บทความสุขภาพ

Knowledge

อวสาน น้ำตาลเทียม …. จริงหรือ?

พญ. ณัฐกานต์ มยุระสาคร

สารให้ความหวานแทนน้ำตาล เป็นตัวช่วยสำหรับผู้ที่ต้องการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด และน้ำหนักตัวมายาวนาน พร้อมความกังวลว่ามีผลเสียต่อสุขภาพในระยะยาวหรือไม่ คำแนะนำที่ผ่านมาแนะนำว่าสามารถใช้ได้เพื่อลดการบริโภคน้ำตาล แต่ล่าสุดองค์การอนามัยโลกหรือ WHO ได้ออกแนวทางการใช้สารให้ความหวานกลุ่ม non-sugar sweetener เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2566 ที่ผ่านมา คำแนะนำที่หลายท่านอาจต้องเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคกันอีกครั้ง


ข้อมูลจากการศึกษา


Non-sugar sweetener มีทั้งสารสังเคราะห์และสารสกัดจากธรรมชาติ ได้แก่ อะซีซัลเฟมเค แอสปาร์แตม แอดแวนแทม ไซคลาเมต นีโอแตม แซคคาริน ซูคราโลส และสตีเวีย ซึ่งสกัดจากหญ้าหวาน


การศึกษาระยะสั้นพบว่าการใช้สารให้ความหวานแทนน้ำตาลช่วยควบคุมน้ำหนักตัว แต่ไม่มีผลช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด ลดไขมันในเลือด หรือลดภาวะดื้ออินซูลิน แต่การศึกษาใช้เวลาติดตามผลเป็น 10 ปี พบว่าผู้ที่บริโภคสารให้ความหวานต่อเนื่องกลับมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นและอุบัติการณ์โรคอ้วนมากกว่า เพิ่มโอกาสเกิดโรคเบาหวานชนิดที่สอง โรคหัวใจและหลอดเลือด ได้แก่ หลอดเลือดหัวใจตีบ หลอดเลือดสมอง ความดันโลหิต และเสียชีวิตมากขึ้น


ในสตรีมีครรภ์การรับประทานสารให้ความหวานปริมาณมากเพิ่มโอกาสทารกคลอดก่อนกำหนด ไม่มีผลต่อการเป็นโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ และมีงานวิจัยหนึ่งพบว่าบุตรเป็นโรคหอบหืด และภูมิแพ้มากขึ้น


ส่วนการเกิดมะเร็ง พบความสัมพันธ์ชัดเจนเฉพาะระหว่างสารแซคคารินกับการเกิดโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ


ข้อยกเว้นของคำแนะนำนี้


เนื่องจากการวิจัยต่าง ๆ ของสารให้ความหวานไม่ได้วิจัยในผู้ที่เป็นโรคเบาหวานมาก่อน จึงไม่อาจใช้เป็นคำแนะนำมาตรฐานในรักษาโรคได้


ทั้งนี้ สารให้ความหวานสามารถใช้ได้ในผลิตภัณฑ์อื่นที่ไม่ใช่อาหาร โดยผสมในปริมาณน้อย เช่น ยาที่รู้จักกันดีคือยาละลายเสมหะเม็ดฟู่ หรือยาบำรุงเข่ากลูโคซามีนแบบชงที่มีสารแอสปาร์แตมผสม หรือยาสีฟัน เป็นต้น


ทางเลือกอื่นคือ สารให้ความหวานกลุ่มน้ำตาลแอลกอออล์ เช่น ไซลิทอล ซอร์บิทอล แมนนิทอล อิริทริทอล ไอโซมอลต์ แล็กทิทอล และมอลทิทอล ไม่ได้รวมในการวิจัยเหล่านี้ อย่างไรก็ดี มีบทความวารสาร Nature Medicine วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2566 พบอุบัติการณ์โรคหลอดเลือดหัวใจตีบและหลอดเลือดสมองเพิ่มขึ้นในผู้เข้าร่วมงานวิจัยที่มีระดับสารอิริทริทอลในเลือดสูงเทียบกับกลุ่มที่ระดับสารในเลือดต่ำกว่า โดยพบคำอธิบายในหลอดทดลองและหนูทดลองว่าทำให้เกล็ดเลือดเกาะกลุ่มไวขึ้นและเกิดลิ่มเลือดได้ แม้ว่าการศึกษานี้จะไม่สามารถสรุปได้ว่าการบริโภคอิริทริทอลเป็นสาเหตุของหลอดเลือดอุดตัน ก็ควรติดตามข้อมูลต่อไป


สรุปคำแนะนำขององค์การอนามัยโรค


สารให้ความหวานแทนน้ำตาลไม่ใช่ทางเลือกสุขภาพในการควบคุมน้ำหนักตัวและลดความเสี่ยงของโรค NCD หมายรวม โรคเบาหวานชนิดที่สอง โรคอ้วน โรคหลอดเลือดหัวใจ หลอดเลือดสมอง และอื่นๆ


แนะนำให้รับประทานอาหารที่มีน้ำตาลตามธรรมชาติ เช่น ผลไม้ อาหารและเครื่องดื่มที่ไม่เติมน้ำตาลแทน


“WHO suggests that non-sugar sweeteners not be used as a means of achieving weight control or reducing the risk of noncommunicable diseases.”


สำหรับผู้ป่วยเบาหวาน ซึ่งมีความเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจและหลอดเลือดสมองสูงกว่าคนทั่วไป ควรควบคุมการบริโภคน้ำตาลเช่นเดิม หมอแนะนำให้รับประทานอาหารธรรมชาติที่ผ่านการแปรรูปน้อย เช่น ผลไม้สด นมจืด โยเกิร์ตรสธรรมชาติ ถั่วเปลือกแข็งต่าง ๆ เป็นต้น สารให้ความหวานไม่มีคุณค่าอาหาร ไม่ควรบริโภคต่อเนื่อง


อ้างอิง :

https://www.who.int/publications/i/item/9789240073616

เกี่ยวกับผู้เขียนบทความ

พญ. ณัฐกานต์  มยุระสาคร

พญ. ณัฐกานต์ มยุระสาคร

ศูนย์เบาหวานและเมตาบอลิก

บทความที่เกี่ยวข้อง (10)

ดูทั้งหมด

ไส้เลื่อน ใครก็เป็นได้ อันตรายที่ต้องรักษาก่อนเกิดภาวะแทรกซ้อน

ไส้เลื่อน คือภาวะที่ลำไส้เลื่อนหรือดันออกมาจากช่องท้อง สามารถสังเกตเห็นก้อนนูนออกมาตามขาหนีบ หน้าท้อง สะดือ หากไม่รักษาอาจเกิดอันตรายจากอาการแทรกซ้อนได้

รู้ทันต้อหิน โรคร้ายทำลายการมองเห็น รีบรักษาก่อนสายเกินแก้

ต้อหิน (Glaucoma) คือโรคตาที่มีสาเหตุจากขั้วประสาทตาเสื่อม ผู้ป่วยจะมีอาการปวดหัวปวดตา กระจกตาขุ่น การมองเห็นแย่ลง และค่อย ๆ สูญเสียการมองเห็นไปในที่สุด

Hypothyroidism คืออะไร? รู้ทันสาเหตุ อาการ และวิธีรักษา

Hypothyroidism คือ ภาวะพร่องฮอร์โมนไทรอยด์ หรือฮอร์โมนไทรอยด์ทำงานต่ำ ทำให้ระดับการเผาผลาญพลังงานลดลง และนำมาสู่การทำงานของระบบต่าง ๆ ผิดปกติ

รู้ทันอาการน้ำในหูไม่เท่ากัน ใครเวียนหัว บ้านหมุนบ่อยต้องระวัง

โรคน้ำในหูไม่เท่ากัน เป็นความผิดปกติของระบบน้ำในหูชั้นใน ซึ่งสามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ ทำให้ผู้ป่วยมีอาการ เวียนหัว บ้านหมุน ทรงตัวไม่อยู่ และการได้ยินผิดปกติ

หายใจไม่อิ่ม หายใจลำบาก สัญญาณอันตรายที่คุณไม่ควรมองข้าม

หายใจไม่อิ่ม เป็นอาการที่หลายคนเผชิญ อาจมีอาการแน่นหน้าอก หายใจไม่เต็มปอด หายใจลำบาก หัวใจเต้นเร็ว เหนื่อยง่าย บทนี้ความจะพาไปดูสาเหตุของอาการเหล่านี้กัน

ภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน อันตรายถึงชีวิตแบบไร้สัญญาณเตือน

หัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน (Sudden Cardiac Arrest) คือ ภาวะที่หัวใจหยุดทำงานกะทันหัน ทำให้หมดสติและเสียชีวิตในไม่กี่นาที จึงเป็นภาวะฉุกเฉินที่ต้องรับการรักษาทันที

อาการปวดเข่าคืออะไร มีวิธีป้องกันข้อเข่ามีอะไรบ้าง?

อาการปวดเข่าเป็นอาการที่เกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น ข้อเข่าเสื่อม และส่งผลต่อชีวิตประจำวันได้ การรู้ถึงสาเหตุ วิธีป้องกัน และการรักษาอาการปวดเข่าจึงเป็นเรื่องสำคัญ

EST คืออะไร? การตรวจสมรรถภาพหัวใจ Exercise Stress Test

EST (Exercise Stress Test) คือ การออกกำลังกายตรวจสมรรถภาพหัวใจ เป็นวิธีวินิจฉัยสุขภาพหัวใจเพื่อทำการรักษาต่อไป EST มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง? บทความนี้มีคำตอบ

ภาวะข้อไหล่หลุดคืออะไร รู้สาเหตุ อาการ และวิธีรักษาให้หายดี

ภาวะข้อไหล่หลุดคืออาการที่พบได้บ่อยในคนที่ใช้แรงเยอะ ๆ หรือเคยไหล่หลุดมาก่อน มาดูกันว่าอะไรคือสาเหตุที่ทำให้ไหล่หลุดได้บ้าง และจะต้องดูแลรักษาตัวอย่างไ

กระดูกคอเสื่อมอันตรายไหม? รู้จักอาการ สาเหตุ และการป้องกัน

โรคกระดูกคอเสื่อมอันตรายไหม? ชวนคุณมาทำความรู้จักกับอาการ สาเหตุ และการรักษา เพื่อป้องกันสุขภาพตัวเองไม่ให้กระดูกคอได้รับบาดเจ็บ

Copyright © 2024 All Rights Reserved | Praram 9 Hospital