บทความสุขภาพ

Knowledge

เพิ่มพลังใจสู้ภัย Covid-19

พญ. ดุจฤดี อภิวงศ์

หลังจากสถานการณ์โควิด-19ระบาดกันมาได้มากกว่า 2 เดือนแล้ว ปรับตัวเป็นอย่างไรกันบ้างคะ ได้งัดวิชาความรู้มาใช้กันในการปรับตัวช่วงนี้กันอย่างไรบ้างคะ


บางคนผ่านไปได้ด้วยดี บางคนจิตใจยังรับสถานการณ์ไม่ได้ และยังมีบางคนได้รับผลกระทบจมอยู่กับความเครียด หงุดหงิด ไม่พอใจเพราะต้องใช้เวลาในการปรับตัวเพื่อความอยู่รอดเปลี่ยนความเคยชินในการดำเนินชีวิตหลายด้านมาก แค่นี้ก็เกิดความเครียดขึ้นมากแล้ว แต่สำหรับหลายคนก็ค้นพบความสุขในช่วงสถานการณ์นี้ ก็สามารถที่จะพลิกวิกฤต โควิด-19 เป็นโอกาสได้


สำหรับหลายคนที่ยังปรับตัวยังไม่ได้นั้น ก่อนที่จะเข้าสู่การปรับตัว อยากจะให้ลองเริ่มต้นที่การปรับใจตนเองก่อน จะปรับใจได้ก็ต้องใช้คุณสมบัติสำคัญนั่นคือ การยอมรับความจริง ความจริงที่เกิดตรงหน้า คือการรับฟังข่าวสารที่มาจากแหล่งที่มาที่น่าเชื่อถือได้ เพื่อเข้าใจว่าเกิดอะไรขึ้นบ้าง แล้วเราในฐานะบทบาทหรือหน้าที่นี้ จะทำอะไรได้บ้าง นอกจากใส่หน้ากากอนามัย ล้างมือบ่อยๆ และอยู่ห่างจากคนอื่น ในแต่ละบทบาทต่างๆมีรายละเอียดแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล แต่เราจะทำใจยอมรับกับมันที่เกิดขึ้นได้อย่างไร คำตอบคือ ทำใจให้ดีค่ะ ทำใจดีๆ คือใจสบายๆ เป็นกลาง ตั้งสติ แล้วเราจะสงบลง เมื่อสงบลงก็จะเกิดความคิดใหม่ๆ ในการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า และระยะยาว เพื่อความอยู่รอด ปลอดภัยทั้งกายและใจ เพราะฉะนั้นความเครียดน้อยๆแต่พอดี (minimal stress) จะเป็นแรงผลักดันให้เราปรับตัวอยู่รอดได้


แต่ถ้าเมื่อไรเรามีความเครียดในระดับสูงเกินไป (toxic stress) จะก่อให้เกิดผลเสียต่อร่างกายและจิตใจ ร่างกายจะเกิดอาการแปรปรวน ภูมิคุ้มกันตก มีโอกาสเสี่ยงรับเชื้อได้ง่าย ทางจิตใจก็จะเกิดเป็นความวิตกกังวล ความโดดเดี่ยว อารมณ์แปรปรวน อารมณ์ซึมเศร้า เกิดปัญหาใช้สารเสพติด เป็นต้น


ในช่วงสถานการณ์นี้หลายประเทศ รวมถึงประเทศไทย มีมาตรการขอความร่วมมือให้ทุกคน อยู่บ้านเป็นหลัก ทำงานจากที่บ้าน (Work from home) อยากให้มองตรงจุดนี้ว่าเป็นโอกาสที่ดี เป็นโอกาสทองที่เราจะได้มีเวลาพักผ่อน ใช้ชีวิตช้าลงบ้าง หลีกเลี่ยงการจราจรติดขัด ได้ทำอะไรที่เราอยากทำ ซึ่งแต่เดิมไม่มีเวลาทำ และได้มีโอกาสอยู่กับตัวเอง หรือบางครอบครัวก็มีโอกาสใช้เวลาเติมเต็มความสัมพันธ์กับคนใกล้ชิดในครอบครัวที่ห่างเหินกันไป แม้จะต้องห่างกันทางกายภาพในบ้าน ทานข้าวแยกสำรับ นั่งห่างๆกันบ้าง แต่ก็ขอให้คิดเป็นเรื่องสนุกและผ่อนคลาย ใกล้ชิดกันมากขึ้ทางใจ หากิจกรรมดีๆทำร่วมกันในครอบครัว เช่น ปลูกต้นไม้ จัดบ้าน ทำกับข้าว ออกกำลังกายในบ้านร่วมกัน เล่นดนตรีด้วยกัน หรือแม้แต่ช่วยกันแก้ปัญหาการเงิน วางแผนการเงินร่วมกันในครอบครัว ระดมสมองช่วยกันคิดแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในครอบครัว ทั้งที่คั่งค้างไว้นานแล้ว และเพิ่งเกิดขึ้นใหม่ เรียกว่าใช้โอกาสนี้ได้กักตุนอาหารใจ เติมพลังใจ เพื่อเวลาเจอปัญหาอุปสรรคหรือวิกฤตอื่นในอนาคต เราจะได้มีกำลังใจพร้อมสู้ พร้อมแก้ปัญหาต่อไป ความรักความอบอุ่นในครอบครัวถือเป็นขุมพลังอันยิ่งใหญ่ของมนุษย์ที่จะต่อสู้กับอุปสรรคปัญหาให้ผ่านไปได้ด้วยดี หรือแม้ผ่านไปไม่ได้ ก็จะไม่รู้สึกหมดหวัง โดดเดี่ยว ไม่มีที่พึ่ง จนเป็นสาเหตุให้คิดไม่อยากมีชีวิตอยู่อีกต่อไป


การเติมเต็มขุมพลังเหล่านี้ยังทำให้เรามีความหวัง (Hope) แต่ก็อย่าไปคาดหวังให้ผ่านไปเร็วๆ เพราะถ้าเกิดคาดหวัง (Expectation) แล้วผิดหวัง ก็จะเกิดความทุกข์ใจ ความเสียใจตามมา ทุกวิกฤติในที่สุดแล้วนั้นก็จะผ่านพ้นไป มีบางคนใช้เวลาชีวิตช่วงนี้เป็นการฝึกฝนจิตใจ ให้มีสติ มีความผ่อนคลาย มีความยืดหยุ่นในการแก้ปัญหา เปิดรับความคิดความรู้สึกของตัวเอง โดยหมั่นสำรวจความคิด อารมณ์จิตใจตนเองก่อน ฝึกทำให้ถี่บ่อยขึ้นจนเป็นความเคยชินใหม่ จนเป็นชีวิตวิถีใหม่ (New Normal) ไม่ใช่แค่ทางกายภาพ แต่หมายถึงทางจิตใจด้วย ใจที่เป็นใจดี เป็นปกติ เป็นกลางๆ


หนึ่งในเครื่องมือการฝึกฝนร่างกายและจิตใจให้ผ่อนคลายเป็นปกติ คือ การฝึกโยคะ ซึ่งให้โยคะนั้นประโยชน์ทั้งสุขภาพกายและสุขภาพจิตในเวลาเดียวกัน หากแบ่งเวลาฝึกได้เป็นประจำสม่ำเสมอ เหมือนช่วงที่เราอยู่บ้านเป็นส่วนใหญ่นี้ได้ เชื่อว่าจะเจอใจที่ New Normal ได้ไม่ยากค่ะ เพราะโยคะมีงานวิจัยหลายอันให้การสนับสนุนรองรับเกี่ยวกับสมองว่า เพิ่มเลือดไหลเวียนที่สมองส่วนหน้า (Frontal lobe) ทำให้รู้สึกความคิดความอ่าน ความจำดี สดชื่น กระปรี้กระเปร่า และลดเลือดไหลเวียนที่สมองส่วนความกลัว(Amygdala) ทำให้สงบลง จากการหายใจลึกๆยาวๆ ยังทำให้ระบบประสาทอัตโนมัติฝั่งสงบ (Parasympathatic) ทำงานเพิ่มขึ้น เกิดความสงบผ่อนคลาย ส่งผลให้นอนหลับลึกสนิทมากขึ้น ลดการหลั่ง Cortisol เพิ่มการหลั่ง Endophin ทำให้ลดความเจ็บปวดทั้งร่างกายและจิตใจ เพิ่มคลื่นสมอง alpha wave (ส่วนที่เกิดการเรียนรู้)และ theta wave (ส่วนที่ทำให้สงบลึก)


เมื่อเราเครียดจากจิตใจประจำวัน และเกร็งจากท่าทางในการทำงาน มันจะไปสะสมความเครียดในระดับกล้ามเนื้อและเยื่อพังผืด เมื่อฝึกโยคะจะทำให้กล้ามเนื้อ และเนื้อเยื่อพังผืดเหล่านั้นคลายออก ก็จะปลดปล่อยความเครียดทางอารมณ์ความรู้สึกออกมาพร้อมกันด้วย คือความเครียดในกล้ามเนื้อหายไป ความเครียดในทางใจก็หายไปด้วยกัน อารมณ์ผ่อนคลายไป และการทำท่าโยคะ หากทำได้ก็จะเกิดความรู้สึกควบคุมตัวเองได้พัฒนาความเชื่อมั่นในตัวเอง ความพึงพอใจในตังเอง และถ้ายังทำไม่ได้ก็จะเรียนรู้ที่จะปล่อยวาง (let go) อดทน รอคอย พยายามไปด้วยกัน พร้อมๆกัน ฝึกไปนานๆ ระยะเวลา 30 นาที ขึ้นไป ก็จะเกิดสมาธิ เกิดความจดจ่อ(concentration) มีสติ(mindfulness) ความยืดหยุ่นทางกายก็ส่งผลให้เกิดความยืดหยุ่นทางใจตามมาด้วย


ดังนั้นหมอจึงสนใจที่จะเรียนรู้เพิ่มเติม เพื่อเป็นครูสอนโยคะ แม้ประสบการณ์สอนยังไม่มาก แต่เหตุผลนึงที่อยากทำงานสอนนี้ เพราะเป็นการทำงานเชิงป้องกันทางด้านสุขภาพจิตด้วย และได้เริ่มทำคลิปวีดีโอฝึกโยคะเองที่บ้านให้ได้ฝึกตามในเพจ Beauty & Mind yoga เพื่อเป็นการเผยแผ่องค์ความรู้และประสบการณ์ที่ได้เรียนรู้มาเพื่อเป็นประโยชน์แก่คนทั่วไป


อย่างไรก็ตามยังมีเครื่องมือในการฝึกฝนจิตใจอีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็นทางพุทธศาสนา เช่นการเดินจงกรมนั่งสมาธิ หรือการทำดนตรีบำบัด ศิลปะบำบัด รวมทั้งจิตบำบัดแบบอื่นๆ หากเลือกให้เหมาะสมกับตัวเองก็จะเป็นช่องทางเป็นเครื่องมือในการพัฒนาจิตใจให้ได้พบความสุขมากขึ้น ทุกข์น้อยลง ตามลำดับการพัฒนาของจิตใจค่ะ

เกี่ยวกับผู้เขียนบทความ

บทความที่เกี่ยวข้อง (10)

ดูทั้งหมด

“เสื่อม ปวด อ้วน เครียด” 4 ปัญหาสุขภาพมาแรงในปัจจุบัน

ในยุคปัจจุบันที่มีการเปลี่ยนแปลงในหลากหลายด้าน การมีสุขภาพดี เพื่อต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดอย่างรวดเร็ว ย่อมเป็นสิ่งที่ทุกคนต้องการ

Extraordinary Attorney Woo Ep.1 “รักยิ่งใหญ่จากชายคนหนึ่ง”

วิเคราะห์ “อูยองอู” เด็กที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคออทิสติก ผ่านซีรีย์ Extraordinary Attorney Woo โดยจิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น รพ.พระรามเก้าที่ดูแลเด็กออทิสติกมายาวนาน

จิตเวช เด็ก และ วัยรุ่น: ลูกสาวอายุ 4 ขวบ ชอบเถียง และดื้อมาก ขัดใจก็จะร้องไห้ทำอย่างไรดีคะ

จิตเวช เด็ก และ วัยรุ่น: ลูกสาวอายุ 4 ขวบ ชอบเถียง และดื้อมาก ขัดใจก็จะร้องไห้ทำอย่างไรดีคะคำถาม ลูกสาวอายุ 4 ขวบ ชอบเถียง และดื้อมาก ทำอะไรขัดใจก็จะร้องไห้ทำอย่างไรดีคะ ตอนนี้ไม่มีใครปราบได้เลยค่ะ คำตอบ โดย แพทย์หญิงสุภาพร ปิตวิวัฒนานนท์

ใครนอนไม่หลับ ฟังทางนี้!

“คุณเคยเป็นแบบนี้ไหม?” นอนหลับยาก หลับไม่สนิท ตื่นกลางดึกบ่อย ตื่นเช้ากว่าปกติ นอนไม่หลับเรื้อรัง รู้สึกไม่สดชื่นเมื่อตื่นนอน ในช่วงเวลาหนึ่งของชีวิต หลายท่านอาจเคยประสบปัญหาการนอนไม่หลับ

กินอย่างไรห่างไกลความเครียด

เซโรโทนิน สารสื่อประสาทต้านเครียด การมีสารสื่อประสาทในสมองที่มีชื่อว่า ซีโรโทนิน (serotonin) อย่างเพียงพอจะช่วยให้อารมณ์ดี รู้สึกผ่อนคลายและสงบ แต่ในสภาวะเครียดซีโรโทนินจะลดลง ทำให้นอนไม่หลับ หงุดหงิด ขาดสมาธิ และซึมเศร้า

จิตเวช: ห้ามบ่อยๆ หรือจะปล่อยตามใจ

จิตเวช: ห้ามบ่อยๆ หรือจะปล่อยตามใจ ห้ามบ่อยๆ หรือจะปล่อยตามใจ โดย พญ.พยอม อิงคตานุวัฒน์ การเลี้ยงลูกถึงแม้จะเป็นเรื่องของชีวภาพ มนุษย์ไม่ว่าอยู่ที่มุมใดของโลกเมื่อมีลูกก็จะเลี้ยงลูกเป็น หากแต่การเลี้ยงลูกย่อมแตกต่างตามภูมิภาคและวัฒนธรรม

จิตเวช: เห็น…(จิต)…ใจคนแก่บ้าง

จิตเวช: เห็น…(จิต)…ใจคนแก่บ้าง เห็น…(จิต)…ใจคนแก่บ้าง โดย นพ.ประทักษ์ ลิขิตเลอสรวง โปรดอย่าเข้าใจผิดคิดว่าเป็นเรื่องพรรค์นั้นนะครับ ผมหมายถึง “ปัญหาสุขภาพจิตของผู้สูงอายุ” ต่างหาก

จิตเวช: นอน… ใครว่าไม่สำคัญ

จิตเวช: นอน… ใครว่าไม่สำคัญ นอน… ใครว่าไม่สำคัญ น.พ.ประทักษ์ ลิขิตเลอสรวง จิตแพทย์ เมื่อก่อนหากมีใครกล่าวว่า “ กินได้นอนหลับ ” ย่อมถือว่าโชคดีมหาศาลแล้ว ผมก็เคยเชื่อตามนั้น แต่เดี๋ยวนี้ เราคำนึงถึงคุณภาพชีวิตกันมากขึ้น

จิตเวช: ยาบ้า ยาอี ยาม้า เหมือนกันหรือต่างกันตรงไหนคะ

ตเวช: ยาบ้า ยาอี ยาม้า เหมือนกันหรือต่างกันตรงไหนคะ คำถาม ยาบ้า ยาอี ยาม้า เหมือนกันหรือต่างกันตรงไหนคะ ยาพวกนี้มามีส่วนทำอะไรในร่างกายหรือจิตใจเราคะจึงทำให้เราติดมัน คำตอบ โดย นายแพทย์ประทักษ์ ลิขิตเลอสรวง ยาบ้า หรือ ยาม้า เป็นชื่อสารเสพติด

ไอคิว (IQ)

ไอคิวหรือความสามารถทางเชาว์ปัญญาของแต่ละคนมีมาแต่กำเนิด โดยถ่ายทอดจากพันธุกรรมต่อจากพ่อแม่ ไอคิวสามารถพัฒนาให้สมบูรณ์ขึ้นได้ตามช่วงอายุ ซึ่งมีปัจจัยต่าง ๆ เข้ามาเกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นความสมบูรณ์ของระบบประสาทและสมอง รวมถึงสภาพแวดล้อมที่ช่วยส่งเสริมและกระตุ้นการเรียนรู้ ทำให้เกิดพัฒนาการทางไอคิวที่ดีขึ้น

Copyright © 2024 All Rights Reserved | Praram 9 Hospital