บทความสุขภาพ

Knowledge

เครื่องตรวจน้ำตาลแบบต่อเนื่องสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน เพื่อผลการรักษาที่ดีขึ้น

พญ. ณัฐกานต์ มยุระสาคร

เบาหวานเป็นโรคที่พบได้บ่อยในปัจจุบัน ผู้ป่วยเบาหวานหลายท่านไม่สามารถคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ มักมีค่าน้ำตาลในเลือดแกว่งขึ้นลง บ่อยครั้งที่ผู้ป่วยเบาหวาน เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ มักมีอาการเป็นลม หมดสติ ซึ่งถือเป็นภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง เสี่ยงต่อภาวะโรคหัวใจ


เครื่องตรวจน้ำตาลแบบต่อเนื่อง (continuous glucose monitoring; CGM) เป็นอุปกรณ์ที่สามารถตรวจวัดระดับน้ำตาลได้แบบต่อเนื่องตลอดเวลา และส่งข้อมูลไปยังโทรศัพท์มือถือได้แบบเรียลไทม์ มีระบบเตือนเมื่อระดับน้ำตาลตก ช่วยให้ผู้ป่วยดูแลตนเองได้ และส่งข้อมูลผ่านอินเทอร์เน็ต แพทย์ประจำตัวสามารถเข้าถึงผลน้ำตาลแบบเรียลไทม์ วางแผนการรักษาได้อย่างเหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละราย

เครื่องตรวจน้ำตาลต่อเนื่องคืออะไร?


เครื่องตรวจน้ำตาลแบบต่อเนื่อง (continuous glucose monitoring; CGM) เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้วัดระดับน้ำตาลทุก ๆ 3 นาทีตลอด 24 ชั่วโมง โดยผู้ป่วยจะติดเครื่องนี้เป็นเวลา 2 สัปดาห์


โดยเป็นเครื่องติดที่หน้าท้อง มีเซ็นเซอร์เป็นโลหะปลอดภัย ยาวประมาณ 7 มม. สอดเข้าชั้นไขมันใต้ผิวหนัง แล้วเครื่องดังกล่าวนี้ส่งสัญญาณข้อมูลผ่านบลูทูธเข้าแอพพลิเคชั่นในมือถือและเข้าสู่อินเตอร์เน็ต ซึ่งตัวผู้ป่วย แพทย์และทีมผู้ดูแลสามารถเข้าถึงข้อมูลแบบเรียลไทม์


ใครบ้างที่ควรใช้เครื่องตรวจน้ำตาลแบบต่อเนื่อง?


  • ผู้ป่วยเบาหวานที่มีระดับน้ำตาลในเลือดแกว่งมาก ๆ ได้แก่ ช่วงที่น้ำตาลขึ้นสูงและช่วงที่น้ำตาลตก
  • ผู้ป่วยเบาหวานที่ฉีดยาอินซูลิน 3 ครั้งต่อวันขึ้นไป
  • ผู้ป่วยเบาหวานที่มีปัญหาน้ำตาลในเลือดต่ำบ่อย โดยเฉพาะในรายที่ไม่มีอาการเตือน หน้ามืด หมดสติ
  • ผู้ป่วยเบาหวานที่ระดับน้ำตาลสะสม (HbA1C) สูง แม้จะกินยาสม่ำเสมอ ควบคุมอาหารและออกกำลังกายแล้ว
  • ผู้ป่วยเบาหวานที่อยากเรียนรู้ระดับน้ำตาลของตนเอง



เครื่องตรวจน้ำตาล-fig1.jpg

ผู้ป่วยเบาหวานที่เจาะน้ำตาลปลายนิ้วอยู่แล้ว ทำไมยังต้องติดเครื่องตรวจน้ำตาลแบบต่อเนื่อง?


  • เครื่องตรวจน้ำตาลแบบต่อเนื่องสามารถบอกแนวโน้ม (trend arrow) การขึ้นลงของระดับน้ำตาลซึ่งไม่สามารถบอกได้โดยการเจาะน้ำตาลปลายนิ้ว มีข้อดีคือช่วยในการปรับยา อาหารและการออกกำลังกายได้แบบเรียลไทม์
  • มีแอพพลิเคชั่นเตือน (alarm) ให้ดื่มน้ำหวานทันทีที่น้ำตาลเริ่มตก แม้ในขณะนอนหลับอยู่
  • มีระบบดูแลและเฝ้าระวัง (remote monitoring) จากทีมสหสาขา และใช้ข้อมูลที่ได้จากเครื่องวางแผนปรับพฤติกรรมแบบเรียลไทม์ เพื่อควบคุมค่าระดับน้ำตาลสะสม (estimated HbA1C หรือ glucose management indicator; GMI) ให้ดีขึ้นได้ใน 2 สัปดาห์

ข้อแนะนำสำหรับผู้ใช้เครื่องตรวจน้ำตาลแบบต่อเนื่อง


  • ผู้ป่วยต้องตรวจระดับน้ำตาลปลายนิ้ววันละ 1 – 2 ครั้ง เพื่อตั้งค่าของเครื่องให้ถูกต้อง
  • เนื่องจากการทำงานของเครื่องเป็นการวัดระดับน้ำตาลจากสารน้ำระหว่างเซลล์ที่ตำแหน่งติดอุปกรณ์ ซึ่งระดับน้ำตาลอาจมีค่าแตกต่างจากน้ำตาลปลายนิ้วได้ประมาณ 10 – 20% และอาจช้ากว่าอาการและระดับน้ำตาลในเลือดประมาณ 15 – 20 นาที ในกรณีอาการไม่สัมพันธ์กับค่าที่ได้จากเครื่อง แนะนำให้เจาะน้ำตาลปลายนิ้ว และรักษาตามระดับน้ำตาลปลายนิ้ว
  • อาจทำให้เกิดภูมิแพ้ผิวหนังได้สำหรับคนที่แพ้ง่าย
  • อาจมีอาการรำคาญหรือเจ็บบริเวณที่ติดอุปกรณ์
  • อาจพบการติดเชื้อผิวหนังตำแหน่งติดได้บ้าง ไม่สามารถเข้าเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT) และเครื่องเอกซเรย์คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าได้ (MRI)
  • เครื่องกันน้ำ สามารถอาบน้ำสะดวก
  • อาจพบการติดเชื้อผิวหนังตำแหน่งติดอุปกรณ์ได้บ้าง

ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญกับ Praram 9 V ปรึกษาแพทย์ได้ทุกที่ผ่านทางวิดีโอคอล (Telemedicine)

เกี่ยวกับผู้เขียนบทความ

พญ. ณัฐกานต์  มยุระสาคร

พญ. ณัฐกานต์ มยุระสาคร

ศูนย์เบาหวานและเมตาบอลิก

บทความที่เกี่ยวข้อง (10)

ดูทั้งหมด

ปัสสาวะบ่อย ไม่ใช่เรื่องเล็ก เสี่ยงโรคอันตรายบั่นทอนคุณภาพชีวิต

ปัสสาวะบ่อยเกิดได้จากหลายปัจจัย ตั้งแต่การดื่มน้ำหรือของเหลวในปริมาณมาก ได้รับคาเฟอีนมาก การใช้ยา ไปจนถึงโรคที่เกี่ยวข้องกับทางเดินปัสสาวะ เรียนรู้ในบทความนี้!

การผ่าตัดเปลี่ยนผิวข้อเข่าเทียมบางส่วน ทางเลือกรักษาข้อเข่าเสื่อม แผลเล็ก ฟื้นตัวเร็ว

การผ่าตัดเปลี่ยนผิวข้อเข่าเทียมบางส่วน หรือ UKA เป็นการผ่าตัดรักษาโรคข้อเข่าเสื่อม โดยเอาผิวข้อเฉพาะส่วนที่สึกหรอออก และเก็บผิวข้อเข่าส่วนที่ยังมีสภาพดีไว้ ทำให้ผู้ป่วยไม่ต้องใช้เวลาปรับตัวนาน ในการกลับไปใช้ข้อเข่าได้เหมือนธรรมชาติ

คุณเป็นโรคภูมิแพ้…จริงหรือ…?

คนทั่วไปเมื่อมีอาการคัดจมูก น้ำมูกไหลเรื้อรัง หรือเป็นๆ หายๆ มักจะบอกว่า เป็นโรคภูมิแพ้ หรือไม่ก็เข้าใจว่าตนเป็นหวัด หวัด เกิดจากการติดเชื้อไวรัส คนทั่วไปมักเป็นได้ปีละ 4 – 5 ครั้งก็มากเกินปกติแล้ว อาการหวัดมักเป็นอยู่ 3 – 4 วัน

โรคไข้อีดำอีแดง โรคที่เกิดจากพิษของเชื้อแบคทีเรีย

ข้อมูลจาก สมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทย โรคไข้อีดำอีแดงหรือ scarlet fever เป็นโรคที่เกิดจากพิษของเชื้อแบคทีเรียชื่อ #สเตร็ปโตคอคคัสชนิดเอ ทำให้มีผื่นแดง ตามตัวร่วมกับคอหอยหรือทอนซิลอักเสบ พบบ่อยในช่วงอายุระหว่าง 5-15 ปี

วัคซีนปอดอักเสบนิวโมคอกคัสชนิดใหม่ 20 สายพันธุ์ (PCV 20)

โรคปอดอักเสบจากเชื้อนิวโมคอกคัสเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียสเตรปโตคอคคัสนิวโมเนียอี (Streptococcus pneumoniae) ส่วนใหญ่เชื้อจะพบอยู่ในโพรงจมูกและลำคอ สามารถแพร่กระจายผ่านการสัมผัสสารคัดหลั่งทางละอองฝอยทางการไอหรือจาม เป็นหนึ่งในเชื้อที่ทำให้เกิดปอดอักเสบที่พบบ่อย ทั้งในเด็ก ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ

โรคแอนแทรกซ์ (Anthrax) โรคติดต่อจากสัตว์สู่คน

โรคแอนแทรกซ์ หรือชาวบ้านเรียกว่าโรคกาลี เป็นโรคที่รู้จักกันมาแต่โบราณกาล แอนแทรกซ์นับว่าเป็นโรคระบาดสำคัญโรคหนึ่งในพระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ. 2499 เป็นโรคติดต่ออันตรายร้ายแรงที่เกิดขึ้นได้ในสัตว์กินหญ้าแทบทุกชนิด ทั้งสัตว์ป่า เช่น ช้าง เก้ง กวาง และสัตว์เลี้ยง เช่น โค กระบือ แพะ แกะ แล้วติดต่อไปยังคนและสัตว์อื่น

บอลลูนหัวใจ: แก้ปัญหาหลอดเลือดหัวใจตีบ โดยไม่ต้องผ่าตัดใหญ่

การทำบอลลูนหัวใจหรือ PCI เป็นการรักษาที่มีประสิทธิภาพในการรักษาภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบ ช่วยให้เลือดไหลเวียนได้สะดวก ลดอาการเจ็บหน้าอก และลดความเสี่ยงของหัวใจวาย เป็นการเปิดหลอดเลือดโดยไม่ต้องผ่าตัดใหญ่ ทำให้ผู้ป่วยฟื้นตัวเร็วขึ้น อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยยังคงต้องดูแลสุขภาพ หมั่นออกกำลังกาย รับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ และลดปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ เพื่อรักษาสุขภาพของหัวใจในระยะยาว

ลิ้นหัวใจเทียมคืออะไร? ทำไมต้องเปลี่ยน? และอะไรบ้างที่คุณควรรู้?

การผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจเทียมเป็นหนึ่งในวิธีการรักษาสำหรับผู้ป่วยที่มีปัญหาลิ้นหัวใจผิดปกติ และการผ่าตัดเปลี่ยนลินหัวใจจะช่วยฟื้นฟูการทำงานของหัวใจให้กลับมาใกล้เคียงปกติ อย่างไรก็ตามผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาจะต้องได้รับการประเมินอย่างละเอียด เพื่อเลือกชนิดของลิ้นหัวใจที่เหมาะสม

หัวใจล้มเหลว อาการเป็นอย่างไร ป้องกันได้อย่างไรบ้าง

หัวใจล้มเหลวคือภาวะที่หัวใจไม่สามารถสูบฉีดเลือดได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้ร่างกายได้รับออกซิเจนและสารอาหารไม่เพียงพอ อาการสำคัญที่ควรสังเกต ได้แก่ เหนื่อยง่าย หายใจลำบาก ขาบวม และน้ำหนักเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่มักเกี่ยวข้องกับโรคหัวใจและหลอดเลือด การวินิจฉัยและรักษาอย่างรวดเร็วจะช่วยลดความเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนรุนแรง

การตัดชิ้นเนื้อส่งตรวจมะเร็ง (Biopsy) หมดความสงสัย วินิจฉัยได้อย่างแม่นยำ

การตัดชิ้นเนื้อส่งตรวจมะเร็ง (Biopsy) คือวิธีที่นิยมในการวินิจฉัยมะเร็ง เนื่องจากความแม่นยำและละเอียดในการบ่งชี้ประเภทของมะเร็ง ทำได้อย่างไร? บทความนี้มีคำตอบ!

Copyright © 2024 All Rights Reserved | Praram 9 Hospital