บทความสุขภาพ

Knowledge

เนื้องอกที่มดลูกน่ากลัวหรือไม่?

พญ. กีรติ์นุช เรียวโชติสกุล, พญ. ธิษณา อนันตวัฒน์

เรา ๆ ท่าน ๆ คงเคยได้ยินกันบ่อย ๆ ว่ามีคนใกล้ชิด หรือเพื่อนสนิทเป็นเนื้องอกมดลูก ต้องผ่าตัด ฟังดูแล้วน่ากลัว จริงๆ แล้วเนื้องอกมดลูกไม่น่ากลัวอย่างที่คิดนะคะ


เนื้องอกมดลูก เกิดจากการเพิ่มจำนวนของเซลล์กล้ามเนื้อมดลูก เป็นเนื้องอกที่พบได้บ่อยที่สุดในผู้หญิง คือ ประมาณ 20-25 % ในสตรีวัยเจริญพันธุ์ และพบมากถึง 30-40 % ในสตรีอายุมากกว่า 40 ปี


สาเหตุของการเกิดเนื้องอกในมดลูก


สาเหตุของเนื้องอกมดลูกยังไม่ทราบแน่ชัด สันนิษฐานว่ามีปัจจัยด้านฮอร์โมนผู้หญิงมาเกี่ยวข้อง ในสตรีที่หมดประจำเดือนแล้ว ก้อนเนื้องอกจะมีขนาดเล็กลงได้เองเมื่อเวลาผ่านไป


ถึงแม้ว่าเนื้องอกมดลูกจะมีโอกาสกลายเป็นมะเร็งอยู่เหมือนกัน แต่ก็น้อยมากๆ น้อยกว่า 1% เสียอีก โดยก้อนเนื้องอกที่มีโอกาสเป็นมะเร็ง จะมีลักษณะโตเร็วผิดปกติ ถ้าเป็นเช่นนี้ให้รีบผ่าตัดออก เพราะหากตรวจพบเนื้องอกที่มดลูก จะได้รักษาได้ทันท่วงที ซึ่งการรักษามีหลายแบบ ไม่ว่าจะเป็นการกินยา และการผ่าตัดผ่านกล้องทางนรีเวช


การผ่าตัดผ่านกล้องดีอย่างไร (Laparoscopic Surgery)


การผ่าตัดผ่านกล้อง เป็นทางเลือกหนึ่งในการผ่าตัด ในปัจจุบันการผ่าตัดทางนรีเวชเกือบทุกชนิด มักจะสามารถผ่าตัดด้วยวิธีการผ่าตัดผ่านกล้องได้ และด้วยคุณสมบัติของการผ่าตัดผ่านกล้อง คือ “แผลเล็ก เจ็บน้อย ฟื้นตัวไว” ทำให้การผ่าตัดผ่านกล้องนี้เป็นอีกทางเลือกทางด้านสุขภาพที่น่าสนใจ และได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ


myoma-uteri-1.jpg

แล้วอาการแบบไหน? ที่สามารถผ่าตัดผ่านกล้องได้


myoma-uteri-2.jpg

แล้วแบบไหนล่ะ ที่ไม่สามารถผ่าตัดผ่านกล้องได้


  1. ก้อนเนื้องอกที่มีขนาดใหญ่
  2. โรคมะเร็งบางชนิด หรืออยู่ในระยะที่มีการกระจายมาก
  3. ผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวรุนแรง เช่น โรคหัวใจ หรือโรคปอดชนิดรุนแรง เป็นต้น

ดังนั้น เนื้องอกที่มดลูกจะไม่น่ากลัวเลย หากคุณสุภาพสตรีหมั่นใส่ใจสุขภาพภายในของตัวเอง ด้วยการตรวจภายในเป็นประจำทุกปีกับสูตินรีแพทย์ เพื่อสุขภาพที่ดีและป้องกันโรคร้ายที่อาจเกิดขึ้นได้


อ่านบทความสาระทางการแพทย์เพิ่มเติมได้ที่ : FACEBOOK Ladies Praram9 (คลิก)


เกี่ยวกับผู้เขียนบทความ

พญ. กีรติ์นุช เรียวโชติสกุล

พญ. กีรติ์นุช เรียวโชติสกุล

ศูนย์สูตินรีเวช

พญ. ธิษณา อนันตวัฒน์

พญ. ธิษณา อนันตวัฒน์

ศูนย์สูตินรีเวช

บทความที่เกี่ยวข้อง (10)

ดูทั้งหมด

คำแนะนำการป้องกันมาลาเรียสำหรับนักเดินทาง

โรคมาลาเรียเป็นโรคที่เกิดจากโปรโตซัว Plasmodium นำโดยยุงก้นปล่อง มีทั้งหมด 5 สายพันธุ์ สายพันธ์ุที่รุนแรงคือ Plasmodium falciparum ซึ่งเป็นสายพันธุ์หลักในทวีปแอฟริกา ทำให้เกิดการติดเชื้อรุนแรง อวัยวะต่างๆล้มเหลว ติดเชื้อขึ้นสมอง โคม่า ชัก และเสียชีวิตได้ หากได้รับการรักษาที่ล่าช้า

ไส้เลื่อน ใครก็เป็นได้ อันตรายที่ต้องรักษาก่อนเกิดภาวะแทรกซ้อน

ไส้เลื่อน คือภาวะที่ลำไส้เลื่อนหรือดันออกมาจากช่องท้อง สามารถสังเกตเห็นก้อนนูนออกมาตามขาหนีบ หน้าท้อง สะดือ หากไม่รักษาอาจเกิดอันตรายจากอาการแทรกซ้อนได้

รู้ทันต้อหิน โรคร้ายทำลายการมองเห็น รีบรักษาก่อนสายเกินแก้

ต้อหิน (Glaucoma) คือโรคตาที่มีสาเหตุจากขั้วประสาทตาเสื่อม ผู้ป่วยจะมีอาการปวดหัวปวดตา กระจกตาขุ่น การมองเห็นแย่ลง และค่อย ๆ สูญเสียการมองเห็นไปในที่สุด

Hypothyroidism คืออะไร? รู้ทันสาเหตุ อาการ และวิธีรักษา

Hypothyroidism คือ ภาวะพร่องฮอร์โมนไทรอยด์ หรือฮอร์โมนไทรอยด์ทำงานต่ำ ทำให้ระดับการเผาผลาญพลังงานลดลง และนำมาสู่การทำงานของระบบต่าง ๆ ผิดปกติ

รู้ทันอาการน้ำในหูไม่เท่ากัน ใครเวียนหัว บ้านหมุนบ่อยต้องระวัง

โรคน้ำในหูไม่เท่ากัน เป็นความผิดปกติของระบบน้ำในหูชั้นใน ซึ่งสามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ ทำให้ผู้ป่วยมีอาการ เวียนหัว บ้านหมุน ทรงตัวไม่อยู่ และการได้ยินผิดปกติ

หายใจไม่อิ่ม หายใจลำบาก สัญญาณอันตรายที่คุณไม่ควรมองข้าม

หายใจไม่อิ่ม เป็นอาการที่หลายคนเผชิญ อาจมีอาการแน่นหน้าอก หายใจไม่เต็มปอด หายใจลำบาก หัวใจเต้นเร็ว เหนื่อยง่าย บทนี้ความจะพาไปดูสาเหตุของอาการเหล่านี้กัน

ภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน อันตรายถึงชีวิตแบบไร้สัญญาณเตือน

หัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน (Sudden Cardiac Arrest) คือ ภาวะที่หัวใจหยุดทำงานกะทันหัน ทำให้หมดสติและเสียชีวิตในไม่กี่นาที จึงเป็นภาวะฉุกเฉินที่ต้องรับการรักษาทันที

อาการปวดเข่าคืออะไร มีวิธีป้องกันข้อเข่ามีอะไรบ้าง?

อาการปวดเข่าเป็นอาการที่เกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น ข้อเข่าเสื่อม และส่งผลต่อชีวิตประจำวันได้ การรู้ถึงสาเหตุ วิธีป้องกัน และการรักษาอาการปวดเข่าจึงเป็นเรื่องสำคัญ

EST คืออะไร? การตรวจสมรรถภาพหัวใจ Exercise Stress Test

EST (Exercise Stress Test) คือ การออกกำลังกายตรวจสมรรถภาพหัวใจ เป็นวิธีวินิจฉัยสุขภาพหัวใจเพื่อทำการรักษาต่อไป EST มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง? บทความนี้มีคำตอบ

ภาวะข้อไหล่หลุดคืออะไร รู้สาเหตุ อาการ และวิธีรักษาให้หายดี

ภาวะข้อไหล่หลุดคืออาการที่พบได้บ่อยในคนที่ใช้แรงเยอะ ๆ หรือเคยไหล่หลุดมาก่อน มาดูกันว่าอะไรคือสาเหตุที่ทำให้ไหล่หลุดได้บ้าง และจะต้องดูแลรักษาตัวอย่างไ

Copyright © 2024 All Rights Reserved | Praram 9 Hospital