บทความสุขภาพ

Knowledge

ปอดบวม โรคใกล้ตัวเด็ก ที่ไม่ควรมองข้าม

ฤดูหนาว หนึ่งโรคที่คุณพ่อคุณแม่ อย่าชะล่าใจ นั่นก็คือ โรคปอดบวม หากลูกน้อยมีไข้ และไอต่อเนื่องกว่า 3 วัน ร่วมกับอาการหอบเหนื่อย


อาจไม่ใช่แค่ไข้หวัดธรรมดา แต่อาจเป็นอาการของโรคปอดบวม ที่สามารถคร่าชีวิตลูกของคุณได้ แต่อย่าเพิ่งตกใจไปนะคะ โรคปอดบวมสามารถป้องกันและรักษาได้ เพียงรู้จักสังเกตสัญญาณของโรคแต่เนิ่นๆ รู้แบบนี้แล้วเราไปทำความรู้จักกับโรคนี้กัน


โรคปอดบวมเป็น 1 ในโรคที่มักจะมากับช่วงหน้าหนาว โดยส่วนมากจะระบาดในเด็กและผู้สูงอายุที่ภูมิต้านทานไม่แข็งแรงรวมไปถึงผู้ป่วยโรคภูมิแพ้ทางเดินหายใจ โดยสาเหตุหลักๆนั้นมาจากการติดเชื้อแบคทีเรีย Pneumococcus แต่ยังมีเชื้อแบคทีเรียและไวรัสอีกหลากหลายชนิดที่สามารถทำให้เกิดอาการอักเสบของปอดได้เช่นกัน


รู้ได้อย่างไรว่าเป็นเราเป็นปอดบวม


อาการเบื้องต้นจะมีไข้ บางรายอาจมีอาการหนาวสั่น ไอมีเสมหะ อัตราการหายใจเร็วกว่าปกติ หรือหอบ ในบางรายอาจมีอาการอื่นๆ เช่น เจ็บชายโครงขณะหายใจลึกๆ หรือไอ ปวดศรีษะ เบื่ออาหาร ปวดเมื่อยตามตัว เด็กทารกหรือเด็กเล็ก อาจมีอาการปวดท้อง ท้องอืด อาเจียน ซึม ร้องกวน ไม่ดูดนม ร่วมด้วย และบางรายอาจมีอาการชักจากไข้ ในเด็กทารกหรือเด็กเล็กที่เป็นมากจะมีอาการหายใจหอบเร็วมาก ถ้าอาการปอดบวมเป็นรุนแรง อาจมีการหายใจลำบาก หน้าอกบุ๋ม ปีกจมูกบาน ริมฝีปากเขียว ซึ่งควรรีบพบแพทย์แพทย์ตรวจวินิจฉัยโดยเร็ว เนื่องจากหากเป็นเด็กเล็กหรือผู้มีโรคประจำตัว เช่น ผู้ป่วยภูมิคุ้มกันบกพร่องก็มีโอกาสที่จะเป็นรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ และหากแพทย์พบว่ามีอาการปอดบวม จะได้ให้รับประทานยาปฏิชีวนะ ควบคู่ไปกับยาลดไข้ ยาละลายเสมหะ และยาขยายหลอดลม พร้อมแนะนำให้ผู้ป่วยดื่มน้ำมากๆ เพราะน้ำจะช่วยละลายเสมหะได้


อย่างไรตาม อาการปอดบวมส่วนใหญ่มักเริ่มจากการเป็นไข้หวัด ดังนั้นเมื่อรู้ว่าเริ่มเป็นไข้หวัด ให้รีบรักษาเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อน พยายามดื่มน้ำอุ่นมากๆ อยู่ในที่อากาศถ่ายเทสะดวก หลีกเลี่ยงการอยู่ในสถานที่แออัด มีคนมาก และหมั่นรักษาความสะอาด ล้างมือบ่อยๆ เพื่อป้องกันเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายของเรา หลีกเลี่ยงควันบุหรี่ ควันไฟ ควันจากท่อไอเสียรถยนต์ หรืออากาศที่หนาวเย็น ไม่ควรให้เด็กที่อายุน้อยกว่า 1 ปีและผู้ที่สุขภาพไม่แข็งแรงไปอยู่ใกล้ชิดผู้ป่วย สำหรับเด็กเล็กควรฉีดวัคซีนป้องกันโรคไอพีดี คือโรครุนแรงที่เกิดจากการ ติดเชื้อแบคทีเรีย Streptococcus pneumonia ที่ทำให้เกิดปอดอักเสบได้ วัคซีนชนิดนี้จะป้องกันการติดเชื้อดังกล่าวและช่วยลดความรุนแรงของโรค

เกี่ยวกับผู้เขียนบทความ

บทความที่เกี่ยวข้อง (10)

ดูทั้งหมด

ไส้เลื่อน ใครก็เป็นได้ อันตรายที่ต้องรักษาก่อนเกิดภาวะแทรกซ้อน

ไส้เลื่อน คือภาวะที่ลำไส้เลื่อนหรือดันออกมาจากช่องท้อง สามารถสังเกตเห็นก้อนนูนออกมาตามขาหนีบ หน้าท้อง สะดือ หากไม่รักษาอาจเกิดอันตรายจากอาการแทรกซ้อนได้

รู้ทันต้อหิน โรคร้ายทำลายการมองเห็น รีบรักษาก่อนสายเกินแก้

ต้อหิน (Glaucoma) คือโรคตาที่มีสาเหตุจากขั้วประสาทตาเสื่อม ผู้ป่วยจะมีอาการปวดหัวปวดตา กระจกตาขุ่น การมองเห็นแย่ลง และค่อย ๆ สูญเสียการมองเห็นไปในที่สุด

Hypothyroidism คืออะไร? รู้ทันสาเหตุ อาการ และวิธีรักษา

Hypothyroidism คือ ภาวะพร่องฮอร์โมนไทรอยด์ หรือฮอร์โมนไทรอยด์ทำงานต่ำ ทำให้ระดับการเผาผลาญพลังงานลดลง และนำมาสู่การทำงานของระบบต่าง ๆ ผิดปกติ

รู้ทันอาการน้ำในหูไม่เท่ากัน ใครเวียนหัว บ้านหมุนบ่อยต้องระวัง

โรคน้ำในหูไม่เท่ากัน เป็นความผิดปกติของระบบน้ำในหูชั้นใน ซึ่งสามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ ทำให้ผู้ป่วยมีอาการ เวียนหัว บ้านหมุน ทรงตัวไม่อยู่ และการได้ยินผิดปกติ

หายใจไม่อิ่ม หายใจลำบาก สัญญาณอันตรายที่คุณไม่ควรมองข้าม

หายใจไม่อิ่ม เป็นอาการที่หลายคนเผชิญ อาจมีอาการแน่นหน้าอก หายใจไม่เต็มปอด หายใจลำบาก หัวใจเต้นเร็ว เหนื่อยง่าย บทนี้ความจะพาไปดูสาเหตุของอาการเหล่านี้กัน

ภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน อันตรายถึงชีวิตแบบไร้สัญญาณเตือน

หัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน (Sudden Cardiac Arrest) คือ ภาวะที่หัวใจหยุดทำงานกะทันหัน ทำให้หมดสติและเสียชีวิตในไม่กี่นาที จึงเป็นภาวะฉุกเฉินที่ต้องรับการรักษาทันที

อาการปวดเข่าคืออะไร มีวิธีป้องกันข้อเข่ามีอะไรบ้าง?

อาการปวดเข่าเป็นอาการที่เกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น ข้อเข่าเสื่อม และส่งผลต่อชีวิตประจำวันได้ การรู้ถึงสาเหตุ วิธีป้องกัน และการรักษาอาการปวดเข่าจึงเป็นเรื่องสำคัญ

EST คืออะไร? การตรวจสมรรถภาพหัวใจ Exercise Stress Test

EST (Exercise Stress Test) คือ การออกกำลังกายตรวจสมรรถภาพหัวใจ เป็นวิธีวินิจฉัยสุขภาพหัวใจเพื่อทำการรักษาต่อไป EST มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง? บทความนี้มีคำตอบ

ภาวะข้อไหล่หลุดคืออะไร รู้สาเหตุ อาการ และวิธีรักษาให้หายดี

ภาวะข้อไหล่หลุดคืออาการที่พบได้บ่อยในคนที่ใช้แรงเยอะ ๆ หรือเคยไหล่หลุดมาก่อน มาดูกันว่าอะไรคือสาเหตุที่ทำให้ไหล่หลุดได้บ้าง และจะต้องดูแลรักษาตัวอย่างไ

กระดูกคอเสื่อมอันตรายไหม? รู้จักอาการ สาเหตุ และการป้องกัน

โรคกระดูกคอเสื่อมอันตรายไหม? ชวนคุณมาทำความรู้จักกับอาการ สาเหตุ และการรักษา เพื่อป้องกันสุขภาพตัวเองไม่ให้กระดูกคอได้รับบาดเจ็บ

Copyright © 2024 All Rights Reserved | Praram 9 Hospital