บทความสุขภาพ

Knowledge

การเสียชีวิตและภาวะแบคทีเรียกินเนื้อ จากการรับประทานหอยนางรมดิบ

พญ. ณัฐกานต์ มยุระสาคร

จากข่าวกรณีมีผู้เสียชีวิตจากการติดเชื้อแบคทีเรีย Vibrio vulnificus ในต่างประเทศนั้น เชื้อนี้เติบโตในทะเลที่มีอุณหภูมิอุ่น ทะเลบ้านเราจึงมีเชื้อนี้ด้วยเช่นกัน โดยเชื้อสามารถเข้าสู่ร่างกายได้ 2 ทาง คือ การรับประทานอาหารกลุ่มหอย กุ้ง ปูและปลาหมึกที่ไม่ปรุงสุก หรือ เข้าทางบาดแผลผิวหนัง แม้แผลขนาดเล็ก เช่น การฝังเข็ม หรือรอยสักใหม่ ๆ ในปัจจุบันการรับประทานอาหารทะเลดิบได้รับความนิยม แต่อาจมีสาเหตุที่ทำให้บางท่านเสียชีวิตได้ คือ ภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง หรือ กลุ่มเสี่ยงติดเชื้อรุนแรง ได้แก่ โรคตับแข็ง โรคพิษสุราเรื้อรัง ตับอักเสบเรื้อรัง รวมถึงตับอักเสบจากไขมันเกาะตับ เบาหวาน ภาวะธาตุเหล็กเกิน โลหิตจางธาลัสซีเมียเมเจอร์ โรคไตวายเรื้อรัง มะเร็งต่อมน้ำเหลือง และคนไข้ที่รับประทานยากดภูมิคุ้มกัน เป็นต้น


อาการ


อาการแสดงมี 2 แบบ คือ การติดเชื้อที่บาดแผล และการติดเชื้อในกระแสเลือดจากการรับประทาน ซึ่งอาการมักเกิดภายใน 3 ชั่วโมงถึง 3 วันหลังได้รับเชื้อ อาการที่พบ ได้แก่ ไข้ ท้องเสีย ปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน ต่อมามีการติดเชื้อในกระแสเลือด ไข้หนาวสั่น ความดันตก ช็อกอย่างรวดเร็ว ส่วนใหญ่ภายใน 12 ชั่วโมงหลังเริ่มมีอาการ และมีรอยโรคทางผิวหนังเฉพาะตัว คือ ผิวหนังพองเป็นตุ่มน้ำที่แขนและขา อาจมีถุงน้ำปนเลือด เนื่องจากมีเกล็ดเลือดต่ำแทรกซ้อน ส่วนคนที่ได้รับเชื้อเข้าทางบาดแผล มีแผลอักเสบ บวมแดง อาการมักไม่รุนแรง แต่ในกลุ่มภูมิคุ้มกันบกพร่องอาจอักเสบมากถึงผิวหนังชั้นใน เยื้อหุ้มกล้ามเนื้ออักเสบ เป็นโรคเนื้อเน่า หรือ แบคทีเรียกินเนื้อคน necrotizing fasciitis ได้


การวินิจฉัย


สามารถวินิจฉัยได้โดยการเพาะเชื้อแบคทีเรียจากเลือดหรือบาดแผล การรักษาด้วยยาปฏิชีวนะ การรักษาประคับประคองทุกอวัยวะในหอบำบัดผู้ป่วยวิกฤติ และผ่าตัดเนื้อตายออกอาจถึงขั้นสูญเสียขาหรือแขน ซึ่งการรักษาโดยเร็วทันท่วงทีช่วยลดการเสียชีวิตได้ ซึ่งโอกาสเสียชีวิตในกลุ่มภูมิคุ้มกันบกพร่องมีสูงถึงร้อยละ 40-90


การป้องกัน


วิธีป้องกันการติดเชื้อ ในกลุ่มเสี่ยงควรหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารกลุ่ม กุ้ง หอย ปู ปลาหมึก ที่ไม่ปรุงสุก หากมีบาดแผลไม่ควรสัมผัสน้ำทะเล ทำความสะอาดแผลด้วยน้ำสะอาด แอลกอฮอล์ล้างแผล และไอโอดีนล้างแผล หมั่นสังเกตอาการ หากแผลมีลักษณะปวด บวมแดง ร้อน ควรรีบปรึกษาแพทย์


แหล่งข่าว “ติดเชื้อแบคทีเรียกินเนื้อ” https://www.tnnthailand.com/news/health/155315/

โดยอาจารย์ฝน


ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญกับ Praram 9 V ปรึกษาแพทย์ได้ทุกที่ผ่านทางวิดีโอคอล (Telemedicine)

เกี่ยวกับผู้เขียนบทความ

พญ. ณัฐกานต์  มยุระสาคร

พญ. ณัฐกานต์ มยุระสาคร

ศูนย์เบาหวานและเมตาบอลิก

บทความที่เกี่ยวข้อง (10)

ดูทั้งหมด

หมอนรองกระดูกเสื่อม ต้นเหตุอาการปวดหลังเรื้อรังที่อายุน้อยก็พบได้

หมอนรองกระดูกเสื่อมคือภาวะที่เกิดจากการเสื่อมของหมอนรองกระดูกจนไม่สามารถทำหน้าที่ลดแรงกระแทกได้ ทำให้กระดูกรอบ ๆ สึกและอักเสบขึ้นจนเกิดอาการปวดเรื้อรัง

อาการปวดสะโพกร้าวลงขา อีกหนึ่งสัญญาณเส้นประสาทถูกกดทับ

อาการปวดสะโพกร้าวลงขา (Sciatica pain) เกิดจากการถูกกดทับที่เส้นประสาท ทำให้รู้สึกปวดจากช่วงเอวหรือสะโพกร้าวลงขาด้านหลัง บางรายอาจร้าวไปถึงน่องและเท้าได้

ปวดข้อเท้าเกิดจากสาเหตุอะไร มีวิธีรักษาอย่างไรไม่ให้เจ็บเรื้อรัง?

ทำความเข้าใจกับอาการปวดข้อเท้าที่ควรรู้ อาการแบบไหนที่ควรเข้าปรึกษาแพทย์? พร้อมเรียนรู้สาเหตุของอาการ วิธีรักษา ตลอดจนการป้องกันไม่ให้เจ็บข้อเท้าเรื้อรัง

คำแนะนำการป้องกันมาลาเรียสำหรับนักเดินทาง

โรคมาลาเรียเป็นโรคที่เกิดจากโปรโตซัว Plasmodium นำโดยยุงก้นปล่อง มีทั้งหมด 5 สายพันธุ์ สายพันธ์ุที่รุนแรงคือ Plasmodium falciparum ซึ่งเป็นสายพันธุ์หลักในทวีปแอฟริกา ทำให้เกิดการติดเชื้อรุนแรง อวัยวะต่างๆล้มเหลว ติดเชื้อขึ้นสมอง โคม่า ชัก และเสียชีวิตได้ หากได้รับการรักษาที่ล่าช้า

ไส้เลื่อน ใครก็เป็นได้ อันตรายที่ต้องรักษาก่อนเกิดภาวะแทรกซ้อน

ไส้เลื่อน คือภาวะที่ลำไส้เลื่อนหรือดันออกมาจากช่องท้อง สามารถสังเกตเห็นก้อนนูนออกมาตามขาหนีบ หน้าท้อง สะดือ หากไม่รักษาอาจเกิดอันตรายจากอาการแทรกซ้อนได้

รู้ทันต้อหิน โรคร้ายทำลายการมองเห็น รีบรักษาก่อนสายเกินแก้

ต้อหิน (Glaucoma) คือโรคตาที่มีสาเหตุจากขั้วประสาทตาเสื่อม ผู้ป่วยจะมีอาการปวดหัวปวดตา กระจกตาขุ่น การมองเห็นแย่ลง และค่อย ๆ สูญเสียการมองเห็นไปในที่สุด

Hypothyroidism คืออะไร? รู้ทันสาเหตุ อาการ และวิธีรักษา

Hypothyroidism คือ ภาวะพร่องฮอร์โมนไทรอยด์ หรือฮอร์โมนไทรอยด์ทำงานต่ำ ทำให้ระดับการเผาผลาญพลังงานลดลง และนำมาสู่การทำงานของระบบต่าง ๆ ผิดปกติ

รู้ทันอาการน้ำในหูไม่เท่ากัน ใครเวียนหัว บ้านหมุนบ่อยต้องระวัง

โรคน้ำในหูไม่เท่ากัน เป็นความผิดปกติของระบบน้ำในหูชั้นใน ซึ่งสามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ ทำให้ผู้ป่วยมีอาการ เวียนหัว บ้านหมุน ทรงตัวไม่อยู่ และการได้ยินผิดปกติ

หายใจไม่อิ่ม หายใจลำบาก สัญญาณอันตรายที่คุณไม่ควรมองข้าม

หายใจไม่อิ่ม เป็นอาการที่หลายคนเผชิญ อาจมีอาการแน่นหน้าอก หายใจไม่เต็มปอด หายใจลำบาก หัวใจเต้นเร็ว เหนื่อยง่าย บทนี้ความจะพาไปดูสาเหตุของอาการเหล่านี้กัน

ภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน อันตรายถึงชีวิตแบบไร้สัญญาณเตือน

หัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน (Sudden Cardiac Arrest) คือ ภาวะที่หัวใจหยุดทำงานกะทันหัน ทำให้หมดสติและเสียชีวิตในไม่กี่นาที จึงเป็นภาวะฉุกเฉินที่ต้องรับการรักษาทันที

Copyright © 2024 All Rights Reserved | Praram 9 Hospital