บทความสุขภาพ

Knowledge

ไขข้อสงสัย โรคภูมิแพ้ลำไส้ตัวเอง ที่เรียกว่า IBD ทำไมต้องทรมาน และ ลาออก

นพ. ระพีพันธุ์ กัลยาวินัย

Inflammatory Bowel Disease (IBD) เป็นกลุ่มโรคที่มีการอักเสบของระบบทางเดินอาหาร ซึ่งสามารถจำแนกโรคออกได้ 2 โรค คือ Ulcerative Colitis (UC) และ Crohn’s disease


จากกรณี นายกญี่ปุ่น Prime Minister Shinzo Abe พอทราบข่าวว่า โรค Ulcerative colitis แล้ว ทำไมต้องลาออกด้วย ก็ทำให้นึกถึงคนไข้ สองถึงสามคน ที่เคยรักษายาก ๆ และ หายดีกันไปหมดแล้ว เรามารู้จักโรคนี้เป็นข้อ ๆ ดังนี้


ทำไมไม่เคยได้ยินโรคนี้มาก่อน เรียกภาษาไทยว่าอย่างไร


โรคภูมิแพ้ลำไส้ตัวเอง ที่เรียกว่า Inflammatory bowel disease (IBD.) แบ่งเป็น


  1. โรคที่มีลักษณะแพ้ ไล่จากก้นขึ้นไป ลักษณะเป็นการอักเสบแบบตื้น ๆ คือ Ulcerative colitis ชื่อก็บอกแล้วว่า เป็นอักเสบไม่ใช่แค่แดง แต่เป็นแผลตื้น ๆ คล้ายถลอกยาว ๆ เลย โรคภูมิแพ้ลำไส้อันนี้เป็นโรคที่ท่านนายก อาเบะ เป็นครับ
  2. บางคนเป็นแพ้อีกอันหนึ่ง คือ Crohn’s disease ซึ่งตั้งชื่อให้ตามหมอที่ค้นพบ (คุณหมอ Burrill Bernard Crohn) การอักเสบแบบนี้ จะอักเสบเป็นหย่อม แบบไม่แน่นอนเกิดที่ใดก็ได้ และ ลึกกว่า

  • ความที่กลุ่มโรคนี้ไม่ค่อยพบในคนไทย จึงไม่มีชื่อภาษาไทย และ เรา ๆ ก็ไม่เคยเห็นไม่เคยได้ยินกัน เพราะโรคกลุ่มนี้เป็นกันในคนทางยุโรปและอเมริกามากกว่า
  • ความจริงมีข้อตลก ๆ คนยุโรปก็มีคนแพ้แป้งขนมปัง (Gluten พบในขนมปัง พาสต้า และ แคล๊กเกอร์) ด้วย เอ๋า แต่แทบไม่พบในคนไทย เรียกว่าโรค Celiac sprue
  • ขณะที่คนไทยบางคนแพ้ข้าวกล้อง !!!
  • เรียกว่าหมอไทยรักษาคนยุโรปโรคพวกนี้จะงง งง หน่อย ขณะที่หมอที่เก่งมาจากต่างประเทศมารักษาคนไทย ก็อาจพลาดได้ง่าย เพราะโรคคนละกลุ่มกันเลย

inflammatory-bowel-2.jpg

เราจะรู้ได้อย่างไรว่าเป็นโรคนี้ แล้วมันทรมานจนต้องลาออกจากนายก เชียวหรือ


ขอพูดเฉพาะ ulcerative colitis ของท่านนายก อาเบะนะครับ เนื่องจากการอักเสบ จะลามตั้งแต่ขอบก้น ไปจนลำไส้สูงขึ้นไป คนป่วยจะมาด้วยปัญหาที่ทรมานหลายอย่าง


  1. อาการปวดหน่วงถ่าย อยากถ่ายแต่ถ่ายไม่ออก
  2. อาการกลั้นถ่ายไม่อยู่
  3. อาการปวดบีบบิด
  4. อาการถ่ายเป็นเลือดสด
  5. อาการถ่ายเป็นมูก และ ท้องเสีย
  6. อาการไข้ ปวดเมื่อย อ่อนเพลีย
  7. ไปยัน อาการนั่งไม่ได้เพราะปวดก้น

แค่ 7 ข้อนี้ก็ประชุมกันไม่ไหว เดินไปไหนทรมานสุด ๆ แล้ว ต่อนะครับ ความที่โรคนี้อักเสบแบบภูมิแพ้ลำไส้ตัวเอง จึงต้องใช้ยากดภูมิต้านทาน


  1. ยากลุ่มนี้บางตัว จะทำให้กระดูกอาจบาง อาจมีปวดกระดูก ถ้าไม่ออกกำลังกายไม่กินแคลเซี่ยมเม็ดทุกวัน ก็จะทำให้กระดูกหัก กระดูกทรุดไม่รู้ตัว นายก ญี่ปุ่นคงไม่สามารถออกกำลังกายทุกวันได้
  2. ติดเชื้อง่าย ต้องระวังคนและคนรอบข้าง หวาดผวาคนที่ติดเชื้อ ใครไอบ่อย ๆ เดินเข้ามา ก็กลัวติดเชื้อ ทำงานแบบนี้ก็ไม่สนุก และ ไม่สง่าครับ ต้องระวังอาหารที่ไม่สุกร้อนสะอาด ไปตรวจงาน ประชุมไปกินที่ไหนก็ต้องระวังไปหมด
  3. บางรายต้องสวนยาเข้าก้นเพื่อรักษา ทุก 4 – 24 ชั่วโมง แล้วแต่ความรุนแรง แล้วจะสวนกันอย่างไร ถ้าไม่ใช่ที่บ้านของตัวเอง
  4. ยารักษาดังกล่าวยังอาจมีผลต่อไต จึงต้องดื่มน้ำมาก ๆ เข้าไว้ ทำให้ต้องเข้าห้องน้ำปัสสาวะบ่อย ๆ เสียจริตของท่านผู้นำ

ถามว่าทำไมโรคมันวุ่นวาย และ ทรมานอย่างนี้ อ่ะ ๆ ไม่ครับ ไม่ขนาดนั้น อันนี้คือผมไล่อาการให้ครบ ๆ เท่านั้น บางคนเป็นน้อย ๆ อย่างสองอย่าง ความรุนแรง และ อาการ แต่ละคนไม่เหมือนกันครับ


โรคทำไมมันโหดอย่างนี้ รักษายังไง รักษาไม่หายเหรอ


โรคนี้จะรักษาแบบลงบันได คือใช้ยาเยอะ ๆ ช่วงแรกสองถึงสามอย่างพร้อมกันในครั้งแรกที่เจอ คือ


  • ให้ยาป้องกันติดเชื้อ ให้ยาสวนลดการอักเสบ และ เคลือบด้วยแป้งน้ำทางการแพทย์ ยากินที่ออกฤทธิ์ลดการอักเสบ บางคนต้องใช้แบคทีเรียที่ดีมาช่วย ที่เรียกว่า Probiotic
  • และ เมื่อหายดีก็เหลือแค่ยาเหน็บก้น วันละครั้งถึงสองครั้ง เพราะ โรคนี้เริ่มจากรูก้น เมื่อรูก้นหาย การอักเสบด้านบน ๆ ก็จะลดลงตามมาจนหายขาดครับ

แล้วทำไมรักษาง่ายอย่างนั้นทำไมถึง ต้องลาออกด้วย


เนื่องจากโรคนี้เป็นโรคภูมิต้านทาน การติดเชื้อบ่อย ๆ แม้แค่หวัด ท้องเสีย ติดเชื้อปัสสาวะ หรือ โดนแสงแดด โดนฝุ่น สารเคมี ปัจจัยเหล่านี้ล้วนทำให้โรคกำเริบ ทำให้รักษายากขึ้น และ ไม่แน่นอนครับ การกินอาหารกลุ่มที่มีลมมาก ๆ มีการหมักของเชื้อในลำไส้ ก็ทำให้โรคนี้กำเริบได้


เกี่ยวกับผู้เขียนบทความ

นพ. ระพีพันธุ์  กัลยาวินัย

นพ. ระพีพันธุ์ กัลยาวินัย

ศูนย์ทางเดินอาหารและตับ

บทความที่เกี่ยวข้อง (10)

ดูทั้งหมด

คุณเป็นโรคภูมิแพ้…จริงหรือ…?

คนทั่วไปเมื่อมีอาการคัดจมูก น้ำมูกไหลเรื้อรัง หรือเป็นๆ หายๆ มักจะบอกว่า เป็นโรคภูมิแพ้ หรือไม่ก็เข้าใจว่าตนเป็นหวัด หวัด เกิดจากการติดเชื้อไวรัส คนทั่วไปมักเป็นได้ปีละ 4 – 5 ครั้งก็มากเกินปกติแล้ว อาการหวัดมักเป็นอยู่ 3 – 4 วัน

“ภูมิแพ้ผิวหนัง” จัดการได้

โรคภูมิแพ้ผิวหนังเป็นโรคภูมิแพ้ของผิวหนังทำให้ผิวหนังอักเสบเรื้อรังเป็น ๆ หาย ๆ อาการมักพบบ่อยในวัยเด็ก และหากมีอาการคันรุนแรง อาจมีการติดเชื้อที่ผิวหนังแทรกซ้อนได้ การป้องกัน หลีกเลี่ยงปัจจัยและสารที่ทำให้แพ้ จะป้องกันอาการภูมิแพ้ผิวหนังได้

แนะนำอาหารในผู้ป่วยตับแข็ง และผู้ที่มีอาการทางสมองจากตับแข็ง

สิ่งที่สำคัญในการดูแลตัวเองของผู้ป่วยตับแข็ง นั้นคือการรับประทานอาหาร ควรเลือกอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการที่เหมาะสม โดยเฉพาะผู้ที่มีอาการทางสมองจากตับแข็ง มีข้อจำกัดในการรับประทานโปรตีน ดังนั้นยิ่งต้องระมัดระวังและให้ความสำคัญกับอาหารเป็นพิเศษ

ภาวะธาตุเหล็กเกิน (Hemochromatosis)

ภาวะธาตุเหล็กเกิน (hemochromatosis) เป็นภาวะที่มีการสะสมของเหล็กมากเกินไป มักมีสาเหตุจากการได้รับเลือด โรคธาลัสซีเมีย โรคทางพันธุกรรม โรคตับอักเสบเรื้อรัง ซึ่งทำให้การทำงานของอวัยวะต่าง ๆ ผิดปกติ เช่น ตับ หัวใจ ตับอ่อน ต่อมใต้สมอง อัณฑะ รังไข่ และ ข้อต่อต่าง ๆ

ไวรัสตับอักเสบซี อีกไวรัสที่เป็นปัญหาของตับคนไทย(ตอนที่ 1)

ไวรัสตับอักเสบซี อีกไวรัส ที่เป็นปัญหาของตับคนไทย นายแพทย์ระพีพันธุ์ กัลยาวินัย อายุรแพทย์ และ อายุรแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางเดินอาหารและโรคตับ ร.พ. พระรามเก้า นอกจากไวรัสบีแล้ววันนี้เรามารู้จักไวรัสซีต่อดีกว่า หลังจากมีการตรวจเช็คกันมากขึ้นก็พบ

การดูแลสุขภาพสำหรับผู้ที่เป็นโรคภูมิแพ้ในช่วง covid-19 ระบาด

ในช่วงที่โรค COVID-19 ระบาดนี้ ผู้ป่วยที่เป็นโรคภูมิแพ้ทางเดินหายใจ ได้แก่ โรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้และโรคหืด ทั้งเด็กและผู้ใหญ่จะมีความกังวลใจกว่าสภาวะปกติ เมื่ออาการของโรคภูมิแพ้กำเริบ โดยมักจะกังวลว่าเป็นอาการของโรค COVID-19 หรือเปล่า

ปรับพฤติกรรมการกิน ลดความเสี่ยง กรดไหลย้อน

กรดไหลย้อน เป็นภาวะของโรคที่เกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตของคนเมือง เช่น นอนน้อย ทานอาหารไม่เป็นเวลา ทานกาแฟและน้ำอัดลม โดยอาการกรดไหลย้อนนั้น เป็นภาวะที่กรดหรือน้ำย่อยจากกระเพาะอาหารที่มีความเข้มข้นสูง ไหลย้อนขึ้นมาบริเวณหลอดอาหาร

แนะนำการรักษามะเร็งตับ

แนะนำการรักษามะเร็งตับ โดยนายแพทย์ระพีพันธุ์ กัลยาวินัย อายุรแพทย์ และ อายุรแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางเดินอาหารและโรคตับ ร.พ. พระรามเก้า ในบทความนี้จะทำความเข้าใจเกี่ยวกับการรักษาครับ ไม่ได้เล่าเกี่ยวกับการป้องกัน การค้นหา และ การวินิจฉัย

การดื่มสุรา ภัยโรคตับที่คุณอาจไม่รู้ตัว

การดื่มแอลกอฮอล์ไม่ว่าจะเป็นเบียร์ หรือสุรานั้น อยู่คู่สังคมเรานับเป็นพันปีแล้ว เช่นกันมีการพบการเสียชีวิตของคนสำคัญของโลกจากการดื่มสุรา จนทำให้คนเหล่านั้นแทนที่จะทำประโยชน์แก่โลกเรากลับทำให้เสียชีวิตก่อนวัยที่ควรจะเป็น

การวินิจฉัยเนื้องอกในตับ หรือ มะเร็งตับ

การวินิจฉัยเนื้องอกในตับ หรือ มะเร็งตับ, ก้อนในตับ มีวิธีคิด หรือ ตรวจสอบอย่างไร นายแพทย์ระพีพันธุ์ กัลยาวินัย อายุรแพทย์ และ อายุรแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางเดินอาหารและโรคตับ ร.พ. พระรามเก้า เกริ่น มักวินิจฉัยได้ช้า เพราะไม่มีอาการ

Copyright © 2024 All Rights Reserved | Praram 9 Hospital