บทความสุขภาพ

Knowledge

พิษไซยาไนด์ และยาต้านพิษ การช่วยชีวิตคนถูกพิษไซยาไนด์

พญ. ณัฐกานต์ มยุระสาคร

พิษไซยาไนด์ สารพิษร้ายแรงทำให้เสียชีวิตภายในเวลาเป็นนาทีถึงชั่วโมง ถ้าสามารถวินิจฉัยได้ สามารถช่วยชีวิตได้ทันเนื่องจากมียาแก้พิษ (Antidote) โดยเฉพาะ


สาเหตุที่พบบ่อยที่สุด คือ ไฟไหม้บ้าน หรือไฟไหม้รถ เผาวัสดุที่มีคาร์บอนและไนโตรเจน เช่น พลาสติก เมลานีนเรซิน ไนล่อน ไหม ขนสัตว์ และยางสังเคราะห์ หรือในโรงอุตสาหกรรม เช่น การชุบโลหะ พลาสติก ยาง เหมืองแร่ ยาฆ่าแมลง รวมถึงพบในบุหรี่ อาหารดิบ เช่นมันสำปะหลัง หรือ bitter almond (ส่วน sweet almond ที่นิยมกินไม่มีสารไซยาไนด์)


พิษของไซยาไนด์


ยับยั้งการใช้พลังงานจากออกซิเจนของเซลล์ในร่างกาย จึงมีอาการคล้ายภาวะขาดออกซิเจนของอวัยวะต่างๆ และเพิ่มการเผาผลาญแบบไม่ใช้ออกซิเจนทำให้เกิดสารพิษทำให้เลือดเป็นกรด อวัยวะที่ใช้พลังงานมากเช่นสมองจะได้รับผลกระทบ และมีอาการเป็นอันดับแรก คือ ปวดศีรษะ กระวนกระวาย สับสน ซึม หมดสติหรือชัก และระบบหัวใจการไหลเวียนโลหิตล้มเหลว จึงเสียชีวิตอย่างรวดเร็ว อาการเริ่มจากใจสั่น ความดันโลหิตสูง ต่อมาหัวใจเต้นช้าและความดันตก หัวใจเต้นผิดจังหวะ การหายใจช่วงแรกจะเร็ว แล้วช้าลงจนหยุดหายใจ อาจมีอาเจียนและปวดท้อง อาการโดยรวมคล้ายคนถูกพิษคาร์บอนมอนนอกไซด์จากการรมควันท่อไอเสียในรถ หากรอดชีวิตจากพิษไซยาไนด์อาจมีผลต่อเนื่อง มีอาการคล้ายโรคพาร์กินสัน เนื่องจากสมองส่วน basal ganglion ถูกทำลายถาวร หากไม่รอดชีวิต การตรวจชันสูตรศพสามารถตรวจพบสารไซยาไนด์ในเลือดเพื่อบอกสาเหตุของการเสียชีวิตได้


การรับพิษ


ได้ทั้งการหายใจ และดูดซึมทางผิวหนัง เยื่อบุ และทางเดินอาหาร เมื่อเข้าสู่ร่างกายจะกระจายไปทั่วร่างกายอย่างรวดเร็ว อาการเกิดภายในวินาทีหากได้รับทางการหายใจ ส่วนการกินหรือทางผิวหนังมีอาการหลังสัมผัสเป็นนาทีถึงไม่เกินหนึ่งชั่วโมง


การแก้พิษ


ทำได้โดยให้ยา thiosulfate ร่างกายจะเปลี่ยนไซยาไนด์เป็น thiocyanate ซึ่งไม่เป็นพิษและขับออกทางปัสสาวะได้ หรือให้สาร hydrocobalamine ซึ่งเป็นสารตั้งต้นของวิตามินบี 12 เพื่อเปลี่ยนเป็น cyanocobalamine ขับออกทางปัสสาวะเช่นกัน และบางส่วนขับออกทางการหายใจ เหงื่อ และปัสสาวะ การช่วยคนถูกพิษไซยาไนด์จึงห้ามช่วยหายใจแบบ mouth-to-mouth เพราะอาจได้รับพิษด้วย


การตรวจร่างกายผู้ที่สงสัยว่าถูกพิษไซยาไนด์


ผู้ได้รับสารพิษจะมีลักษณะพิเศษคือผิวแดง (cherry-red) เพราะออกซิเจนในหลอดเลือดดำสูง หรือ ผิวม่วงคล้ำได้ ลมหายใจกลิ่นอัลมอนด์หากเกิดพิษจากการสูดดมสาร hydrogen cyanide


การช่วยเหลือเบื้องต้น


หากเกิดจากการสัมผัส ให้ถอดชุดออก ล้างบริเวณสัมผัสด้วยน้ำและสบู่ โดยผู้ช่วยเหลือต้องสวมชุดและหน้ากากเพื่อป้องกันตนเอง ไม่แนะนำให้ล้วงคออาเจียนเนื่องจากไซยาไนด์ดูดซึมอย่างรวดเร็ว


การรักษา


นอกเหนือจากการรักษามาตรฐานผู้ถูกพิษแล้ว รวมถึงการให้ activated charcoal หากได้รับทางการกิน สามารถให้ยาแก้พิษ (Antidote) ได้เลยโดยไม่รอผลตรวจระดับไซยาไนด์ในเลือด ซึ่งคือยาฉีด Hydroxocobalamin คู่กับยาฉีด Sodium thiosulfate เป็นตัวเลือกแรก และยาฉีด Sodium nitrite เป็นตัวเลือกที่สองโดยยังมีโอกาสรอดชีวิตน้อย


หลังได้ยา hydroxocobalamin มีผลข้างเคียง เปลี่ยนสีผิวหนัง เลือด และปัสสาวะเป็นสีแดง 2-3 วัน และการให้ sodium nitrite ทำให้เกิด methemoglobin ในร่างกายเพื่อแย่งจับกับตัวออกฤทธิ์ของสารไซนาไนด์ มีพิษเช่นกันแต่น้อยกว่า ทำให้ความดันโลหิตตก ชีพจรเร็ว ปวดเมื่อยตัว คลื่นไส้ เรียกว่าใช้พิษต้านพิษก็ไม่ผิดนัก

เกี่ยวกับผู้เขียนบทความ

พญ. ณัฐกานต์  มยุระสาคร

พญ. ณัฐกานต์ มยุระสาคร

ศูนย์เบาหวานและเมตาบอลิก

บทความที่เกี่ยวข้อง (10)

ดูทั้งหมด

ไส้เลื่อน ใครก็เป็นได้ อันตรายที่ต้องรักษาก่อนเกิดภาวะแทรกซ้อน

ไส้เลื่อน คือภาวะที่ลำไส้เลื่อนหรือดันออกมาจากช่องท้อง สามารถสังเกตเห็นก้อนนูนออกมาตามขาหนีบ หน้าท้อง สะดือ หากไม่รักษาอาจเกิดอันตรายจากอาการแทรกซ้อนได้

รู้ทันต้อหิน โรคร้ายทำลายการมองเห็น รีบรักษาก่อนสายเกินแก้

ต้อหิน (Glaucoma) คือโรคตาที่มีสาเหตุจากขั้วประสาทตาเสื่อม ผู้ป่วยจะมีอาการปวดหัวปวดตา กระจกตาขุ่น การมองเห็นแย่ลง และค่อย ๆ สูญเสียการมองเห็นไปในที่สุด

Hypothyroidism คืออะไร? รู้ทันสาเหตุ อาการ และวิธีรักษา

Hypothyroidism คือ ภาวะพร่องฮอร์โมนไทรอยด์ หรือฮอร์โมนไทรอยด์ทำงานต่ำ ทำให้ระดับการเผาผลาญพลังงานลดลง และนำมาสู่การทำงานของระบบต่าง ๆ ผิดปกติ

รู้ทันอาการน้ำในหูไม่เท่ากัน ใครเวียนหัว บ้านหมุนบ่อยต้องระวัง

โรคน้ำในหูไม่เท่ากัน เป็นความผิดปกติของระบบน้ำในหูชั้นใน ซึ่งสามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ ทำให้ผู้ป่วยมีอาการ เวียนหัว บ้านหมุน ทรงตัวไม่อยู่ และการได้ยินผิดปกติ

หายใจไม่อิ่ม หายใจลำบาก สัญญาณอันตรายที่คุณไม่ควรมองข้าม

หายใจไม่อิ่ม เป็นอาการที่หลายคนเผชิญ อาจมีอาการแน่นหน้าอก หายใจไม่เต็มปอด หายใจลำบาก หัวใจเต้นเร็ว เหนื่อยง่าย บทนี้ความจะพาไปดูสาเหตุของอาการเหล่านี้กัน

ภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน อันตรายถึงชีวิตแบบไร้สัญญาณเตือน

หัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน (Sudden Cardiac Arrest) คือ ภาวะที่หัวใจหยุดทำงานกะทันหัน ทำให้หมดสติและเสียชีวิตในไม่กี่นาที จึงเป็นภาวะฉุกเฉินที่ต้องรับการรักษาทันที

อาการปวดเข่าคืออะไร มีวิธีป้องกันข้อเข่ามีอะไรบ้าง?

อาการปวดเข่าเป็นอาการที่เกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น ข้อเข่าเสื่อม และส่งผลต่อชีวิตประจำวันได้ การรู้ถึงสาเหตุ วิธีป้องกัน และการรักษาอาการปวดเข่าจึงเป็นเรื่องสำคัญ

EST คืออะไร? การตรวจสมรรถภาพหัวใจ Exercise Stress Test

EST (Exercise Stress Test) คือ การออกกำลังกายตรวจสมรรถภาพหัวใจ เป็นวิธีวินิจฉัยสุขภาพหัวใจเพื่อทำการรักษาต่อไป EST มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง? บทความนี้มีคำตอบ

ภาวะข้อไหล่หลุดคืออะไร รู้สาเหตุ อาการ และวิธีรักษาให้หายดี

ภาวะข้อไหล่หลุดคืออาการที่พบได้บ่อยในคนที่ใช้แรงเยอะ ๆ หรือเคยไหล่หลุดมาก่อน มาดูกันว่าอะไรคือสาเหตุที่ทำให้ไหล่หลุดได้บ้าง และจะต้องดูแลรักษาตัวอย่างไ

กระดูกคอเสื่อมอันตรายไหม? รู้จักอาการ สาเหตุ และการป้องกัน

โรคกระดูกคอเสื่อมอันตรายไหม? ชวนคุณมาทำความรู้จักกับอาการ สาเหตุ และการรักษา เพื่อป้องกันสุขภาพตัวเองไม่ให้กระดูกคอได้รับบาดเจ็บ

Copyright © 2024 All Rights Reserved | Praram 9 Hospital