บทความสุขภาพ

Knowledge

การดูแลสุขภาพสำหรับผู้ที่เป็นโรคภูมิแพ้ในช่วง covid-19 ระบาด

รศ.พญ. รวีรัตน์ สิชฌรังษี

ในช่วงที่โรค COVID-19 ระบาดนี้ ผู้ป่วยที่เป็นโรคภูมิแพ้ทางเดินหายใจ ได้แก่ โรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้และโรคหืด ทั้งเด็กและผู้ใหญ่จะมีความกังวลใจกว่าสภาวะปกติ เมื่ออาการของโรคภูมิแพ้กำเริบ โดยมักจะกังวลว่าเป็นอาการของโรค COVID-19 หรือเปล่า หลายท่านก็กังวลว่าหากเป็นโรคภูมิแพ้อยู่แล้วจะทำให้มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรค COVID-19 มากกว่าปกติ และหากเป็นแล้วจะมีอาการรุนแรงกว่าปกติหรือไม่ วันนี้หมอมีคำตอบค่ะ


มีรายงานการวิจัย ในวารสารเกี่ยวกับโรคภูมิแพ้ชื่อว่า Allergy ฉบับเดือนกุมภาพันธ์ 2020 นี้ซึ่งได้ทำการเก็บข้อมูลในผู้ป่วยชาวจีนที่เมืองอู่ฮั่นได้ข้อสรุปว่า ผู้ป่วยโรคภูมิแพ้ทางเดินหายใจนั้นไม่ได้เป็นกลุ่มเสี่ยงในการเป็นโรค COVID-19 และไม่ได้ทำให้อาการของโรครุนแรงขึ้นแต่อย่างใด


ทั้งนี้ หากผู้ป่วยมีโรคประจำตัวอื่นๆที่ไม่ได้เกี่ยวกับภูมิแพ้ก็อาจจะต้องพึงระวังไว้เพราะโรคที่พบได้บ่อยในผู้ป่วย COVID-19 จากรายงานการวิจัยนี้พบว่าได้แก่ โรคความดันโลหิตสูง รวมถึงโรคหัวใจและหลอดเลือดอื่นๆ และโรคเบาหวาน โดยผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงมักเป็นผู้สูงอายุโดยเฉพาะอายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไป


สำหรับอาการที่พบบ่อยของโรค COVID-19 คือ ไอ และมีไข้ นอกจากนี้มีสิ่งที่น่าสนใจคือจากรายงานการวิจัยนี้พบว่าผู้ป่วยเกือบ 40 เปอร์เซ็นต์มีอาการในระบบทางเดินอาหาร คือ คลื่นไส้อาเจียนร่วมด้วย


ดังนั้นผู้ป่วยที่เป็นโรคภูมิแพ้หากมีอาการแค่เพียงไอ ไม่มีไข้ ไม่มีอ่อนเพลีย ไม่มีอาการคลื่นไส้อาเจียนเลยโอกาสที่อาการต่างๆจะเกิดจากโรค COVID-19 ก็ย่อมจะมีน้อย นอกจากนี้ยังมีรายงานที่บอกว่าอาการจาม และมีน้ำมูก คัดจมูกที่พบบ่อยในโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ก็พบได้น้อยในโรค COVID-19 ดังนั้นหากมีอาการทางจมูกเด่นโอกาสที่จะเกิดจากโรค COVID-19 ก็ย่อมน้อย เช่นกันค่ะ


ในปัจจุบันถึงแม้ว่าจะยังไม่ได้มีรายงานการศึกษาที่ชัดเจนว่าโรคภูมิแพ้จะเป็นปัจจัยเสี่ยงของโรค COVID-19 แต่หากเราเป็นโรคภูมิแพ้ทางเดินหายใจและอยู่ในช่วงที่มีโรคระบาดเป็นโรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจเช่นนี้เราก็ควรจะดูแลรักษาสุขภาพให้แข็งแรง นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ หลีกเลี่ยงสิ่งที่แพ้และใช้ยาที่เคยได้รับจากคุณหมอเพื่อบรรเทาอาการและควบคุมไม่ให้โรคภูมิแพ้กำเริบ ดังนี้คือ


  • โรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ หากมีอาการไม่มาก ก็ใช้ยาแก้แพ้ชนิดรับประทาน แต่หากมีอาการบ่อยมากกว่า 4 วันต่อสัปดาห์ หรือมีอาการมากจนรบกวนชีวิตประจำวันก็ควรใช้ยาสเตียรอยด์พ่นจมูกที่เคยได้รับจากคุณหมอ
  • โรคหืด ควรใช้ยาพ่นหรือสูดสเตียรอยด์หรือยาชนิดรับประทานที่ใช้ควบคุมอาการต่อเนื่อง ตามที่คุณหมอแนะนำให้ใช้อย่างเคร่งครัด ไม่ควรหยุดยาเอง ทั้งนี้เพื่อป้องกันอาการของโรคภูมิแพ้กำเริบ ซึ่งแม้ว่าจะไม่ได้เพิ่มความเสี่ยงของการเกิดโรค COVID-19 แต่ก็จะทำให้เราคลายความวิตกกังวลหากอาการภูมิแพ้กำเริบ ว่าอาการนั้นเป็นแค่อาการของโรคภูมิแพ้ หรือเป็นอาการของโรค COVID-19 กันแน่

***ทั้งนี้หากมีอาการไอมาก หรือหายใจเหนื่อย ไม่แน่ใจว่าเกิดจากสาเหตุใดกันแน่ ก็ควรมาพบคุณหมอเพื่อหาสาเหตุและรับการรักษาอย่างถูกต้องที่โรงพยาบาลดีกว่านะคะ


ข้อแนะนำอีกอย่างหนึ่งที่หมออยากฝากไว้ก็คือในช่วงนี้ผู้ป่วยโรคภูมิแพ้ทางเดินหายใจโดยเฉพาะโรคหืดนั้นควรได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ เพราะอีกไม่นานก็จะเข้าสู่ฤดูฝนซึ่งไข้หวัดใหญ่จะเริ่มมีการระบาดตามฤดูกาล โรคไข้หวัดใหญ่กับ COVID-19 นั้นมีอาการที่คล้ายคลึงกัน หากเราฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ก็จะลดความเสี่ยงในการเป็นไข้หวัดใหญ่ ซึ่งมีอาการคล้ายกับโรค COVID-19 อันอาจจะทำให้ผู้ป่วยหลายคนเกิดความเข้าใจผิดว่าอาการดังกล่าวเป็นอาการของโรค COVID-19 หรือและนำมาซึ่งความเครียดได้นะคะ

เกี่ยวกับผู้เขียนบทความ

รศ.พญ. รวีรัตน์  สิชฌรังษี

รศ.พญ. รวีรัตน์ สิชฌรังษี

ศูนย์กุมารเวชกรรม

บทความที่เกี่ยวข้อง (10)

ดูทั้งหมด

หมอนรองกระดูกเสื่อม ต้นเหตุอาการปวดหลังเรื้อรังที่อายุน้อยก็พบได้

หมอนรองกระดูกเสื่อมคือภาวะที่เกิดจากการเสื่อมของหมอนรองกระดูกจนไม่สามารถทำหน้าที่ลดแรงกระแทกได้ ทำให้กระดูกรอบ ๆ สึกและอักเสบขึ้นจนเกิดอาการปวดเรื้อรัง

อาการปวดสะโพกร้าวลงขา อีกหนึ่งสัญญาณเส้นประสาทถูกกดทับ

อาการปวดสะโพกร้าวลงขา (Sciatica pain) เกิดจากการถูกกดทับที่เส้นประสาท ทำให้รู้สึกปวดจากช่วงเอวหรือสะโพกร้าวลงขาด้านหลัง บางรายอาจร้าวไปถึงน่องและเท้าได้

ปวดข้อเท้าเกิดจากสาเหตุอะไร มีวิธีรักษาอย่างไรไม่ให้เจ็บเรื้อรัง?

ทำความเข้าใจกับอาการปวดข้อเท้าที่ควรรู้ อาการแบบไหนที่ควรเข้าปรึกษาแพทย์? พร้อมเรียนรู้สาเหตุของอาการ วิธีรักษา ตลอดจนการป้องกันไม่ให้เจ็บข้อเท้าเรื้อรัง

คำแนะนำการป้องกันมาลาเรียสำหรับนักเดินทาง

โรคมาลาเรียเป็นโรคที่เกิดจากโปรโตซัว Plasmodium นำโดยยุงก้นปล่อง มีทั้งหมด 5 สายพันธุ์ สายพันธ์ุที่รุนแรงคือ Plasmodium falciparum ซึ่งเป็นสายพันธุ์หลักในทวีปแอฟริกา ทำให้เกิดการติดเชื้อรุนแรง อวัยวะต่างๆล้มเหลว ติดเชื้อขึ้นสมอง โคม่า ชัก และเสียชีวิตได้ หากได้รับการรักษาที่ล่าช้า

ไส้เลื่อน ใครก็เป็นได้ อันตรายที่ต้องรักษาก่อนเกิดภาวะแทรกซ้อน

ไส้เลื่อน คือภาวะที่ลำไส้เลื่อนหรือดันออกมาจากช่องท้อง สามารถสังเกตเห็นก้อนนูนออกมาตามขาหนีบ หน้าท้อง สะดือ หากไม่รักษาอาจเกิดอันตรายจากอาการแทรกซ้อนได้

รู้ทันต้อหิน โรคร้ายทำลายการมองเห็น รีบรักษาก่อนสายเกินแก้

ต้อหิน (Glaucoma) คือโรคตาที่มีสาเหตุจากขั้วประสาทตาเสื่อม ผู้ป่วยจะมีอาการปวดหัวปวดตา กระจกตาขุ่น การมองเห็นแย่ลง และค่อย ๆ สูญเสียการมองเห็นไปในที่สุด

Hypothyroidism คืออะไร? รู้ทันสาเหตุ อาการ และวิธีรักษา

Hypothyroidism คือ ภาวะพร่องฮอร์โมนไทรอยด์ หรือฮอร์โมนไทรอยด์ทำงานต่ำ ทำให้ระดับการเผาผลาญพลังงานลดลง และนำมาสู่การทำงานของระบบต่าง ๆ ผิดปกติ

รู้ทันอาการน้ำในหูไม่เท่ากัน ใครเวียนหัว บ้านหมุนบ่อยต้องระวัง

โรคน้ำในหูไม่เท่ากัน เป็นความผิดปกติของระบบน้ำในหูชั้นใน ซึ่งสามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ ทำให้ผู้ป่วยมีอาการ เวียนหัว บ้านหมุน ทรงตัวไม่อยู่ และการได้ยินผิดปกติ

หายใจไม่อิ่ม หายใจลำบาก สัญญาณอันตรายที่คุณไม่ควรมองข้าม

หายใจไม่อิ่ม เป็นอาการที่หลายคนเผชิญ อาจมีอาการแน่นหน้าอก หายใจไม่เต็มปอด หายใจลำบาก หัวใจเต้นเร็ว เหนื่อยง่าย บทนี้ความจะพาไปดูสาเหตุของอาการเหล่านี้กัน

ภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน อันตรายถึงชีวิตแบบไร้สัญญาณเตือน

หัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน (Sudden Cardiac Arrest) คือ ภาวะที่หัวใจหยุดทำงานกะทันหัน ทำให้หมดสติและเสียชีวิตในไม่กี่นาที จึงเป็นภาวะฉุกเฉินที่ต้องรับการรักษาทันที

Copyright © 2024 All Rights Reserved | Praram 9 Hospital