บทความสุขภาพ

Knowledge

Heart Health

พญ. พรพิชญา บุญดี

กาแฟค่านิยมในปัจจุบัน?


ทุกคนคงทราบกันดีว่า กาแฟเป็นเครื่องดื่มที่นิยมดื่มกันอย่างแพร่หลายในทุกประเทศทั่วโลก โดยเฉพาะวัยทำงาน ในหมู่หนุ่มสาวชาวออฟฟิศ และปัจจุบันเป็นที่นิยมมากขึ้นในวัยรุ่นและนักศึกษา


Coffee-Cup-1024x576-1.jpg

จากการสำรวจในปี 2015 คนไทยบริโภคกาแฟอยู่ที่ 0.9 กก.ต่อคนต่อปี ในปี 2020 กลับมียอดการบริโภคที่มากขึ้นเป็น 1.2 กก. ต่อคนต่อปี และมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ * หมายเหตุ กาแฟ 1 กก. สามารถทำกาแฟออกมาได้เฉลีย 50-60 แก้ว ถ้าใช้กาแฟต่อแก้วที่ 17-20 กรัม*


จากการที่กาแฟเป็นที่นิยมอย่างมาก จึงมีการศึกษามากมายถึงคุณสมบัติของกาแฟว่ามีประโยชน์และโทษต่อสุขภาพอย่างไรบ้าง

ก่อนอื่นมารู้จักกาแฟกันคร่าว ๆ ก่อนนะคะ


Coffee-Cup-1-1024x576-1.jpg

• กาแฟเป็นพืชในตระกลูวงศ์เข็ม (Rubiaceae) มีผลลักษณะคล้ายผลเบอรี่ (Berry) จากเมล็ดกาแฟสีเขียว ๆ เวลาผลสุกจะมีสีแดงบางสายพันธุ์ผลสุกจะมีสีเหลือง และสีแดงอมม่วง กว่าจะเป็นกาแฟที่พวกเราดื่มกันนั้นต้องผ่านกระบวนการแปรรูปหลายขั้นตอนเริ่มจากการปลูกให้ได้คุณภาพ การเก็บเมล็ดที่ดี การขัดและล้างเมือก (ในกรณที่ทำ process แบบ wash) จนถึงการตากให้แห้ง หลังจากนั้นจึงนำไปสีเปลือกแข็ง (กะลากาแฟ) ออก หลังจากสีกะลาออกแล้วจึงนำไปคัดเมล็ดเสีย และคัดขนาดให้ได้ขนาดที่ใกล้เคียงกันทุกเมล็ดจึงนำไปคั่ว


ซึ่งในกระบวนการการคั่วนี้เองจะเกิดสารที่ชื่อว่า “caffeol หรือ cafestrol” ซึ่งเคยมีการศึกษามาก่อนหน้านี้ว่า แสดงว่าเจ้าสารตัวนี้จะทำให้ปริมาณไขมันคลอเลสเตอรอลตัวเลว หรือ LDL-cholesterol ในเลือดเพิ่มขึ้น หากเราชงกาแฟแบบวิธีดั้งเดิม โดยไม่ผ่านตัวกรอง เช่น French press, Turkish coffee/Greek coffee, Scandinavian boil ซึ่งกาแฟที่ชงจากเครื่อง espresso หรือวิธี Drip ที่ร้านกาแฟส่วนมากนิยมใช้ในปัจจุบันสามารถสกัดสารตัวนี้ออกไปได้ค่ะ


• นอกจาก คาเฟอีน ที่เรารู้จักกันดีแล้ว ในกาแฟยังมีส่วนประกอบอื่น ๆ อีก เช่น แมกนีเซียม วิตามินบี 2, 3 และ12, โซเดียม, แมงกานีส, โพแทสเซี่ยม, แอลคานีทีน, กรด Quinic, กรด Chlorogenic, น้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว Monosaccharide, สารอัลคาลอยด์ Trigonelline


จะเห็นได้ว่าสารประกอบที่อยู่ในเมล็ดกาแฟนั้นมีเยอะมาก ซึ่งแต่ละตัวก็มีประโยชน์กับร่างกายต่างกันออกไป จากการศึกษาเพิ่มยังพบด้วยว่ากรดที่มีในกาแฟนั้นมีส่วนช่วยป้องกันการเกิดโรคเหงือกอักเสบได้ด้วย


• กาแฟแต่ละชนิดมีปริมาณคาเฟอีนไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับชนิดของเมล็ดกาแฟ, วิธีการคั่วและชง ถ้าเป็นชนิดโรบัสต้าที่ส่วนมากนำไปทำกาแฟกระป๋องสำเร็จรูปจะมีปริมาณคาเฟอีนที่เยอะกว่ากาแฟชนิดอะราบิก้า ประมาณ 2.5-3 เท่า (สมัยที่ต้องอยู่เวรหนัก ๆ หมอก็พึ่งกาแฟกระป๋องเซเว่นนี่ล่ะ ตาตื่นเลย)


ซึ่งถ้าเป็นกาแฟกระป๋องเราสามารดูปริมาณคาเฟอีนจากรายละเอียดข้างกระป๋องได้เลยค่ะ ส่วนกาแฟชนิดอะราบิก้า ปริมาณโดยประมาณตามตารางค่ะ


Coffee-คาเฟอีน-1-1024x576-1.jpg
  • คาเฟอีน ทำให้เรารู้สึกตื่นตัวเมื่อดื่ม เนื่องจากตัวโครงสร้างของคาเฟอีน มีลักษณะที่คล้ายกับสารสื่อประสาทที่ชื่อว่า “Adenosine” ในสมอง ซึ่งมีคุณสมบัติในการกระตุ้นระบบประสาทและส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย
  • ส่วนใหญ่คาเฟอีนจะถูกกำจัดที่ตับ

ผลต่อกาแฟและสุขภาพ


โดยสรุปจากการรีวิวการศึกษาต่าง ๆ ในปัจจุบันนะคะ ซึ่งในการศึกษาจะหมายถึงกาแฟดำเท่านั้น ที่ไม่ได้รวมกาแฟที่มีส่วนประกอบของนมและน้ำตาล


Coffee-calm-1024x576-1.jpg

1. การเสียชีวิต


  • การดื่มกาแฟปริมาณ 2-4 แก้วต่อวัน (ผลดีที่สุดคือ 3.5 แก้ว/วัน) ลดอัตราการเสียชีวิตจากทุกสาเหตุเมื่อเทียบกับคนที่ไม่ดื่มกาแฟ

2.ระบบหัวใจและหลอดเลือด


  • การดื่มกาแฟยิ่งเยอะยิ่งลดการเสียชีวิตจากโรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โดยปริมาณ 4-5 แก้วต่อวัน คือความสัมพันธ์ที่พบว่าลดได้มากที่สุด โดยไม่ขึ้นกับว่ากาแฟนั้นเป็นชนิด decaf* หรือไม่ (* decaf คือการที่สกัดสารคาเฟอีนออกจากกาแฟ คำนิยาม decaf ของแต่ละประเทศไม่เท่ากัน แต่ส่วนใหญ่มักจะสกัดออกมากกว่า 97% เหลือคาเฟอีนประมาณ 2 mg เมื่อเทียบกับขนาดปกติคือ 95mg)
  • การดื่มกาแฟไม่มีผลต่อการควบคุมความดันโลหิต
  • ไม่มีหลักฐานที่แสดงได้ชัดว่าเพิ่มการเกิดภาวะหรือหัวใจเต้นผิดจังหวะ/หัวใจเต้นระริก
  • การดื่มกาแฟไม่มีผลต่อระดับไขมันคลอเลสเตอรอลในเลือด (เน้นว่า แน่นอนหมายถึงกาแฟดำ ที่ไม่มีส่วนผสมของนมหรือครีมเทียมค่ะ) แต่ต้องปริมาณที่ไม่เกิน 6 แก้วต่อวันและชงผ่านตัวกรองนะคะ

3.สุขภาพจิต


  • มีการวิจัยที่กำลังรอผลการศึกษาพบว่า การดื่มกาแฟอาจจะลดการเกิดภาวะความจำเสื่อมและโรคหลงลืม หรือเรียกภาวะโรคนี้ว่าโรคอัลไซม์เมอร์
  • ไม่มีหลักฐานแน่ในเรื่องความสัมพันธ์ของการเกิดภาวะซึมเศร้า

4.เบาหวาน


  • การดื่มกาแฟไม่ว่าจะเป็นชนิด decaf หรือปกติ สามารถลดอัตราการเกิดโรคเบาหวานชนิดไม่พึ่งอินซูลินได้

5.มะเร็ง


  • การดื่มกาแฟไม่มีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคมะเร็ง

6.โรคตับ


  • การการดื่มกาแฟ 2 แก้วต่อวันช่วยชะลอการเกิดภาวะตับแข็งในผู้ป่วยโรคตับ จากการที่กาแฟมีที่ช่วยในการยับยั้งการเกิดผังผืดในตับ

Black-Coffee-1024x576-1.jpg

จะเห็นได้ว่าการดื่มกาแฟดำ (เน้นย้ำนะคะว่ากาแฟดำ) ในปริมาณที่พอเหมาะ คือปริมาณ 3-5 แก้วหรือคาเฟอีนประมาณ 300-400 mg ต่อวัน ยังไม่พบว่ามีโทษและอาจจะยังมีประโยชน์ในบางเรื่อง แต่อย่างไรก็ตามการศึกษาหลายอย่างยังมีปัจจัยหลอก และอาจจะมีข้อมูลด้านอื่นในภายหลังเมื่อมีการศึกษาเพิ่มเติม เพราะฉะนั้นเราไม่ควรบริโภคกาแฟมากเกินไป ซึ่งจะส่งผลดีทั้งต่อร่างกายและเงินในกระเป๋าด้วยค่ะ


โดยส่วนตัวถึงแม้ว่ากาแฟจะมีประโยชน์มากมายแต่สำหรับใครที่ไม่เคยดื่มก็ไม่จำเป็นต้องพยายามจะหามาดื่มนะคะ เพราะถ้าเรารับประทานอาหารให้ครบห้าหมู่ พักผ่อนและออกกำลังกายเพียงพอ เท่านี้ร่างกายเราก็จะแข็งแรงห่างไกลจากโรคได้ค่ะ และหมอไม่แนะนำคนที่ตั้งครรภ์ดื่มกาแฟนะคะเพราะคาเฟอีนมีผลต่อการไหลเวียนของทารกในครรภ์ทำให้หัวใจของทารกนั้นเต้นเร็วขึ้นและมีผลต่อการพัฒนาของตัวอ่อนทารกในครรภ์ได้ค่ะ


Presentation3-709x1024-1.jpg



เกี่ยวกับผู้เขียนบทความ

พญ. พรพิชญา บุญดี

พญ. พรพิชญา บุญดี

สถาบันหัวใจและหลอดเลือดพระรามเก้า

บทความที่เกี่ยวข้อง (10)

ดูทั้งหมด

ผ่าตัดไส้เลื่อน วิธีรักษาไส้เลื่อนให้หายดี ลดเสี่ยงภาวะแทรกซ้อน

ผ่าตัดไส้เลื่อน เป็นวิธีรักษาไส้เลื่อนที่มีประสิทธิภาพ ปลอดภัย ไม่น่ากลัวอย่างที่คิด โดยเฉพาะการผ่าแบบส่องกล้อง จะช่วยป้องกันภาวะแทรกซ้อนรุนแรง และลดการเป็นซ้ำได้

เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ สัญญาณเตือนที่ผู้หญิงไม่ควรมองข้าม

เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ (Endometriosis) คือภาวะที่เนื้อเยื่อในโพรงมดลูกเจริญนอกมดลูก เช่น รังไข่หรือท่อนำไข่ ทำให้เกิดการอักเสบและปวดท้องประจำเดือนรุนแรง

เนื้องอกมดลูก อันตรายใกล้ตัวของผู้หญิงที่ไม่ควรมองข้าม

เนื้องอกมดลูก มีสาเหตุมาจากเซลล์กล้ามเนื้อมดลูกเจริญผิดปกติ ผู้ป่วยส่วนมากมักไม่แสดงอาการ และผู้ป่วยบางส่วนอาจมีอาการปวดท้องน้อยรุนแรง ท้องผูก ปัสสาวะบ่อย

ต่อมลูกหมากโต (BHP) อาการเป็นอย่างไร รักษาวิธีไหนได้บ้าง?

โรคต่อมลูกหมากโต (BPH) คือ ภาวะที่ต่อมลูกหมากขยายใหญ่ขึ้น ส่งผลให้ปัสสาวะติดขัดและกระทบต่อคุณภาพชีวิต มักพบได้บ่อยในผู้ชายวัยกลางคนอายุ 50 ปีขึ้นไป

รู้ทันอาการริดสีดวงทวาร กับพฤติกรรมเสี่ยงที่ต้องระมัดระวัง

ริดสีดวงทวาร มีสาเหตุมาจากการเพิ่มแรงดันในช่องทวารหนัก ทำให้เนื้อเยื่อหลอดเลือดในช่องทวารหนัก (Anal cushion) เกิดการขยายตัวเป็นหัวริดสีดวง

ปัสสาวะบ่อย ไม่ใช่เรื่องเล็ก เสี่ยงโรคอันตรายบั่นทอนคุณภาพชีวิต

ปัสสาวะบ่อยเกิดได้จากหลายปัจจัย ตั้งแต่การดื่มน้ำหรือของเหลวในปริมาณมาก ได้รับคาเฟอีนมาก การใช้ยา ไปจนถึงโรคที่เกี่ยวข้องกับทางเดินปัสสาวะ เรียนรู้ในบทความนี้!

การผ่าตัดเปลี่ยนผิวข้อเข่าเทียมบางส่วน ทางเลือกรักษาข้อเข่าเสื่อม แผลเล็ก ฟื้นตัวเร็ว

การผ่าตัดเปลี่ยนผิวข้อเข่าเทียมบางส่วน หรือ UKA เป็นการผ่าตัดรักษาโรคข้อเข่าเสื่อม โดยเอาผิวข้อเฉพาะส่วนที่สึกหรอออก และเก็บผิวข้อเข่าส่วนที่ยังมีสภาพดีไว้ ทำให้ผู้ป่วยไม่ต้องใช้เวลาปรับตัวนาน ในการกลับไปใช้ข้อเข่าได้เหมือนธรรมชาติ

คุณเป็นโรคภูมิแพ้…จริงหรือ…?

คนทั่วไปเมื่อมีอาการคัดจมูก น้ำมูกไหลเรื้อรัง หรือเป็นๆ หายๆ มักจะบอกว่า เป็นโรคภูมิแพ้ หรือไม่ก็เข้าใจว่าตนเป็นหวัด หวัด เกิดจากการติดเชื้อไวรัส คนทั่วไปมักเป็นได้ปีละ 4 – 5 ครั้งก็มากเกินปกติแล้ว อาการหวัดมักเป็นอยู่ 3 – 4 วัน

โรคไข้อีดำอีแดง โรคที่เกิดจากพิษของเชื้อแบคทีเรีย

ข้อมูลจาก สมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทย โรคไข้อีดำอีแดงหรือ scarlet fever เป็นโรคที่เกิดจากพิษของเชื้อแบคทีเรียชื่อ #สเตร็ปโตคอคคัสชนิดเอ ทำให้มีผื่นแดง ตามตัวร่วมกับคอหอยหรือทอนซิลอักเสบ พบบ่อยในช่วงอายุระหว่าง 5-15 ปี

วัคซีนปอดอักเสบนิวโมคอกคัสชนิดใหม่ 20 สายพันธุ์ (PCV 20)

โรคปอดอักเสบจากเชื้อนิวโมคอกคัสเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียสเตรปโตคอคคัสนิวโมเนียอี (Streptococcus pneumoniae) ส่วนใหญ่เชื้อจะพบอยู่ในโพรงจมูกและลำคอ สามารถแพร่กระจายผ่านการสัมผัสสารคัดหลั่งทางละอองฝอยทางการไอหรือจาม เป็นหนึ่งในเชื้อที่ทำให้เกิดปอดอักเสบที่พบบ่อย ทั้งในเด็ก ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ

Copyright © 2024 All Rights Reserved | Praram 9 Hospital