บทความสุขภาพ

Knowledge

เชื้อ HPV ภัยเงียบที่เป็นสาเหตุของมะเร็งปากมดลูก

เชื้อ HPV หรือ Human Papillomavirus เป็นไวรัสที่มีหลายสายพันธุ์ เป็นไวรัสที่พบได้บ่อยและมีผลกระทบต่อสุขภาพ เป็นไวรัสที่เป็นสาเหตุสำคัญของมะเร็งปากมดลูก สามารถพบการติดเชื้อไวรัสนี้ได้ทั้งในผู้ชายและผู้หญิง สามารถก่อให้เกิดโรคต่าง ๆ ได้ ตั้งแต่หูดที่ผิวหนังไปจนถึงมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งอวัยวะสืบพันธุ์อื่น ๆ

เชื้อ HPV คืออะไร?


เชื้อ HPV หรือ Human Papillomavirus เป็นเชื้อไวรัสที่มี DNA 2 สาย เชื้อไวรัส HPV มีมากกว่า 100 สายพันธุ์ โดยแบ่งออกเป็นสองกลุ่มใหญ่ ๆ คือ


  • เชื้อกลุ่มที่มีความเสี่ยงต่ำ มักทำให้เกิดหูดที่ผิวหนังหรืออวัยวะเพศ เช่น HPV สายพันธุ์ 6 และ 11
  • เชื้อกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูง เป็นเชื้อกลุ่มที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดมะเร็ง เช่น มะเร็งปากมดลูก มะเร็งช่องคลอด มะเร็งทวารหนัก และมะเร็งศีรษะและลำคอ สายพันธุ์ที่มีความเสี่ยงสูง เช่น HPV สายพันธุ์ 16 และ 18

เชื้อ HPV ติดต่อได้อย่างไรบ้าง?


เชื้อ HPV ติดต่อได้โดยการสัมผัสโดยตรงกับผิวหนังหรือเยื่อบุที่มีการติดเชื้ออยู่ ซึ่งส่วนใหญ่จะติดต่อผ่านการมีเพศสัมพันธ์ทั้งแบบปกติ ทางทวารหนัก และทางปาก การใช้ถุงยางอนามัยสามารถลดความเสี่ยงในการติดเชื้อได้แต่ไม่สามารถป้องกันได้ทั้งหมด เนื่องไม่สามารถป้องกันการติดเชื้อบริเวณผิวหนังที่ไม่ถูกห่อหุ้มด้วยถุงยางอนามัยได้


การติดเชื้อสามารถพบได้คนทุกวัยที่ผ่านการมีเพศสัมพันธ์ ซึ่งส่วนใหญ่หลังการสัมผัสเชื้อต้องใช้เวลานานหลายปีกว่าเชื้อจะพัฒนาทำให้เกิดโรคมะเร็ง ทำให้บางครั้งตรวจพบช้าและทำให้เป็นมะเร็งในระยะลุกลามแล้ว


ติดเชื้อ HPV แล้ว อาการเป็นอย่างไร?


ผู้ที่ติดเชื้อ HPV ส่วนใหญ่มักไม่มีอาการ ทำให้ยากในการวินิจฉัย การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก (Pap test) เป็นวิธีหนึ่งที่มีประสิทธิภาพในการตรวจหาเชื้อ HPV ในผู้หญิง นอกจากนี้ยังมีการตรวจ HPV DNA test ซึ่งเป็นการตรวจหาเชื้อ HPV โดยตรง ช่วยเพิ่มความแม่นยำในการวินิจฉัยมากขึ้น


หากมีการติดเชื้อ HPV ที่ทำให้เป็นโรคหูด ผู้ติดเชื้ออาจพบหูดขึ้นที่อวัยวะสืบพันธุ์หรือบริเวณอื่น ๆ ของร่างกาย โดยหูดเหล่านี้อาจเป็นก้อนนูน หรือผิวหนังมีลักษณะหยาบและขรุขระกว่าผิวหนังปกติ


การวินิจฉัยเชื้อ HPV


  • การตรวจคัดกรองปากมดลูก โดยการตรวจ Pap smear: โดยแพทย์จะทำการเก็บเซลล์จากปากมดลูกเพื่อทำการตรวจหาเซลล์ที่ผิดปกติที่อาจเกิดจากการติดเชื้อ HPV ซึ่งเป็นวิธีที่เป็นมาตรฐานในการคัดกรองมะเร็งปากมดลูก
  • การตรวจ HPV DNA: เป็นการตรวจทางห้องปฏิบัติการเพื่อหาสารพันธุกรรมของเชื้อ HPV ของเซลล์ที่เก็บจากปากมดลูกหรือจากบริเวณที่สงสัยว่าจะมีการติดเชื้อ วิธีนี้สามารถบอกสายพันธุ์ HPV ได้และเป็นวิธีตรวจที่มีความแม่นยำค่อนข้างสูง
  • การส่องกล้องตรวจปากมดลูก: แพทย์อาจพิจารณาใช้กล้องในการตรวจดูปากมดลูก หากพบว่ามีเซลล์ที่มีลักษณะผิดปกติ และอาจเก็บตัวอย่างเนื้อเยื่อ (biopsy) เพื่อตรวจเพิ่มเติมว่ามีเซลล์มะเร็งหรือไม่
  • การตรวจหาแอนติบอดี (Antibody): เป็นการตรวจเลือดหาแอนติบอดีต่อเชื้อ HPV ซึ่งสามารถบอกได้ว่าร่างกายเคยสัมผัสกับเชื้อ HPV หรือไม่ แต่วิธีนี้อาจไม่สามารถยืนยันได้ว่าผู้ป่วยเคยติดเชื้อในอดีตหรือกำลังติดเชื้อ HPV อยู่ แพทย์อาจจำเป็นต้องมีการซักประวัติหรือพิจารณาการตรวจอื่น ๆ ร่วมด้วย

การตรวจเชื้อ HPV เป็นปัจจัยสำคัญในการป้องกันและรักษามะเร็งปากมดลูก รวมถึงภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ที่อาจเกิดจากการติดเชื้อ HPV


การรักษาเมื่อติดเชื้อ HPV


การรักษาเชื้อ HPV ขึ้นอยู่กับอาการและความรุนแรงของโรค หากเป็นการติดเชื้อที่ทำให้เป็นโรคหูด ซึ่งอาจพบที่อวัยวะสืบพันธุ์ แพทย์อาจพิจารณารักษาด้วยยาหรือการผ่าตัดเอาหูดออก


สำหรับการติดเชื้อ HPV สายพันธุ์ที่มีความเสี่ยงสูง แพทย์ต้องติดตามและตรวจสอบอย่างสม่ำเสมอเพื่อตรวจหาการเปลี่ยนแปลงของเซลล์ที่อาจกลายเป็นมะเร็งในอนาคต


การรักษามะเร็งที่มีสาเหตุจากเชื้อ HPV ขึ้นอยู่กับระยะของโรคมะเร็ง ความรุนแรง และภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นจากโรค ซึ่งการรักษามีตั้งแต่การผ่าตัด การฉายรังสี รักษาโดยเคมีบำบัด หรือการรักษาที่ผสมผสานการรักษาหลาย ๆ วิธี ซึ่งแพทย์โรคมะเร็งจะทำการพิจารณาจากหลาย ๆ ปัจจัยร่วมกัน เพื่อผลการรักษาที่ดีที่สุด


การป้องกันการติดเชื้อ HPV


การป้องกันสามารถทำได้หลายวิธี ได้แก่


  • การฉีดวัคซีนป้องกันเชื้อ HPV: การฉีดวัคซีน HPV เป็นวิธีป้องกันที่มีประสิทธิภาพที่สุดในการป้องกันเชื้อ HPV วัคซีนนี้สามารถป้องกันได้ทั้งสายพันธุ์ที่มีความเสี่ยงต่ำและสายพันธุ์ที่มีความเสี่ยงสูง ในส่วนของการฉีดวัคซีนนั้น มีคำแนะนำให้ฉีดในวัยรุ่นอายุระหว่าง 11-12 ปี อย่างไรก็ตามสามารถฉีดได้จนถึงอายุ 26 ปี หรือมากกว่านั้นตามคำแนะนำของแพทย์
  • การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก: เป็นวิธีที่สำคัญในการตรวจหาเชื้อ HPV ในผู้หญิง ซึ่งสามารถทำได้ทั้งการตรวจ Pap test และ HPV DNA test โดยจะช่วยให้พบการติดเชื้อตั้งแต่ในระยะเริ่มต้นและสามารถรักษาได้ย่างทันท่วงที
  • การใช้ถุงยางอนามัย: การใช้ถุงยางอนามัยเมื่อมีเพศสัมพันธ์สามารถช่วยลดความเสี่ยงในการติดเชื้อ HPV ได้ แม้จะไม่สามารถป้องกันได้ทั้งหมด แต่ก็เป็นวิธีหนึ่งที่ลดการแพร่กระจายของเชื้อได้
  • การมีพฤติกรรมทางเพศที่ปลอดภัย: การมีคู่นอนคนเดิม หลีกเลี่ยงการเปลี่ยนคู่นอนบ่อย ๆ และการหลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์กับผู้ที่มีประวัติการติดเชื้อ HPV จะสามารถช่วยลดความเสี่ยงในการติดเชื้อได้

สรุป


เชื้อ HPV เป็นไวรัสอันตรายที่ทำให้เกิดโรคได้หลายชนิด ทั้งโรคหูดและมะเร็งปากมดลูก เราสามารถป้องกันการติดเชื้อ HPV ได้โดยการฉีดวัคซีน HPV การใช้ถุงยางอนามัย และการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก จะช่วยลดการลดการแพร่กระจายของไวรัสและป้องกันการเกิดมะเร็งได้


นอกจากนี้การดูแลสุขภาพทั้งสุขภาพร่างกาย และสุขภาพทางเพศ รวมถึงการตรวจสุขภาพเป็นประจำสม่ำเสมอก็จะช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งลงได้

บทความที่เกี่ยวข้อง (10)

ดูทั้งหมด

รู้ทันอาการริดสีดวงทวาร กับพฤติกรรมเสี่ยงที่ต้องระมัดระวัง

ริดสีดวงทวาร มีสาเหตุมาจากการเพิ่มแรงดันในช่องทวารหนัก ทำให้เนื้อเยื่อหลอดเลือดในช่องทวารหนัก (Anal cushion) เกิดการขยายตัวเป็นหัวริดสีดวง

ปัสสาวะบ่อย ไม่ใช่เรื่องเล็ก เสี่ยงโรคอันตรายบั่นทอนคุณภาพชีวิต

ปัสสาวะบ่อยเกิดได้จากหลายปัจจัย ตั้งแต่การดื่มน้ำหรือของเหลวในปริมาณมาก ได้รับคาเฟอีนมาก การใช้ยา ไปจนถึงโรคที่เกี่ยวข้องกับทางเดินปัสสาวะ เรียนรู้ในบทความนี้!

การผ่าตัดเปลี่ยนผิวข้อเข่าเทียมบางส่วน ทางเลือกรักษาข้อเข่าเสื่อม แผลเล็ก ฟื้นตัวเร็ว

การผ่าตัดเปลี่ยนผิวข้อเข่าเทียมบางส่วน หรือ UKA เป็นการผ่าตัดรักษาโรคข้อเข่าเสื่อม โดยเอาผิวข้อเฉพาะส่วนที่สึกหรอออก และเก็บผิวข้อเข่าส่วนที่ยังมีสภาพดีไว้ ทำให้ผู้ป่วยไม่ต้องใช้เวลาปรับตัวนาน ในการกลับไปใช้ข้อเข่าได้เหมือนธรรมชาติ

คุณเป็นโรคภูมิแพ้…จริงหรือ…?

คนทั่วไปเมื่อมีอาการคัดจมูก น้ำมูกไหลเรื้อรัง หรือเป็นๆ หายๆ มักจะบอกว่า เป็นโรคภูมิแพ้ หรือไม่ก็เข้าใจว่าตนเป็นหวัด หวัด เกิดจากการติดเชื้อไวรัส คนทั่วไปมักเป็นได้ปีละ 4 – 5 ครั้งก็มากเกินปกติแล้ว อาการหวัดมักเป็นอยู่ 3 – 4 วัน

โรคไข้อีดำอีแดง โรคที่เกิดจากพิษของเชื้อแบคทีเรีย

ข้อมูลจาก สมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทย โรคไข้อีดำอีแดงหรือ scarlet fever เป็นโรคที่เกิดจากพิษของเชื้อแบคทีเรียชื่อ #สเตร็ปโตคอคคัสชนิดเอ ทำให้มีผื่นแดง ตามตัวร่วมกับคอหอยหรือทอนซิลอักเสบ พบบ่อยในช่วงอายุระหว่าง 5-15 ปี

วัคซีนปอดอักเสบนิวโมคอกคัสชนิดใหม่ 20 สายพันธุ์ (PCV 20)

โรคปอดอักเสบจากเชื้อนิวโมคอกคัสเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียสเตรปโตคอคคัสนิวโมเนียอี (Streptococcus pneumoniae) ส่วนใหญ่เชื้อจะพบอยู่ในโพรงจมูกและลำคอ สามารถแพร่กระจายผ่านการสัมผัสสารคัดหลั่งทางละอองฝอยทางการไอหรือจาม เป็นหนึ่งในเชื้อที่ทำให้เกิดปอดอักเสบที่พบบ่อย ทั้งในเด็ก ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ

โรคแอนแทรกซ์ (Anthrax) โรคติดต่อจากสัตว์สู่คน

โรคแอนแทรกซ์ หรือชาวบ้านเรียกว่าโรคกาลี เป็นโรคที่รู้จักกันมาแต่โบราณกาล แอนแทรกซ์นับว่าเป็นโรคระบาดสำคัญโรคหนึ่งในพระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ. 2499 เป็นโรคติดต่ออันตรายร้ายแรงที่เกิดขึ้นได้ในสัตว์กินหญ้าแทบทุกชนิด ทั้งสัตว์ป่า เช่น ช้าง เก้ง กวาง และสัตว์เลี้ยง เช่น โค กระบือ แพะ แกะ แล้วติดต่อไปยังคนและสัตว์อื่น

บอลลูนหัวใจ: แก้ปัญหาหลอดเลือดหัวใจตีบ โดยไม่ต้องผ่าตัดใหญ่

การทำบอลลูนหัวใจหรือ PCI เป็นการรักษาที่มีประสิทธิภาพในการรักษาภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบ ช่วยให้เลือดไหลเวียนได้สะดวก ลดอาการเจ็บหน้าอก และลดความเสี่ยงของหัวใจวาย เป็นการเปิดหลอดเลือดโดยไม่ต้องผ่าตัดใหญ่ ทำให้ผู้ป่วยฟื้นตัวเร็วขึ้น อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยยังคงต้องดูแลสุขภาพ หมั่นออกกำลังกาย รับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ และลดปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ เพื่อรักษาสุขภาพของหัวใจในระยะยาว

ลิ้นหัวใจเทียมคืออะไร? ทำไมต้องเปลี่ยน? และอะไรบ้างที่คุณควรรู้?

การผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจเทียมเป็นหนึ่งในวิธีการรักษาสำหรับผู้ป่วยที่มีปัญหาลิ้นหัวใจผิดปกติ และการผ่าตัดเปลี่ยนลินหัวใจจะช่วยฟื้นฟูการทำงานของหัวใจให้กลับมาใกล้เคียงปกติ อย่างไรก็ตามผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาจะต้องได้รับการประเมินอย่างละเอียด เพื่อเลือกชนิดของลิ้นหัวใจที่เหมาะสม

หัวใจล้มเหลว อาการเป็นอย่างไร ป้องกันได้อย่างไรบ้าง

หัวใจล้มเหลวคือภาวะที่หัวใจไม่สามารถสูบฉีดเลือดได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้ร่างกายได้รับออกซิเจนและสารอาหารไม่เพียงพอ อาการสำคัญที่ควรสังเกต ได้แก่ เหนื่อยง่าย หายใจลำบาก ขาบวม และน้ำหนักเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่มักเกี่ยวข้องกับโรคหัวใจและหลอดเลือด การวินิจฉัยและรักษาอย่างรวดเร็วจะช่วยลดความเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนรุนแรง

Copyright © 2024 All Rights Reserved | Praram 9 Hospital