บทความสุขภาพ

Knowledge

เบาหวานขึ้นตา (Diabetic retinopathy) เป็นอย่างไร

เบาหวานขึ้นตา (Diabetic retinopathy)

ตอบคำถาม Q&A จากศูนย์อายุรกรรม โรงพยาบาลพระรามเก้า


Q1: ผู้ป่วยเบาหวานเสี่ยงตาบอด มากกว่าคนปกติเพราะอะไร

A: ผู้ป่วยเบาหวานมีความเสี่ยงโรคตามากขึ้น ทั้งต้อกระจก ต้อหิน เส้นประสาทตาและเส้นประสาทกล้ามเนื้อตาผิดปกติ และเบาหวานขึ้นจอตา(Diabetic retinopathy) ซึ่งเป็นสาเหตุหลักของตาบอดในประชากรโลกปัจจุบัน


ในผู้ป่วยที่เป็นเบาหวาน 2-3 ปี พบเบาหวานขึ้นตาร้อยละ 3-4 และเพิ่มเป็นร้อยละ 15-20 เมื่อเป็นเบาหวานนาน 15 ปี


Q2: สาเหตุของเบาหวานขึ้นตา

A: ภาวะน้ำตาลในเลือดสูงทำลายผนังหลอดเลือดในจอประสาทตา ทำให้เกิดโป่งพอง อุดตัน มีการรั่วซึมของสารน้ำและเม็ดเลือด เกิดจอประสาทตาบวม จอตาขาดเลือดจึงงอกเส้นเลือดใหม่ซึ่งเปราะ แตกง่ายเกิดเลือดออกเข้าวุ้นตาทำให้ตามัวจนถึงตาบอด หรือเกิดพังผืดดีงรั้งจอตาทำตาบอดได้เช่นกัน


Q3: ป้องกันเบาหวานขึ้นตาได้อย่างไร

A: ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ไขมันในเลือด และความดันโลหิตให้ปกติ


Q4: การตรวจโรคเบาหวานขึ้นตาทำอย่างไร

A: แนะนำผู้ป่วยเบาหวานทุกรายตรวจตาโดยจักษุแพทย์อย่างน้อยปีละครั้ง โดยการตรวจประกอบด้วย

  • การวัดสายตา
  • การวัดความดันลูกตา
  • หยอดยาขยายม่านตา เพื่อให้ตรวจจอตาได้ชัดเจน ซึ่งยาทำให้ตาลายชั่วคราวประมาณ 4 ชม. ไม่สามารถขับรถได้ และรอม่านตาขยาย 1 ชม. จึงตรวจได้
  • ตรวจ Slit lamb เพื่อดูกระจกตาและส่วนหน้าของตา
  • ตรวจจอประสาทตาด้วย Indirect Ophalmoscope

Q5: โรคเบาหวานขึ้นตารักษาอย่างไร

A: ระยะต้น เพียงควบคุมปัจจัยเสี่ยงให้ปกติ


ระยะต่อมา รักษาด้วยการฉายเลเซอร์ที่จอประสาทตา ยับยั้งไม่ให้ลุกลาม หรือการฉีดยา Anti-vascular endothelial growth factor เข้าวุ้นตา เพื่อลดการงอกของหลอดเลือดใหม่


ในรายที่มีโรคแทรกซ้อน เช่น การดึงรั้งจอประสาทตาจนหลุดลอก ต้องทำการรักษาโดยการผ่าตัด เป็นต้น

บทความที่เกี่ยวข้อง (10)

ดูทั้งหมด

รู้ทันต้อหิน โรคร้ายทำลายการมองเห็น รีบรักษาก่อนสายเกินแก้

ต้อหิน (Glaucoma) คือโรคตาที่มีสาเหตุจากขั้วประสาทตาเสื่อม ผู้ป่วยจะมีอาการปวดหัวปวดตา กระจกตาขุ่น การมองเห็นแย่ลง และค่อย ๆ สูญเสียการมองเห็นไปในที่สุด

Hypothyroidism คืออะไร? รู้ทันสาเหตุ อาการ และวิธีรักษา

Hypothyroidism คือ ภาวะพร่องฮอร์โมนไทรอยด์ หรือฮอร์โมนไทรอยด์ทำงานต่ำ ทำให้ระดับการเผาผลาญพลังงานลดลง และนำมาสู่การทำงานของระบบต่าง ๆ ผิดปกติ

รู้ทันอาการน้ำในหูไม่เท่ากัน ใครเวียนหัว บ้านหมุนบ่อยต้องระวัง

โรคน้ำในหูไม่เท่ากัน เป็นความผิดปกติของระบบน้ำในหูชั้นใน ซึ่งสามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ ทำให้ผู้ป่วยมีอาการ เวียนหัว บ้านหมุน ทรงตัวไม่อยู่ และการได้ยินผิดปกติ

หายใจไม่อิ่ม หายใจลำบาก สัญญาณอันตรายที่คุณไม่ควรมองข้าม

หายใจไม่อิ่ม เป็นอาการที่หลายคนเผชิญ อาจมีอาการแน่นหน้าอก หายใจไม่เต็มปอด หายใจลำบาก หัวใจเต้นเร็ว เหนื่อยง่าย บทนี้ความจะพาไปดูสาเหตุของอาการเหล่านี้กัน

ภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน อันตรายถึงชีวิตแบบไร้สัญญาณเตือน

หัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน (Sudden Cardiac Arrest) คือ ภาวะที่หัวใจหยุดทำงานกะทันหัน ทำให้หมดสติและเสียชีวิตในไม่กี่นาที จึงเป็นภาวะฉุกเฉินที่ต้องรับการรักษาทันที

อาการปวดเข่าคืออะไร มีวิธีป้องกันข้อเข่ามีอะไรบ้าง?

อาการปวดเข่าเป็นอาการที่เกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น ข้อเข่าเสื่อม และส่งผลต่อชีวิตประจำวันได้ การรู้ถึงสาเหตุ วิธีป้องกัน และการรักษาอาการปวดเข่าจึงเป็นเรื่องสำคัญ

EST คืออะไร? การตรวจสมรรถภาพหัวใจ Exercise Stress Test

EST (Exercise Stress Test) คือ การออกกำลังกายตรวจสมรรถภาพหัวใจ เป็นวิธีวินิจฉัยสุขภาพหัวใจเพื่อทำการรักษาต่อไป EST มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง? บทความนี้มีคำตอบ

ภาวะข้อไหล่หลุดคืออะไร รู้สาเหตุ อาการ และวิธีรักษาให้หายดี

ภาวะข้อไหล่หลุดคืออาการที่พบได้บ่อยในคนที่ใช้แรงเยอะ ๆ หรือเคยไหล่หลุดมาก่อน มาดูกันว่าอะไรคือสาเหตุที่ทำให้ไหล่หลุดได้บ้าง และจะต้องดูแลรักษาตัวอย่างไ

กระดูกคอเสื่อมอันตรายไหม? รู้จักอาการ สาเหตุ และการป้องกัน

โรคกระดูกคอเสื่อมอันตรายไหม? ชวนคุณมาทำความรู้จักกับอาการ สาเหตุ และการรักษา เพื่อป้องกันสุขภาพตัวเองไม่ให้กระดูกคอได้รับบาดเจ็บ

ผ่าตัดไส้เลื่อน วิธีรักษาไส้เลื่อนให้หายดี ลดเสี่ยงภาวะแทรกซ้อน

ผ่าตัดไส้เลื่อน เป็นวิธีรักษาไส้เลื่อนที่มีประสิทธิภาพ ปลอดภัย ไม่น่ากลัวอย่างที่คิด โดยเฉพาะการผ่าแบบส่องกล้อง จะช่วยป้องกันภาวะแทรกซ้อนรุนแรง และลดการเป็นซ้ำได้

Copyright © 2024 All Rights Reserved | Praram 9 Hospital