บทความสุขภาพ

Knowledge

ภาวะธาตุเหล็กเกิน (Hemochromatosis)

นพ. บุญชู สุนทรโอภาส

ธาตุเหล็กเป็นแร่ธาตุสำคัญในการสร้างเม็ดเลือดแดง โปรตีนกล้ามเนื้อ และเอนไซม์ในปฏิกิริยาเคมีของเซลล์ หากธาตุเหล็กในร่างกายไม่เพียงพอจะเกิดโรคโลหิตจาง และหากธาตุเหล็กในร่างกายเกิน สะสมในอวัยวะต่าง ๆ เกิดโรคได้เช่นกัน


ในการควบคุมสมดุลเหล็กในร่างกายนั้น ร่างกายมีกลไกควบคุมได้เพียงการดูดซึมธาตุเหล็กจากอาหารที่ลำไส้ โดยที่ร่างกายไม่มีกลไกขับธาตุเหล็กส่วนเกินออกจากร่างกายตามธรรมชาติ ทำให้เมื่อมีภาวะธาตุเหล็กเกินร่างกายจะไม่สามารถจัดการด้วยตัวเองได้



สาเหตุของภาวะธาตุเหล็กเกิน


สาเหตุที่พบบ่อยที่สุดของภาวะธาตุเหล็กเกิน คือ การได้รับเลือดมากสะสม ซึ่งพบในผู้ป่วยโรคโลหิตจางที่ต้องได้รับเลือดบ่อย เพราะเลือด 1 ถุงมีปริมาณธาตุเหล็กมากกว่าอาหารถึง 100-200 เท่า สำหรับคนที่ไม่ได้รับเลือดบ่อย แต่มีโอกาสเกิดภาวะธาตุเหล็กเกินได้ คือ กลุ่มโรคธาลัสซีเมีย ซึ่งเป็นโรคถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์ที่พบบ่อยในคนไทย มีฮีโมโกลบินซึ่งเป็นส่วนประกอบของเม็ดเลือดแดงผิดปกติ ทำให้การสร้างเม็ดเลือดแดงในไขกระดูกไม่มีประสิทธิภาพ เม็ดเลือดแดงแตกเร็วขึ้น และลำไส้ดูดซึมธาตุเหล็กมากผิดปกติ ทำให้เกิดภาวะธาตุเหล็กเกินได้แม้ไม่ได้รับเลือดบ่อย สาเหตุอื่น เช่น โรคทางกรรมพันธุ์ที่ทำให้ดูดซึมธาตุเหล็กทางลำไส้มากขึ้น เช่น Hereditary hemochromatosis (HH) โรคตับอักเสบเรื้อรัง โรคตับจากสุรา โรคตับอักเสบจากไขมันพอกตับ ทำให้ตับสะสมธาตุเหล็กมากผิดปกติ และปล่อยสาร ferritin มากขึ้นทำให้เกิดธาตุเหล็กเกินที่อวัยวะอื่น ๆ ตามมาด้วย สาเหตุอื่นที่พบได้น้อย คือ การได้รับวิตามินแร่ธาตุเหล็กมากเกินไป



อาการของภาวะธาตุเหล็กเกิน


อาการของภาวะธาตุเหล็กเกิน เกิดจากการสะสมของธาตุเหล็กทั่วร่างกาย มีมากที่ตับ หัวใจ ข้อต่อ ต่อมไร้ท่อ เช่น ตับอ่อน อัณฑะหรือรังไข่ ธาตุเหล็กที่สะสมทำปฏิกิริยากับออกซิเจนเกิดสารอนุมูลอิสระ (reactive oxygen species; ROS) ซึ่งทำให้เกิดการอักเสบ ทำลายเซลล์และเกิดพังผืด ที่เราคุ้นเคยกันดี คือ การเกิดสนิมเหล็กนั่นเอง โดยอาการของภาวะธาตุเหล็กเกินจะแสดงอาการช้าหรือเร็วขึ้นกับสาเหตุของโรคที่ทำให้เกิดภาวะธาตุเหล็กเกิน เช่น กลุ่มที่เกิดจากการรับเลือดมากจะเริ่มมีปัญหาธาตุเหล็กเกินเมื่อได้รับเลือดมากกว่า 20-30 ถุง ส่วนสาเหตุอื่นมักแสดงอาการเมื่ออายุ 40-50 ปี เนื่องจากใช้เวลาสะสม ผู้หญิงแสดงอาการช้ากว่าเนื่องจากมีการเสียธาตุเหล็กไปทางประจำเดือนบ้าง อาการของอวัยวะต่าง ๆ ได้แก่


  • ตับ ผลเลือดผิดปกติ ตับอักเสบ ตับแข็ง และตับวาย
  • หัวใจ หัวใจโต หัวใจวาย หัวใจเต้นผิดจังหวะ
  • ตับอ่อน เบาหวานพึ่งอินซูลิน ซึ่งไม่ใช่เบาหวานชนิดที่หนึ่งหรือชนิดที่สองที่เราคุ้นเคย
  • ต่อมใต้สมอง อัณฑะ รังไข่ ภาวะพร่องฮอร์โมนเพศ
  • ผิวหนังมีสีเข้มขึ้นเป็นสีบรอนซ์
  • ข้อเสื่อม มักเป็นที่ ข้อนิ้วมือ หรือนิ้วเท้า


การวินิจฉัยภาวะธาตุเหล็กเกิน


หากสงสัยภาวะนี้ แพทย์ตรวจวัดปริมาณเหล็กในร่างกาย โดยตรวจสาร ferritin และ transferrin saturation จากการตรวจเลือด ตรวจเอกซเรย์คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI T2-star) ตับและหัวใจ หากจำเป็นจะทำการเจาะชิ้นเนื้อตับมาตรวจ (liver biopsy) และตรวจทางพันธุกรรมเพื่อหาสาเหตุ ซึ่งภาวะธาตุเหล็กเกินสามารถตรวจพบจากการตรวจเลือดและการตรวจอื่น ๆ ดังกล่าว ก่อนที่จะเริ่มมีอาการผิดปกติของอวัยวะต่าง ๆ เป็นเวลาหลายปี ทำให้สามารถให้การแก้ไขได้ก่อนเกิดอาการ



การรักษาภาวะธาตุเหล็กเกิน


การรักษาภาวะธาตุเหล็กเกิน ทำโดยให้ยาขับธาตุเหล็กแบบกิน เช่น ยา Deferiprone และยา Deferasirox เป็นต้น โดยยาจะจับธาตุเหล็กให้อยู่ในรูปแบบที่ขับออกทางอุจจาระและปัสสาวะได้ และสำหรับคนที่ไม่มีภาวะโลหิตจาง รักษาโดยการเจาะเลือดออก (Phlebotomy) ควรดูแลตนเองโดยไม่รับประทานยาวิตามินอาหารเสริมที่มีธาตุเหล็ก ระมัดระวังการใช้สารที่มีผลต่อตับ เช่น แอลกอฮอล์ เป็นต้น การรักษาเน้นการขับธาตุเหล็กส่วนเกินออกจากร่างกายเพื่อป้องกัน หากเกิดความเสียหายถาวรที่อวัยวะต่าง ๆ แล้ว การรักษาได้เพียงรักษาประคับประคองตามอาการซึ่งเป็นเรื้อรัง นำไปสู่การสูญเสียชีวิตได้


ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญกับ Praram 9 V ปรึกษาแพทย์ได้ทุกที่ผ่านทางวิดีโอคอล (Telemedicine)

เกี่ยวกับผู้เขียนบทความ

นพ. บุญชู สุนทรโอภาส

นพ. บุญชู สุนทรโอภาส

ศูนย์อายุรกรรม

บทความที่เกี่ยวข้อง (10)

ดูทั้งหมด

คำแนะนำการป้องกันมาลาเรียสำหรับนักเดินทาง

โรคมาลาเรียเป็นโรคที่เกิดจากโปรโตซัว Plasmodium นำโดยยุงก้นปล่อง มีทั้งหมด 5 สายพันธุ์ สายพันธ์ุที่รุนแรงคือ Plasmodium falciparum ซึ่งเป็นสายพันธุ์หลักในทวีปแอฟริกา ทำให้เกิดการติดเชื้อรุนแรง อวัยวะต่างๆล้มเหลว ติดเชื้อขึ้นสมอง โคม่า ชัก และเสียชีวิตได้ หากได้รับการรักษาที่ล่าช้า

ไส้เลื่อน ใครก็เป็นได้ อันตรายที่ต้องรักษาก่อนเกิดภาวะแทรกซ้อน

ไส้เลื่อน คือภาวะที่ลำไส้เลื่อนหรือดันออกมาจากช่องท้อง สามารถสังเกตเห็นก้อนนูนออกมาตามขาหนีบ หน้าท้อง สะดือ หากไม่รักษาอาจเกิดอันตรายจากอาการแทรกซ้อนได้

รู้ทันต้อหิน โรคร้ายทำลายการมองเห็น รีบรักษาก่อนสายเกินแก้

ต้อหิน (Glaucoma) คือโรคตาที่มีสาเหตุจากขั้วประสาทตาเสื่อม ผู้ป่วยจะมีอาการปวดหัวปวดตา กระจกตาขุ่น การมองเห็นแย่ลง และค่อย ๆ สูญเสียการมองเห็นไปในที่สุด

Hypothyroidism คืออะไร? รู้ทันสาเหตุ อาการ และวิธีรักษา

Hypothyroidism คือ ภาวะพร่องฮอร์โมนไทรอยด์ หรือฮอร์โมนไทรอยด์ทำงานต่ำ ทำให้ระดับการเผาผลาญพลังงานลดลง และนำมาสู่การทำงานของระบบต่าง ๆ ผิดปกติ

รู้ทันอาการน้ำในหูไม่เท่ากัน ใครเวียนหัว บ้านหมุนบ่อยต้องระวัง

โรคน้ำในหูไม่เท่ากัน เป็นความผิดปกติของระบบน้ำในหูชั้นใน ซึ่งสามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ ทำให้ผู้ป่วยมีอาการ เวียนหัว บ้านหมุน ทรงตัวไม่อยู่ และการได้ยินผิดปกติ

หายใจไม่อิ่ม หายใจลำบาก สัญญาณอันตรายที่คุณไม่ควรมองข้าม

หายใจไม่อิ่ม เป็นอาการที่หลายคนเผชิญ อาจมีอาการแน่นหน้าอก หายใจไม่เต็มปอด หายใจลำบาก หัวใจเต้นเร็ว เหนื่อยง่าย บทนี้ความจะพาไปดูสาเหตุของอาการเหล่านี้กัน

ภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน อันตรายถึงชีวิตแบบไร้สัญญาณเตือน

หัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน (Sudden Cardiac Arrest) คือ ภาวะที่หัวใจหยุดทำงานกะทันหัน ทำให้หมดสติและเสียชีวิตในไม่กี่นาที จึงเป็นภาวะฉุกเฉินที่ต้องรับการรักษาทันที

อาการปวดเข่าคืออะไร มีวิธีป้องกันข้อเข่ามีอะไรบ้าง?

อาการปวดเข่าเป็นอาการที่เกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น ข้อเข่าเสื่อม และส่งผลต่อชีวิตประจำวันได้ การรู้ถึงสาเหตุ วิธีป้องกัน และการรักษาอาการปวดเข่าจึงเป็นเรื่องสำคัญ

EST คืออะไร? การตรวจสมรรถภาพหัวใจ Exercise Stress Test

EST (Exercise Stress Test) คือ การออกกำลังกายตรวจสมรรถภาพหัวใจ เป็นวิธีวินิจฉัยสุขภาพหัวใจเพื่อทำการรักษาต่อไป EST มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง? บทความนี้มีคำตอบ

ภาวะข้อไหล่หลุดคืออะไร รู้สาเหตุ อาการ และวิธีรักษาให้หายดี

ภาวะข้อไหล่หลุดคืออาการที่พบได้บ่อยในคนที่ใช้แรงเยอะ ๆ หรือเคยไหล่หลุดมาก่อน มาดูกันว่าอะไรคือสาเหตุที่ทำให้ไหล่หลุดได้บ้าง และจะต้องดูแลรักษาตัวอย่างไ

Copyright © 2024 All Rights Reserved | Praram 9 Hospital