บทความสุขภาพ

Knowledge

ตับอักเสบฉับพลัน และข้อแนะนำสำหรับผู้มีตับอักเสบ

คำแนะนำ การตรวจดูว่ามีอาการตับอักเสบ แทรกซ้อนหรือยัง หรือ มีความเสี่ยงตับอักเสบ กรณีมีอาการผิดปกติ เช่น


  • มีไข้ – ปัสสาวะเข้มขี้น – ตัว หรือ ตาเหลือง
  • อ่อนเพลีย – ท้องโตขึ้น – ปวดท้อง แน่นท้อง
  • ซึมลง – จ้ำเลือดตามตัว

: ควรปรึกษาแพทย์


ข้อแนะนำสำหรับผู้มีตับอักเสบ


  • ข้อแนะนำทั่วไป

แรกสุดต้องแน่ใจว่าตับอักเสบเกิดจากสาเหตุที่หมอแนะนำจริงนะครับ ให้ปรึกษากับหมอที่ดูแลครับ เพราะตับอักเสบอาจจากเรื่องอื่นไม่ได้จากที่หมอบอกมาก็ได้ครับ คือที่หมอบอกมาผลไม่แน่นอนหรือไม่ แพทย์ที่ดูแลจะตอบได้ครับว่าแน่นอนขนาดไหน ไม่ได้สงสัยโรคอื่นร่วมด้วยหรือไม่

  1. ควรตรวจเช็คกับแพทย์ตามที่แนะนำครับ
  2. การปฏิบัติตัว ควรหลีกเลี่ยงยา อาหาร หรือสมุนไพร ที่มีผลต่อตับ
  3. เลี่ยงการทำงานหนักหักโหม อดนอน ให้นอนพักเยอะ ๆ
  4. หลีกเลี่ยงยากดภูมิต้านทาน ยาภูมิแพ้ เช่นยากลุ่ม steroid ถ้าหมอไม่แนะนำ
  5. งดดื่มเหล้า ยาดองเหล้า
  6. อย่ากินถั่วบด ข้าวโพดแห้ง หรือ พริกป่นที่ทิ้งค้าง ทำค้าง เพราะอาจมีเชื้อราอัลฟาร์ทอกซิน กระตุ้นให้เกิดมะเร็งตับได้
  7. มีอาการผิดปกติ เช่น
    1. มีไข้ – ปัสสาวะเข้มขี้น – ตัว หรือ ตาเหลือง
    2. อ่อนเพลีย – ท้องโตขึ้น – ปวดท้อง แน่นท้อง
    3. ซึมลง – จ้ำเลือดตามตัว
    4. ควรปรึกษาแพทย์
  8. ระวังมีดโกนหนวด ตุ้มหู ระวังแปรงสีฟัน และ แม้การติดต่อทางน้ำลายไม่ใช่การติดต่อหลัก แต่ ก็ควรแยกช้อนกลางทานอาหารไว้ก่อนจะดีกว่าครับ
  9. ควรเช็ค และพิจารณาฉีดวัคซีนไวรัสตับอักเสบเอ หลังหายอักเสบฉับพลัน
  10. อาหารไม่มีอะไรเป็นพิเศษ ปัจจุบันเลิกความเชื่อการกินน้ำหวานแล้ว ให้ทานตามปกติ และ ตรงข้ามครับ อย่ากินหวานจัดเพราะจะเปลี่ยนเป็นไขมันทำให้ตับอักเสบมากขึ้นได้ครับ

  • ระวังเพียงอาหารควรสุกสะอาดระวังท้องเสียแทรกซ้อนนะครับ
  • ข้อแนะนำการปฏิบัติตัวสำหรับคนที่มีตับอักเสบ เพิ่มเติม แยกตามสาเหตุ

A กรณีตับอักเสบจากการกินยาที่มีผลต่อตับ


  • กรณีตับอักเสบจาก แพ้แบบภูมิแพ้ยา ให้งดยานั้นเด็ดขาด
    • แต่ถ้าเป็นตับอักเสบเพราะอักเสบเพราะรับยาเกินขนาดปกติ สามารถรับยานั้นอีกได้
    • ให้ปรึกษาแพทย์ว่าเป็นแบบไหนกันแน่ รับยานี้ได้อีกหรือไม่ หรือห้ามทานยานี้เด็ดขาด
    • ความแน่นอนในการวินิจฉัยจะดูที่การอักเสบหายภายใน 1 เดือนหรือไม่ มักแน่นอนว่าการอักเสบนั้นเกิดจากยา กรณีค่าการอักเสบลดลงแค่ครึ่งหนึ่งภายใน 1 เดือน ความแน่นอนจะลดลงว่าเกิดจากยาแน่นอนหรือไม่ อาจต้องตรวจสาเหตุตับอื่น ๆ เพิ่มเติมครับ

B. กรณีตับอักเสบจากไวรัสตับอักเสบ


  • ควรนำญาติหรือผู้ที่มีตับอักเสบในครอบครัวร่วมด้วยที่อาจเป็นสาเหตุ หรือ อาจติดจากเราไปเช็ค และระวังแพร่ติดไปยังผู้อื่น เช่น นำคู่สมรสหรือแฟน ที่เรายุ่งเกี่ยวด้วยมาเช็ค และ ฉีดวัคซีนป้องกัน
  • การหายหรือไม่อยู่ที่ภูมิต้านทานเรา และ ไวรัสที่มีมากน้อยเพียงใดครับ และ ทำตามข้อ 1-10 ให้เคร่งครัดนะครับ

บทความที่เกี่ยวข้อง (10)

ดูทั้งหมด

การผ่าตัดเปลี่ยนผิวข้อเข่าเทียมบางส่วน ทางเลือกรักษาข้อเข่าเสื่อม แผลเล็ก ฟื้นตัวเร็ว

การผ่าตัดเปลี่ยนผิวข้อเข่าเทียมบางส่วน หรือ UKA เป็นการผ่าตัดรักษาโรคข้อเข่าเสื่อม โดยเอาผิวข้อเฉพาะส่วนที่สึกหรอออก และเก็บผิวข้อเข่าส่วนที่ยังมีสภาพดีไว้ ทำให้ผู้ป่วยไม่ต้องใช้เวลาปรับตัวนาน ในการกลับไปใช้ข้อเข่าได้เหมือนธรรมชาติ

คุณเป็นโรคภูมิแพ้…จริงหรือ…?

คนทั่วไปเมื่อมีอาการคัดจมูก น้ำมูกไหลเรื้อรัง หรือเป็นๆ หายๆ มักจะบอกว่า เป็นโรคภูมิแพ้ หรือไม่ก็เข้าใจว่าตนเป็นหวัด หวัด เกิดจากการติดเชื้อไวรัส คนทั่วไปมักเป็นได้ปีละ 4 – 5 ครั้งก็มากเกินปกติแล้ว อาการหวัดมักเป็นอยู่ 3 – 4 วัน

โรคไข้อีดำอีแดง โรคที่เกิดจากพิษของเชื้อแบคทีเรีย

ข้อมูลจาก สมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทย โรคไข้อีดำอีแดงหรือ scarlet fever เป็นโรคที่เกิดจากพิษของเชื้อแบคทีเรียชื่อ #สเตร็ปโตคอคคัสชนิดเอ ทำให้มีผื่นแดง ตามตัวร่วมกับคอหอยหรือทอนซิลอักเสบ พบบ่อยในช่วงอายุระหว่าง 5-15 ปี

วัคซีนปอดอักเสบนิวโมคอกคัสชนิดใหม่ 20 สายพันธุ์ (PCV 20)

โรคปอดอักเสบจากเชื้อนิวโมคอกคัสเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียสเตรปโตคอคคัสนิวโมเนียอี (Streptococcus pneumoniae) ส่วนใหญ่เชื้อจะพบอยู่ในโพรงจมูกและลำคอ สามารถแพร่กระจายผ่านการสัมผัสสารคัดหลั่งทางละอองฝอยทางการไอหรือจาม เป็นหนึ่งในเชื้อที่ทำให้เกิดปอดอักเสบที่พบบ่อย ทั้งในเด็ก ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ

โรคแอนแทรกซ์ (Anthrax) โรคติดต่อจากสัตว์สู่คน

โรคแอนแทรกซ์ หรือชาวบ้านเรียกว่าโรคกาลี เป็นโรคที่รู้จักกันมาแต่โบราณกาล แอนแทรกซ์นับว่าเป็นโรคระบาดสำคัญโรคหนึ่งในพระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ. 2499 เป็นโรคติดต่ออันตรายร้ายแรงที่เกิดขึ้นได้ในสัตว์กินหญ้าแทบทุกชนิด ทั้งสัตว์ป่า เช่น ช้าง เก้ง กวาง และสัตว์เลี้ยง เช่น โค กระบือ แพะ แกะ แล้วติดต่อไปยังคนและสัตว์อื่น

บอลลูนหัวใจ: แก้ปัญหาหลอดเลือดหัวใจตีบ โดยไม่ต้องผ่าตัดใหญ่

การทำบอลลูนหัวใจหรือ PCI เป็นการรักษาที่มีประสิทธิภาพในการรักษาภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบ ช่วยให้เลือดไหลเวียนได้สะดวก ลดอาการเจ็บหน้าอก และลดความเสี่ยงของหัวใจวาย เป็นการเปิดหลอดเลือดโดยไม่ต้องผ่าตัดใหญ่ ทำให้ผู้ป่วยฟื้นตัวเร็วขึ้น อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยยังคงต้องดูแลสุขภาพ หมั่นออกกำลังกาย รับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ และลดปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ เพื่อรักษาสุขภาพของหัวใจในระยะยาว

ลิ้นหัวใจเทียมคืออะไร? ทำไมต้องเปลี่ยน? และอะไรบ้างที่คุณควรรู้?

การผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจเทียมเป็นหนึ่งในวิธีการรักษาสำหรับผู้ป่วยที่มีปัญหาลิ้นหัวใจผิดปกติ และการผ่าตัดเปลี่ยนลินหัวใจจะช่วยฟื้นฟูการทำงานของหัวใจให้กลับมาใกล้เคียงปกติ อย่างไรก็ตามผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาจะต้องได้รับการประเมินอย่างละเอียด เพื่อเลือกชนิดของลิ้นหัวใจที่เหมาะสม

หัวใจล้มเหลว อาการเป็นอย่างไร ป้องกันได้อย่างไรบ้าง

หัวใจล้มเหลวคือภาวะที่หัวใจไม่สามารถสูบฉีดเลือดได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้ร่างกายได้รับออกซิเจนและสารอาหารไม่เพียงพอ อาการสำคัญที่ควรสังเกต ได้แก่ เหนื่อยง่าย หายใจลำบาก ขาบวม และน้ำหนักเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่มักเกี่ยวข้องกับโรคหัวใจและหลอดเลือด การวินิจฉัยและรักษาอย่างรวดเร็วจะช่วยลดความเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนรุนแรง

การตัดชิ้นเนื้อส่งตรวจมะเร็ง (Biopsy) หมดความสงสัย วินิจฉัยได้อย่างแม่นยำ

การตัดชิ้นเนื้อส่งตรวจมะเร็ง (Biopsy) คือวิธีที่นิยมในการวินิจฉัยมะเร็ง เนื่องจากความแม่นยำและละเอียดในการบ่งชี้ประเภทของมะเร็ง ทำได้อย่างไร? บทความนี้มีคำตอบ!

การใส่เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจ รักษาใจเต้นผิดจังหวะ ให้กลับสู่ภาวะปกติ

การใส่เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจ (Pacemaker Implantation) จะใช้รักษาผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ เครื่องจะช่วยให้หัวใจกลับมาทำงานได้ใกล้เคียงกับระดับปกติอีกครั้ง

Copyright © 2024 All Rights Reserved | Praram 9 Hospital