บทความสุขภาพ

Knowledge

อัลตร้าซาวด์ช่องท้อง เพื่อวินิจฉัยโรคต่างๆ ในช่องท้องที่ตามองไม่เห็น

ช่องท้องเป็นที่อยู่ของอวัยวะสำคัญมากมาย ความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับอวัยวะในช่องท้องไม่สามารถมองเห็นได้เหมือนที่ผิวหนัง หรือบางครั้งกว่าจะทราบว่ามีความผิดปกติของอวัยวะในช่องท้อง ก็อาจสายเกินไป


การตรวจอัลตร้าซาวด์ช่องท้อง เป็นการตรวจที่ใช้อัลตร้าซาวด์ (หรือที่เรียกว่าคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูง) ตรวจดูอวัยวะในช่องท้อง โดยแพทย์จะใช้หัวตรวจอัลตร้าซาวด์มาวางที่บริเวณท้อง แล้วตรวจดูอวัยวะภายใน ซึ่งจะทำให้เห็นภาพภายในช่องท้อง และสามารถบอกความผิดปกติของอวัยวะในช่องท้องได้ ซึ่งเป็นวิธีที่ปลอดภัย ไม่มีรังสี และไม่รู้สึกเจ็บ

การอัลตร้าซาวด์ช่องท้อง โดยทั่วไปแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่


อัลตร้าซาวด์ช่องท้องส่วนบน


เป็นการตรวจดูอวัยวะบริเวณช่องท้องส่วนบนเหนือระดับสะดือ ได้แก่ ตับ ม้าม ถุงน้ำดี ท่อน้ำดี ตับอ่อนไต และหลอดเลือดแดงใหญ่ และบริเวณช่องท้องส่วนบนอื่น ๆ


สามารถบอกความผิดปกติของถุงน้ำดีได้ เช่น นิ่วในถุงน้ำดี ถุงน้ำดีอักเสบ ความผิดปกติของไต เช่น มีก้อนที่ไต นิ่วที่ไต ความผิดปกติของตับ ก้อนที่ตับ ภาวะไขมันพอกตับ หรือหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพองได้ เป็นต้น


ultrasound-abdomen-1.jpg

อัลตร้าซาวด์ช่องท้องส่วนล่าง


เป็นการตรวจดูอวัยวะบริเวณช่องท้องส่วนล่าง ต่ำกว่าระดับสะดือ ได้แก่ ต่อมลูกหมาก กระเพาะปัสสาวะ มดลูก เป็นต้น เพื่อหาความผิดปกติ เช่น เนื้องอกในมดลูก (ในผู้หญิงที่มีอาการผิดปกติเกี่ยวกับรอบเดือน) ความผิดปกติของกระเพาะปัสสาวะ หรือต่อมลูกหมาก เป็นต้น


ultrasound-abdomen-2.jpg

การเตรียมตัวตรวจอัลตร้าซาวด์ช่องท้อง


  • อัลตร้าซาวด์ช่องท้องส่วนบน: งดอาหารและเครื่องดื่มที่มีไขมันทุกชนิดก่อนการตรวจประมาณ 6 ชม. (ดื่มน้ำเปล่าได้)
  • อัลตร้าซาวด์ช่องท้องส่วนล่าง: ดื่มน้ำมาก ๆ และอาจต้องกลั้นปัสสาวะไว้ก่อนตรวจ เพื่อให้มีน้ำเต็มกระเพราะปัสสาวะ ซึ่งจะช่วยให้เห็นอวัยวะต่าง ๆ บริเวณช่องท้องส่วนล่างได้ชัดเจนขึ้น
  • หากตรวจอัลตร้าซาวด์ช่องท้องส่วนล่างอย่างเดียว ไม่จำเป็นต้องงดน้ำและอาหาร แต่หากตรวจอัลตร้าซาวด์ช่องท้องส่วนบนด้วย ต้องงดอาหารและเครื่องดื่มที่มีไขมันด้วยตามที่กล่าวแล้วข้างต้น

ultrasound-abdomen-3.jpg

อัลตร้าซาวด์ช่องท้องเหมาะกับใคร


  • ผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 30 ปีขึ้นไป ทั้งเพศชาย และเพศหญิง โดยแนะนำให้ตรวจร่วมกับการตรวจสุขภาพประจำปี
  • ผู้ที่มีอาการปวดท้องเรื้อรัง
  • ผู้ที่มีอาการผิดปกติเกี่ยวกับระบบย่อยอาหาร เช่น ท้องอืด จุกเสียด หรือมีปัญหาการขับถ่าย
  • ผู้หญิงที่มีอาการปวดประจำเดือนรุนแรง ประจำเดือนมามาก ประจำเดือนมาผิดปกติ หรือคลำได้ก้อนที่ท้องน้อย
  • ผู้ที่มีอาการปัสสาวะผิดปกติ

ultrasound-abdomen-4.jpg

ข้อดีของการตรวจอัลตร้าซาวด์ช่องท้อง


  • เป็นการตรวจคัดกรองอวัยวะภายในช่องท้องที่ดี สามารถบอกความผิดปกติได้ตั้งแต่โรคยังไม่รุนแรง
  • เป็นการตรวจที่ไม่เจ็บ
  • ปลอดภัย ไม่มีรังสี
  • การเตรียมตัวก่อนตรวจไม่ยุ่งยาก
  • ไม่มีภาวะแทรกซ้อนใด ๆ หลังการตรวจ

ultrasound-abdomen-5.jpg

“สุขภาพของอวัยวะในช่องท้องสำคัญไม่แพ้ส่วนอื่น ๆ อย่าปล่อยให้สายเกินแก้” การตรวจอัลตร้าซาวด์ช่องท้องเป็นการตรวจที่ปลอดภัย ไม่ยุ่งยาก บอกได้ถึงความผิดปกติของอวัยวะในช่องท้องได้แต่เนิ่น ๆ ก่อนโรคจะลุกลาม และสายเกินไป


ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญกับ Praram 9 V ปรึกษาแพทย์ได้ทุกที่ผ่านทางวิดีโอคอล (Telemedicine)

เกี่ยวกับผู้เขียนบทความ

บทความที่เกี่ยวข้อง (10)

ดูทั้งหมด

หมอนรองกระดูกเสื่อม ต้นเหตุอาการปวดหลังเรื้อรังที่อายุน้อยก็พบได้

หมอนรองกระดูกเสื่อมคือภาวะที่เกิดจากการเสื่อมของหมอนรองกระดูกจนไม่สามารถทำหน้าที่ลดแรงกระแทกได้ ทำให้กระดูกรอบ ๆ สึกและอักเสบขึ้นจนเกิดอาการปวดเรื้อรัง

อาการปวดสะโพกร้าวลงขา อีกหนึ่งสัญญาณเส้นประสาทถูกกดทับ

อาการปวดสะโพกร้าวลงขา (Sciatica pain) เกิดจากการถูกกดทับที่เส้นประสาท ทำให้รู้สึกปวดจากช่วงเอวหรือสะโพกร้าวลงขาด้านหลัง บางรายอาจร้าวไปถึงน่องและเท้าได้

ปวดข้อเท้าเกิดจากสาเหตุอะไร มีวิธีรักษาอย่างไรไม่ให้เจ็บเรื้อรัง?

ทำความเข้าใจกับอาการปวดข้อเท้าที่ควรรู้ อาการแบบไหนที่ควรเข้าปรึกษาแพทย์? พร้อมเรียนรู้สาเหตุของอาการ วิธีรักษา ตลอดจนการป้องกันไม่ให้เจ็บข้อเท้าเรื้อรัง

คำแนะนำการป้องกันมาลาเรียสำหรับนักเดินทาง

โรคมาลาเรียเป็นโรคที่เกิดจากโปรโตซัว Plasmodium นำโดยยุงก้นปล่อง มีทั้งหมด 5 สายพันธุ์ สายพันธ์ุที่รุนแรงคือ Plasmodium falciparum ซึ่งเป็นสายพันธุ์หลักในทวีปแอฟริกา ทำให้เกิดการติดเชื้อรุนแรง อวัยวะต่างๆล้มเหลว ติดเชื้อขึ้นสมอง โคม่า ชัก และเสียชีวิตได้ หากได้รับการรักษาที่ล่าช้า

ไส้เลื่อน ใครก็เป็นได้ อันตรายที่ต้องรักษาก่อนเกิดภาวะแทรกซ้อน

ไส้เลื่อน คือภาวะที่ลำไส้เลื่อนหรือดันออกมาจากช่องท้อง สามารถสังเกตเห็นก้อนนูนออกมาตามขาหนีบ หน้าท้อง สะดือ หากไม่รักษาอาจเกิดอันตรายจากอาการแทรกซ้อนได้

รู้ทันต้อหิน โรคร้ายทำลายการมองเห็น รีบรักษาก่อนสายเกินแก้

ต้อหิน (Glaucoma) คือโรคตาที่มีสาเหตุจากขั้วประสาทตาเสื่อม ผู้ป่วยจะมีอาการปวดหัวปวดตา กระจกตาขุ่น การมองเห็นแย่ลง และค่อย ๆ สูญเสียการมองเห็นไปในที่สุด

Hypothyroidism คืออะไร? รู้ทันสาเหตุ อาการ และวิธีรักษา

Hypothyroidism คือ ภาวะพร่องฮอร์โมนไทรอยด์ หรือฮอร์โมนไทรอยด์ทำงานต่ำ ทำให้ระดับการเผาผลาญพลังงานลดลง และนำมาสู่การทำงานของระบบต่าง ๆ ผิดปกติ

รู้ทันอาการน้ำในหูไม่เท่ากัน ใครเวียนหัว บ้านหมุนบ่อยต้องระวัง

โรคน้ำในหูไม่เท่ากัน เป็นความผิดปกติของระบบน้ำในหูชั้นใน ซึ่งสามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ ทำให้ผู้ป่วยมีอาการ เวียนหัว บ้านหมุน ทรงตัวไม่อยู่ และการได้ยินผิดปกติ

หายใจไม่อิ่ม หายใจลำบาก สัญญาณอันตรายที่คุณไม่ควรมองข้าม

หายใจไม่อิ่ม เป็นอาการที่หลายคนเผชิญ อาจมีอาการแน่นหน้าอก หายใจไม่เต็มปอด หายใจลำบาก หัวใจเต้นเร็ว เหนื่อยง่าย บทนี้ความจะพาไปดูสาเหตุของอาการเหล่านี้กัน

ภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน อันตรายถึงชีวิตแบบไร้สัญญาณเตือน

หัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน (Sudden Cardiac Arrest) คือ ภาวะที่หัวใจหยุดทำงานกะทันหัน ทำให้หมดสติและเสียชีวิตในไม่กี่นาที จึงเป็นภาวะฉุกเฉินที่ต้องรับการรักษาทันที

Copyright © 2024 All Rights Reserved | Praram 9 Hospital