิ่ม เป็นอาการที่หลายคนเผชิญ อาจมีอาการแน่นหน้าอก หายใจไม่เต็มปอด หายใจลำบาก หัวใจเต้นเร็ว เหนื่อยง่าย บทนี้ความจะพาไปดูสาเหตุของอาการเหล่านี้กัน

ภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน อันตรายถึงชีวิตแบบไร้สัญญาณเตือน

หัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน (Sudden Cardiac Arrest) คือ ภาวะที่หัวใจหยุดทำงานกะทันหัน ทำให้หมดสติและเสียชีวิตในไม่กี่นาที จึงเป็นภาวะฉุกเฉินที่ต้องรับการรักษาทันที

Copyright © 2024 All Rights Reserved | Praram 9 Hospital