บทความสุขภาพ

Knowledge

รู้จักโรคภูมิแพ้ ก่อนโรคร้ายจะรู้จักคุณ

โรคภูมิแพ้ไม่ใช่โรคร้ายแรง เพราะเป็นโรคที่สามารถรักษาให้บรรเทาลงจนคุณรู้สึกดีขึ้นเหมือนเป็นปกติได้ หากได้รับการรักษาและมีการปฏิบัติตนที่ถูกต้อง


โรคภูมิแพ้ แบ่งออกได้เป็น 2 ชนิดใหญ่ๆ คือ โรคภูมิแพ้ตามฤดูกาล และโรคภูมิแพ้ชนิดตลอดปี อาการที่มักพบอยู่เสมอในผู้ป่วยโรคภูมิแพ้ ได้แก่ จาม คัดจมูก ตา หู และลำคอ มีน้ำมูกใสๆ ไหลออกมาบ่อยๆ รู้สึกคัดจมูก ตาแดง และมีน้ำตาไหล นอกจากนี้ยังอาจมีอาการเจ็บคอ ไอ อ่อนเพลีย ปวดท้อง ปวดศีรษะ หรือปวดบริเวณคาง และหน้าผากร่วมด้วย หากคุณมีอาการต่างๆ เหล่านี้ ควรรีบปรึกษาแพทย์ เพื่อตรวจวินิจฉัย และกำหนดวิธีการรักษาโรคภูมิแพ้ที่เหมาะที่สุด เพราะหากปล่อยไว้เรื้อรังอาจกลายเป็นโรคไซนัส และโพรงหลังจมูกอักเสบได้ โรคภูมิแพ้เกิดจากอะไร โรคภูมิแพ้เกิดจากการที่เราหายใจเอาสารบางอย่างที่เรียกว่า “สารแพ้” เข้าไปในร่างกาย ซึ่งสารแพ้ที่สำคัญ ได้แก่ – เกสรดอกไม้ เกล็ดเล็กๆ ของเกสรดอกไม้ที่ปลิวมาตามลม คือสาเหตุสำคัญตัวหนึ่งที่ทำให้เราป่วยเป็นโรคภูมิแพ้ โดยเฉพาะโรคภูมิแพ้ชนิดเป็นไปตามฤดูกาล- ฝุ่นในบ้าน ฝุ่นที่เกาะอยู่ตามที่ต่างๆ ในบ้าน ไม่ว่าจะเป็นบนชั้นหนังสือ ผ้าม่าน ที่นอน หมอน หรือล่องลอยอยู่ทั่วไปในอากาศ จะมีแมลงตัวเล็กมาก เรียกว่า ไรฝุ่น (Dust Mite) เกาะอยู่ และไรฝุ่นนี่เอง คือเจ้าตัวร้ายในบ้าน ที่ทำให้เราป่วยเป็นโรคภูมิแพ้- เชื้อรา เชื้อรามักอยู่ในที่มืดและชื้น เช่น ในห้องน้ำ ใต้ถุนบ้าน ในตู้เย็น ในดินที่ปลูกต้นไม้ เชื้อราขยายพันธุ์โดยการกระจายเกล็ดเล็กๆ ไปในอากาศ เรียกว่า “สปอร์” ถ้าเราสูดหายใจเอาสปอร์เข้าไปก็อาจทำให้เกิดอาการของโรคภูมิแพ้ได้- สัตว์ สัตว์เลี้ยง เช่น แมว สุนัข นก ม้า และกระต่าย ก็เป็นสาเหตุสำคัญของโรคภูมิแพ้เช่นกัน โดยรังแค น้ำลาย และปัสสาวะของสัตว์ รวมทั้งขนนก ล้วนทำให้ป่วยเป็นโรคภูมิแพ้ได้ทั้งสิ้น- มลพิษและสารระคายเคือง เช่น ควันธูป ควันบุหรี่ น้ำหอม สเปรย์ปรับอากาศ ควันไฟจากเตาถ่านและเตาผิง ควันจากท่อไอเสียรถยนต์ และสารที่มีกลิ่นแรงๆ สามารถทำให้เกิดการระคายต่อจมูก และทำให้อาการโรคภูมิแพ้แย่ลง- แมลงสาบ ถ้าบ้านคุณมีแมลงสาบในห้องครัว ท่อระบายน้ำ ตู้กับข้าว ถังขยะ ฝุ่นที่เกิดจากซากหรือชิ้นส่วนของแมลงสาบเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดอาการแพ้ทางจมูกและโรคหอบหืด โดยเฉพาะในเด็ก สารแพ้สร้างปัญหาให้คุณได้อย่างไร ปกติแล้วสารแพ้เป็นสารที่ไม่มีพิษภัยต่อร่างกายของเรา แต่เมื่อคุณเป็นโรคภูมิแพ้ ร่างกายของคุณจะเข้าใจว่า สารแพ้เป็นสิ่งแปลกปลอมที่จำเป็นต้องทำลาย ดังนั้น เมื่อคุณหายใจเอาสารแพ้เข้าไป ร่างกายของคุณก็จะโจมตีสารแพ้เหล่านี้ และจะทำให้ช่องทางเดินอากาศภายในจมูกของคุณเกิดอาการบวมและอักเสบ ซึ่งทำให้คุณเกิดอาการทางจมูก เช่น คัดจมูก คัน มีน้ำมูกไหล สารแพ้ยังสามารถทำให้เกิดอาการผิดปกติในส่วนอื่นของร่างกายคุณได้ เช่น ตา หู และปอด ปฏิกิริยาภูมิแพ้ เมื่อคุณหายใจเอาสารแพ้เข้าไป มันจะไปกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันที่ผิดปกติของร่างกายที่เรียกว่า ภูมิแพ้ ซึ่งจะหลั่งสารเคมีชื่อ “ฮีสตามีน” (Histamine) ออกมา ซึ่งเจ้าฮีสตามีนนี้เองที่ทำให้เกิดอาการระคายเคืองต่อเนื้อเยื่อของจมูก ช่องจมูกเมื่อคุณเป็นโรคภูมิแพ้ – เยื่อบุโพรงจมูกบวม ทำให้มีน้ำขังจนเกิดอาการปวด รวมทั้งปวดศีรษะได้- จมูกสร้างน้ำมูกมากขึ้น ทำให้ช่องจมูกอุดตัน และมีน้ำมูกไหลออกจากจมูก- น้ำมูกไหลลงไปในช่องคอ (Postnasal Drip) ทำให้แสบระคายคอ และไอ โรคแทรกซ้อนจากการเป็นภูมิแพ้เรื้อรัง อาจมีปัญหาอื่นที่เกิดเป็นผลตามมาจากการระคายเคืองและการอักเสบ ซึ่งเกิดจากภูมิแพ้


หากคุณมีอาการอย่างหนึ่งอย่างใดต่อไปนี้ ควรรีบปรึกษาแพทย์เพื่อรับการรักษา


  1. การติดเชื้อของโพรงไซนัส (Sinusitis) น้ำมูกที่ขังเป็นเวลานานในโพรงไซนัส จะมีการติดเชื้อแบคทีเรียขึ้นได้ โดยมีอาการน้ำมูกหรือเสมหะลงคอที่ข้นเหนียวสีเหลือง – เขียว ถ้าเป็นบ่อยๆ จะกลายเป็นโรคไซนัสเรื้อรังได้
  2. ตาอักเสบ สารแพ้อาจทำให้เกิดการระคายเคืองต่อตา ทำให้เยื่อบุตาอักเสบ (Conjunctivitis) มีอาการตาแดง คัน บวม และมีน้ำตาไหล
  3. ติ่งเนื้อในโพรงจมูก (Nasal Polyp) เยื่อบุโพรงจมูกอาจบวมมากจนกลายเป็นติ่งเนื้อเล็กๆ เรียกว่า Polyp ซึ่งอาจบวมโตมากจนอุดตันช่องจมูกได้
  4. ปัญหาของหู หูชั้นกลางกับช่องจมูกมีท่ออากาศเชื่อมต่อกัน ถ้าปฏิกิริยาภูมิแพ้ทำให้ท่อนี้เกิดการอุดตัน อากาศที่ถูกกักไว้ภายในจะทำให้รู้สึกหูอื้อได้ และอาจมีมูกขังภายใน จนเกิดการติดเชื้อและเกิดหูชั้นกลางอักเสบได้
  5. โรคหืด หากคุณเป็นโรคหืด การระคายเคืองและการบวมของทางเดินอากาศที่เข้าสู่ปอดจะทำให้คุณหายใจลำบาก ซึ่งสาเหตุของการระคายเคืองและบวมนี้ บ่อยครั้งพบว่าปฏิกิริยาภูมิแพ้ของจมูกนี้จะกระตุ้นให้โรคหืดกำเริบได้

เกี่ยวกับผู้เขียนบทความ

บทความที่เกี่ยวข้อง (10)

ดูทั้งหมด

ไส้เลื่อน ใครก็เป็นได้ อันตรายที่ต้องรักษาก่อนเกิดภาวะแทรกซ้อน

ไส้เลื่อน คือภาวะที่ลำไส้เลื่อนหรือดันออกมาจากช่องท้อง สามารถสังเกตเห็นก้อนนูนออกมาตามขาหนีบ หน้าท้อง สะดือ หากไม่รักษาอาจเกิดอันตรายจากอาการแทรกซ้อนได้

รู้ทันต้อหิน โรคร้ายทำลายการมองเห็น รีบรักษาก่อนสายเกินแก้

ต้อหิน (Glaucoma) คือโรคตาที่มีสาเหตุจากขั้วประสาทตาเสื่อม ผู้ป่วยจะมีอาการปวดหัวปวดตา กระจกตาขุ่น การมองเห็นแย่ลง และค่อย ๆ สูญเสียการมองเห็นไปในที่สุด

Hypothyroidism คืออะไร? รู้ทันสาเหตุ อาการ และวิธีรักษา

Hypothyroidism คือ ภาวะพร่องฮอร์โมนไทรอยด์ หรือฮอร์โมนไทรอยด์ทำงานต่ำ ทำให้ระดับการเผาผลาญพลังงานลดลง และนำมาสู่การทำงานของระบบต่าง ๆ ผิดปกติ

รู้ทันอาการน้ำในหูไม่เท่ากัน ใครเวียนหัว บ้านหมุนบ่อยต้องระวัง

โรคน้ำในหูไม่เท่ากัน เป็นความผิดปกติของระบบน้ำในหูชั้นใน ซึ่งสามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ ทำให้ผู้ป่วยมีอาการ เวียนหัว บ้านหมุน ทรงตัวไม่อยู่ และการได้ยินผิดปกติ

หายใจไม่อิ่ม หายใจลำบาก สัญญาณอันตรายที่คุณไม่ควรมองข้าม

หายใจไม่อิ่ม เป็นอาการที่หลายคนเผชิญ อาจมีอาการแน่นหน้าอก หายใจไม่เต็มปอด หายใจลำบาก หัวใจเต้นเร็ว เหนื่อยง่าย บทนี้ความจะพาไปดูสาเหตุของอาการเหล่านี้กัน

ภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน อันตรายถึงชีวิตแบบไร้สัญญาณเตือน

หัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน (Sudden Cardiac Arrest) คือ ภาวะที่หัวใจหยุดทำงานกะทันหัน ทำให้หมดสติและเสียชีวิตในไม่กี่นาที จึงเป็นภาวะฉุกเฉินที่ต้องรับการรักษาทันที

อาการปวดเข่าคืออะไร มีวิธีป้องกันข้อเข่ามีอะไรบ้าง?

อาการปวดเข่าเป็นอาการที่เกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น ข้อเข่าเสื่อม และส่งผลต่อชีวิตประจำวันได้ การรู้ถึงสาเหตุ วิธีป้องกัน และการรักษาอาการปวดเข่าจึงเป็นเรื่องสำคัญ

EST คืออะไร? การตรวจสมรรถภาพหัวใจ Exercise Stress Test

EST (Exercise Stress Test) คือ การออกกำลังกายตรวจสมรรถภาพหัวใจ เป็นวิธีวินิจฉัยสุขภาพหัวใจเพื่อทำการรักษาต่อไป EST มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง? บทความนี้มีคำตอบ

ภาวะข้อไหล่หลุดคืออะไร รู้สาเหตุ อาการ และวิธีรักษาให้หายดี

ภาวะข้อไหล่หลุดคืออาการที่พบได้บ่อยในคนที่ใช้แรงเยอะ ๆ หรือเคยไหล่หลุดมาก่อน มาดูกันว่าอะไรคือสาเหตุที่ทำให้ไหล่หลุดได้บ้าง และจะต้องดูแลรักษาตัวอย่างไ

กระดูกคอเสื่อมอันตรายไหม? รู้จักอาการ สาเหตุ และการป้องกัน

โรคกระดูกคอเสื่อมอันตรายไหม? ชวนคุณมาทำความรู้จักกับอาการ สาเหตุ และการรักษา เพื่อป้องกันสุขภาพตัวเองไม่ให้กระดูกคอได้รับบาดเจ็บ

Copyright © 2024 All Rights Reserved | Praram 9 Hospital