บทความสุขภาพ

Knowledge

5 คำถาม เรื่อง COVID-19 กับสตรีมีครรภ์

พญ. พลอยนิล พุทธาพิทักษ์พงศ์

ยุคโควิด พวกเราต้องใช้ชีวิตแบบ New Normal ไม่เว้นแม้กระทั่งคุณแม่ตั้งครรภ์ คำถามมากมายที่ตามมา เช่นว่าจะติดง่ายไหม? ติดแล้วจะเป็นอย่างไร? วัคซีนจะฉีดดีหรือไม่? หมอจะมาคอยอัพเดทข้อมูลให้นะคะ เริ่มจาก 5 คำถามที่พบบ่อยดังต่อไปนี้ค่ะ


1.การติดเชื้อโควิด19 ในระหว่างตั้งครรภ์ ทำให้อาการรุนแรงมากขึ้นหรือไม่?


คำตอบ: จากรายงานการพบผู้ป่วยที่ติดเชื้อโควิด19ในระหว่างตั้งครรภ์ พบว่า การติดเชื้อในระหว่างตั้งครรภ์นั้น มีแนวโน้มจะเกิดความรุนแรงของโรคเพิ่มมากขึ้น หากคุณแม่ที่ตั้งครรภ์มีปัจจัยเสี่ยง อาการรุนแรงที่ว่า เช่น เพิ่มโอกาสการต้องเข้ารับการรักษาตัวในหอผู้ป่วยวิกฤต(ICU),เพิ่มโอกาสการใช้เครื่องช่วยหายใจ หรือแม้กระทั่งเพิ่มโอกาสการเสียชีวิต เมื่อเทียบกับการติดเชื้อในกลุ่มวัยเจริญพันธุ์ทั่วไปที่ไม่ได้ตั้งครรภ์


นอกจากนี้ ยังเพิ่มโอกาสในการเกิดภาวะแทรกซ้อนในระหว่างตั้งครรภ์ เช่น เพิ่มโอกาสในการคลอดก่อนกำหนด เมื่อเปรียบเทียบกับสตรีตั้งครรภ์ที่ไม่ได้ติดเชื้อโควิด19 ค่ะ


2.วัคซีนโควิด19 สามารถฉีดในคนท้อง(สตรีมีครรภ์) ได้หรือไม่?


คำตอบ: ปัจจุบัน ข้อมูลเรื่องประสิทธิภาพและความปลอดภัยของวัคซีนโควิด19 ในสตรีตั้งครรภ์ยังมีจำกัด คงต้องคำนึงถึงข้อดีข้อเสียให้ดีก่อนตัดสินใจฉีดวัคซีน


3.ผลข้างเคียงของวัคซีนโควิด19 ในสตรีตั้งครรภ์มีอะไรบ้าง?


คำตอบ: ผลข้างเคียงของวัคซีนโควิด19ในสตรีตั้งครรภ์นั้นไม่ต่างกับบุคคลทั่วไป เช่น อาจมีอาการไข้หลังได้รับวัคซีน โดยในสตรีตั้งครรภ์ แนะนำให้ใช้ยาพาราเซตามอล ในการลดไข้หลังได้รับวัคซีน


นอกจากนี้ ยังมีโอกาสเกิดอาการแพ้วัคซีนได้เช่นเดียวกับการได้รับวัคซีนทั่วๆไป ฉะนั้น ควรเป็นข้อพึงระวังสำหรับคนที่เคยมีปัญหาได้รับวัคซีนชนิดอื่นๆแล้วมีอาการแพ้รุนแรงมาก่อนว่าจะเลือกรับวัคซีนโควิด19หรือไม่


4.จำเป็นต้องตรวจการตั้งครรภ์ก่อนที่จะรับวัคซีนโควิด19 หรือไม่?


คำตอบ: ไม่จำเป็นต้องตรวจการตั้งครรภ์ก่อนฉีดวัคซีนโควิด19 ค่ะนอกจากนี้ตามคำแนะนำของ CDC กล่าวว่าไม่จำเป็นต้องหลีกเลี่ยงการตั้งครรภ์หลังได้รับวัคซีนโควิด19 ชนิด mRNA เนื่องจากตามทฤษฎีวัคซีนจะไม่ได้เข้าไปในนิวเคลียสของเซลล์ จึงไม่น่าจะมีการกลายพันธ์ุทั้งในตัวคุณแม่และทารกในครรภ์หากเกิดการตั้งครรภ์ภายหลังได้รับวัคซีนค่ะ


5.หากอยู่ในระหว่างให้นมบุตร สามารถรับวัคซีนโควิด19ได้หรือไม่?


คำตอบ: ยังไม่มีรายงานด้านความปลอดภัยต่อทารก กรณีมารดาให้นมบุตร ว่าวัคซีนผ่านน้ำนมมากน้อยเพียงใด และส่งกระทบต่อทารกอย่างไรบ้างนะคะ

มีเพียงข้อสันนิษฐานว่า วัคซีนโควิด19 ชนิด mRNA น่าจะไม่ส่งผลกระทบอะไรกับทารกแรกเกิดผ่านน้ำนมมารดา ดังนั้น หากท่านเป็นผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงที่จะต้องสัมผัสผู้ป่วยโควิด19 เช่นเป็นแพทย์ หรือบุคลากรทางการแพทย์ การได้รับวัคซีนน่าจะมีประโยชน์ในแง่ของการช่วยป้องกันโรคมากกว่าค่ะ


covid-19-pregnent-qanda-1.jpg

รู้อย่างนี้แล้ว แม่ๆที่ตั้งครรภ์อย่างเราๆก็ยังคงต้องเฝ้าระวังการติดเชื้อกันต่อไป ไม่ประมาท การ์ดอย่าตก ด้วยการ1. สวมใส่หน้ากากอนามัยตลอดเวลา2. รักษาระยะห่างจากผู้อื่น อย่างน้อย 6 ฟุต3. หลีกเลี่ยงการเข้าไปที่ชุมชน ผู้คนแออัด4. หมั่นล้างมือด้วยสบู่โดยใช้เวลาล้างอย่างน้อย 20 วินาที หรือล้างมือด้วยแอลกอฮอล์เจล ที่มีปริมาณแอลกอฮอล์อย่างน้อยไม่ต่ำกว่า 60% กันนะคะ

เกี่ยวกับผู้เขียนบทความ

พญ. พลอยนิล พุทธาพิทักษ์พงศ์

พญ. พลอยนิล พุทธาพิทักษ์พงศ์

ศูนย์สูตินรีเวช

บทความที่เกี่ยวข้อง (10)

ดูทั้งหมด

หมอนรองกระดูกเสื่อม ต้นเหตุอาการปวดหลังเรื้อรังที่อายุน้อยก็พบได้

หมอนรองกระดูกเสื่อมคือภาวะที่เกิดจากการเสื่อมของหมอนรองกระดูกจนไม่สามารถทำหน้าที่ลดแรงกระแทกได้ ทำให้กระดูกรอบ ๆ สึกและอักเสบขึ้นจนเกิดอาการปวดเรื้อรัง

อาการปวดสะโพกร้าวลงขา อีกหนึ่งสัญญาณเส้นประสาทถูกกดทับ

อาการปวดสะโพกร้าวลงขา (Sciatica pain) เกิดจากการถูกกดทับที่เส้นประสาท ทำให้รู้สึกปวดจากช่วงเอวหรือสะโพกร้าวลงขาด้านหลัง บางรายอาจร้าวไปถึงน่องและเท้าได้

ปวดข้อเท้าเกิดจากสาเหตุอะไร มีวิธีรักษาอย่างไรไม่ให้เจ็บเรื้อรัง?

ทำความเข้าใจกับอาการปวดข้อเท้าที่ควรรู้ อาการแบบไหนที่ควรเข้าปรึกษาแพทย์? พร้อมเรียนรู้สาเหตุของอาการ วิธีรักษา ตลอดจนการป้องกันไม่ให้เจ็บข้อเท้าเรื้อรัง

คำแนะนำการป้องกันมาลาเรียสำหรับนักเดินทาง

โรคมาลาเรียเป็นโรคที่เกิดจากโปรโตซัว Plasmodium นำโดยยุงก้นปล่อง มีทั้งหมด 5 สายพันธุ์ สายพันธ์ุที่รุนแรงคือ Plasmodium falciparum ซึ่งเป็นสายพันธุ์หลักในทวีปแอฟริกา ทำให้เกิดการติดเชื้อรุนแรง อวัยวะต่างๆล้มเหลว ติดเชื้อขึ้นสมอง โคม่า ชัก และเสียชีวิตได้ หากได้รับการรักษาที่ล่าช้า

ไส้เลื่อน ใครก็เป็นได้ อันตรายที่ต้องรักษาก่อนเกิดภาวะแทรกซ้อน

ไส้เลื่อน คือภาวะที่ลำไส้เลื่อนหรือดันออกมาจากช่องท้อง สามารถสังเกตเห็นก้อนนูนออกมาตามขาหนีบ หน้าท้อง สะดือ หากไม่รักษาอาจเกิดอันตรายจากอาการแทรกซ้อนได้

รู้ทันต้อหิน โรคร้ายทำลายการมองเห็น รีบรักษาก่อนสายเกินแก้

ต้อหิน (Glaucoma) คือโรคตาที่มีสาเหตุจากขั้วประสาทตาเสื่อม ผู้ป่วยจะมีอาการปวดหัวปวดตา กระจกตาขุ่น การมองเห็นแย่ลง และค่อย ๆ สูญเสียการมองเห็นไปในที่สุด

Hypothyroidism คืออะไร? รู้ทันสาเหตุ อาการ และวิธีรักษา

Hypothyroidism คือ ภาวะพร่องฮอร์โมนไทรอยด์ หรือฮอร์โมนไทรอยด์ทำงานต่ำ ทำให้ระดับการเผาผลาญพลังงานลดลง และนำมาสู่การทำงานของระบบต่าง ๆ ผิดปกติ

รู้ทันอาการน้ำในหูไม่เท่ากัน ใครเวียนหัว บ้านหมุนบ่อยต้องระวัง

โรคน้ำในหูไม่เท่ากัน เป็นความผิดปกติของระบบน้ำในหูชั้นใน ซึ่งสามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ ทำให้ผู้ป่วยมีอาการ เวียนหัว บ้านหมุน ทรงตัวไม่อยู่ และการได้ยินผิดปกติ

หายใจไม่อิ่ม หายใจลำบาก สัญญาณอันตรายที่คุณไม่ควรมองข้าม

หายใจไม่อิ่ม เป็นอาการที่หลายคนเผชิญ อาจมีอาการแน่นหน้าอก หายใจไม่เต็มปอด หายใจลำบาก หัวใจเต้นเร็ว เหนื่อยง่าย บทนี้ความจะพาไปดูสาเหตุของอาการเหล่านี้กัน

ภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน อันตรายถึงชีวิตแบบไร้สัญญาณเตือน

หัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน (Sudden Cardiac Arrest) คือ ภาวะที่หัวใจหยุดทำงานกะทันหัน ทำให้หมดสติและเสียชีวิตในไม่กี่นาที จึงเป็นภาวะฉุกเฉินที่ต้องรับการรักษาทันที

Copyright © 2024 All Rights Reserved | Praram 9 Hospital