บทความสุขภาพ

Knowledge

ปรับพฤติกรรมการกิน ลดความเสี่ยง กรดไหลย้อน

กรดไหลย้อน เป็นภาวะของโรคที่เกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตของคนเมือง เช่น นอนน้อย ทานอาหารไม่เป็นเวลา


ทานกาแฟและน้ำอัดลม โดยอาการกรดไหลย้อนนั้น เป็นภาวะที่กรดหรือน้ำย่อยจากกระเพาะอาหารที่มีความเข้มข้นสูง ไหลย้อนขึ้นมาบริเวณหลอดอาหาร ซึ่งหลอดอาหารเป็นอวัยวะที่ไม่ทนต่อกรด จึงทำให้เกิดการอักเสบของหลอดอาหาร


สาเหตุของโรค มีด้วยกัน 3 สาเหตุหลักๆ คือ


  1. ความผิดปกติของหูรูดส่วนปลายหลอดอาหารที่ทำหน้าที่ป้องกันกรดไหลย้อนจากกระเพาะอาหารมีความดันของหูรูดต่ำหรือเปิดบ่อยกว่าในคนปกติ เกิดจากการดื่มแอลกอฮอล์ สูบบุหรี่ และยาบางชนิด
  2. ความผิดปกติในการบีบตัวของหลอดอาหาร ทำให้อาหารที่รับประทานไหลลงช้าหรืออาหารที่ไหลย้อนขึ้นมาจากกระเพาะอาหารค้างอยู่ในหลอดอาหารนานกว่าปกติ
  3. ความผิดปกติของการบีบตัวของกระเพาะอาหาร ทำให้อาหารค้างอยู่ในกระเพาะอาหารนานกว่าปกติ ทำให้เพิ่มโอกาสการไหลย้อนของกรดจากกระเพาะอาหารสู่หลอดอาหารมากขึ้น อาหารประเภทไขมันสูงจะทำให้กระเพาะอาหารบีบตัวลดลง

โดยกลุ่มเสี่ยงและพฤติกรรมเสี่ยงที่จะเป็นโรค ส่วนใหญ่เกิดกับคนที่มีน้ำหนักตัวมากหรือคนอ้วนมากกว่าคนที่มีน้ำหนักปกติครับ ซึ่งพฤติกรรมการกินอาหารมื้อใหญ่ก่อนนอน จะกระตุ้นฮอร์โมนทำให้หูรูดทำงานผิดปกติ การใส่เสื้อผ้ารัดเวลานอนทำให้ความดันในช่องท้องเพิ่มขึ้น การดื่มแอลกอฮอล์ สูบบุหรี่ ดื่มน้ำอัดลม เป็นปัจจัยเสี่ยงให้เกิดโรคได้


วิธีสังเกตอาการของโรคกรดไหลย้อน สามารถสังเกตง่ายๆ เราจะแสบร้อนที่หน้าอก ซึ่งจะเป็นมากหลังรับประทานอาหารมื้อหนัก มีน้ำรสเปรี้ยวหรือขมย้อนขึ้นมาในลำคอหรือปาก ท้องอืด คลื่นไส้ อาเจียนหลังรับประทานอาหาร หรืออาจจะมีอาการหืดหอบ ไอแห้งๆ เจ็บคอร่วมด้วย เพราะกรดไหลย้อนขึ้นมาบริเวณกล่องเสียงทำให้กล่องเสียงอักเสบได้ บางรายอาจจะมีปัญหาเรื่องของฟันตามมา เนื่องจากกรดที่ไหลย้อนมา


โรคกรดไหลย้อน สามารถรักษาให้หายได้ โดยการรับประทานยากลุ่มยาลดกรด ขณะเดียวกัน ควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดำเนินชีวิต เช่น ลดน้ำหนัก งดบุหรี่ งดอาหารก่อนนอน 3 ชั่วโมง รับประทานอาหารแต่พออิ่ม งดอาหารมันๆ อาหารทอด หลีกเลี่ยงชากาแฟ น้ำอัดลม แอลกอฮอล์ คลายเครียดและออกกำลังกายเป็นประจำจะให้ผลดีมาก


สำหรับการรักษาทางการแพทย์นั้นจะดูแลตามความรุนแรงของอาการ หากเป็นอาการเบื้องต้นแพทย์จะพิจารณาให้ยาลดการอักเสบควบคู่กับยาลดกรด แต่หากมีอาการรุนแรงมากแพทย์อาจใช้การผ่าตัด เพื่อปรับหูรูดกระเพาะอาหารร่วมด้วย

บทความที่เกี่ยวข้อง (10)

ดูทั้งหมด

หมอนรองกระดูกเสื่อม ต้นเหตุอาการปวดหลังเรื้อรังที่อายุน้อยก็พบได้

หมอนรองกระดูกเสื่อมคือภาวะที่เกิดจากการเสื่อมของหมอนรองกระดูกจนไม่สามารถทำหน้าที่ลดแรงกระแทกได้ ทำให้กระดูกรอบ ๆ สึกและอักเสบขึ้นจนเกิดอาการปวดเรื้อรัง

อาการปวดสะโพกร้าวลงขา อีกหนึ่งสัญญาณเส้นประสาทถูกกดทับ

อาการปวดสะโพกร้าวลงขา (Sciatica pain) เกิดจากการถูกกดทับที่เส้นประสาท ทำให้รู้สึกปวดจากช่วงเอวหรือสะโพกร้าวลงขาด้านหลัง บางรายอาจร้าวไปถึงน่องและเท้าได้

ปวดข้อเท้าเกิดจากสาเหตุอะไร มีวิธีรักษาอย่างไรไม่ให้เจ็บเรื้อรัง?

ทำความเข้าใจกับอาการปวดข้อเท้าที่ควรรู้ อาการแบบไหนที่ควรเข้าปรึกษาแพทย์? พร้อมเรียนรู้สาเหตุของอาการ วิธีรักษา ตลอดจนการป้องกันไม่ให้เจ็บข้อเท้าเรื้อรัง

คำแนะนำการป้องกันมาลาเรียสำหรับนักเดินทาง

โรคมาลาเรียเป็นโรคที่เกิดจากโปรโตซัว Plasmodium นำโดยยุงก้นปล่อง มีทั้งหมด 5 สายพันธุ์ สายพันธ์ุที่รุนแรงคือ Plasmodium falciparum ซึ่งเป็นสายพันธุ์หลักในทวีปแอฟริกา ทำให้เกิดการติดเชื้อรุนแรง อวัยวะต่างๆล้มเหลว ติดเชื้อขึ้นสมอง โคม่า ชัก และเสียชีวิตได้ หากได้รับการรักษาที่ล่าช้า

ไส้เลื่อน ใครก็เป็นได้ อันตรายที่ต้องรักษาก่อนเกิดภาวะแทรกซ้อน

ไส้เลื่อน คือภาวะที่ลำไส้เลื่อนหรือดันออกมาจากช่องท้อง สามารถสังเกตเห็นก้อนนูนออกมาตามขาหนีบ หน้าท้อง สะดือ หากไม่รักษาอาจเกิดอันตรายจากอาการแทรกซ้อนได้

รู้ทันต้อหิน โรคร้ายทำลายการมองเห็น รีบรักษาก่อนสายเกินแก้

ต้อหิน (Glaucoma) คือโรคตาที่มีสาเหตุจากขั้วประสาทตาเสื่อม ผู้ป่วยจะมีอาการปวดหัวปวดตา กระจกตาขุ่น การมองเห็นแย่ลง และค่อย ๆ สูญเสียการมองเห็นไปในที่สุด

Hypothyroidism คืออะไร? รู้ทันสาเหตุ อาการ และวิธีรักษา

Hypothyroidism คือ ภาวะพร่องฮอร์โมนไทรอยด์ หรือฮอร์โมนไทรอยด์ทำงานต่ำ ทำให้ระดับการเผาผลาญพลังงานลดลง และนำมาสู่การทำงานของระบบต่าง ๆ ผิดปกติ

รู้ทันอาการน้ำในหูไม่เท่ากัน ใครเวียนหัว บ้านหมุนบ่อยต้องระวัง

โรคน้ำในหูไม่เท่ากัน เป็นความผิดปกติของระบบน้ำในหูชั้นใน ซึ่งสามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ ทำให้ผู้ป่วยมีอาการ เวียนหัว บ้านหมุน ทรงตัวไม่อยู่ และการได้ยินผิดปกติ

หายใจไม่อิ่ม หายใจลำบาก สัญญาณอันตรายที่คุณไม่ควรมองข้าม

หายใจไม่อิ่ม เป็นอาการที่หลายคนเผชิญ อาจมีอาการแน่นหน้าอก หายใจไม่เต็มปอด หายใจลำบาก หัวใจเต้นเร็ว เหนื่อยง่าย บทนี้ความจะพาไปดูสาเหตุของอาการเหล่านี้กัน

ภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน อันตรายถึงชีวิตแบบไร้สัญญาณเตือน

หัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน (Sudden Cardiac Arrest) คือ ภาวะที่หัวใจหยุดทำงานกะทันหัน ทำให้หมดสติและเสียชีวิตในไม่กี่นาที จึงเป็นภาวะฉุกเฉินที่ต้องรับการรักษาทันที

Copyright © 2024 All Rights Reserved | Praram 9 Hospital